แสดงว่าค่าแรง 300 ที่บอกว่า จะทำให้แรงงานมีเงินใช้มากขึ้น จะมีกระแสเงินหมุนในระบบมากขึ้น เพราะมีเงินมากก็ซื้อมาก
แสดงว่าไม่มีผล เพราะพ่อค้าแม่ค้าระดับล่างก็ยังบ่นว่าขายไม่ดี เงินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ไปถึงมือพ่อค้าแม่ค้าเท่าไหร่
เงินเดือน 15,000 ที่เพิ่มขึ้นสำหรับชนชั้นกลาง ก็ไม่ได้เข้าสู่ระบบของ SMEs หลายบริษัทยังคงบ่นว่า ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
แต่รายได้ไม่ได้มากขึ้นตามค่าแรงที่ต้องจ่ายออกไป
แสดงว่านโยบายนี้ไม่ได้ทำให้รากหญ้ารวยขึ้นได้จริง
ส่วนนโยบายรถคันแรก เป็นนโยบายเพิ่มปัญหาสังคม
ถึงแม้ว่าจะมีเงินหมุนเข้าระบบธุรกิจยานยนต์มากขึ้น แต่ก็แค่คนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น คนในวงการนี้อาจจะได้ประโยชน์
แต่คนวงการอื่นเสียผลประโยชน์มากมาย เพราะผลพวงของรถที่เข้าสู่ถนนมากเกินไป ทำให้รถติดและต้องจ่ายเงินค่าน้ำมันมากขึ้น
กลายเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้ทำให้เกิดรายได้ แล้วยังทำให้เสียเวลาเดินทางนานขึ้น ซึ่งไปกินเวลาส่วนอื่น
แทนที่จะเอาเวลานั้นไปทำงานหรือได้พักผ่อนเร็วขึ้น กลับต้องติดบนท้องถนน
บางทีก็น่าสงสัยนะ รายได้เพิ่มขึ้นแต่ทำไมไม่เหลือเหมือนเดิม
ใช้จ่ายก็มาก แต่ทำไมพ่อค้าแม่ขายยังบ่นว่าจนเหมือนเดิม ไม่ได้ขายดีขึ้นเลย
เงินไปไหนหมด ไปหมดกับค่าอะไร แล้วเงินนั้นไปเข้ากระเป๋าใคร เงินไหลไปทางไหน
เข้าสู่คนเพียงแค่บางกลุ่มหรือเปล่า ไม่ได้กระจายไปทั่วเหมือนที่ควรจะเป็นหรือเปล่า
-----------------------------------------------------------------
รายได้เท่าเดิมแต่ข้าวของแพงขึ้น ก็ต้องพยายามใช้จ่ายประหยัดให้คุ้มค่าเงินที่จะจ่ายออกไปค่ะ
จากที่เคยอยากได้ก็ซื้อเลยก็กลายเป็นคิดก่อนซื้อ คิดหลายรอบว่า จำเป็นไหม ยังไม่ต้องซื้อได้ไหมหรืออันเก่ายังพอใช้ได้น่า
ไม่เอาใจและความอยากของตัวเองไปยึดตรงนั้น ก็ทำให้งดซื้อไปเลยหรือยืดระยะเวลาจนลืมไปเลยว่าเคยอยากได้
สุดท้ายเงินยังอยู่กับเราเกิดความภูมิใจและดีใจลึกๆว่า เราก็ทำได้นะประหยัดและตังค์อยู่ครบ
ทำแบบนี้บ่อยๆเข้าก็เริ่มชอบละเพราะเงินออมก็เริ่มขยับตัวเลขขึ้นเป็นรูปธรรมทีละนิด กำลังซื้อบางส่วนถึงหายไปมังคะ
อ่านต่อ ...
http://pantip.com/topic/30795781 