●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ  (อ่าน 6969 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
บริษัทที่ทำธุรกิจเดินเรือเป็น cycle stock ที่ผลประกอบการถูกกำหนดโดยปัจจัยภายนอกซะเยอะ ถ้าปัจจัยภายนอกดีเดียวกำไรก็โตราคาวิ่งกระฉูด ธุรกิจพวกนี้รายรับขึ้นกับดัชนีค่าระวางเรือ ต้นทุนที่ขึ้นกับราคาน้ำมัน คู่แข่งก็เข้ามากันง่ายๆเห็นค่าระวางเรื่อสูงๆ กำไรดีก็สั่งต่อกันเยอะแยะ แล้วก็มาตัดราคากัน

ธุรกิจสายเรือจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
เรือที่แล่นในตลาดหุ้นไทยสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทหลักๆคือ เรือเทกอง กับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ รายรับจะขึ้นๆ ลงๆ ตามดัชนีครับ

ถ้าจะเล่นหุ้นที่เป็นเรือเทกอง (tta, psl) ดัชนีที่เกี่ยวข้องก็คือ
BDI (Baltic Dry Index)

ถ้าจะเล่นหุ้นที่เป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (rcl) ดัชนีที่เกี่ยวข้องก็คือ
HRCI (Howe Robinson Containership Index)
CCFI (China Containerize Freight Index) **
SCFI (Shanghai Containerize Freight Index) **

สำหรับ RCL เขาว่าให้ดู CCFI, SCFI  เพราะส่งไปจีนเยอะ
เรื่อง demand supply ของเรือก็ต้องใส่ใจ

****หุ้นตัวนี้ไม่ได้ใช้ BDI ดูนะ**** หลายๆคนยังเข้าใจผิด แม้แต่โบรคเกอร์
หุ้นควรจะขึ้นลงตามดัชนีตัวนี้  SCFI ซึ่งจะ update สัปดาห์ละครั้ง

ดูกราฟ CCFI, SCFI ได้ที่นี่นะครับ
http://www1.chineseshipping.com.cn/en/

ค่า Shanghai Containerized Freight Index(SCFI)
ดัชนีที่เป็นเส้นทางเดียวกับกองเรือ RCL (เค้าจะส่งข้อมูลไปให้ SCFI)
ดูได้ที่นี่ครับ
http://www1.chineseshipping.com.cn/en/indices/scfi.jsp

-----------------------------

ดูราคา Howe Robinson Container Index อัปเดททุกวันพุธ   แต่จะดูได้ในวันพฤหัสนะครับ

http://www.kmi.re.kr/Hrci.do?command=List

-----------------


 :wanwan017:

นอกจากต้องเกาะติดเรืองดัชนีค่าระวางเรือแล้วก็ต้องติดตามอัตราการสั่ง ต่อเรือด้วย ช่วงที่ค่าระวางสูงๆคนก็สั่งต่อเรือกันยกใหญ่จนตอนนี้เรือมีเป็นจำนวนมากจึง เกิดภาวะ over supply เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการดำเนินงาน

ต้องรอให้จำนวนเรือสั่งต่อน้อยลงเรื่อยๆ และผู้เล่นรายเล็กหายไปจากตลาดแหละครับ ผู้ที่ใหญ่กว่าจะอยู่ได้

สู้ต่อไปสายเรือทั้งหลาย
แต่น้องสละเรือไปก่อนละ รอเศรษฐกิจโลกดีๆ ค่าระวางพุ่ง สายเรือเล็กล้มละลายเยอะๆ เดี๋ยวเจอกัน เหอเหอ

เรือกับเหล็ก
เหล็กมันหนักก็ต้องขนทางเรือครับ เรือเทกองจะได้ประโยชน์ ช่วงไหนตลาดเห็นเหล็กขึ้นก็จะไปเก็งเรือเทกองกันครับ เพราะเชื่อว่าจะได้ประโยชน์

เรียบเรียงจากเว็ป thaivi http://board.thaivi.org/viewtopic.php

ที่มา http://www.investidea.in.th/2012/12/blog-post_24.html

 :wanwan017:

rclgroup.com เว็บไซต์ของบริษัท RCL
https://www.rclgroup.com/investor-annualreport.aspx

ถ้าราคาน้ำมันตกต่ำ RCL จะได้ประโยชน์ เพราะทำให้ต้นทุนในการเดินเรือถูกไปด้วยครับ แต่ถ้าน้ำมันแพง ก็จะเป็นตรงกันข้ามกันครับ

 :wanwan017:

ส่วนปริมาณการขนส่งของ RCL สามารถคำนวนดูได้คร่าวๆจาก ปริการส่งออกและนำเข้าจากต่างประเทศโดยกระทรวงพาณิชครับ

การขนส่งของ RCL ก็จะเป็นสินค้าที่ส่งทางตู้คอนเทนเนอร์ ก็จะเป็นสินค้าพวกแนวๆนี้นะครับ

- สินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นหลักๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า

- วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ และเฟอร์นิเจอร์

- กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ

สัดส่วนการขนส่งของ RCL ในภูมิภาค แบ่งเป็น

ASEAN 67.8 %

CHINA 16.8 %

Middle Eastearn 8 %

etc. 5.4 %

--------------------------

ดูราคาหุ้นได้ที่นี่ครับ
RCL:TB  BANGKOK
Regional Container Lines PCL

http://www.bloomberg.com/quote/RCL:TB

 :wanwan017:

----------------------------

ดูกราฟราคาหุ้นย้อนหลัง 20 ปีได้ที่นี่ครับ

http://www.investing.businessweek.wallst.com/research/stocks/charts/charts.asp?ticker=RCL:TB

 :wanwan017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 31, 2015, 03:10:11 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 11:08:49 AM »
บันทึกการลงทุน RCL

รอบที่แล้ว พีคถึงพีค 12ปี ตอนนี้ผ่านมาแล้ว 10ปี แต่การจะไปพีค ต้องเริ่มไต่ระดับราคา ดังนั้น หากระยะเวลาเหมือนเดิม ลงไปนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาของการไต่ระดับราคา คำนวนในแง่ กราฟ ก็จะไปตรงกับคุณ สกาย ที่มองว่า ค่าระวาง จะเริ่มขยับขึ้นในปีนี้ และ suply จะเริ่มน้อยกว่าดีมานด์ ในปี 2016           2ปีพอดี

อ่านต่อ...
http://jo7393invest.blogspot.com/2014/07/rcl_28.html

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 11:10:49 AM »
รูปกราฟ ดัชนีค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ กับราคาหุ้น rcl ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

http://www.bloomberg.com/quote/bdiy:ind/chart
Add comparison: RCL:TB


-----------------


วิเคราะห์ตลาด HRCI
http://en.asiasis.com/bbs/board.php?bo_table=jisu2


-----------------

Howe Robinson Container Index

http://www.lloydslist.com/ll/sector/containers/article370838.ece

-----------------

Howe Robinson Containership Index (HRCI) - Ocean Partners Shipping

http://op-shipping.de/markt/hrci.php

-----------------

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2015, 01:37:01 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 11:15:24 AM »
Howe Robinson Container Index สูงสุดในรอบ 3 ปี

หลังจากที่ส่วนใหญ่ผิดหวังกับผลประกอบการในไตรมาส 3 ปี 2557 ที่กำไรน้อยกว่าไตรมาส 2 ปี 2557  แม้ว่าจะเทียบกับไตรมาส 2 ปีที่แล้ว  พลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไรได้ก็ตาม  เลยส่งผลให้นักลงทุนที่รู้สึกผิดหวังกับผลประกอบการ ขายหุ้นทิ้งแบบไม่มีเยื่อใยกับหุ้นตัวนี้อีกไป  ทำให้ราคาหุ้นลงมาแรงมากๆ

โดยทั่วไปแล้ว  การเอากำไรของเรือมาเทียบ QoQ นั่นคงไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่  เรือมันก็มีปัจจัยผลกระทบทางด้านฤดูกาลด้วย  เพื่อขจัดปัจจัยด้านฤดูกาลควรจะใช้ YoY มากกว่า  ในช่วงไตรมาส 3 ก็อย่างที่ทราบกันดีว่าเป็นช่วงหน้าฝน เป็นฤดูมรสุม  การเดินทางทางทะเลย่อมมีอุปสรรคมากกว่าช่วงฤดูอื่นๆ  แม้สเปรดไตรมาส 3 ปี 2557 จะมากกว่าไตรมาส 2 ปี 2557  มันก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้กำไรในไตรมาส 3 ดีกว่าไตรมาส 2 ได้ครับ

แม้ไตรมาส 3 จะผิดหวัง  แต่ว่าสำหรับนักลงทุนที่มีความเชื่อมั่นอยู่  ไตรมาส 4 ก็ไม่น่าจะสิ้นหวังนะครับ

Howe Robinson Container Index ล่าสุดขึ้นไปอยู่ที่ 544 จุด  ทำจุดสูงสุดในรอบ 3 ปีเลยทีเดียว  น่าจะพอหวังได้ว่าทิศทางของเรือตู้ยังไม่ใช่ขาลงครับ

อ่านต่อ...
http://pantip.com/topic/32853459

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 11:18:10 AM »
RCL ขึ้น Top Pick กลุ่ม อัพไซด์เกิน 30%
รับค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์นิวไฮต่อเนื่อง


บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (5 ก.พ.) ล่าสุดพบว่าดัชนีค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ Howe Robinson Index (HRCI) (รายงานทุกวันพุธ) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 1.78% มาอยู่ที่ 571 จุด ทำสถิติสูงสุดใหม่ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 (หรือเพิ่มขึ้น 5.4% จากยอดสะสมในช่วง 5 สัปดาห์ก่อนหน้า)

แม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวล่าช้า แต่การขนส่งสินค้าอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในการดำรงชีพยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ทำให้มีความต้องการใช้เรือคอนเทนเนอร์ ซึ่งใช้ขนส่งสินค้าดังกล่าว เป็นหลัก เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้คาดว่า รายได้ค่าระวางเรือเฉลี่ยต่อตู้ของ RCL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1/58

บวกกับ RCL ยังได้รับอานิสงค์ที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยปีนี้ลดลงจากปี ก่อนหน้าอย่างมีนัยสำคัญ แม้ขณะนี้ราคาน้ำมันจะฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดที่ 43-44 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขึ้นมาที่ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรลแต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในไตรมาส 1/57 กว่า 50% เนื่องจากต้นทุนหลักสัดส่วนราว 20%-30% คือต้นทุนน้ำมัน

ขณะที่ RCL มีการทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าไว้เพียง 25% และทยอยเพิ่มสัดส่วนสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกต่ำมาก ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำทำกำไรดีขึ้นชัดเจน

นอกจากนี้ ในปีนี้ RCL มีแผนเชิงรุกตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการขนส่งขึ้นจากปีก่อนหน้าราว 5% ด้วยปัจจัยหนุนดังกล่าว ทำให้ฝ่ายวิจัยมีแนวโน้มทบทวนปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ RCL หลังประกาศงบไตรมาส 4/57 อีกทั้ง ณ ราคาปัจจุบัน RCL ยังมี PBV อยู่ที่ 0.77 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มฯที่ 1.21 เท่า และยังมี ROE สูงเป็นอันดับ 3 ของกลุ่มที่ 7.7% จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” RCL (FV@B 11.8) มี Upside 30.3% และเลือกเป็น Top Pick กลุ่มฯ

ที่มา http://www.kaohoon.com/online/content/view/1667/RCL%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99TopPick%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9930%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2015, 12:01:43 PM »
คุณจำลอง อติกุล ประธานกรรมการ RCL
ที่มา http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=RCL&ssoPageId=4&language=th&country=TH

ข้อมูลคุณจำลอง อติกุล ประธานกรรมการ
สุดท้ายที่รุ่นเก๋าอย่าง ‘จำลอง อติกุล‘
เป็นผู้อาวุโสสุดในบรรดา กนง. ใหม่ทั้ง 4 คน
โดยมือดีด้าน ‘การเงิน-ธนาคาร’ คนหนึ่งของไทย
ในอดีตเคยเป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
และเป็นกุนซือนำทัพนาคารกรุงศรีรอดพ้นจากการแทรกแซง ในช่วงวิกฤติปี 40

หลังออกจากธนาคารกรุงศรีในปี 48
ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการ ธนาคารกรุงไทย
ช่วงที่ ‘อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์’ นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่
ก่อนลาออกในปี 54

โดยสำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอก วางแผนภาค และเมือง มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐ

เปิดประวัติ ‘บอร์ดกนง.’ ชุดใหม่ ส่วนผสมที่ลงตัวทั้งรุ่นเก๋า และดาวรุ่ง ครบเครื่องทั้งการเงิน การคลัง และตลาดทุน
ที่มา http://news.mthai.com/hot-news/386274.html
 :wanwan017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2015, 12:05:59 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 12:16:20 PM »
ข้อมูลเงินปันผลย้อนหลัง
บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน)
RCL (SERVICES/TRANS)
วันที่ประกาศ              วันที่ขึ้นเครื่องหมาย (XD)  วันที่จ่ายเงินปันผล    ประเภทการปันผล    มูลค่า (ต่อหุ้น)    หน่วย
18/03/2015    01/04/2015    22/05/2015    เงินปันผล       0.1000    บาท
21/03/2008    02/04/2008    16/05/2008    เงินปันผล       1.0000    บาท
10/08/2007    23/08/2007    07/09/2007    เงินปันผล       0.5000    บาท
21/03/2007    03/04/2007    16/05/2007    เงินปันผล       1.0000    บาท
11/08/2006    22/08/2006    08/09/2006    เงินปันผล       0.5000    บาท
28/03/2006    05/04/2006    26/05/2006    เงินปันผล       1.5000    บาท
09/08/2005    19/08/2005    05/09/2005    เงินปันผล       1.0000    บาท
15/03/2005    04/04/2005    27/05/2005    เงินปันผล       1.5500    บาท
09/08/2004    18/08/2004    03/09/2004    เงินปันผล       0.4500    บาท
25/03/2004    07/04/2004    21/05/2004    เงินปันผล       0.4500    บาท
21/03/2003    03/04/2003    30/11/-0001    เงินปันผล       2.0000    บาท
23/09/2002    03/10/2002    22/10/2002    เงินปันผล       2.0000    บาท
23/03/2000    07/04/2000    26/05/2000    เงินปันผล       2.0000    บาท
30/03/1998    08/04/1998    29/05/1998    เงินปันผล       1.5000    บาท
24/03/1997    03/04/1997    23/05/1997    เงินปันผล       10.5000    บาท
25/03/1996    03/04/1996    24/05/1996    เงินปันผล       10.5000    บาท
24/03/1995    05/04/1995    26/05/1995    เงินปันผล       8.0000    บาท
22/03/1994    07/04/1994    27/05/1994    เงินปันผล       7.5000    บาท
29/03/1993    07/04/1993    30/11/-0001    เงินปันผล       6.6500    บาท
26/03/1992    09/04/1992    30/11/-0001    เงินปันผล       10.5000    บาท
01/04/1991    09/04/1991    30/11/-0001    เงินปันผล       10.5000    บาท
28/03/1990    09/04/1990    30/11/-0001    เงินปันผล       4.5000    บาท
29/08/1989    11/09/1989    10/11/1989    เงินปันผล       6.0000    บาท
01/03/1989    14/03/1989    30/11/-0001    เงินปันผล       10.0000    บาท

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 12:29:22 PM »
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
1.     บริษัท โงวฮก จำกัด    208,812,500    25.20
ที่มา  http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=RCL&ssoPageId=6&language=th&country=TH

ข้อมูล บริษัท โงวฮก จำกัด

   บริษัท โงวฮก จำกัด ถือกำเนิดจาก นายตันจินเก่ง หรือนายจิตติน ตันธุวนิตย์ เกิดความคิดว่าธุรกิจ บริการขนส่งทางน้ำน่าจะเกิดขึ้นและบริหารด้วยคนไทยเองได้ นายจิตตินจึงได้ชักชวนเพื่อน ๆ อีก 4 คนมาร่วมลงทุนด้วยคือ นายเลียบคุน หรือ นายมา บุลกุล, นายเจียร กอวัฒนา, นายตันลูเซ็ง, นายโล่วเต็กชวน (บิดา คุณเท้ง บุลสุข) โดยตั้งชื่อบริษัทที่ก่อตั้งในปี 2472 ว่า "โงวฮก" เป็นภาษาแต้จิ๋วแปลว่าโชคทั้งห้า  และได้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางน้ำ อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่นายจิตตินจะตั้งบริษัทโงวฮกนั้นได้มีประสบการณ์ด้านนี้อยู่แล้ว โดยได้ร่วมกับตระกูลหวั่งหลีทำการค้าทางเรือระหว่างไทยกับจีน ทำการขนส่งสินค้าทางน้ำระหว่างไทยกับจีน

     ในปี 2528 มีการตั้ง บริษัท โหงวฮกเอเยนซี่ จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินกิจการนายหน้าขนส่งสินค้าทางทะเล

การให้บริการ
      บริษัท โหงวฮก เอเยนซี จำกัด  เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการเป็นตัวเแทนสายเรือระหว่างประเทศ  ให้บริการขน
ส่งสินค้าระหว่างประเทศไทย  กับนานาประเทศเกือบทั่วโลก   และเป็นบริษัทคนไทยแห่งแรกที่นำการขนส่งระบบ
Container ทางทะเลมาใช้ในประเทศ อีกทั้งบริษัทฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการขนส่งสินค้าในอนาคต
ที่จำเป็นต้องมี การให้บริการอย่างครบวงจร


     บริการเสริมต่าง ๆ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจากผู้ดำเนินธุรกรรมอาทิเช่น

     - สถานีตรวจปล่อยและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนแทนเนอร์ (off dock CFS) บ. สินธนโชติ จำกัด
     - ท่าบก หรือ ICD ให้บริการทั้งตู้เต็มและสินค้าผ่านโรงพักสินค้าทั้งสินค้าขาเข้าและขาออก
       บ. เอ็นเอช พรอสเพอริตี้ จำกัด
     - ท่าเรือบริหารงานโดยเอกชน ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ท่า TIPS บ. TIPS จำกัด
     - ท่าเรือเอกชนในย่านอุตสาหกรรมเริ่มต้นทางกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ บ. ไทยพรอสเพอริตีเทอมินอล จำกัด
     - ท่าเรือเอกชน ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต บ. ไทยพรอสเพอริตีเทอมินอล จำกัด
     - ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางบก ทั่วประเทศโดยรถหัวลาก บ. 127 จำกัด

ที่มา http://www.ngowhock.co.th/profile.htm

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 12:32:44 PM »
Regional Container Lines หรือ RCL

  Regional Container Lines หรือ RCL สายการเดินเรือของคนไทยภายใต้บริษัทในกลุ่ม อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการให้บริการเรือขนถ่ายตู้ลำเลียงสินค้า (Feeder) ในเส้นทาง Intra-Asia เป็นพิเศษ โดยให้บริการด้วยเรือที่ทันสมัย ซึ่งเรือส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.5) มีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น

     RCL ก่อตั้งโดยบริษัทโงวฮก จำกัด ในปี ค.ศ. 1980 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1991 ได้สั่งซื้อเรือลำแรกในชื่อว่า "ศิริภูมิ" โดยนำมาให้บริการในเส้นทางกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ จากนั้นในปี ค.ศ. 1987 ได้เปิดให้บริการเส้นทางเดินเรือใหม่ระหว่างกรุงเทพฯ-เกาซุง

     ในปี ค.ศ. 1988 RCL ได้ทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกันนี้ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 55 ล้านบาท เป็น 70 ล้านบาท และทำการเพิ่มทุนอีกครั้งเป็น 84 ล้านบาทในปี  ค.ศ. 1989 ทั้งยังได้ขยายเครือข่ายการบริการเข้าไปในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

     ปัจจุบันกลุ่มบริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) มีบริษัทในเครือทั้งที่จดทะเบียนในประเทศไทยและในต่างประเทศ  อาทิเช่น  สิงคโปร์  ออสเตรเลีย ปานามา จีน เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 26 บริษัท โดยบริษัททั้งหมดประกอบกิจการ ด้านการขนส่งสินค้าทางทะเล หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น

     RCL มีกองเรือที่ประกอบด้วยเรือขนส่งตู้ลำเลียงสินค้า จำนวนทั้งสิ้น 32 ลำตั้งแต่ขนาดบรรทุุตู้ Container ประมาณ 400 TEU จนถึง 1,500 TEU ให้บริการขนส่งสินค้าในแถบเอเซียโดยอายุการใช้งานของเรือโดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 ปี

     ตลอดระยะเวลากว่า 18 ปี ในการดำเนินธุรกิจของ RCL บริษัทได้พยายามสรรหาสิ่งที่ดี ให้บริการแก่ลูกค้าเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในเรือใหม่ การลงทุนในกิจการทีเกี่ยวเนื่องเพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1998 RCL สามารถขนส่งตู้ Container รวมทั้งสิ้น 1,290,000 TEU

     อย่างไรก็ตาม RCL ยังคงก้าวไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง โดยขยายเส้นทางเดินเรือและธุรกิจต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบริการได้ครอบคลุมภูมิภาคนี้ อาทิเช่น บริการสงขลา - กรุงเทพฯ - กัมพูชา, บริการรับส่งสินค้าทางทะเลสู่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, รวมถึงการรับส่งสินค้าในประเทศจีน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกชาวไทย สามารถนำผลิตภัณฑ์ของตนเข้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อให้สมกับความภาคภูมิที่เป็น "สายการเดินเรือสัญชาติไทย"

ที่มา http://www.ngowhock.co.th/rcl_profile.htm

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2015, 10:26:53 PM »
ทัพใหม่ RCL GO INTERNATIONAL ! (1)

อาร์ซีแอล GO INTERNATIONAL ด้วยการซื้อกลุ่มบริษัทเรือ 5 บริษัทของสิงคโปร์ ทำไมอาร์ซีแอลต้องซื้อ ทั้ง ๆ ที่เคยมีแผนการมาก่อน การซื้อครั้งนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของอาร์ซีแอล หรือถ้าพูดให้ถูกคือจุดเปลี่ยนของกลุ่มโงวฮก ซึ่งเป็นบริษัทเดินเรือเก่าแก่ที่มีการปรับเปลี่ยนน้อยมากมาตลอดหกทศวรรษก็ถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยนเสียที

ปลายปี 2531 RCL ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นบริษัทเรือแห่งแรก ที่นำบริษัทเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

และกันยายน 2532 RCL ได้สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเป็นบริษัทเรือแห่งแรกของไทยที่ได้ทำการซื้อกิจการเดินเรือของสิงคโปร์

การซื้อครั้งนี้นับว่าสร้างความฮือฮาให้กับคนในแวดวงเดินเรือไม่น้อย และสำหรับคนนอกวงการที่ไม่รู้จัก RCL ก็พากันสงสัยไม่น้อยว่าแท้จริงแล้วกลุ่ม RCL นี้คือใครกันแน่ มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไรในการซื้อขายกันครั้งนี้และจะส่งผลต่อสถานะของ RCL อย่างไร

RCL เป็นชื่อย่อของบริษัท REGIONAL CONTAINER LINES ประกอบกิจการรับส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศในระบบ "คอนเทนเนอร์" ประเภทเรือ FEEDER เพื่อนำไปขนถ่ายลงเรือที่ไม่สามารถเข้ามาในน่านน้ำเจ้าพระยาได้ก่อนที่จะบรรทุกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

RCL ถือกำเนิดขึ้นในปี 2523 โดยการร่วมทุนระหว่างฝ่ายไทยคือบริษัทโงวฮกและ SINGAPORE SHIPPING CORKPORATION (SSC) ฝ่ายสิงคโปร์ ในสัดส่วน 75:25

โงวฮกเป็นบริษัทเดินเรือที่มีอายุอย่างเข้าสู่ปีที่ 61 เข้าไปแล้ว นับว่าเป็นบริษัทเดินเรือที่มีอายุยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของไทย เก่าแก่กว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเพิ่งจะมีอายุเพียง 38 ปีเท่านั้น

ความที่เป็นบริษัทที่ก่อตั้งมานานคนเก่าแก่ที่อยู่ทันยุคสมัยแรก เริ่มล้มหายตายจากไปเกือบสิ้นแล้ว ทำให้ประวัติช่วงบุลสุข ประธานกรรมการของ RCL ซึ่งปัจจุบันอายุ 81 ปีแล้ว แต่ก็ยังมาเซ็นเช็คที่บริษัททุกวันเล่ากับ "ผู้จัดการ" ว่า

"ผมเองก็ไม่ทราบแน่ชัดเพราะไม่ได้มาร่วมงานแต่แรก คนที่รู้ดีว่าผมส่วนใหญ่ตายไปหมดแล้ว คนที่ริเริ่มบริษัทคือตันจิ้นเก่งหรือจิตติน ตันธุวนิตย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ทำงานอยู่กับตระกูลหวั่งหลี ขณะนั้นทำการค้าขายระหว่างไทยกับจีนโดยทางเรือ มีความคิดว่าน่าจะมีธุรกิจบริการขนส่งทางน้ำที่เป็นของไทยเอง จึงชัดชวนเถ้าแก่โรงสี 4 คนเข้ามาร่วมคือ มาเลียบคุนหรือมาบูลกุล, เจียร กอวัฒนา, ตันลูเช็ง, โล่วเตี๊ยกชวน (พ่อของเท้ง) รวมตันจินเก่งเป็น 5 คนตั้งชื่อว่า โงวฮก"

นั่นคือที่มาของชื่อโงวฮก ซึ่งเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วแปลว่า "โชคทั้งห้า"

เล่ากันว่าผู้ที่มาลงขันร่วมทุนทั้ง 4 คนนั้น แต่ละคนก็มีฐานะจัดอยู่ในระดับเจ้าสัวทั้งสิ้น ดังจะได้ยินผู้คนเรียกขานชื่อต่อท้ายคนเหล่านี้เช่น "โล่วเตี๊ยกชวนเอี๊ย" ซึ่งหมายถึงเจ้าสัวโล่วเตี๊ยกชวน ขณะที่ตันจินเก่งนั้นเป็นคนธรรมดา ที่ไม่ได้มีเงินทองอะไรมากนัก อาศัยมีฝีมือและความเฉลียวฉลาดบริหารกิจการเดินเรือจนเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของบรรดาเจ้าสัวทั้งหลาย แล้วตันจินเก่งก็ค่อย ๆ เริ่มซื้อหุ้นเป็นของตนบ้างจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยคนหนึ่งไปในที่สุด

พงษ์ศักดิ์ เมฆใจดี ลูกน้องเก่าของตันจินเก่งที่ร่วมงานกับโงวฮกมาหลายสิบปีกล่าวถึงตันจินเก่งว่า "การทำกิจการเดินเรือระหว่างประเทศไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เราไม่มีเรือของเราเอง ต้องเช่ามาจากหลายประเทศเช่นนอร์เวย์ เครดิตเราต้องดีมาก เขาถึงจะเชื่อใจ ซึ่งตันจินเก่งนั้นเป็นคนที่เอาใจใส่ในการบริหารเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่รักของคนงาน เรือเข้าตีหนึ่ง ตีสองนี่เขาจะต้องลงไปดูแล นานาชาติให้ความเชื่อถือเรามีเรือมากมายที่ทาสีปล่องเป็นสีน้ำเงินมีดาว 5 ดวง เป็นธงบริษัทโงวฮก"

SSC ก็เป็นบริษัทที่ทำกิจการเดินเรือมาช้านานแม้ว่าจะไม่เก่าแก่เท่าโงวฮกก็ตามแต่ผู้ก่อตั้งของทั้งสองบริษัท เช่น มร.กัวกับตันจินเก่งก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันในฐานะที่ทำธุรกิจร่วมกันมาไม่น้อย โดยที่ SSC เป็นเอเยนต์ให้แก่โงวฮก

และความสัมพันธ์นี้ก็ยังดำรงต่อมาแม้ว่าตินจินเก่งเสียชีวิตไปนานแล้วตั้งแต่ปี 2510 กว่า ๆ ยงกิตต์ โสธิกุล เพื่อนที่ร่วมงานบุกเบิกมาด้วยกันกับตันจินเก่งขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่สืบสานงานต่อไป จนกระทั่งลูก ๆ ของตันจินเก่งเรียนจบและเริ่มเข้ามาบริหารงานต่อไป ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของโงวฮก

นับเป็นเวลายาวนานหลายศตวรรษที่มนุษย์ทำการขนส่งทางทะเลที่เรียกกันว่าระบบ CONVENTIONAL หรือก็คือการขนถ่ายสินค้าเทกอง

ปลายทศวรรษที่ 19 มนุษย์คิดค้นระบบการขนส่งแบบใหม่ที่เรียกว่า ระบบคอนเทนเนอรืพูดง่าย ๆ ก็คือนำสินค้าบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์ก่อนที่จะนำลงเรือ

การเปลี่ยนระบบครั้งนี้มันมีผลต่อการซื้อขายสินค้าเป็นอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญในวงการเรืออธิบายกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"เมื่อก่อนเรือคอนเวนชั่นนอล เป็นเรือที่ต้องเช่ามาขนถ่ายสินค้าโดยเฉพาะและต้องมีจำนวนมาก ๆ ทำให้ต้องซื้อขายเยอะ แล้วต้องมีอินเวนทอรี่มาเก็บไว้มากแต่เดี๋ยวนี้คอนเทนเนอรืเป็นที่ยอมรับ เป็นการขนส่งในระบบ JUST IN TIME (ทันเวลาพอดี) แล้วมาประจำอาจจะอาทิตย์ละ 1 ครั้ง มันทำให้ไม่มีสินค้าคงเหลือหรือมีก็น้อยมาก ระบบนี้มันทำให้อะไรถูกลงไปได้เยอะ ลดต้นทุนการผลิต การขนส่งในระบบคอนเทนเนอร์เหมือนรถเมล์ที่มีระยะเวลามาแน่นอน เช่น 10 นาทีคันหนึ่ง ขณะที่แบบ CONVENTIONAL เหมือนรถแท๊กซี่ซึ่งต้องเรียกถึงจะมา"

ช่วงสิบกว่าปีก่อนมีคนเริ่มนำระบบนี้มาใช้ในเมืองไทย ซึ่งโงวฮกก็เป็นบริษัทหนึ่งที่ตัดสินใจว่าจะต้องเปลี่ยนไปสู่ระบบใหม่ทั้ง ๆ ที่บริษัทเรือส่วนใหญ่ก็ยังเปลี่ยนมาใช้ระบบนี้กันไม่มากนัก

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงนั้น โงวฮกมีผู้นำคนใหม่ซึ่งเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงซึ่งเป็นลูกชายแท้ ๆ ของตันจินเก่ง ชื่อสุเมธ ตันธุวนิตย์ ซึ่งกว่าที่ตันจินเก่งจะได้ลูกชายนั้น เขาได้ทำบุญอยางมโหฬารตามคำทำนายของซินแสผู้หนึ่ง ซึ่งตันจินเก่งได้ทำงานในฐานะประธานมูลนิธิปอเต็กตึ๊งนานหลายสมัย ช่วยหาเงินเข้าสถานเสาวภาก็ไม่น้อย จนมีชื่อเสียงโด่งดังได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถอยู่เนือง ๆ จนได้ชื่อและนามสกุลพระราชทานว่า "จิตติน ตันธุวนิตย์"

สุเมธนั้นเรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์เกียรตินิยมจากจุฬาฯ และปริญญาโทวิศวกรรมจากเอไอที. เขารักงานด้านวิศวกรรมมาก หลังจากเรียนจบแล้วก็ร่วมทุนกับเพื่อนตั้งบริษัทวัฒนาเอ็นจิเนียริ่งซึ่งรับงานใหญ่ ๆ หลายแห่งเช่นวางระบบไฟฟ้าให้กับสนามบินอู่ตะเภา โดยที่ไม่เคยคิดว่ตนเองจะต้องโดดเข้ามาในธุรกิจเรือจนกระทั่งพ่อสิ้นลม ชีวิตสุเมธก็ต้องหักเหครั้งสำคัญด้วยการเข้าทำงานในบริษัทที่พ่อเขาสร้างขึ้นมากับมือเมื่อ 16 ปีที่แล้ว

พร้อม ๆ ไปกับการตัดสินใจเปลี่ยนมาเป็นระบบคอนเทนเนอร์ สุเมธเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่โงวฮกควรจะมีเรือเป็นของตัวเอง (คนเก่าแก่ของโงวฮกแย้งว่าเมื่อก่อนโงวฮกก็เคยมีเรือของตัวเองเช่นกัน) แทนที่จะเช่าเขาร่ำไป

นั่นก็คือที่มาของบริษัท RCL ซึ่งโงวฮกร่วมทุนกับ ssc ในปี 2523 เป็นบริษัทซึ่งเริ่มแรกเป็นเจ้าของเรือ 2 ลำ เรือลำแรกของบริษัทคือ "เรือศิริภูมิ" ซึ่งสั่งต่อใหม่ให้เหมาะสมกับเรือขนส่งระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ โดยเฉพาะ ปี 2526 บริษัทซื้อเรือใช้แล้วจากญี่ปุ่นมาวิ่งเพิ่มและในปลายปี 2530 บริษัทได้เปิดเส้นทางสายใหม่ สายกรุงเทพฯ-เกาจุง (ประเทศไต้หวัน)

หากเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจเดินเรืออาจจะจินตนาการไม่ออกว่าการเปิดเส้นทางเดินเรือใหม่แต่ละครั้งไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ นักสุเมธอรรถาธิบายกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"สมมติเราจะเปิดเส้นทางใหม่ เราต้องดูก่อนว่าเส้นทางนั้นเป็นแบบไลน์เนอร์ (วิ่งเป็นประจำเส้นทาง) หรือเปล่า เราต้องตรวจสอบดีมานด์ว่ามันมีหรือเปล่า ถ้ามีมาจากไหน แล้วเราจะแย่งลูกค้าจากคนอื่นได้อย่างไร ซึ่งลูกค้าต้องการอย่างน้อย 3 ประการ หนึ่ง-ประหยัด สอง-สะดวก สาม-พึ่งพาได้ (RELIABLE) ถ้าดูปัจจัยทุกตัวแล้วมันเป็นบวกเราก็เปิดได้ ซึ่งตอนแรกจะต้องขาดทุนก่อน กว่าเราจะ CONVINCE ให้ลูกค้ามาทางเรา นกนั้นกว่าจะยอมทำรังมันต้องกินเวลา คนอื่นเขาก็วิ่งด้วยก็ต้องฟาดฟันกัน แล้วถ้าเราอยู่รอดคนอื่นเขาก็อาจจะต้องเลิก ระหว่างการต่อสู้เราก็ต้องยอมขาดทุน เส้นทางต่าง ๆ กว่าจะสร้างขึ้นมาได้ต้องผ่านกระบวนการและความลำบากไม่น้อย ลำพังท่าเรือเกาจุงที่ไต้หวันกว่าจะเห็นหน้าเห็นหลังก็เกือบสองปี การขยายแต่ละเส้นทางกินเวลาไม่น้อยเลย"

หลักคิดของ RCL แต่เดิมนั้นก็ถือว่ากรุงเทพฯเป็นฐานที่มั่น จะขยายตัวออกไปเส้นทางใดก็จะยึดกรุงเทพฯเป็นหลักเสมอแล้วค่อย ๆ ขยายไปทีละเส้นทาง ซึ่งจนกระทั่งถึงปี 2532 RCL ได้ทำการเดินเรืออยู่เพียง 2 เส้นทางคือกรุงเทพฯ-สิงคโปร์และกรุงเทพฯ-เกาจุง

กระทั่งต้นปี 2532 กลุ่ม ssc ได้ขายหุ้นทั้งหมด 25 เปอร์เซ้นต์ที่มีอยู่ใน RCL ออกไปจนหมดสิ้น ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ RCL ก็ดูเหมือนจะก่อรูปขึ้นอีกครั้ง

ย้อนหลังกลับไปที่สิงคโปร์เมื่อเกือบสองปีก่อนผู้บริหารกลุ่ม ssc ได้ตัดสินใจขายหุ้นของตนทั้งหมดใน ssc ให้แก่นักลงทุนจากประเทศออสเตรเลียด้วยเหตุผลไม่แจ่มชัด เพีนงแต่คาดกันว่าส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกลุ่ม ssc มีธุรกิจอื่นที่นอกจากกิจการเดินเรือเช่นการทำเรียลเอสเตรด ซึ่งให้ผลตอบแทนที่มากกว่าธุรกิจเดินเรือ จึงตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดให้แก่นักธุรกิจจากออสเตรเลียเพื่อนำเงินไปลงทุนในด้านอื่น

กลุ่มออสซี่ซึ่งเป็นผู้บริหารใหม่ของ ssc นั้น เป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีธรรมชาติเป็นผู้ทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป หวังกำไรจากมูลค่าเพิ่มของการซื้อขายกิจการมิได้มีความชำนาญในธุรกิจเดือนเรือแต่อย่างใดนั่นนับว่าสร้างความลำบากใจให้กับผู้ปฏิบัติงานดั้งเดิมของ ssc ซึ่งถือว่าพวกตนเป็นมืออาชีพที่ทำธุรกิจนี้มานานนับสิบปี ความขัดแย้งภายในจึงปรากฏอยู่เนือง ๆ

ต้นปี 2532 RCL ตัดสินใจบอกเลิกการให้ ssc เป็นเอเยนต์ทั้งที่เป็นกันมานานนับสิบปี สุเมธให้เหตุผลการตัดสินใจที่ค่อนข้างจะรุนแรงต่อฝ่าย ssc กับ "ผู้จัดการ" ว่า

"เราเปลี่ยนเอเยนต์เพราะสิงคโปร์ชิปปิ้งเขาทำไม่ดี 1) แพง 2) ไม่ตั้งใจทำงานคือเขามักจะคิดอยู่เรื่อยว่า เขานี่เป็นหุ้นส่วนเรา เพราะฉะนั้นเราคงไม่เปลี่ยนเขา เขาก็เลยทำงานแบบชุ่ยๆ ซึ่งผมก็ว่าเขาหลายครั้งแล้วแต่เขาไม่เชื่อเหตุการณ์ครั้งนี้มันเกิดขึ้นมาจากความไม่พอใจของเรา ตอนนั้นเราคิดว่าปล่อยไปอย่างนั้นเรามีแต่จะเสียเราก็ยื่นโนตีสก่อนนะ ไม่ใช่เปลี่ยนพรุ่งนี้เลย ให้เวลา 3 เดือนหลังจากนั้น"


ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2015, 10:27:19 PM »
ต่อนะครับ...
ถ้าหากว่า RCL เปลี่ยนเป็นเอเยนต์อื่นเลยตามที่มีหลายบริษัทเข้ามาเสนอตัวกับ RCL เรื่องก็จะไม่บานปลายต่อไปอีก

SSC เป็นบริษัทเดินเรือที่จัดว่าใหญ่บริษัทหนึ่งทีเดียวรับเป็นเอเยนต์ให้กับสายการเดินเรือทั่วโลก ลำพังแผนกเอเยนต์เรือ FEEDER ก็มีพนักงานเกือบร้อยคนเข้าไปแล้ว พนักงานเหล่านี้มีความไม่ค่อยพอใจผู้บริหารใหม่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเกิดเรื่องกับ RCL พนักงานเหล่านี้เกิดมีความคิดว่าน่าจะไปตั้งบริษัทใหม่แล้วรับเป็นเอเยนต์ให้ RCL เหมือนเดิม

นั่นก็คือที่มาของบริษัท เกรท รีเจ้นท์ ซึ่งพนักงานทั้งแผนก FEEDER ของ SSC พากันยกยวงออกมาทั้งแผนก โดยกล่าวกันว่าพนักงานลงขันกันเอง โดยมีกระแสข่าวที่ไม่ยืนยันว่า RCL ลงขันหรืออยู่เบื้องหลังด้วยหรือไม่

เหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความไม่พอใจแก่เจ้าของชาวออสซี่เป็นอันมากที่ต้องเสียทั้งธุรกิจและคนของตน ซึ่งทำให้เขาแทบจะต้องเลิกธุรกิจในด้านนี้ไปเลย ปฏิกิริยาตอบโต้อย่างทันควันก็คือการขายหุ้นทั้งหมดของ SSC ใน RCL โดยที่ผู้บริหารของ RCL ไม่รู้เรื่องเลยจนกระทั่งทะเบียนผู้ถือหุ้นที่เปิดเผยออกมาที่ตลาดหุ้นนั้นเปลี่ยนไปเสียแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประมาณเดือนมีนาคม 2532

ณ ร้านอาหารบริเวณลานจอดรถชั้นล่างของอาคารปัญจภูมิ วันนั้นเป็นวันเสาร์ สุเมธและสต๊าฟของเขาเริ่มคุยกันทีเล่นทีจริงในระหว่างอาหารมื้อกลางวันว่า "เขาขายหุ้นทิ้ง ด้วยเจนตาอันใด หรือเขาจะเลิกทำธุรกิจ เขาอาจจะขายให้คนอื่น เอ้ เราซื้อบริษัทเขาขึ้นมาเลยจะดีไหม จะไหวเหรอ ลองดูสักตั้ง" คือส่วนหนึ่งของบทสนนาเมื่อปลายเดือนมีนาคมซึ่งทุกคนก็ยังรู้สึกว่ามันคงจะเป็นฝันที่เป็นจริงไปได้ยาก

หลังจากนั้นแผนการซื้อกลุ่มบริษัทของ ssc ก็เริ่มขึ้นด้วยความร่วมมือทางด้านการเงินจากธนสยามซึ่งเป็นทั้งผู้ถือหุ้นใน RCL ถึง 13.2 เปอร์เซ็นต์และเป็นผู้ที่เคยทำ UNDERWRITE ให้กับ RCL เมื่อคราวเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2531 ธนสยามโดยสุขุมสิงคาลวนิช ให้ความสนับสนุนเต็มที่โดยส่งศิริพงษ์ สมบัติศิริ ผู้จัดการฝ่ายการลงทุนของธนสยาม ร่วมกับคุณากร เมฆใจดี ผู้ช่วยของสุเมธเข้าเจรจาต่อรองในขั้นต้นกับเจ้าหน้าที่ของสิงคโปร์ชิปปิ้ง ก่อนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสุเมธในท้ายที่สุดซึ่งกว่าจะเจรจาตกลงกันได้ใช้เวลาถึงเกือบ 5 เดือน

คุณากร เมฆใจดี ได้สรุปถึงสาเหตุของความล่าช้าว่าสืบเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ

หนึ่ง-เนื่องจากธุรกิจนี้มันยังดำเนินอยู่ การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินตลอดจนการพิจารณามูลค่าทางธุรกิจ ก็ต้องอาศัยพีชมาร์วิคที่สิงคโปร์เป็นคนเข้าไปตรวจสอบตัวเลขประเมิน ตัวเลข NET TANGIBLE ASSET และเป็นผู้เสนอแนะว่า RCL ควรจะเข้าไปซื้อในรูปแบบใดจึงจะเหมาะที่สุด

การประเมินราคาตลาดนั้นต้องใช้ถึง 3 บริษัท กล่าวคือ SGS SINGAPORE ผู้ประเมินราคาของผู้ขาย INTECO MARITIME SERVICES ผู้ประเมินราคาฝ่ายผู้ซื้อ ในที่สุดต้องให้ RITCHIE BISEI (FAREAST) บริษัทที่ได้รับการเห็นด้วยทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

สอง-ด้านกฎหมายนั้นก็ต้องทำอย่างรัดกุม RCL จึงต้องจ้างบริษัท JUDE BANNY เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย ซื้อแล้วก็ต้องกันไว้ทุกทางเช่นมีข้อหนึ่งระบุไว้เลยว่าธุรกิจที่ ssc ขายให้ RCL แล้ว ssc จะไม่ทำขึ้นมาแข่งอีกต่อไป

สาม-ปัญหาเรื่องสถานที่อยู่ไกลเนื่องจากเจ้าของจริง ๆ อยู่ถึงออสเตรเลียซึ่งเขาให้ผู้จัดการชาวสิงคโปร์มาคุยกับเราคนที่มาต่อรองด้วยนั้นไม่มีอำนาจอยู่ในมือเป็นแค่คนมารับข่าวสาร เรื่องมันก็เลยล่าช้า

ในที่สุด RCL ได้เข้าไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท RCL INVESTMENT ขึ้นเป็น HOLDING COMPANY โดยที่ RCL ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ใน RCL INVESTMENT และ RCL INVESTMENT เป็นผู้เข้าไปซื้อกลุ่มกิจการของ RCL 5 บริษัทซึ่ง ssc เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

สนนราคาที่ RCL ต้องจ่ายทั้งหมดเพื่อการซื้อสิ่งที่ RCL เรียกว่า GROUP OF COMPANIES ในครั้งนี้คือ 19 ล้านเหรียญสิงคโปร์หรือประมาณ 250 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อย แต่สำหรับกลุ่มออสซี่ก็ได้กำไรไปไม่น้อยทีเดียวและเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในของผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้อีกด้วย สำหรับ RCL นั้นสิ่งที่ RCL จะได้เมื่อเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายก็นับได้ว่าผู้บริหารของ RCL นั้นมีสายตายาวไกลไม่น้อยทีเดียว

แหล่งเงินทุนนั้นก้ไม่ใช่เรื่องยากเย็นสำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นอย่าง RCL จึงไม่ต้องแปลกใจที่ RCL ประกาศเพิ่มทุนอีก 14 ล้านบาท ซึ่งหลังจากขายหุ้นทั้งหมดแล้วก็จะได้เงินทั้งสิ้นประมาณ 364 ล้านบาท และในระหว่างที่ยังเรียกชำระได้ไม่หมดแต่บริษัทจะต้องชำระเงินแก่ ssc ธนสยามและไทยพาริชย์ก็เป็นแหล่งเงินกู้ระยะสั้นให้ไปก่อน เป็นอันตัดปัญหาเรื่องการเงินไปได้

กลุ่มบริษัทดังกล่าวนั้นทำกิจการเดินเรือเกือบจะครบวงจร กล่าวคือเป็นเจ้าของเรือ 4 ลำ คือ นันทภูมิ, ปิยภูมิ, กิตติภูมิและวีระภูมิ และมีเรือเช่าอีกจำนวนหนึ่ง เป็นเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์ เป็นเอเยนต์ให้กับบริษัทเดินเรือทั่วโลก ตลอดจนสิทธิประโยชน์อีกมากมายในฐานะบริษัทของสิงคโปร์

กล่าวโดยสรุปแล้วสิ่งที่ RCL จะได้รับทันทีก็คือ

หนึ่ง-เส้นทางการเดินเรือซึ่งขยายครอบคลุมประเทศในเอเชียอาคเนย์ทั้งหมดรวมทั้งอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย จากเดิมซึ่งมีเพียงสองเส้นทางเท่านั้น เป็นการขยายเส้นทางโดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์และไม่ต้องสุ่มเสี่ยงเพราะฐานธุรกิจเดิมนั้นมีอยู่แล้ว

สอง-การได้ซึ่งความเชี่ยวชาญของการจัดการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทีมเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ชำนาญทั้งในด้านเทคนิค การบริหาร การตลาด ตลอดจนการควบคุมเทคโนโลยีชั้นสูง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร ด้านตารางเดินเรือ ด้านการจัดวางสินค้า และด้านข้อมูลสำหรับการบริหาร เป็นต้น

สาม-บริษัทได้รับสิทธิพิเศษในการใช้ท่าเรือจากการท่าเรือสิงคโปร์และท่าเรือกรุงเทพฯโดยได้รับสิทธิพิเศษ ในการเทียบท่าโดยไม่ต้องรอ และมีส่วนลดทางค่าใช้จ่ายด้วย และการที่บริษัทเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ได้รับสิทธิการเทียบท่าซึ่งทำให้บริษัทดำเนินงานได้มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งอื่น ๆ

นอกจากนั้นแล้วกำไรจากการดำเนินงานของ GROUP OF COMPANIES จากเรือที่ชักธงสิงคโปร์ได้รับการยกเว้นภาษี และเงินปันผลของผู้ถือหุ้นก็ได้รับการยกเว้นภาษีเช่นกัน

จังหวะและโอกาสงาม ๆ อย่างนี้สำหรับบริษัทเรือไทยระดับกลาง ๆ อย่าง RCL หรือบริษัทอื่นก็ตามคงไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก

และลำพังความคิดที่จะ GO INTERNATIONAL ด้วยฐานของตัวเองสำหรับบริษัทเรือไทยนั้นเป็นไปด้วยความยากยิ่งเพราะการส่งเสริมด้านพาณิชย์นาวีของรัฐบาลน้อยเต็มทีเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ในปัจจุบันเรามีเรือเดินทะเลที่ทำการขนส่งของไทยอยู่เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของเรือทั้งหมด และการพัฒนากองเรือของเราเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอยางมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปิ้นส์ล้วนแล้วแต่พัฒนารุดหน้าไปกว่าบ้านเรามากนัก มิพักต้องพูดถึงสิงคโปร์ที่นำหน้าเราไปไกลลิบโลกแล้ว

ในความเป็นจริงแล้วสิงคโปร์ยังคงความเป็นศูนย์กลางการเดินเรือของประเทศในแถบนี้ การที่ RCL สามารถบุกเข้าไปตั้งฐานที่มั่นได้นับเป็นการทำลายข้อจำกัดภายนอกที่ขัดขวางการ GO INTERNATIONAL ของ RCL ไปได้ระดับหนึ่ง ปัญหาคือสภาพภายในของ RCL พร้อมหรือไม่สำหรับขบวนทัพใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว

ห้าทศวรรษแรกของกลุ่มโงวฮกในปัจจุบันมีเพียงบริษัทเดียวคือโงวฮกจำกัด ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอเยนต์และเช่าเรือมาเพื่อทำการขนส่งสินค้า

ความเปลี่ยนแปลงจริง ๆ จัง ๆ นั้นอาจกล่าวได้ว่าล้วนอยู่ในช่วงที่สุเมธเข้าบริหารคือ ช่วงประมาณ 10 ปีนี่เอง

สงขลาโงวฮกและสงขลาคอนเทนเนอร์ก่อตั้งขึ้นในปี 2520 และ 2524 เพื่อทำการขนถ่ายสินค้าในภาคใต้ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีท่าเรือ จำต้องขนถ่ายกันกลางแม่น้ำซึ่งนับว่าโงวฮกเป็บริษัทแรกที่ลงไปบุกเบิกธุรกิจด้านนี้ในภาคใต้ ขณะเดียวกันก็ตั้งบากอกเทอร์มินัล เซอร์วิส ขึ้นมาบริการขนถ่ายสินค้าที่ต้องการมาทางรถไฟสู่กรุงเทพฯ หรือส่งไปถึงมาเลเซียเลยก้ได้

ปี 2523 ก่อตั้งบริษัท RCL และเพื่อขยายบานการลงทุนให้ได้รวดเร็วขึ้น ผู้บริหารยุคสุเมธก็ตัดสินใจนำบริษัท RCL เข้าตลาดฯในปี 2531

ปี 2524 โงวฮกได้ตัดสินใจสร้างตึกขนาดใหญ่ 12 และ 15 ชั้นคู่กันบริเวณสาธรใต้ แต่เป็นตึกที่ไม่มีป้ายชื่อติดเหมือนอาคารพาณิชย์ทั่ว ๆ ไป หลายคนยังเข้าใจว่าเป็นตึกของ CITIBANK ซึ่งติดป้ายตัวโตไว้ด้านหน้า ทั้ง ๆ ที่ธนาคารเพียงแต่เช่าที่บางส่วนของโงวฮกเท่านั้น นั่นเป็นเครื่องแสดงให้เห็นอีกประการว่าโงวฮกนั้นเป็นกลุ่มที่ LOW PROFILE เพียงใด

ปัจจุบันบริษัทที่บริหารตึกทั้งสองนี่ก็คือบริษัทปัญจภูมิ ในยุคที่ราคาดินเป็นทองในปัจจุบัน ตึก 2 หลังบนเนื้อที่ 1,009 ตารางวา ปัจจุบันราคาประมาณ 2.5 แสนบาทต่อตารางวา ทรัพย์สินของบริษัทที่เป็นที่ดินก็ปาเข้าไป 200 กว่าล้านบาทแล้ว

ปี 2528 โงวฮกเอเยนซี ถือกำเนิดขึ้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายแทนโงวฮกเอเยนซี่กลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานมากที่สุดในเครือคือประมาณ 140 คน

และเพื่อทำธุรกิจด้านการขนส่งทางเรือให้ครบวงจร และสนองนโยบายการแก้ปัญหาการแออัดอย่างหนักในท่าเรือคลองเตยโงวฮกจึงได้ตั้งอีก 2 บริษัทในปี 2532 กล่าวคือบริษัท ไทยพอสพอริตี้เทอมินัลและบริษัทสินธนโชติ

ไทยพอสพอริตี้ เทอมินัล โงวฮกร่วมทุนกับค้าสากลซิเมนต์ไทย ซึ่งเป้นบริษัทในเครือของปูนซิเมนต์ ร่วมทุนกัน 50:50 ท่านี้เรียกกันว่าท่าปูนฯ (ท่าเรือหมายเลข 10) อยู่ทีพระประแดง นั่นหมายความว่าสินค้าสามารถผ่านท่าปูนฯ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปผ่านท่าเรือคลองเตย นั่นหมายความว่าสินค้าสามารถผ่านท่าปูนฯโดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปผ่านท่าเรือคลองเตย

สินธนโชติ เป็นบริษัทลูกของโงวฮกซึ่งเพิ่งเปิดดำเนินการไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2532 เป็นสถานีตรวจและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้สร้างอยู่บนเนื้อที่กว่า 38 ไร่ อาคารคลังสินค้ามีพื้นที่บรรจุสินค้าได้กว่า 15,000 ตารางเมตรสามารถบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอรืเพื่อการส่งออกได้ปีละ 102,700 ทีอียูหรือ 1.3 ล้านตัน

CONTAINER FREIGHT STATION หรือที่เรียกกันสั้น ๆว่า CFS เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างใหม่มากสำหรับบ้านเรา สินธนโชติเปิดบริการเป็นบริษัทที่สี่

ความที่เป็นธุรกิจใหม่และสุเมธต้อการให้สินธนโชติดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล จึงได้ว่าจ้างบริษัท P&O AUSTRALIA ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจด้านนี้ เป็นบริษัทที่มีกิจการเดินเรือ บริหารท่าเรือ และมีเครือข่ายธุรกิจอยู่ทั่วโลก ให้เข้ามาจัดวางระบบเป็นเวลา 2 ปี

TREVOR HAGEN BRYANS ซึ่งเป็น MANAGING DIRECTOR INTERNATIONAL PORT MANAGEMENT SERVICES ของ P & O ซึ่งได้มาร่วมพิธีเปิดสินธนโชติด้วยนั้นกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า

" P & O นั้น ตั้งมากกว่า 150 ปี เป็นผู้บุกเบิกด้าน CONTAINER ตั้งแต่มีการเริ่มระบบนี้ในยุโรป แม้โงวฮกจะตั้งมากกว่า 60 ปี แต่ก็ไม่เคยทำธุรกิจด้านนี้มาก่อนสุเมธตดต่อเราเพราะต้องการ INTERNATIONAL PRACTICE ดูแล้วมันอาจจะง่ายแค่ขนสินค้าเข้าตู้ แต่จริง ๆ แล้วมันซับซ้อนไม่น้อย ลูกค้าแต่ละรายสินค้าต่างกัน มีรายละเอียดมากมายในแง่ที่ตั้งของสินค้าจะมาถึงเมื่อไหร่ จะส่งมอบเมื่อไหร่ จะจัดพื้นที่อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามเป้าที่เราตั้งไว้ ซึ่งการใช้ระบบ MANUAL มันล้าสมัยมาก เรานำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมการขนถ่ายสินค้าและการเคลื่อนย้ายตู้รวมทั้งระบบการจัดเอกสารเพื่อให้ทันตามกำหนดนัดหมายของเรือที่จะมารับสินค้า"

สุเมธกล่าวถึงแผนการที่จะจ้างกลุ่ม P&O ให้เข้ามาบริหารท่าปูนฯ ซึ่งขณะนี้ตกลงในหลักการเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาเป็นทางการเท่านั้น เพื่อสิ่งที่เรียกว่า "INTERNATIONAL PRACTICE"

ในขณะเดียวกัน RCL ก็ต้องเตรียมการที่จะเข้าไปบริหาร GROUP OF COMPANIES ในสิงคโปร์ ทั้งยังต้องจัดระบบการสื่อสารข้อมูลระหว่าง RCL ที่สิงคโปร์กับ RCL หรือโงวฮกที่กรุงเทพฯ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างรวดเร็วมากสำรหับกลุ่มโงวฮกคำถามคือ ผู้บริหารเตรียมจัดระบบภายในและบุคลากรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

โงวฮกนั้นมีข้อเด่นที่สุดตรงที่มีบุคลากรที่มี "ความชำนาญ" (SKILL) สูง แต่จุดอ่อนก็คือความล้าหลังของระบบการบริหารที่ยังเป็นแบบเก่า พนักงานส่วนใหญ่รวมทั้งผู้บริหารเป็นคนสูงอายุที่อยู่มานาน เพราะที่นี่ไม่มีกำหนดเกษียณอายุเรียกว่าจ้างกันจนตายไปคาโต๊ะทำงานเลยบริหารงานแบบช่วย ๆ กัน ยังไม่มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนไม่มี ORGANIZATION CHART ว่ากันว่าเวลาประชุมกรรมการของโงวฮกเอเยนซีนั้นระเบียบวาระการประชุมยังไม่มีเลย

แผนกบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานที่จำเป็นสำหรับทุกองค์กรไม่เคยมีในกลุ่มโงวฮกผู้บริหารเพิ่งจะตั้งแผนกบุคคลขึ้นมาในโงวฮกเอเยนซีเมื่อประมาณ 4 เดือนก่อนโดยจ้าง ดร.กิตติ อริยพงศ์ อดีตผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดของบริษัท 3 M เข้ามาเป็นผู้จัดการฝ่าย ซึ่ง ดร.กิตติก็ต้องมาจัดทำประวัติพนักงาน ทำ JOB DISCRIPTION เตรียมงานด้านฝึกอบรมพนักงาน รวมทั้งพยายามผลักดันเอาระบบการจัดการสมัยใหม่เข้ามา

สุเมธผู้ซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารของ RCL ซึ่งเป็นที่ค่อนข้างทันสมัยและผู้บริหารของกลุ่มโงวฮกด้วยได้กล่าวถึงความจำเป็นของบริษัทที่ถึงเวลาจะต้องเปลี่ยนแปลงแล้วว่า

"เราพยายามที่จะปรับตัวเองจาก FAMILY BUSINESS ให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกให้มากกว่าเก่า ทุกอย่างมันกำลังเหมาะเศรษฐกิจโตเร็วมาก บริษัทเราก็โตเร็วมากเช่นกัน ถ้าเราไม่เปลี่ยนระบบจะลำบาก แต่จะเปลี่ยนได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงกดดันจากภายนอกภายในมันจะไปสมดุลกันที่จุดไหน ก็คงเปลี่ยนแปลงแค่นั้นภายในนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความพร้อม ความสามารถ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องมี IRRITATION (ความหงุดหงิด) เป็นของธรรมดา เพราะการเปลี่ยนแปลงมันต้องเกิดช่องว่าง และต้องมีบางคนไม่พอใจเป็นของธรรมดา แต่ก็ต้องพยายามให้มันราบรื่นที่สุด"

23-24 กันยายน กลุ่มโงวฮกจัดสัมมนาบริษัทขึ้นเป็นครั้งแรกที่ระยอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง ดร.กิตติพูดถึงการสัมมนาครั้งนี้กับ "ผู้จัดการ" ว่า

"เราบอกถึงปรัชญาของการเป็น PROFESSIONAL ว่าเขาเป็นกันอย่างไร การทำงานเป็นทีมสำคัญอย่างไร ต้องอาศัยปัจจัยอะไร เราพูดถึงกฎระเบียบข้อบังคับและการใช้เอกสารในการสื่อสารแทนการใช้วาจาเตรียมปรับค่าครองชีพ รวมทั้งพูดถึงการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ (APPRAISAL) มิใช่ปรับเงินเดือนตามความรู้สึกอีกต่อไปก็เป็นการให้เข้ารับรู้ทิศทางใหม่ของบริษัทที่จะเป็นระบบสากลยิ่งขึ้น"

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นซึ่งจะเป็นจริงได้ในภาคปฏิบัติหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทั้งผู้บริหารและพนักงาน ว่าจะเข้าใจถึงสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยเพียงใด อนาคตของบริษัทที่เริ่มจะ GO INTERNATIONAL นั้นจะไปได้ไกลเพียงใดคำตอบก็อยู่ที่ตรงนี้ด้วย

ที่มา นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2015, 10:37:12 PM »
หุ้นบมจ.อาร์ ซี แอล(RCL) ปรับขึ้น 1.5% ขณะที่หุ้นเพิ่มทุน 129 ล้านหุ้น

เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯวันนี้เป็นวันแรก

ราคาหุ้น RCL บวก 0.20 บาท มาที่ 13.50 บาท หลังปรับขึ้นสูงสุดที่

13.60 บาท ส่วนดัชนีหุ้นไทย ลบ 0.2%

ตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติให้หุ้นเพิ่มทุนของ RCL จำนวน 129.69 ล้านหุ้น

เข้าซื้อขายวันนี้เป็นวันแรก โดยหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม ในอัตราส่วน

4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาหุ้นละ 12 บาท--จบ--

(โดย กชกร บุญลาย รายงานและเรียบเรียง--วพ--)

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--รอยเตอร์
Thu Jun 24, 2010 9:35am IST

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2015, 10:47:14 PM »
RCL บริษัทอาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน)

Board index » การลงทุนแบบเน้นคุณค่า » ร้อยคนร้อยหุ้น(สำหรับสมาชิกทั่วไป)

http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=4&t=5403&sid=20f91b2e6bec78cca4bcf925d79bee90

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2015, 04:38:20 PM »
RCL     
ประกอบธุรกิจขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลภายในภูมิภาคเอเชียเหนือ กลาง ใต้ ตะวันตก และออสเตรเลีย โดยให้บริการขนส่งในเส้นทางระหว่างเมืองท่าหลักที่เป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้ากับเมืองท่าย่อยทั้งต้นทางและปลายทางที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง   

จากผลข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1 ม.ค. 2553 ทำให้ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย  อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต้องลดภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรม กว่า 8,000 รายการ ให้เหลือ 0%

ขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า จะทยอยลดภาษีให้เหลือ 0% ภายในปี 2558 โดยการลดภาษีนำเข้าในกลุ่มเอเซียนดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถนำเข้าสินค้าจากประเทศในภูมิภาคด้วยต้นทุนที่ถูกลง   

และจากข้อตกลง AFTA คาดว่าเอื้อประโยชน์โดยตรงต่อธุรกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนให้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากในอดีตที่มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ประกอบเดินเรือตู้คอนเทนเนอร์ ในแถบประเทศอาเซียนโดยตรง 

เนื่องจากธุรกิจเดินเรือดังกล่าว ขนส่งสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งใช้ในการอุปโภคบริโภคเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ RCL เป็นหุ้นเพียงตัวเดียวที่อยู่ในตลาดฯ ซึ่งขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ในแถบอาเซียน ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 65.8% ของปริมาณการขนส่งทั้งหมด โดยส่วนที่เหลือ ขนส่งในแถบเอเชียที่อยู่นอกเหนือจากอาเซียน แถบตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย 

และผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่ง RCL มีสัดส่วนการขนส่งถึง 16.8% คาดว่าจะช่วยให้มีปริมาณขนส่งมากขึ้น ทำให้ผลการดำเนินงาน ฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ  และเริ่มพลิกฟื้นกลับมามีกำไรได้อีก

อ่านต่อ...
http://www.doohoon.com/smf/index.php?topic=11041.0

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น RCL บันทึกและการวิเคราะห์หุ้นกลุ่มเดินเรือ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2015, 04:46:38 PM »
บทวิเคราะห์หุ้น RCL

บมจ.อาร์ ซี แอล(RCL) มองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจเรือขนส่งประเภทบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์อย่างมีนัยสำคัญ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ทำให้การขนส่งสินค้าคึกคักขึ้น โดยเฉพาะผลจากการเปิดเสรีทางการค้าในอาเซียนบวกกับจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปที่ประเทศจีน รวมทั้งค่าระวางเรือที่ปรับตัวดีขึ้น

โบรกเกอร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า RCL ผ่านจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 1/53 ที่ยังมีผลประกอบการขาดทุน โดยจะเริ่มพลิกมีกำไรสุทธิตั้งแต่ไตรมาส 2-3 ปีนี้ ซึ่งจะทำให้ทั้งปีมีกำไร เนื่องมาจากแนวโน้มธุรกิจที่ดีขึ้น ประกอบกับหลังการเพิ่มทุนแล้วเสร็จมองภาระบริษัทลดลง

โบรกเกอร์                           คำแนะนำ                     ราคาเป้าหมาย(บาท)
บล.ทรีนิตี้                                ซื้อ                                     16.00
บล.นครหลวงไทย                    ซื้อ                                     15.00
บล.ยูไนเต็ด                          ซื้อเมื่ออ่อนตัว                            14.50
บล.เอเซียพลัส                              ซื้อ                                     17.00
นายกวี มานิตสุภวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยไทย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัสบล.เอเซียพลัส กล่าวว่า ปรับประมาณการราคาเหมาะสมเพิ่มเป็น 17.00 บาท โดยยังมีอัพไซต์กว่า 30% หลังการเพิ่มทุน เนื่องจากช่วยให้ดอกเบี้ยจ่ายต่อทุนของบริษัทลดลง

ขณะที่จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารล่าสุดพบว่าธุรกิจของ RCL มีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนจากยอดนำเข้า-ส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชียได้ฟื้นตัวดีเกินคาด รวมทั้ง อัตราค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ยังมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จาก Howe Robinson Container Index(HRCI) ซึ่งเป็นตัวแทนอัตราค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ ล่าสุดเพิ่มขึ้นมาปิดที่ 438.8 จุด

ฝ่ายวิจัยมั่นใจว่า RCL ได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วและคาดว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรได้ รวมถึงผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าทั้งปี 53 จะมีกำไรสุทธิ 600 ล้านบาท แม้ช่วงครึ่งปีแรกยังคงขาดทุนอยู่ แต่แนวโน้มบริษัทฟื้นตัวอย่างชัดเจน

รวมทั้งค่าระวางเรือได้มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยจากการที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียยังคงเติบโตได้ดี การขนส่งทางเรือดีตามด้วย แต่อาจมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจยุโรปที่ชะลอตัวมากระทบบ้าง แต่ถือว่าน้อยสำหรับ RCL เพราลูกค้าหลักอยู่ในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ จะเห็นได้ตัวเลขการขนส่งช่วงเดือนเม.ย.โตถึง 16% จากงวดเดียวกันของปีก่อน

สำหรับมูลค่าทางบัญชีของ RCL ณ สิ้นปี 53 ขยับขึ้นมา 2.4% มาอยู่ที่ 17 บาท บวกกับ Howe Robinson Index ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณบวกต่อกลุ่มเดินเรือตู้คอนเทนเนอร์ และทำให้ฝ่ายวิจัยมั่นใจว่าผลการดำเนินงานของ RCL ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังฟื้นตัว

ด้านนักวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ปรับคำแนะนำเป็น"ซื้อ"หุ้น RCL ให้ราคาเป้าหมายที่ 16.0 บาท/หุ้น จากราคาเป้าหมายที่นักวิเคราะห์โดยรวมให้ไว้ที่ 15.00 บาท ทั้งนี้ การให้ราคาเป้าหมายดังกล่าวเป็นการปรับประมาณการจากเดิมที่ 10.00 บาท และคำแนะนำเดิมคือ “ขาย"

แม้ผลประกอบการ RCL ไตรมาส 1/53 จะขาดทุน แต่เชื่อว่าปี 54 กำไรจะเติบโตได้ 400% เนื่องจากคาดว่าตลาดเรือคอนเทนเนอร์ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว สังเกตได้จากค่าระวางเรือที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับและไม่ผันผวน เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะประเทศในเอเซียอย่างจีนหรืออินเดียที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งมูลค่าการส่งออกและนำเข้าของไทยยังเติบโตได้ดี และหลังจากการเพิ่มทุนในอัตรา 4 ต่อ 1 ที่ราคา 12 บาท จะช่วยให้ D/E ลดลงเหลือ 0.9 เท่า จากเดิม 1.4 เท่า

การที่ไตรมาส 1/53 ยังคงขาดทุน เนื่องมาจากตลาดเรือคอนเทนเนอร์ยังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว ทำให้ค่าเฉลี่ยของดัชนีค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 357 จุด สูงกว่าค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนที่ 333 จุดเล็กน้อย โดยเราคาดว่าค่าระวางเรือของ RCL ในไตรมาส 1/53 นี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 178 เหรียญฯ ต่อ TEU เทียบกับต้นทุนขนส่งที่ประมาณ 168 เหรียญฯ ต่อ TEU จะมีอัตรากำไรขึ้นต้นประมาณ 6% ยังต่ำกว่าจุดคุ้มทุนที่ 10% ทำให้ผลประกอบการในไตรมาส 1/53 ยังขาดทุนอยู่

แต่คาดว่าปริมาณขนส่งในปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% โดยได้รับปัจจัยบวกเขตการค้าเสรีอาเซียนบวกกับงานเอ็กซ์โปที่เซียงไฮ้ ซึ่งการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในไตรมาส 1/53 ขยายตัวถึง 44% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

ประกอบกับ ปริมาณเรือคอนเทนเนอร์ในตลาดรวมทรงตัวอยู่ที่ระดับ 4,500 ลำ ในขณะที่จำนวนเรือคอนเทนเนอร์ต่อใหม่มีแนวโน้มลดลง ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงน้อยเมื่อเทียบกับตลาดเรือเทกองที่มีแนวโน้มการสั่งต่อเรือในตลาดเพิ่มขึ้น

ด้านสถาบันวิจัยนครหลวงไทย(SCRI) คาดว่า RCL มีแนวโน้มผลการดำเนินงานจะพลิกเป็นกำไรสุทธิได้ในงวด Q2/53 ผลการดำเนินงานเริ่มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับตามภาวะอุตสาหกรรมเดินเรือ โดยจะเห็นได้จากปริมาณการขนส่งของ RCL ในงวด Q1/53 เพิ่มขึ้น 7.1% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน จากเดิมที่อยู่ในช่วง Down Trend

จากดัชนี HRCI ประเมินว่าค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแล้วประมาณ 39.8% YTD เป็น 466.7 จุด และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นต่อเนื่อง คาดกรอบดัชนี HRCI สูงสุดของปีอยู่ที่ 500-550 จุด โดยประเมินว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวทำให้ปริมาณขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่ได้รับแรงกระตุ้นจากจีน

SCRI คาดแนวโน้มการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมฯจะทำให้ผลการดำเนินงานของ RCL งวด Q2/53 ฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องและจะมีโอกาสพลิกจากขาดทุนสุทธิเป็นกำไรสุทธิได้อย่างชัดเจนในงวด Q3/52 ที่เป็นช่วง High Season ของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และแม้ว่าผลการดำเนินงานของ RCL งวด Q1/53 จะยังคงมีผลขาดทุนสุทธิอยู่ 341 ล้านบาท แต่ขาดทุนลดลงจากงวดเดียวของปีก่อนที่ขาดทุนกว่า 700 ล้านบาท เห็นได้ชัดเจนว่ามีสัญญาณการฟื้นตัว คาดว่าพ้นจุดต่ำสุดแล้ว และจะเป็น Up Trend ต่อจากนี้

ด้านบทวิเคราะห์ บล.ยูไนเต็ด มองว่าค่าระวางเรือที่ยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง รวมกับการจัดงานเวิลด์ เอ็กซ์โป ที่เซี่ยงไฮ้ของจีนในช่วง 1 พ.ค.- 31 ต.ค.นี้ จะช่วยกระตุ้นยอดการขนส่งให้กลับมาขยายตัวได้ ซึ่งคาดว่าทั้ง 2 ส่วนนี้จะเป็นตัวช่วยหนุนรายได้ของ RCL ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเรายังคงประมาณการณ์ว่าปีนี้บริษัทจะสามารถพลิกกลับมามีกำไร โดยคาดที่ 577 ล้านบาท (EPS 0.70 บาท/หุ้น)

ทั้งนี้ RCL จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยมีอัตราการจองซื้อ 4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคา 12 บาท/หุ้น โดยกำหนดวันขึ้น XR วันที่ 12 พ.ค.53 และกำหนดจองซื้อวันที่ 31 พ.ค.-4 มิ.ย.53 ราคาเหมาะสมหลังการเพิ่มทุนที่ 14.50 บาท