งานและอิสรภาพทางการเงิน > อิสรภาพทางการเงิน

หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ

<< < (3/5) > >>

Adminis:
ต่อนะครับ...
ถ้าหากว่า RCL เปลี่ยนเป็นเอเยนต์อื่นเลยตามที่มีหลายบริษัทเข้ามาเสนอตัวกับ RCL เรื่องก็จะไม่บานปลายต่อไปอีก

SSC เป็นบริษัทเดินเรือที่จัดว่าใหญ่บริษัทหนึ่งทีเดียวรับเป็นเอเยนต์ให้กับสายการเดินเรือทั่วโลก ลำพังแผนกเอเยนต์เรือ FEEDER ก็มีพนักงานเกือบร้อยคนเข้าไปแล้ว พนักงานเหล่านี้มีความไม่ค่อยพอใจผู้บริหารใหม่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเกิดเรื่องกับ RCL พนักงานเหล่านี้เกิดมีความคิดว่าน่าจะไปตั้งบริษัทใหม่แล้วรับเป็นเอเยนต์ให้ RCL เหมือนเดิม

นั่นก็คือที่มาของบริษัท เกรท รีเจ้นท์ ซึ่งพนักงานทั้งแผนก FEEDER ของ SSC พากันยกยวงออกมาทั้งแผนก โดยกล่าวกันว่าพนักงานลงขันกันเอง โดยมีกระแสข่าวที่ไม่ยืนยันว่า RCL ลงขันหรืออยู่เบื้องหลังด้วยหรือไม่

เหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความไม่พอใจแก่เจ้าของชาวออสซี่เป็นอันมากที่ต้องเสียทั้งธุรกิจและคนของตน ซึ่งทำให้เขาแทบจะต้องเลิกธุรกิจในด้านนี้ไปเลย ปฏิกิริยาตอบโต้อย่างทันควันก็คือการขายหุ้นทั้งหมดของ SSC ใน RCL โดยที่ผู้บริหารของ RCL ไม่รู้เรื่องเลยจนกระทั่งทะเบียนผู้ถือหุ้นที่เปิดเผยออกมาที่ตลาดหุ้นนั้นเปลี่ยนไปเสียแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประมาณเดือนมีนาคม 2532

ณ ร้านอาหารบริเวณลานจอดรถชั้นล่างของอาคารปัญจภูมิ วันนั้นเป็นวันเสาร์ สุเมธและสต๊าฟของเขาเริ่มคุยกันทีเล่นทีจริงในระหว่างอาหารมื้อกลางวันว่า "เขาขายหุ้นทิ้ง ด้วยเจนตาอันใด หรือเขาจะเลิกทำธุรกิจ เขาอาจจะขายให้คนอื่น เอ้ เราซื้อบริษัทเขาขึ้นมาเลยจะดีไหม จะไหวเหรอ ลองดูสักตั้ง" คือส่วนหนึ่งของบทสนนาเมื่อปลายเดือนมีนาคมซึ่งทุกคนก็ยังรู้สึกว่ามันคงจะเป็นฝันที่เป็นจริงไปได้ยาก

หลังจากนั้นแผนการซื้อกลุ่มบริษัทของ ssc ก็เริ่มขึ้นด้วยความร่วมมือทางด้านการเงินจากธนสยามซึ่งเป็นทั้งผู้ถือหุ้นใน RCL ถึง 13.2 เปอร์เซ็นต์และเป็นผู้ที่เคยทำ UNDERWRITE ให้กับ RCL เมื่อคราวเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2531 ธนสยามโดยสุขุมสิงคาลวนิช ให้ความสนับสนุนเต็มที่โดยส่งศิริพงษ์ สมบัติศิริ ผู้จัดการฝ่ายการลงทุนของธนสยาม ร่วมกับคุณากร เมฆใจดี ผู้ช่วยของสุเมธเข้าเจรจาต่อรองในขั้นต้นกับเจ้าหน้าที่ของสิงคโปร์ชิปปิ้ง ก่อนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสุเมธในท้ายที่สุดซึ่งกว่าจะเจรจาตกลงกันได้ใช้เวลาถึงเกือบ 5 เดือน

คุณากร เมฆใจดี ได้สรุปถึงสาเหตุของความล่าช้าว่าสืบเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ

หนึ่ง-เนื่องจากธุรกิจนี้มันยังดำเนินอยู่ การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินตลอดจนการพิจารณามูลค่าทางธุรกิจ ก็ต้องอาศัยพีชมาร์วิคที่สิงคโปร์เป็นคนเข้าไปตรวจสอบตัวเลขประเมิน ตัวเลข NET TANGIBLE ASSET และเป็นผู้เสนอแนะว่า RCL ควรจะเข้าไปซื้อในรูปแบบใดจึงจะเหมาะที่สุด

การประเมินราคาตลาดนั้นต้องใช้ถึง 3 บริษัท กล่าวคือ SGS SINGAPORE ผู้ประเมินราคาของผู้ขาย INTECO MARITIME SERVICES ผู้ประเมินราคาฝ่ายผู้ซื้อ ในที่สุดต้องให้ RITCHIE BISEI (FAREAST) บริษัทที่ได้รับการเห็นด้วยทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

สอง-ด้านกฎหมายนั้นก็ต้องทำอย่างรัดกุม RCL จึงต้องจ้างบริษัท JUDE BANNY เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย ซื้อแล้วก็ต้องกันไว้ทุกทางเช่นมีข้อหนึ่งระบุไว้เลยว่าธุรกิจที่ ssc ขายให้ RCL แล้ว ssc จะไม่ทำขึ้นมาแข่งอีกต่อไป

สาม-ปัญหาเรื่องสถานที่อยู่ไกลเนื่องจากเจ้าของจริง ๆ อยู่ถึงออสเตรเลียซึ่งเขาให้ผู้จัดการชาวสิงคโปร์มาคุยกับเราคนที่มาต่อรองด้วยนั้นไม่มีอำนาจอยู่ในมือเป็นแค่คนมารับข่าวสาร เรื่องมันก็เลยล่าช้า

ในที่สุด RCL ได้เข้าไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท RCL INVESTMENT ขึ้นเป็น HOLDING COMPANY โดยที่ RCL ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ใน RCL INVESTMENT และ RCL INVESTMENT เป็นผู้เข้าไปซื้อกลุ่มกิจการของ RCL 5 บริษัทซึ่ง ssc เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

สนนราคาที่ RCL ต้องจ่ายทั้งหมดเพื่อการซื้อสิ่งที่ RCL เรียกว่า GROUP OF COMPANIES ในครั้งนี้คือ 19 ล้านเหรียญสิงคโปร์หรือประมาณ 250 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อย แต่สำหรับกลุ่มออสซี่ก็ได้กำไรไปไม่น้อยทีเดียวและเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในของผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้อีกด้วย สำหรับ RCL นั้นสิ่งที่ RCL จะได้เมื่อเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายก็นับได้ว่าผู้บริหารของ RCL นั้นมีสายตายาวไกลไม่น้อยทีเดียว

แหล่งเงินทุนนั้นก้ไม่ใช่เรื่องยากเย็นสำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นอย่าง RCL จึงไม่ต้องแปลกใจที่ RCL ประกาศเพิ่มทุนอีก 14 ล้านบาท ซึ่งหลังจากขายหุ้นทั้งหมดแล้วก็จะได้เงินทั้งสิ้นประมาณ 364 ล้านบาท และในระหว่างที่ยังเรียกชำระได้ไม่หมดแต่บริษัทจะต้องชำระเงินแก่ ssc ธนสยามและไทยพาริชย์ก็เป็นแหล่งเงินกู้ระยะสั้นให้ไปก่อน เป็นอันตัดปัญหาเรื่องการเงินไปได้

กลุ่มบริษัทดังกล่าวนั้นทำกิจการเดินเรือเกือบจะครบวงจร กล่าวคือเป็นเจ้าของเรือ 4 ลำ คือ นันทภูมิ, ปิยภูมิ, กิตติภูมิและวีระภูมิ และมีเรือเช่าอีกจำนวนหนึ่ง เป็นเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์ เป็นเอเยนต์ให้กับบริษัทเดินเรือทั่วโลก ตลอดจนสิทธิประโยชน์อีกมากมายในฐานะบริษัทของสิงคโปร์

กล่าวโดยสรุปแล้วสิ่งที่ RCL จะได้รับทันทีก็คือ

หนึ่ง-เส้นทางการเดินเรือซึ่งขยายครอบคลุมประเทศในเอเชียอาคเนย์ทั้งหมดรวมทั้งอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย จากเดิมซึ่งมีเพียงสองเส้นทางเท่านั้น เป็นการขยายเส้นทางโดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์และไม่ต้องสุ่มเสี่ยงเพราะฐานธุรกิจเดิมนั้นมีอยู่แล้ว

สอง-การได้ซึ่งความเชี่ยวชาญของการจัดการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทีมเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ชำนาญทั้งในด้านเทคนิค การบริหาร การตลาด ตลอดจนการควบคุมเทคโนโลยีชั้นสูง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร ด้านตารางเดินเรือ ด้านการจัดวางสินค้า และด้านข้อมูลสำหรับการบริหาร เป็นต้น

สาม-บริษัทได้รับสิทธิพิเศษในการใช้ท่าเรือจากการท่าเรือสิงคโปร์และท่าเรือกรุงเทพฯโดยได้รับสิทธิพิเศษ ในการเทียบท่าโดยไม่ต้องรอ และมีส่วนลดทางค่าใช้จ่ายด้วย และการที่บริษัทเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ได้รับสิทธิการเทียบท่าซึ่งทำให้บริษัทดำเนินงานได้มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งอื่น ๆ

นอกจากนั้นแล้วกำไรจากการดำเนินงานของ GROUP OF COMPANIES จากเรือที่ชักธงสิงคโปร์ได้รับการยกเว้นภาษี และเงินปันผลของผู้ถือหุ้นก็ได้รับการยกเว้นภาษีเช่นกัน

จังหวะและโอกาสงาม ๆ อย่างนี้สำหรับบริษัทเรือไทยระดับกลาง ๆ อย่าง RCL หรือบริษัทอื่นก็ตามคงไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก

และลำพังความคิดที่จะ GO INTERNATIONAL ด้วยฐานของตัวเองสำหรับบริษัทเรือไทยนั้นเป็นไปด้วยความยากยิ่งเพราะการส่งเสริมด้านพาณิชย์นาวีของรัฐบาลน้อยเต็มทีเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ในปัจจุบันเรามีเรือเดินทะเลที่ทำการขนส่งของไทยอยู่เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของเรือทั้งหมด และการพัฒนากองเรือของเราเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอยางมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปิ้นส์ล้วนแล้วแต่พัฒนารุดหน้าไปกว่าบ้านเรามากนัก มิพักต้องพูดถึงสิงคโปร์ที่นำหน้าเราไปไกลลิบโลกแล้ว

ในความเป็นจริงแล้วสิงคโปร์ยังคงความเป็นศูนย์กลางการเดินเรือของประเทศในแถบนี้ การที่ RCL สามารถบุกเข้าไปตั้งฐานที่มั่นได้นับเป็นการทำลายข้อจำกัดภายนอกที่ขัดขวางการ GO INTERNATIONAL ของ RCL ไปได้ระดับหนึ่ง ปัญหาคือสภาพภายในของ RCL พร้อมหรือไม่สำหรับขบวนทัพใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว

ห้าทศวรรษแรกของกลุ่มโงวฮกในปัจจุบันมีเพียงบริษัทเดียวคือโงวฮกจำกัด ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอเยนต์และเช่าเรือมาเพื่อทำการขนส่งสินค้า

ความเปลี่ยนแปลงจริง ๆ จัง ๆ นั้นอาจกล่าวได้ว่าล้วนอยู่ในช่วงที่สุเมธเข้าบริหารคือ ช่วงประมาณ 10 ปีนี่เอง

สงขลาโงวฮกและสงขลาคอนเทนเนอร์ก่อตั้งขึ้นในปี 2520 และ 2524 เพื่อทำการขนถ่ายสินค้าในภาคใต้ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีท่าเรือ จำต้องขนถ่ายกันกลางแม่น้ำซึ่งนับว่าโงวฮกเป็บริษัทแรกที่ลงไปบุกเบิกธุรกิจด้านนี้ในภาคใต้ ขณะเดียวกันก็ตั้งบากอกเทอร์มินัล เซอร์วิส ขึ้นมาบริการขนถ่ายสินค้าที่ต้องการมาทางรถไฟสู่กรุงเทพฯ หรือส่งไปถึงมาเลเซียเลยก้ได้

ปี 2523 ก่อตั้งบริษัท RCL และเพื่อขยายบานการลงทุนให้ได้รวดเร็วขึ้น ผู้บริหารยุคสุเมธก็ตัดสินใจนำบริษัท RCL เข้าตลาดฯในปี 2531

ปี 2524 โงวฮกได้ตัดสินใจสร้างตึกขนาดใหญ่ 12 และ 15 ชั้นคู่กันบริเวณสาธรใต้ แต่เป็นตึกที่ไม่มีป้ายชื่อติดเหมือนอาคารพาณิชย์ทั่ว ๆ ไป หลายคนยังเข้าใจว่าเป็นตึกของ CITIBANK ซึ่งติดป้ายตัวโตไว้ด้านหน้า ทั้ง ๆ ที่ธนาคารเพียงแต่เช่าที่บางส่วนของโงวฮกเท่านั้น นั่นเป็นเครื่องแสดงให้เห็นอีกประการว่าโงวฮกนั้นเป็นกลุ่มที่ LOW PROFILE เพียงใด

ปัจจุบันบริษัทที่บริหารตึกทั้งสองนี่ก็คือบริษัทปัญจภูมิ ในยุคที่ราคาดินเป็นทองในปัจจุบัน ตึก 2 หลังบนเนื้อที่ 1,009 ตารางวา ปัจจุบันราคาประมาณ 2.5 แสนบาทต่อตารางวา ทรัพย์สินของบริษัทที่เป็นที่ดินก็ปาเข้าไป 200 กว่าล้านบาทแล้ว

ปี 2528 โงวฮกเอเยนซี ถือกำเนิดขึ้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายแทนโงวฮกเอเยนซี่กลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานมากที่สุดในเครือคือประมาณ 140 คน

และเพื่อทำธุรกิจด้านการขนส่งทางเรือให้ครบวงจร และสนองนโยบายการแก้ปัญหาการแออัดอย่างหนักในท่าเรือคลองเตยโงวฮกจึงได้ตั้งอีก 2 บริษัทในปี 2532 กล่าวคือบริษัท ไทยพอสพอริตี้เทอมินัลและบริษัทสินธนโชติ

ไทยพอสพอริตี้ เทอมินัล โงวฮกร่วมทุนกับค้าสากลซิเมนต์ไทย ซึ่งเป้นบริษัทในเครือของปูนซิเมนต์ ร่วมทุนกัน 50:50 ท่านี้เรียกกันว่าท่าปูนฯ (ท่าเรือหมายเลข 10) อยู่ทีพระประแดง นั่นหมายความว่าสินค้าสามารถผ่านท่าปูนฯ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปผ่านท่าเรือคลองเตย นั่นหมายความว่าสินค้าสามารถผ่านท่าปูนฯโดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปผ่านท่าเรือคลองเตย

สินธนโชติ เป็นบริษัทลูกของโงวฮกซึ่งเพิ่งเปิดดำเนินการไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2532 เป็นสถานีตรวจและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้สร้างอยู่บนเนื้อที่กว่า 38 ไร่ อาคารคลังสินค้ามีพื้นที่บรรจุสินค้าได้กว่า 15,000 ตารางเมตรสามารถบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอรืเพื่อการส่งออกได้ปีละ 102,700 ทีอียูหรือ 1.3 ล้านตัน

CONTAINER FREIGHT STATION หรือที่เรียกกันสั้น ๆว่า CFS เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างใหม่มากสำหรับบ้านเรา สินธนโชติเปิดบริการเป็นบริษัทที่สี่

ความที่เป็นธุรกิจใหม่และสุเมธต้อการให้สินธนโชติดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล จึงได้ว่าจ้างบริษัท P&O AUSTRALIA ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจด้านนี้ เป็นบริษัทที่มีกิจการเดินเรือ บริหารท่าเรือ และมีเครือข่ายธุรกิจอยู่ทั่วโลก ให้เข้ามาจัดวางระบบเป็นเวลา 2 ปี

TREVOR HAGEN BRYANS ซึ่งเป็น MANAGING DIRECTOR INTERNATIONAL PORT MANAGEMENT SERVICES ของ P & O ซึ่งได้มาร่วมพิธีเปิดสินธนโชติด้วยนั้นกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า

" P & O นั้น ตั้งมากกว่า 150 ปี เป็นผู้บุกเบิกด้าน CONTAINER ตั้งแต่มีการเริ่มระบบนี้ในยุโรป แม้โงวฮกจะตั้งมากกว่า 60 ปี แต่ก็ไม่เคยทำธุรกิจด้านนี้มาก่อนสุเมธตดต่อเราเพราะต้องการ INTERNATIONAL PRACTICE ดูแล้วมันอาจจะง่ายแค่ขนสินค้าเข้าตู้ แต่จริง ๆ แล้วมันซับซ้อนไม่น้อย ลูกค้าแต่ละรายสินค้าต่างกัน มีรายละเอียดมากมายในแง่ที่ตั้งของสินค้าจะมาถึงเมื่อไหร่ จะส่งมอบเมื่อไหร่ จะจัดพื้นที่อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามเป้าที่เราตั้งไว้ ซึ่งการใช้ระบบ MANUAL มันล้าสมัยมาก เรานำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมการขนถ่ายสินค้าและการเคลื่อนย้ายตู้รวมทั้งระบบการจัดเอกสารเพื่อให้ทันตามกำหนดนัดหมายของเรือที่จะมารับสินค้า"

สุเมธกล่าวถึงแผนการที่จะจ้างกลุ่ม P&O ให้เข้ามาบริหารท่าปูนฯ ซึ่งขณะนี้ตกลงในหลักการเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาเป็นทางการเท่านั้น เพื่อสิ่งที่เรียกว่า "INTERNATIONAL PRACTICE"

ในขณะเดียวกัน RCL ก็ต้องเตรียมการที่จะเข้าไปบริหาร GROUP OF COMPANIES ในสิงคโปร์ ทั้งยังต้องจัดระบบการสื่อสารข้อมูลระหว่าง RCL ที่สิงคโปร์กับ RCL หรือโงวฮกที่กรุงเทพฯ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างรวดเร็วมากสำรหับกลุ่มโงวฮกคำถามคือ ผู้บริหารเตรียมจัดระบบภายในและบุคลากรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

โงวฮกนั้นมีข้อเด่นที่สุดตรงที่มีบุคลากรที่มี "ความชำนาญ" (SKILL) สูง แต่จุดอ่อนก็คือความล้าหลังของระบบการบริหารที่ยังเป็นแบบเก่า พนักงานส่วนใหญ่รวมทั้งผู้บริหารเป็นคนสูงอายุที่อยู่มานาน เพราะที่นี่ไม่มีกำหนดเกษียณอายุเรียกว่าจ้างกันจนตายไปคาโต๊ะทำงานเลยบริหารงานแบบช่วย ๆ กัน ยังไม่มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนไม่มี ORGANIZATION CHART ว่ากันว่าเวลาประชุมกรรมการของโงวฮกเอเยนซีนั้นระเบียบวาระการประชุมยังไม่มีเลย

แผนกบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานที่จำเป็นสำหรับทุกองค์กรไม่เคยมีในกลุ่มโงวฮกผู้บริหารเพิ่งจะตั้งแผนกบุคคลขึ้นมาในโงวฮกเอเยนซีเมื่อประมาณ 4 เดือนก่อนโดยจ้าง ดร.กิตติ อริยพงศ์ อดีตผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดของบริษัท 3 M เข้ามาเป็นผู้จัดการฝ่าย ซึ่ง ดร.กิตติก็ต้องมาจัดทำประวัติพนักงาน ทำ JOB DISCRIPTION เตรียมงานด้านฝึกอบรมพนักงาน รวมทั้งพยายามผลักดันเอาระบบการจัดการสมัยใหม่เข้ามา

สุเมธผู้ซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารของ RCL ซึ่งเป็นที่ค่อนข้างทันสมัยและผู้บริหารของกลุ่มโงวฮกด้วยได้กล่าวถึงความจำเป็นของบริษัทที่ถึงเวลาจะต้องเปลี่ยนแปลงแล้วว่า

"เราพยายามที่จะปรับตัวเองจาก FAMILY BUSINESS ให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกให้มากกว่าเก่า ทุกอย่างมันกำลังเหมาะเศรษฐกิจโตเร็วมาก บริษัทเราก็โตเร็วมากเช่นกัน ถ้าเราไม่เปลี่ยนระบบจะลำบาก แต่จะเปลี่ยนได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงกดดันจากภายนอกภายในมันจะไปสมดุลกันที่จุดไหน ก็คงเปลี่ยนแปลงแค่นั้นภายในนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความพร้อม ความสามารถ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องมี IRRITATION (ความหงุดหงิด) เป็นของธรรมดา เพราะการเปลี่ยนแปลงมันต้องเกิดช่องว่าง และต้องมีบางคนไม่พอใจเป็นของธรรมดา แต่ก็ต้องพยายามให้มันราบรื่นที่สุด"

23-24 กันยายน กลุ่มโงวฮกจัดสัมมนาบริษัทขึ้นเป็นครั้งแรกที่ระยอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ดร.กิตติพูดถึงการสัมมนาครั้งนี้กับ "ผู้จัดการ" ว่า

"เราบอกถึงปรัชญาของการเป็น PROFESSIONAL ว่าเขาเป็นกันอย่างไร การทำงานเป็นทีมสำคัญอย่างไร ต้องอาศัยปัจจัยอะไร เราพูดถึงกฎระเบียบข้อบังคับและการใช้เอกสารในการสื่อสารแทนการใช้วาจาเตรียมปรับค่าครองชีพ รวมทั้งพูดถึงการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ (APPRAISAL) มิใช่ปรับเงินเดือนตามความรู้สึกอีกต่อไปก็เป็นการให้เข้ารับรู้ทิศทางใหม่ของบริษัทที่จะเป็นระบบสากลยิ่งขึ้น"

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นซึ่งจะเป็นจริงได้ในภาคปฏิบัติหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทั้งผู้บริหารและพนักงาน ว่าจะเข้าใจถึงสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยเพียงใด อนาคตของบริษัทที่เริ่มจะ GO INTERNATIONAL นั้นจะไปได้ไกลเพียงใดคำตอบก็อยู่ที่ตรงนี้ด้วย

ที่มา นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532

 :wanwan017:

Adminis:
หุ้นบมจ.อาร์ ซี แอล(RCL) ปรับขึ้น 1.5% ขณะที่หุ้นเพิ่มทุน 129 ล้านหุ้น

เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯวันนี้เป็นวันแรก

ราคาหุ้น RCL บวก 0.20 บาท มาที่ 13.50 บาท หลังปรับขึ้นสูงสุดที่

13.60 บาท ส่วนดัชนีหุ้นไทย ลบ 0.2%

ตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติให้หุ้นเพิ่มทุนของ RCL จำนวน 129.69 ล้านหุ้น

เข้าซื้อขายวันนี้เป็นวันแรก โดยหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม ในอัตราส่วน

4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาหุ้นละ 12 บาท--จบ--

(โดย กชกร บุญลาย รายงานและเรียบเรียง--วพ--)

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--รอยเตอร์
Thu Jun 24, 2010 9:35am IST

 :wanwan017:

Adminis:
RCL บริษัทอาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน)

Board index » การลงทุนแบบเน้นคุณค่า » ร้อยคนร้อยหุ้น(สำหรับสมาชิกทั่วไป)

http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=4&t=5403&sid=20f91b2e6bec78cca4bcf925d79bee90

 :wanwan017:

Adminis:
RCL     
ประกอบธุรกิจขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลภายในภูมิภาคเอเชียเหนือ กลาง ใต้ ตะวันตก และออสเตรเลีย โดยให้บริการขนส่งในเส้นทางระหว่างเมืองท่าหลักที่เป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้ากับเมืองท่าย่อยทั้งต้นทางและปลายทางที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง   

จากผลข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1 ม.ค. 2553 ทำให้ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย  อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต้องลดภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรม กว่า 8,000 รายการ ให้เหลือ 0%

ขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า จะทยอยลดภาษีให้เหลือ 0% ภายในปี 2558 โดยการลดภาษีนำเข้าในกลุ่มเอเซียนดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถนำเข้าสินค้าจากประเทศในภูมิภาคด้วยต้นทุนที่ถูกลง   

และจากข้อตกลง AFTA คาดว่าเอื้อประโยชน์โดยตรงต่อธุรกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนให้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากในอดีตที่มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ประกอบเดินเรือตู้คอนเทนเนอร์ ในแถบประเทศอาเซียนโดยตรง 

เนื่องจากธุรกิจเดินเรือดังกล่าว ขนส่งสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งใช้ในการอุปโภคบริโภคเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ RCL เป็นหุ้นเพียงตัวเดียวที่อยู่ในตลาดฯ ซึ่งขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ในแถบอาเซียน ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 65.8% ของปริมาณการขนส่งทั้งหมด โดยส่วนที่เหลือ ขนส่งในแถบเอเชียที่อยู่นอกเหนือจากอาเซียน แถบตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย 

และผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่ง RCL มีสัดส่วนการขนส่งถึง 16.8% คาดว่าจะช่วยให้มีปริมาณขนส่งมากขึ้น ทำให้ผลการดำเนินงาน ฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ  และเริ่มพลิกฟื้นกลับมามีกำไรได้อีก

อ่านต่อ...
http://www.doohoon.com/smf/index.php?topic=11041.0

Adminis:
บทวิเคราะห์หุ้น RCL

บมจ.อาร์ ซี แอล(RCL) มองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจเรือขนส่งประเภทบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์อย่างมีนัยสำคัญ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ทำให้การขนส่งสินค้าคึกคักขึ้น โดยเฉพาะผลจากการเปิดเสรีทางการค้าในอาเซียนบวกกับจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปที่ประเทศจีน รวมทั้งค่าระวางเรือที่ปรับตัวดีขึ้น

โบรกเกอร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า RCL ผ่านจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 1/53 ที่ยังมีผลประกอบการขาดทุน โดยจะเริ่มพลิกมีกำไรสุทธิตั้งแต่ไตรมาส 2-3 ปีนี้ ซึ่งจะทำให้ทั้งปีมีกำไร เนื่องมาจากแนวโน้มธุรกิจที่ดีขึ้น ประกอบกับหลังการเพิ่มทุนแล้วเสร็จมองภาระบริษัทลดลง

โบรกเกอร์                           คำแนะนำ                     ราคาเป้าหมาย(บาท)
บล.ทรีนิตี้                                ซื้อ                                     16.00
บล.นครหลวงไทย                    ซื้อ                                     15.00
บล.ยูไนเต็ด                          ซื้อเมื่ออ่อนตัว                            14.50
บล.เอเซียพลัส                              ซื้อ                                     17.00
นายกวี มานิตสุภวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยไทย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัสบล.เอเซียพลัส กล่าวว่า ปรับประมาณการราคาเหมาะสมเพิ่มเป็น 17.00 บาท โดยยังมีอัพไซต์กว่า 30% หลังการเพิ่มทุน เนื่องจากช่วยให้ดอกเบี้ยจ่ายต่อทุนของบริษัทลดลง

ขณะที่จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารล่าสุดพบว่าธุรกิจของ RCL มีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนจากยอดนำเข้า-ส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชียได้ฟื้นตัวดีเกินคาด รวมทั้ง อัตราค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ยังมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จาก Howe Robinson Container Index(HRCI) ซึ่งเป็นตัวแทนอัตราค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ ล่าสุดเพิ่มขึ้นมาปิดที่ 438.8 จุด

ฝ่ายวิจัยมั่นใจว่า RCL ได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วและคาดว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรได้ รวมถึงผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าทั้งปี 53 จะมีกำไรสุทธิ 600 ล้านบาท แม้ช่วงครึ่งปีแรกยังคงขาดทุนอยู่ แต่แนวโน้มบริษัทฟื้นตัวอย่างชัดเจน

รวมทั้งค่าระวางเรือได้มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยจากการที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียยังคงเติบโตได้ดี การขนส่งทางเรือดีตามด้วย แต่อาจมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจยุโรปที่ชะลอตัวมากระทบบ้าง แต่ถือว่าน้อยสำหรับ RCL เพราลูกค้าหลักอยู่ในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ จะเห็นได้ตัวเลขการขนส่งช่วงเดือนเม.ย.โตถึง 16% จากงวดเดียวกันของปีก่อน

สำหรับมูลค่าทางบัญชีของ RCL ณ สิ้นปี 53 ขยับขึ้นมา 2.4% มาอยู่ที่ 17 บาท บวกกับ Howe Robinson Index ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณบวกต่อกลุ่มเดินเรือตู้คอนเทนเนอร์ และทำให้ฝ่ายวิจัยมั่นใจว่าผลการดำเนินงานของ RCL ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังฟื้นตัว

ด้านนักวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ปรับคำแนะนำเป็น"ซื้อ"หุ้น RCL ให้ราคาเป้าหมายที่ 16.0 บาท/หุ้น จากราคาเป้าหมายที่นักวิเคราะห์โดยรวมให้ไว้ที่ 15.00 บาท ทั้งนี้ การให้ราคาเป้าหมายดังกล่าวเป็นการปรับประมาณการจากเดิมที่ 10.00 บาท และคำแนะนำเดิมคือ “ขาย"

แม้ผลประกอบการ RCL ไตรมาส 1/53 จะขาดทุน แต่เชื่อว่าปี 54 กำไรจะเติบโตได้ 400% เนื่องจากคาดว่าตลาดเรือคอนเทนเนอร์ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว สังเกตได้จากค่าระวางเรือที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับและไม่ผันผวน เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะประเทศในเอเซียอย่างจีนหรืออินเดียที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งมูลค่าการส่งออกและนำเข้าของไทยยังเติบโตได้ดี และหลังจากการเพิ่มทุนในอัตรา 4 ต่อ 1 ที่ราคา 12 บาท จะช่วยให้ D/E ลดลงเหลือ 0.9 เท่า จากเดิม 1.4 เท่า

การที่ไตรมาส 1/53 ยังคงขาดทุน เนื่องมาจากตลาดเรือคอนเทนเนอร์ยังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว ทำให้ค่าเฉลี่ยของดัชนีค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 357 จุด สูงกว่าค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนที่ 333 จุดเล็กน้อย โดยเราคาดว่าค่าระวางเรือของ RCL ในไตรมาส 1/53 นี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 178 เหรียญฯ ต่อ TEU เทียบกับต้นทุนขนส่งที่ประมาณ 168 เหรียญฯ ต่อ TEU จะมีอัตรากำไรขึ้นต้นประมาณ 6% ยังต่ำกว่าจุดคุ้มทุนที่ 10% ทำให้ผลประกอบการในไตรมาส 1/53 ยังขาดทุนอยู่

แต่คาดว่าปริมาณขนส่งในปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% โดยได้รับปัจจัยบวกเขตการค้าเสรีอาเซียนบวกกับงานเอ็กซ์โปที่เซียงไฮ้ ซึ่งการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในไตรมาส 1/53 ขยายตัวถึง 44% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

ประกอบกับ ปริมาณเรือคอนเทนเนอร์ในตลาดรวมทรงตัวอยู่ที่ระดับ 4,500 ลำ ในขณะที่จำนวนเรือคอนเทนเนอร์ต่อใหม่มีแนวโน้มลดลง ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงน้อยเมื่อเทียบกับตลาดเรือเทกองที่มีแนวโน้มการสั่งต่อเรือในตลาดเพิ่มขึ้น

ด้านสถาบันวิจัยนครหลวงไทย(SCRI) คาดว่า RCL มีแนวโน้มผลการดำเนินงานจะพลิกเป็นกำไรสุทธิได้ในงวด Q2/53 ผลการดำเนินงานเริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับตามภาวะอุตสาหกรรมเดินเรือ โดยจะเห็นได้จากปริมาณการขนส่งของ RCL ในงวด Q1/53 เพิ่มขึ้น 7.1% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน จากเดิมที่อยู่ในช่วง Down Trend

จากดัชนี HRCI ประเมินว่าค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแล้วประมาณ 39.8% YTD เป็น 466.7 จุด และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นต่อเนื่อง คาดกรอบดัชนี HRCI สูงสุดของปีอยู่ที่ 500-550 จุด โดยประเมินว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวทำให้ปริมาณขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่ได้รับแรงกระตุ้นจากจีน

SCRI คาดแนวโน้มการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมฯจะทำให้ผลการดำเนินงานของ RCL งวด Q2/53 ฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องและจะมีโอกาสพลิกจากขาดทุนสุทธิเป็นกำไรสุทธิได้อย่างชัดเจนในงวด Q3/52 ที่เป็นช่วง High Season ของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และแม้ว่าผลการดำเนินงานของ RCL งวด Q1/53 จะยังคงมีผลขาดทุนสุทธิอยู่ 341 ล้านบาท แต่ขาดทุนลดลงจากงวดเดียวของปีก่อนที่ขาดทุนกว่า 700 ล้านบาท เห็นได้ชัดเจนว่ามีสัญญาณการฟื้นตัว คาดว่าพ้นจุดต่ำสุดแล้ว และจะเป็น Up Trend ต่อจากนี้

ด้านบทวิเคราะห์ บล.ยูไนเต็ด มองว่าค่าระวางเรือที่ยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง รวมกับการจัดงานเวิลด์ เอ็กซ์โป ที่เซี่ยงไฮ้ของจีนในช่วง 1 พ.ค.- 31 ต.ค.นี้ จะช่วยกระตุ้นยอดการขนส่งให้กลับมาขยายตัวได้ ซึ่งคาดว่าทั้ง 2 ส่วนนี้จะเป็นตัวช่วยหนุนรายได้ของ RCL ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเรายังคงประมาณการณ์ว่าปีนี้บริษัทจะสามารถพลิกกลับมามีกำไร โดยคาดที่ 577 ล้านบาท (EPS 0.70 บาท/หุ้น)

ทั้งนี้ RCL จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยมีอัตราการจองซื้อ 4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคา 12 บาท/หุ้น โดยกำหนดวันขึ้น XR วันที่ 12 พ.ค.53 และกำหนดจองซื้อวันที่ 31 พ.ค.-4 มิ.ย.53 ราคาเหมาะสมหลังการเพิ่มทุนที่ 14.50 บาท

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version