งานและอิสรภาพทางการเงิน > อิสรภาพทางการเงิน

หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ

<< < (2/5) > >>

Adminis:
คุณจำลอง อติกุล ประธานกรรมการ RCL
ที่มา http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=RCL&ssoPageId=4&language=th&country=TH

ข้อมูลคุณจำลอง อติกุล ประธานกรรมการ
สุดท้ายที่รุ่นเก๋าอย่าง ‘จำลอง อติกุล‘
เป็นผู้อาวุโสสุดในบรรดา กนง. ใหม่ทั้ง 4 คน
โดยมือดีด้าน ‘การเงิน-ธนาคาร’ คนหนึ่งของไทย
ในอดีตเคยเป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
และเป็นกุนซือนำทัพนาคารกรุงศรีรอดพ้นจากการแทรกแซง ในช่วงวิกฤติปี 40

หลังออกจากธนาคารกรุงศรีในปี 48
ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการ ธนาคารกรุงไทย
ช่วงที่ ‘อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์’ นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่
ก่อนลาออกในปี 54

โดยสำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอก วางแผนภาค และเมือง มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐ

เปิดประวัติ ‘บอร์ดกนง.’ ชุดใหม่ ส่วนผสมที่ลงตัวทั้งรุ่นเก๋า และดาวรุ่ง ครบเครื่องทั้งการเงิน การคลัง และตลาดทุน
ที่มา http://news.mthai.com/hot-news/386274.html
 :wanwan017:

Adminis:
ข้อมูลเงินปันผลย้อนหลัง
บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน)
RCL (SERVICES/TRANS)
วันที่ประกาศ              วันที่ขึ้นเครื่องหมาย (XD)  วันที่จ่ายเงินปันผล    ประเภทการปันผล    มูลค่า (ต่อหุ้น)    หน่วย
18/03/2015    01/04/2015    22/05/2015    เงินปันผล       0.1000    บาท
21/03/2008    02/04/2008    16/05/2008    เงินปันผล       1.0000    บาท
10/08/2007    23/08/2007    07/09/2007    เงินปันผล       0.5000    บาท
21/03/2007    03/04/2007    16/05/2007    เงินปันผล       1.0000    บาท
11/08/2006    22/08/2006    08/09/2006    เงินปันผล       0.5000    บาท
28/03/2006    05/04/2006    26/05/2006    เงินปันผล       1.5000    บาท
09/08/2005    19/08/2005    05/09/2005    เงินปันผล       1.0000    บาท
15/03/2005    04/04/2005    27/05/2005    เงินปันผล       1.5500    บาท
09/08/2004    18/08/2004    03/09/2004    เงินปันผล       0.4500    บาท
25/03/2004    07/04/2004    21/05/2004    เงินปันผล       0.4500    บาท
21/03/2003    03/04/2003    30/11/-0001    เงินปันผล       2.0000    บาท
23/09/2002    03/10/2002    22/10/2002    เงินปันผล       2.0000    บาท
23/03/2000    07/04/2000    26/05/2000    เงินปันผล       2.0000    บาท
30/03/1998    08/04/1998    29/05/1998    เงินปันผล       1.5000    บาท
24/03/1997    03/04/1997    23/05/1997    เงินปันผล       10.5000    บาท
25/03/1996    03/04/1996    24/05/1996    เงินปันผล       10.5000    บาท
24/03/1995    05/04/1995    26/05/1995    เงินปันผล       8.0000    บาท
22/03/1994    07/04/1994    27/05/1994    เงินปันผล       7.5000    บาท
29/03/1993    07/04/1993    30/11/-0001    เงินปันผล       6.6500    บาท
26/03/1992    09/04/1992    30/11/-0001    เงินปันผล       10.5000    บาท
01/04/1991    09/04/1991    30/11/-0001    เงินปันผล       10.5000    บาท
28/03/1990    09/04/1990    30/11/-0001    เงินปันผล       4.5000    บาท
29/08/1989    11/09/1989    10/11/1989    เงินปันผล       6.0000    บาท
01/03/1989    14/03/1989    30/11/-0001    เงินปันผล       10.0000    บาท

 :wanwan017:

Adminis:
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
1.     บริษัท โงวฮก จำกัด    208,812,500    25.20
ที่มา  http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=RCL&ssoPageId=6&language=th&country=TH

ข้อมูล บริษัท โงวฮก จำกัด

   บริษัท โงวฮก จำกัด ถือกำเนิดจาก นายตันจินเก่ง หรือนายจิตติน ตันธุวนิตย์ เกิดความคิดว่าธุรกิจ บริการขนส่งทางน้ำน่าจะเกิดขึ้นและบริหารด้วยคนไทยเองได้ นายจิตตินจึงได้ชักชวนเพื่อน ๆ อีก 4 คนมาร่วมลงทุนด้วยคือ นายเลียบคุน หรือ นายมา บุลกุล, นายเจียร กอวัฒนา, นายตันลูเซ็ง, นายโล่วเต็กชวน (บิดา คุณเท้ง บุลสุข) โดยตั้งชื่อบริษัทที่ก่อตั้งในปี 2472 ว่า "โงวฮก" เป็นภาษาแต้จิ๋วแปลว่าโชคทั้งห้า  และได้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางน้ำ อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่นายจิตตินจะตั้งบริษัทโงวฮกนั้นได้มีประสบการณ์ด้านนี้อยู่แล้ว โดยได้ร่วมกับตระกูลหวั่งหลีทำการค้าทางเรือระหว่างไทยกับจีน ทำการขนส่งสินค้าทางน้ำระหว่างไทยกับจีน

     ในปี 2528 มีการตั้ง บริษัท โหงวฮกเอเยนซี่ จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินกิจการนายหน้าขนส่งสินค้าทางทะเล

การให้บริการ
      บริษัท โหงวฮก เอเยนซี จำกัด  เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการเป็นตัวเแทนสายเรือระหว่างประเทศ  ให้บริการขน
ส่งสินค้าระหว่างประเทศไทย  กับนานาประเทศเกือบทั่วโลก   และเป็นบริษัทคนไทยแห่งแรกที่นำการขนส่งระบบ
Container ทางทะเลมาใช้ในประเทศ อีกทั้งบริษัทฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการขนส่งสินค้าในอนาคต
ที่จำเป็นต้องมี การให้บริการอย่างครบวงจร


     บริการเสริมต่าง ๆ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจากผู้ดำเนินธุรกรรมอาทิเช่น

     - สถานีตรวจปล่อยและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนแทนเนอร์ (off dock CFS) บ. สินธนโชติ จำกัด
     - ท่าบก หรือ ICD ให้บริการทั้งตู้เต็มและสินค้าผ่านโรงพักสินค้าทั้งสินค้าขาเข้าและขาออก
       บ. เอ็นเอช พรอสเพอริตี้ จำกัด
     - ท่าเรือบริหารงานโดยเอกชน ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ท่า TIPS บ. TIPS จำกัด
     - ท่าเรือเอกชนในย่านอุตสาหกรรมเริ่มต้นทางกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ บ. ไทยพรอสเพอริตีเทอมินอล จำกัด
     - ท่าเรือเอกชน ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต บ. ไทยพรอสเพอริตีเทอมินอล จำกัด
     - ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางบก ทั่วประเทศโดยรถหัวลาก บ. 127 จำกัด

ที่มา http://www.ngowhock.co.th/profile.htm

 :wanwan017:

Adminis:
Regional Container Lines หรือ RCL

  Regional Container Lines หรือ RCL สายการเดินเรือของคนไทยภายใต้บริษัทในกลุ่ม อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการให้บริการเรือขนถ่ายตู้ลำเลียงสินค้า (Feeder) ในเส้นทาง Intra-Asia เป็นพิเศษ โดยให้บริการด้วยเรือที่ทันสมัย ซึ่งเรือส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.5) มีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น

     RCL ก่อตั้งโดยบริษัทโงวฮก จำกัด ในปี ค.ศ. 1980 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1991 ได้สั่งซื้อเรือลำแรกในชื่อว่า "ศิริภูมิ" โดยนำมาให้บริการในเส้นทางกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ จากนั้นในปี ค.ศ. 1987 ได้เปิดให้บริการเส้นทางเดินเรือใหม่ระหว่างกรุงเทพฯ-เกาซุง

     ในปี ค.ศ. 1988 RCL ได้ทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกันนี้ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 55 ล้านบาท เป็น 70 ล้านบาท และทำการเพิ่มทุนอีกครั้งเป็น 84 ล้านบาทในปี  ค.ศ. 1989 ทั้งยังได้ขยายเครือข่ายการบริการเข้าไปในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

     ปัจจุบันกลุ่มบริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) มีบริษัทในเครือทั้งที่จดทะเบียนในประเทศไทยและในต่างประเทศ  อาทิเช่น  สิงคโปร์  ออสเตรเลีย ปานามา จีน เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 26 บริษัท โดยบริษัททั้งหมดประกอบกิจการ ด้านการขนส่งสินค้าทางทะเล หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น

     RCL มีกองเรือที่ประกอบด้วยเรือขนส่งตู้ลำเลียงสินค้า จำนวนทั้งสิ้น 32 ลำตั้งแต่ขนาดบรรทุุตู้ Container ประมาณ 400 TEU จนถึง 1,500 TEU ให้บริการขนส่งสินค้าในแถบเอเซียโดยอายุการใช้งานของเรือโดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 ปี

     ตลอดระยะเวลากว่า 18 ปี ในการดำเนินธุรกิจของ RCL บริษัทได้พยายามสรรหาสิ่งที่ดี ให้บริการแก่ลูกค้าเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในเรือใหม่ การลงทุนในกิจการทีเกี่ยวเนื่องเพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1998 RCL สามารถขนส่งตู้ Container รวมทั้งสิ้น 1,290,000 TEU

     อย่างไรก็ตาม RCL ยังคงก้าวไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง โดยขยายเส้นทางเดินเรือและธุรกิจต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบริการได้ครอบคลุมภูมิภาคนี้ อาทิเช่น บริการสงขลา - กรุงเทพฯ - กัมพูชา, บริการรับส่งสินค้าทางทะเลสู่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, รวมถึงการรับส่งสินค้าในประเทศจีน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกชาวไทย สามารถนำผลิตภัณฑ์ของตนเข้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อให้สมกับความภาคภูมิที่เป็น "สายการเดินเรือสัญชาติไทย"

ที่มา http://www.ngowhock.co.th/rcl_profile.htm

 :wanwan017:

Adminis:
ทัพใหม่ RCL GO INTERNATIONAL ! (1)

อาร์ซีแอล GO INTERNATIONAL ด้วยการซื้อกลุ่มบริษัทเรือ 5 บริษัทของสิงคโปร์ ทำไมอาร์ซีแอลต้องซื้อ ทั้ง ๆ ที่เคยมีแผนการมาก่อน การซื้อครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของอาร์ซีแอล หรือถ้าพูดให้ถูกคือจุดเปลี่ยนของกลุ่มโงวฮก ซึ่งเป็นบริษัทเดินเรือเก่าแก่ที่มีการปรับเปลี่ยนน้อยมากมาตลอดหกทศวรรษก็ถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยนเสียที

ปลายปี 2531 RCL ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นบริษัทเรือแห่งแรก ที่นำบริษัทเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

และกันยายน 2532 RCL ได้สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเป็นบริษัทเรือแห่งแรกของไทยที่ได้ทำการซื้อกิจการเดินเรือของสิงคโปร์

การซื้อครั้งนี้นับว่าสร้างความฮือฮาให้กับคนในแวดวงเดินเรือไม่น้อย และสำหรับคนนอกวงการที่ไม่รู้จัก RCL ก็พากันสงสัยไม่น้อยว่าแท้จริงแล้วกลุ่ม RCL นี้คือใครกันแน่ มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไรในการซื้อขายกันครั้งนี้และจะส่งผลต่อสถานะของ RCL อย่างไร

RCL เป็นชื่อย่อของบริษัท REGIONAL CONTAINER LINES ประกอบกิจการรับส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศในระบบ "คอนเทนเนอร์" ประเภทเรือ FEEDER เพื่อนำไปขนถ่ายลงเรือที่ไม่สามารถเข้ามาในน่านน้ำเจ้าพระยาได้ก่อนที่จะบรรทุกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

RCL ถือกำเนิดขึ้นในปี 2523 โดยการร่วมทุนระหว่างฝ่ายไทยคือบริษัทโงวฮกและ SINGAPORE SHIPPING CORKPORATION (SSC) ฝ่ายสิงคโปร์ ในสัดส่วน 75:25

โงวฮกเป็นบริษัทเดินเรือที่มีอายุอย่างเข้าสู่ปีที่ 61 เข้าไปแล้ว นับว่าเป็นบริษัทเดินเรือที่มีอายุยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของไทย เก่าแก่กว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเพิ่งจะมีอายุเพียง 38 ปีเท่านั้น

ความที่เป็นบริษัทที่ก่อตั้งมานานคนเก่าแก่ที่อยู่ทันยุคสมัยแรก เริ่มล้มหายตายจากไปเกือบสิ้นแล้ว ทำให้ประวัติช่วงบุลสุข ประธานกรรมการของ RCL ซึ่งปัจจุบันอายุ 81 ปีแล้ว แต่ก็ยังมาเซ็นเช็คที่บริษัททุกวันเล่ากับ "ผู้จัดการ" ว่า

"ผมเองก็ไม่ทราบแน่ชัดเพราะไม่ได้มาร่วมงานแต่แรก คนที่รู้ดีว่าผมส่วนใหญ่ตายไปหมดแล้ว คนที่ริเริ่มบริษัทคือตันจิ้นเก่งหรือจิตติน ตันธุวนิตย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ทำงานอยู่กับตระกูลหวั่งหลี ขณะนั้นทำการค้าขายระหว่างไทยกับจีนโดยทางเรือ มีความคิดว่าน่าจะมีธุรกิจบริการขนส่งทางน้ำที่เป็นของไทยเอง จึงชัดชวนเถ้าแก่โรงสี 4 คนเข้ามาร่วมคือ มาเลียบคุนหรือมาบูลกุล, เจียร กอวัฒนา, ตันลูเช็ง, โล่วเตี๊ยกชวน (พ่อของเท้ง) รวมตันจินเก่งเป็น 5 คนตั้งชื่อว่า โงวฮก"

นั่นคือที่มาของชื่อโงวฮก ซึ่งเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วแปลว่า "โชคทั้งห้า"

เล่ากันว่าผู้ที่มาลงขันร่วมทุนทั้ง 4 คนนั้น แต่ละคนก็มีฐานะจัดอยู่ในระดับเจ้าสัวทั้งสิ้น ดังจะได้ยินผู้คนเรียกขานชื่อต่อท้ายคนเหล่านี้เช่น "โล่วเตี๊ยกชวนเอี๊ย" ซึ่งหมายถึงเจ้าสัวโล่วเตี๊ยกชวน ขณะที่ตันจินเก่งนั้นเป็นคนธรรมดา ที่ไม่ได้มีเงินทองอะไรมากนัก อาศัยมีฝีมือและความเฉลียวฉลาดบริหารกิจการเดินเรือจนเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของบรรดาเจ้าสัวทั้งหลาย แล้วตันจินเก่งก็ค่อย ๆ เริ่มซื้อหุ้นเป็นของตนบ้างจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยคนหนึ่งไปในที่สุด

พงษ์ศักดิ์ เมฆใจดี ลูกน้องเก่าของตันจินเก่งที่ร่วมงานกับโงวฮกมาหลายสิบปีกล่าวถึงตันจินเก่งว่า "การทำกิจการเดินเรือระหว่างประเทศไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เราไม่มีเรือของเราเอง ต้องเช่ามาจากหลายประเทศเช่นนอร์เวย์ เครดิตเราต้องดีมาก เขาถึงจะเชื่อใจ ซึ่งตันจินเก่งนั้นเป็นคนที่เอาใจใส่ในการบริหารเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่รักของคนงาน เรือเข้าตีหนึ่ง ตีสองนี่เขาจะต้องลงไปดูแล นานาชาติให้ความเชื่อถือเรามีเรือมากมายที่ทาสีปล่องเป็นสีน้ำเงินมีดาว 5 ดวง เป็นธงบริษัทโงวฮก"

SSC ก็เป็นบริษัทที่ทำกิจการเดินเรือมาช้านานแม้ว่าจะไม่เก่าแก่เท่าโงวฮกก็ตามแต่ผู้ก่อตั้งของทั้งสองบริษัท เช่น มร.กัวกับตันจินเก่งก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันในฐานะที่ทำธุรกิจร่วมกันมาไม่น้อย โดยที่ SSC เป็นเอเยนต์ให้แก่โงวฮก

และความสัมพันธ์นี้ก็ยังดำรงต่อมาแม้ว่าตินจินเก่งเสียชีวิตไปนานแล้วตั้งแต่ปี 2510 กว่า ๆ ยงกิตต์ โสธิกุล เพื่อนที่ร่วมงานบุกเบิกมาด้วยกันกับตันจินเก่งขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่สืบสานงานต่อไป จนกระทั่งลูก ๆ ของตันจินเก่งเรียนจบและเริ่มเข้ามาบริหารงานต่อไป ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของโงวฮก

นับเป็นเวลายาวนานหลายศตวรรษที่มนุษย์ทำการขนส่งทางทะเลที่เรียกกันว่าระบบ CONVENTIONAL หรือก็คือการขนถ่ายสินค้าเทกอง

ปลายทศวรรษที่ 19 มนุษย์คิดค้นระบบการขนส่งแบบใหม่ที่เรียกว่า ระบบคอนเทนเนอรืพูดง่าย ๆ ก็คือนำสินค้าบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์ก่อนที่จะนำลงเรือ

การเปลี่ยนระบบครั้งนี้มันมีผลต่อการซื้อขายสินค้าเป็นอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญในวงการเรืออธิบายกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"เมื่อก่อนเรือคอนเวนชั่นนอล เป็นเรือที่ต้องเช่ามาขนถ่ายสินค้าโดยเฉพาะและต้องมีจำนวนมาก ๆ ทำให้ต้องซื้อขายเยอะ แล้วต้องมีอินเวนทอรี่มาเก็บไว้มากแต่เดี๋ยวนี้คอนเทนเนอรืเป็นที่ยอมรับ เป็นการขนส่งในระบบ JUST IN TIME (ทันเวลาพอดี) แล้วมาประจำอาจจะอาทิตย์ละ 1 ครั้ง มันทำให้ไม่มีสินค้าคงเหลือหรือมีก็น้อยมาก ระบบนี้มันทำให้อะไรถูกลงไปได้เยอะ ลดต้นทุนการผลิต การขนส่งในระบบคอนเทนเนอร์เหมือนรถเมล์ที่มีระยะเวลามาแน่นอน เช่น 10 นาทีคันหนึ่ง ขณะที่แบบ CONVENTIONAL เหมือนรถแท๊กซี่ซึ่งต้องเรียกถึงจะมา"

ช่วงสิบกว่าปีก่อนมีคนเริ่มนำระบบนี้มาใช้ในเมืองไทย ซึ่งโงวฮกก็เป็นบริษัทหนึ่งที่ตัดสินใจว่าจะต้องเปลี่ยนไปสู่ระบบใหม่ทั้ง ๆ ที่บริษัทเรือส่วนใหญ่ก็ยังเปลี่ยนมาใช้ระบบนี้กันไม่มากนัก

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงนั้น โงวฮกมีผู้นำคนใหม่ซึ่งเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงซึ่งเป็นลูกชายแท้ ๆ ของตันจินเก่ง ชื่อสุเมธ ตันธุวนิตย์ ซึ่งกว่าที่ตันจินเก่งจะได้ลูกชายนั้น เขาได้ทำบุญอยางมโหฬารตามคำทำนายของซินแสผู้หนึ่ง ซึ่งตันจินเก่งได้ทำงานในฐานะประธานมูลนิธิปอเต็กตึ๊งนานหลายสมัย ช่วยหาเงินเข้าสถานเสาวภาก็ไม่น้อย จนมีชื่อเสียงโด่งดังได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถอยู่เนือง ๆ จนได้ชื่อและนามสกุลพระราชทานว่า "จิตติน ตันธุวนิตย์"

สุเมธนั้นเรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์เกียรตินิยมจากจุฬาฯ และปริญญาโทวิศวกรรมจากเอไอที. เขารักงานด้านวิศวกรรมมาก หลังจากเรียนจบแล้วก็ร่วมทุนกับเพื่อนตั้งบริษัทวัฒนาเอ็นจิเนียริ่งซึ่งรับงานใหญ่ ๆ หลายแห่งเช่นวางระบบไฟฟ้าให้กับสนามบินอู่ตะเภา โดยที่ไม่เคยคิดว่ตนเองจะต้องโดดเข้ามาในธุรกิจเรือจนกระทั่งพ่อสิ้นลม ชีวิตสุเมธก็ต้องหักเหครั้งสำคัญด้วยการเข้าทำงานในบริษัทที่พ่อเขาสร้างขึ้นมากับมือเมื่อ 16 ปีที่แล้ว

พร้อม ๆ ไปกับการตัดสินใจเปลี่ยนมาเป็นระบบคอนเทนเนอร์ สุเมธเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่โงวฮกควรจะมีเรือเป็นของตัวเอง (คนเก่าแก่ของโงวฮกแย้งว่าเมื่อก่อนโงวฮกก็เคยมีเรือของตัวเองเช่นกัน) แทนที่จะเช่าเขาร่ำไป

นั่นก็คือที่มาของบริษัท RCL ซึ่งโงวฮกร่วมทุนกับ ssc ในปี 2523 เป็นบริษัทซึ่งเริ่มแรกเป็นเจ้าของเรือ 2 ลำ เรือลำแรกของบริษัทคือ "เรือศิริภูมิ" ซึ่งสั่งต่อใหม่ให้เหมาะสมกับเรือขนส่งระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ โดยเฉพาะ ปี 2526 บริษัทซื้อเรือใช้แล้วจากญี่ปุ่นมาวิ่งเพิ่มและในปลายปี 2530 บริษัทได้เปิดเส้นทางสายใหม่ สายกรุงเทพฯ-เกาจุง (ประเทศไต้หวัน)

หากเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจเดินเรืออาจจะจินตนาการไม่ออกว่าการเปิดเส้นทางเดินเรือใหม่แต่ละครั้งไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ นักสุเมธอรรถาธิบายกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"สมมติเราจะเปิดเส้นทางใหม่ เราต้องดูก่อนว่าเส้นทางนั้นเป็นแบบไลน์เนอร์ (วิ่งเป็นประจำเส้นทาง) หรือเปล่า เราต้องตรวจสอบดีมานด์ว่ามันมีหรือเปล่า ถ้ามีมาจากไหน แล้วเราจะแย่งลูกค้าจากคนอื่นได้อย่างไร ซึ่งลูกค้าต้องการอย่างน้อย 3 ประการ หนึ่ง-ประหยัด สอง-สะดวก สาม-พึ่งพาได้ (RELIABLE) ถ้าดูปัจจัยทุกตัวแล้วมันเป็นบวกเราก็เปิดได้ ซึ่งตอนแรกจะต้องขาดทุนก่อน กว่าเราจะ CONVINCE ให้ลูกค้ามาทางเรา นกนั้นกว่าจะยอมทำรังมันต้องกินเวลา คนอื่นเขาก็วิ่งด้วยก็ต้องฟาดฟันกัน แล้วถ้าเราอยู่รอดคนอื่นเขาก็อาจจะต้องเลิก ระหว่างการต่อสู้เราก็ต้องยอมขาดทุน เส้นทางต่าง ๆ กว่าจะสร้างขึ้นมาได้ต้องผ่านกระบวนการและความลำบากไม่น้อย ลำพังท่าเรือเกาจุงที่ไต้หวันกว่าจะเห็นหน้าเห็นหลังก็เกือบสองปี การขยายแต่ละเส้นทางกินเวลาไม่น้อยเลย"

หลักคิดของ RCL แต่เดิมนั้นก็ถือว่ากรุงเทพฯเป็นฐานที่มั่น จะขยายตัวออกไปเส้นทางใดก็จะยึดกรุงเทพฯเป็นหลักเสมอแล้วค่อย ๆ ขยายไปทีละเส้นทาง ซึ่งจนกระทั่งถึงปี 2532 RCL ได้ทำการเดินเรืออยู่เพียง 2 เส้นทางคือกรุงเทพฯ-สิงคโปร์และกรุงเทพฯ-เกาจุง

กระทั่งต้นปี 2532 กลุ่ม ssc ได้ขายหุ้นทั้งหมด 25 เปอร์เซ้นต์ที่มีอยู่ใน RCL ออกไปจนหมดสิ้น ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ RCL ก็ดูเหมือนจะก่อรูปขึ้นอีกครั้ง

ย้อนหลังกลับไปที่สิงคโปร์เมื่อเกือบสองปีก่อนผู้บริหารกลุ่ม ssc ได้ตัดสินใจขายหุ้นของตนทั้งหมดใน ssc ให้แก่นักลงทุนจากประเทศออสเตรเลียด้วยเหตุผลไม่แจ่มชัด เพีนงแต่คาดกันว่าส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกลุ่ม ssc มีธุรกิจอื่นที่นอกจากกิจการเดินเรือเช่นการทำเรียลเอสเตรด ซึ่งให้ผลตอบแทนที่มากกว่าธุรกิจเดินเรือ จึงตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดให้แก่นักธุรกิจจากออสเตรเลียเพื่อนำเงินไปลงทุนในด้านอื่น

กลุ่มออสซี่ซึ่งเป็นผู้บริหารใหม่ของ ssc นั้น เป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีธรรมชาติเป็นผู้ทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป หวังกำไรจากมูลค่าเพิ่มของการซื้อขายกิจการมิได้มีความชำนาญในธุรกิจเดือนเรือแต่อย่างใดนั่นนับว่าสร้างความลำบากใจให้กับผู้ปฏิบัติงานดั้งเดิมของ ssc ซึ่งถือว่าพวกตนเป็นมืออาชีพที่ทำธุรกิจนี้มานานนับสิบปี ความขัดแย้งภายในจึงปรากฏอยู่เนือง ๆ

ต้นปี 2532 RCL ตัดสินใจบอกเลิกการให้ ssc เป็นเอเยนต์ทั้งที่เป็นกันมานานนับสิบปี สุเมธให้เหตุผลการตัดสินใจที่ค่อนข้างจะรุนแรงต่อฝ่าย ssc กับ "ผู้จัดการ" ว่า

"เราเปลี่ยนเอเยนต์เพราะสิงคโปร์ชิปปิ้งเขาทำไม่ดี 1) แพง 2) ไม่ตั้งใจทำงานคือเขามักจะคิดอยู่เรื่อยว่า เขานี่เป็นหุ้นส่วนเรา เพราะฉะนั้นเราคงไม่เปลี่ยนเขา เขาก็เลยทำงานแบบชุ่ยๆ ซึ่งผมก็ว่าเขาหลายครั้งแล้วแต่เขาไม่เชื่อเหตุการณ์ครั้งนี้มันเกิดขึ้นมาจากความไม่พอใจของเรา ตอนนั้นเราคิดว่าปล่อยไปอย่างนั้นเรามีแต่จะเสียเราก็ยื่นโนตีสก่อนนะ ไม่ใช่เปลี่ยนพรุ่งนี้เลย ให้เวลา 3 เดือนหลังจากนั้น"

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version