●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: หุ้น TR  (อ่าน 10898 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 04:20:02 PM »
ไม่แปลกหรอกครับที่ Lenzing ต้องมีการพัฒนาเพราะ Birla เขามีข้อได้เปรียบที่ cost ดังนั้น Lenzing จะสู้ได้ต้องมี innovation ใหม่ ๆ

Modal ที่ TR กำลังจะผลิตเนี่ย Lenzing เป็นคนคิดค้นครับ เผลอแผลบเดียว Birla ทำได้แล้ว

แต่ความได้เปรียบทั้งด้าน cost และ innovation นี่ไม่มีอะไรยั่งยืนหรอกครับ ไม่ช้าคู่แข่งต้องปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นมาเท่าเทียมได้ครับ

.. ดูดิ๊ พิมพ์ อยู่ดันมี breaking news FED ลด rate อีก 0.75% สงสัยพรุ่งนี้มี rebound นะเนี่ย..

ที่มา คุณ mprandy    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 04:21:34 PM »
เหมือนเคยอ่านเจอแว๊ปๆว่า lenzing นั้นฐานที่มั่นจะอยู่ในยุโรป แต่ birla จะอยู่ที่เอเชีย และการเติบโตในอนาคตของตลาดนี้จะมาจากเอเชียเป็นหลักทำให้ birla ได้เปรียบด้วยครับ

ที่มา คุณ Blueblood    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 04:29:41 PM »
งบ grasim

Grasim Industries Limited, a flagship company of the Aditya Birla Group, ranks amongst India's largest private sector companies, with a consolidated net revenue of Rs.293 billion and consolidated net profit of Rs.21 billion (FY 2014).

แปลไทยโดย google นะครับ
Grasim อุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็น บริษัท ในเครือของ บริษัท อดิตยาเบอร์ล่า กลุ่มอันดับในหมู่ประเทศอินเดียที่ใหญ่ที่สุดของ บริษัท ภาคเอกชนที่มีรายได้สุทธิรวมของ Rs.293 พันล้านดอลลาร์และกำไรสุทธิของ Rs.21 พันล้าน (ปีงบประมาณ 2014)

http://www.grasim.com/investors/financials/fin_summary.htm

 :wanwan017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 02, 2014, 04:31:22 PM โดย postbkk »

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 04:33:10 PM »
กับข้อความที่คุณ IH เคย post ไว้ที่ greenbull

"และอีกเรื่องที่ติดใจคือการที่ TR สละสิทธิการแปลงหุ้นบุริมสิทธิ์เป็นหุ้นสามัญของบ. ในต่างประเทศแห่งหนึ่งที่ช่วงแรกๆ เคยขาดทุนมาตลอดและพอเริ่มมีกำไร TR ก็ไม่แปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญและเลือกที่จะรับเงินทุนที่ลงไปคืนมาจึงทำให้ไม่ได้เก็บเกี่ยวในช่วงที่ธุรกิจเริ่มมีกำไร จึงทำให้เข้าใจได้ว่ากลุ่มเบอร์ล่านั้นเท่าที่ดูงบแล้วไม่น่าจะมีรายการไม่โปร่งใสประเภทไซฟ่อนเงินออก แต่จะคำนึงถึง group benefit มากกว่าที่จะเป็น benefit ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะครับ"

ถ้าบริษัทสร้างเงินสดได้มาก แต่ไม่ปันผลออกมา

เก็บไว้ๆๆๆๆ  แต่... ถึงวันดีคืนร้าย

กลับทำอย่างข้างบนบ่อยๆ

(ข้างบนดีในแง่ที่บริษัทที่ไปลงทุนไม่ขาดทุน...แต่ถ้าขาดทุนล่ะ...)

เท่ากับเราก็จะไม่ได้อะไรจากบริษัทเลยนะครับ

พี่ๆคิดอย่างไรครับ  :P

ที่มา คุณ tanapol    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2014, 05:18:39 PM »
คุณรู้จักไทยเรยอนมากแค่ไหน ?
               ในฐานะที่ท่านเป็นพนักงานของบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) กันมานานหรือบางคนอาจเพิ่งได้รับการบรรจุเป็นพนักงานในปีนี้  แต่ถ้าถามว่าแล้วท่านรู้จัก “ไทยเรยอน” แค่ไหน เชื่อว่าคำตอบที่ได้คงไม่พ้นคำว่า “เป็นบริษัทผลิตเส้นใยสังเคราะห์เรยองรายเดียวในประเทศไทย” หรือ คำตอบอื่น ๆ อีกหลายคำตอบ แต่ถ้าถามว่าบริษัทก่อตั้งเมื่อไร มีหุ้นเท่าใด ใครเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ฯลฯ เชื่อว่าหลายคนคงตอบคำถามนี้ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นเรามาลองมารู้จักไทยเรยอนกันดีไหม

                 บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้นที่ 16 เลขที่ 888/160-161 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2253-6745-54 โทรสาร 0-2254-3181 , 0-2254-5472

                 บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2517 โดยทุนจดทะเบียน 201,600,000 หุ้น มูลค่าหุ้น ๆ ละ 1 บาท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยหุ้นของบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2528   มีวันสิ้นรอบบัญชีวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี

                 บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเส้นใยประดิษฐ์เรยอน (Viscose Rayon Stale Fibre) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ  เป็นบริษัทแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย  ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 59,897 เมตริกตันต่อปี ในขบวนการผลิตบริษัทจะได้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง (By Product ) คือ เกลือโซเดียมซัลเฟต ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทเกลือที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่และผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ของบริษัทแยกประเภทการจัดจำหน่ายได้ ดังนี้ คือ

                 1. ขายในประเทศ เส้นใยประดิษฐ์เรยอน49.26% ของยอดขายทั้งหมด และ โซเดียมซัลเฟต 98%
                 2. ขายต่างประเทศ เส้นใยประดิษฐ์ 50.74% ของยอดขายทั้งหมด และโซเดียมซัลเฟต 2%

ผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 ลำดับแรกได้แก่
                 1. บริษัทแอสซัล จำกัด (Asseau company limited ) 33,582,848 หุ้น 16.66%
                 2. บริษัทโวลตัน จำกัด (Wholton company limited ) 22,165,700 หุ้น 10.99%
                 3. บริษัทฮาร์ทโกลบอล จำกัด (Hart Global limited ) 21,600,000 หุ้น 10.71%
                 4.  บริษัทกราซิม  อินดัสเตรียล จำกัด    ( Grasim industries limited ) 13,988,570 หุ้น 6.94%
                 5. บริษัทไทยอินดัสเตรียล แมนเนจเม้นท์ แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด  9,738,500 4.83%

                 คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย นายกุมาร์ มังกาลัม เบอร์ล่า ประธานกรรมการ  นายพี.เอ็ม.บาจาจ  กรรมการผู้จัดการ  นางราชาสรี  เบอร์ล่า  นางนีรจา  เบอร์ล่า  นายอโมลัด  ทักราล  นางรัชนี  คาจิจิ  นายไซเลนดรา กุมาร เจน  นายปูรันมาล  บาจาจ  เป็นกรรมการ และ นายวินัย สัจเดว  กรรมการอิสระ
                 นายไซยัม ซุนเดอร์ มาฮันซาเรีย  ประธานกรรมการตรวจสอบ  นายวินัย สัจเดว และนายรามาคานท์ ราทิ  กรรมการตรวจสอบ

                 บริษัทตั้งเป้าหมายเพื่อครองส่วนแบ่งตลาดโลก สำหรับเส้นใยประดิษฐ์เรยอนให้ได้ร้อยละ 6 ภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยบริษัทฯ จะทำการผลิตเส้นใยโมดาลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษสำหรับลูกค้าสิ่งทอระดับบน

                  สายการผลิตที่ 4 เริ่มการผลิตแล้วที่ 60% ของกำลังการผลิตในเดือนมกราคม 2550 และสามารถดำเนินการผลิตเต็มอัตราในเดือนกุมภาพันธ์ สายการผลิตที่ 4 นี้สามารถผลิตเส้นใยเรยอนทั่วไปได้ในอัตรา 80 ตันต่อวัน และสามารถเปลี่ยนมาผลิตเส้นใยโมดาล (คุณภาพสูงกว่าเส้นใยเรยอนทั่วไปตรงที่ไม่เปลี่ยนรูปเมื่อโดนความชื้น) ได้ในอัตรา 40 ตันต่อวัน  บริษัท Grasim ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออดิตยาเบอร์ล่าเช่นกัน ผลิตได้ 10 ตันต่อวัน บริษัทคาดว่า ฐานการผลิตโมดาลจะย้ายมาอยู่ที่เมืองไทย ซึ่งจะผลิตโดยไทยเรยอน  ราคาเส้นใยโมดาลจะสูงกว่าเส้นใยเรยอนทั่วไป บริษัทคาดว่ารายได้จากการขายเส้นใยสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกหนึ่งพันล้านบาท จากอัตราการผลิตเพิ่มขึ้น

                 ส่วนโรงงานที่เมืองจีนซึ่งเป็นการร่วมทุนกับบริษัทในประเทศจีนก็จะเพิ่มผลการผลิตให้เป็น 60,000 ตันต่อปีภายในสิ้นปีนี้ โดยปัจจุบันบริษัทร่วมที่เมืองจีนก็ทำกำไรแล้ว การเข้าร่วมทุนในโรงงานที่จีนนี้คุ้มมากมากเกือบจะเรียกว่าได้โรงงานมาแบบได้เปล่า เพราะโรงงานเพิ่งสร้างใหม่ และราคาที่ซื้อถูกกว่าราคาที่สร้างใหม่

                ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2549 ถึงปลายปี 2550 บริษัทคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 3.6 พันล้านบาท และ ต้องการเงินทุนหมุนเวียนอีก 1 พันล้านบาท ดังนั้นเงินสดที่มีอยู่ในมือไม่เพียงพอ จึงต้องทำการกู้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นสำหรับในปีนี้

                ปัจจัยหลัก ๆ ที่มีผลต่อผลประกอบการ คือ ราคา น้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และ การแข็งค่าของเงินบาท

                 ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเล็นซิ่งจำกัด( Lenzing)เท่านั้นที่ผลิตเส้นใยโมดาลได้ โดยมีตลาดหลักอยู่ในยุโรป การผลิตเส้นใยโมดาลของไทยเรยอนจะทำให้ไทยเรยอนเจาะตลาดเอเชียได้โดยไทยเรยอนเริ่มทำการตลาดเส้นใยโมดาลมาประมาณ 1 ปีแล้ว อย่างไรก็ดี น่าจะเริ่มการขายเส้นใยโมดาลในเชิงพาณิชย์ได้ในราว ปลายปีนี้

บริษัทเล็นซิ่งจำกัดนั้นน่าจะเหนือกว่ากราซิมของอินเดีย เส้นใยประเภทพิเศษนี้จะนำไปใช้สำหรับ non-woven sector เช่น ทางด้านสุขภาพ หรือ ทางด้านการแพทย์ Grasim มีแบรนด์ที่ชื่อ Modal และกำลังวิจัยเพื่อพัฒนาเส้นใยพิเศษที่มีคุณสมบัติดีกว่า Modal ส่วน Lenzing นั้นมีแบรนด์ Lenzing Viscose และ Tencel  ทั้งคู่
มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน คือ ฉีกหนีจากธุรกิจ commodity (เส้นใยเรยอนธรรมดา) มาเน้นหนักที่เส้นใยพิเศษซึ่งเจาะตลาด non-woven sector

                 ในปี 2005 สัดส่วนของเรยอนที่นำไปใช้ใน Textile Sector ต่อ Non-Woven คือ 91:9 ในปี 2007 สัดส่วน Textile:Non-Woven:Modal จะเป็น 82:7:11

ปีนี้กำลังการผลิตเส้นใยธรรมดาโดยรวมจะเท่ากับ 305 ตันต่อวัน (70+75+75+85) หรือ ประมาณ 110,000 ตันต่อปี ในปีที่แล้วไทยเรยอนสามารถรักษาอัตราการผลิตได้ที่ 220 ตันต่อวัน หรือ ประมาณ 80,000 ตันต่อปี  การผลิตของไทยเรยอนนั้นเป็นการ Make-To-Order ลูกค้าส่วนมากเป็นลูกค้าเก่าแก่ของบริษัท ทำให้ไม่มีการตั้งหนี้สูญสำหรับลูกหนี้การค้า

                 บริษัทจะเพิ่มสายการผลิตที่ 5 โดยเริ่มต้นก่อสร้างอาคารแล้ว และคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จราวเดือนกุมภาพันธ์ 2551

                 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549  ที่ประชุมคณะกรรม การบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 63 ได้มีมติดังต่อไปนี้
                 1. อนุมัติเงินลงทุนจำนวน 3.2 ล้านเหรียญแคนนาดาดอลล่าร์ (ประมาณ 108 ล้านบาท) สำหรับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 19,200 หุ้นของบริษัทเอวี เซล อิงค์ – ประเทศแคนนาดา ซึ่งมีผลทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.67 เป็นร้อยละ 19 และสัดส่วนการถือหุ้นรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมเบอร์ล่าในประอินเดีย/อินโดนีเซีย/และไทยรวมเป็นร้อยละ 75 จากเดิมร้อยละ 50 บริษัทร่วมลงทุนนี้ดำเนินธุรกิจผลิตเยื่อกระดาษชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับผลิตเส้นใยเรยอน
               2. อนุมัติเงินลงทุนจำนวน 1.8 ล้านเหรียญแคนนาดาดอลล่าร์ (ประมาณ 61 ล้านบาท) สำหรับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 9,000 หุ้นของบริษัทเอวีแนคคาวิค – ประ เทศแคนาดา ซึ่งมีผลทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 19 และสัดส่วนการถือหุ้นรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมเบอร์ล่าในประเทศอินเดีย/อินโดนีเซีย/และไทย รวมเป็นร้อยละ 75 จากเดิมร้อยละ 50 บริษัทนี้ได้มาเมื่อปี 2548 ปัจจุบันผลิตเยื่อกระ ดาษสำหรับผลิตกระดาษและกำลังจะแปรสภาพการผลิต เพื่อดำเนินการผลิตเยื่อกระดาษชนิดละลายน้ำได้ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับผลิตเส้นใยเรยอน

                เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ทำการประชุมและมีมติอนุมัติเงินลงทุนจำนวน 137.50 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงสายการผลิตให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นและจำนวนเงิน 450 ล้านบาทเพื่อการติดตั้งสายการผลิตใหม่แทนสายการผลิตเดิมที่มีอายุการใช้งานมานานกว่า 30 ปี

สำหรับสายการผลิตเดิมที่จะทำการแทนที่ด้วยสายการผลิตใหม่นั้น คือสายการผลิตที่ 1 (ตั้งแต่ปี 1974) ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 70 ตันต่อวัน ในการติดตั้งสายใหม่แทนที่นั้นจะต้องทำการรื้อสายการผลิตเดิมออก แล้วติดตั้งสายการผลิตใหม่ซึ่งจะมีความสามารถในการผลิตเส้นใยเรยอนแบบธรรมดาประมาณ 100 ตันต่อวัน สายการผลิตใหม่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตและการบำรุงรักษาลดลง นอกจากนี้สายการผลิตนี้ยังสามารถผลิตเส้นใยโมดาลได้ 40 ตันต่อวัน

                 รวม ๆ แล้ว  ภายในกลางปีหน้า  (ไตรมาสที่สาม
ปี 2008) บริษัทจะมีกำลังผลิตเส้นใยเรยอนประมาณ 153,000 ตันต่อปี (รวมสายการผลิต 5 สาย และ สายการ ผลิตที่ 1 ปรับปรุงแล้วเสร็จ) เทียบกับในปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตเต็มที่ประมาณ 110,000 ตันต่อปี (รวมสายการ ผลิต 4 สาย)

                 การลงทุนปลูกป่าในลาวเป็นโครงการระยะยาวคิดว่าอีก 6 ปีข้างหน้าจึงจะรู้ผล โดยในขณะนี้พื้นที่ที่ซื้อมาจะเอาไว้ปลูกป่ายูคาลิปตัส หลังจากปีที่ 6 จะมาวาง แผนอีกที ถ้าผลการปลูกประสบความสำเร็จ ก็จะสร้างโรงงานผลิตกระดาษเกรดที่จะเอาไว้ใช้ผลิตเส้นใยเรยอน ในปัจจุบัน กระดาษประเภทนี้นำเข้าจาก แคนาดา และ แอฟริกาใต้  อัตราการใช้เยื่อกระดาษต่อการผลิตไฟเบอร์จะประมาณ 1 ต่อ 1

                 บริษัทได้ก่อตั้งโรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์จากก๊าซธรรมชาติ (แทนที่ถ่านไม้) โดยมีกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี จัดงบลงทุนไว้ 656 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มีนาคม 2008

                หลังจากข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ในครั้งนี้ซึ่งได้มาจากเวปไซด์ www.siamfn.com จะทำให้เพื่อนภาคภูมิใจในไทยเรยอนมากยิ่งขึ้น สมาชิกรู้จักไทยเรยอนมากขึ้นและรู้สึกด้วยเพราะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและหวังว่าความเจริญเติบโตของไทยเรยอนจะนำมาซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคนด้วยเช่นกัน

ที่มา http://www.trclabourunion.com/c831.html
 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2014, 05:28:50 PM »
ไทยเรยอน แจ้งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่
วันที่ 12 เมษายน 2554 14:10
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

บจ.ฮาร์ท โกลบอล ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ขายหุ้นบริษัทในสัดส่วนร้อยละ 10.71 ให้กับ Oneida Services Limited

     บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ขอแจ้ง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ว่า บริษัท ฮาร์ท โกลบอล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้มีการขายหุ้นจำนวน 21,600,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 10.71 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว ให้แก่ Oneida Services Limited เป็นจำนวน 21,600,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 10.71 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว ในวันที่ 22 มีนาคม 2554

     บริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบว่ารายการดังกล่าวนี้ไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น การบริหาร และ การดำเนินงานของบริษัทฯ แต่อย่างใด

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:04:37 AM »
ทริปนี้เริ่มต้นการเดินทางด้วยเปิด "เดี่ยว 6" ในรถ ทำให้หนังสือที่เตรียมไป ไม่ได้อ่าน

พอถึงโรงงานก็เป็นการต้อนรับด้วยขนมนมเนยกาแฟครับ

จากนั้นก็เป็นสไลด์โชว์บริษัทอดิตยา เบอร์ลา ซึ่งพึ่งได้รับรางวัล Best Employer of the year 2007 ของอินเดีย

ในสไลด์สรุปใจความว่าบริษัทกำลังไล่ล่าความสำเร็จและเปลี่ยนจากการแข่งขันเป็น partnership

ในวันนี้บริษัทรู้สึกจะเน้นไปในเรื่องของ CSR ที่มีกิจกรรมต่อเนื่องให้กับชุมชน รวมถึงให้ความมั่นใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม

จากนั้นก็เข้าไปชม line การผลิตครับ ซึ่งส่วนนี้ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ แต่ดูสภาพโรงงานแล้วก็ดีพอสมควรครับเมื่อเทียบกับอายุโรงงาน 30 กว่าปี

Capacity ตอนนี้ประมาณ 303 TPD Line 1 ปิดแบบสมบูรณ์ คาดว่าจะเปิดใช้ในอีก 2 เดือนข้างหน้า

Modal เดือนที่แล้วผลิตไป 350 Ton แต่เนื่องด้วย speed ที่ด้อยกว่าจึงคาดว่ากำไรที่เป็นเม็ดเงินน่าจะน้อยกว่าผลิตแบบธรรมดา

เครื่องจักรยังเดินตลอด 24 ชม. นะครับ ช่วยลดความกังวลเรื่อง demand ไปได้ในระดับหนึ่ง

Capacity ปีนี้คาดว่าประมาณ 153,000 TPA เทียบกับ 110,000 TPA ในปี 2007

การผลิตส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ ดูแล้วไม่ซับซ้อน (แต่เข้าใจยาก) flow การผลิตต่อเนื่องไปเรื่อยๆจน Pack เป็น FG

บริษัทค่อนข้างมีการควบคุมคุณภาพที่เข้มข้น (วัดจากปริมาณเอกสารที่แปะที่บอร์ดฝ่ายผลิตและ Lab)  :lol:

ทานข้าวกลางวันด้วยบรรยากาศเป็นกันเอง สถานที่และอาหารไม่ถึงกับดีมากแต่ก็ดีกำลังพอดี แสดงให้เห็นถึงการใช้เงินอย่างไม่สุรุ่ยสุร่าย

การแต่งตัวของผู้บริหารก็เป็นชุด uniform เพมือน supervisor ทั่วๆไป

ปิดท้ายด้วยการเสนอแนะและข้อสงสัยของผู้ถือหุ้นที่มา (ส่วนใหญ่จะ comment เรื่องเงินปันผลเหมือนเคย)

และมีของฝากให้ทั้งผู้ถือหุ้นและผู้ติดตามเป็นที่ระลึก

รายละเอียดที่เหลือรอท่านอื่นๆมาเสริมต่อนะครับ

ที่มา คุณ doodeemak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:07:19 AM »
ผมทำตัวเลขจากงบการเงินของ TR จากปี 45-50 ( 6 ปีย้อนหลัง) งบออกมาสวยมาก ผมมีข้อสงสัยอยู่อย่างเดียวว่า ผลตอบแทนของ CEO กับผู้ถือหุ้นนั้นตรงกันหรือเปล่าครับ เพราะผมดู กำไรต่อหุ้น เทียบกับ เงินจ่ายปันผลต่อหุ้น แล้ว TR จ่ายเฉลี่ย ไม่เกิน 15% เอง ไม่ทราบว่า TR จะเข้าข่าย CEO ประเภทที่ อ.นิเวศ เขียนไว้ ดังนี้หรือเปล่าครับ

" บริษัทบางแห่งมีกำไรดี มีเงินสดสูง และไม่ต้องลงทุนมาก แต่ก็จ่ายปันผลคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของกำไรต่ำมาก ตรวจสอบดูก็พบว่าเป็นกิจการแบบ "กงสี" กล่าวคือ มีการถือหุ้นใหญ่โดยบริษัทโฮลดิ้งของตระกูล CEO เป็นตัวแทนจากคนในตระกูล พี่น้องรวมถึงลูกหลานต่างก็เป็นกรรมการและเป็นผู้บริหารในบริษัท พูดง่าย ๆ บริษัทเป็นอู่ข่าวอู่น้ำ เป็นที่ทำมาหากิน เป็นแหล่งสร้างสถานะทางสังคมและอะไร ๆ อีกมากมาย เป็นชีวิตของพวกเขา ดังนั้น เขาจึงไม่มีแรงจูงใจที่จ่ายเงินให้กับผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะรายย่อย นอกจากนั้น เขาไม่เห็นความจำเป็นที่จะจ่ายให้กับบริษัทโฮลดิ้งมาก ๆ เพราะจ่ายไปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะกลับมาถึงตัวเองมากน้อยแค่ไหน เพราะอาจจะมีพี่น้องอื่น ๆ อีกหลายคนที่จะต้องมารับส่วนแบ่งด้วย "

Cr คุณyuth-sri
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:10:35 AM »
ผมว่าเรื่องดังกล่าวต้องมองเจตนาของผู้บริหารครับว่า เขาต้องการเก็บเงินสดไว้และจ่ายเป็นปันผลน้อย ๆ เพราะเหตุใด

เก็บไว้เพราะเป็น "กงสี" จริง ๆ หรือเก็บไว้ทำประโยชน์และกำไรแก่บริษัท ผู้บริหารจะอธิบายเหตุผลเลิศหรูอย่างไรก็ได้ แต่ข้อมูลทางบัญชีมันจะฟ้องเอง จุดสังเกตง่าย ๆ ที่หนึ่งก็คือ ROE ครับ

ถ้ากำไรสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ปันผลออกมา และผู้บริหารก็กอดเอาไว้เฉย ๆ (E สูงขึ้น) แต่ไม่ยอมเอาเงินไปเพิ่มผลกำไรแก่กิจการ (R ไม่เพิ่ม) บริษัทจะมี ROE ลดลงเรื่อย ๆ และถ้า ROE มันลดจนถึงจุดที่ต่ำกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนทั่ว ๆ ไป (เช่นน้อยกว่าดอกเบี้ยที่ได้จากพันธบัตร หรือการฝากธนาคาร) กรณีนี้ถือว่าผู้บริหาร บ่มิไก๊

หุ้นที่ไม่จ่ายปันผล หรือจ่ายน้อยไม่ได้หมายความว่าเป็นหุ้นแย่ ผู้บริหารเห็นแก่ตัวเสมอไป ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ Berkshire Hathaway ไงครับ คุณปู่แกบริหารมากี่สิบปี ไม่เคยจ่ายซักสลึง แถมผู้ถือหุ้นก็ happy สุด ๆ เชื่อเหอะว่าถ้าให้โหวตใน AGM ว่าจะให้ปันผล หรือให้เอาเงินไปลงทุนต่อ เสียงส่วนใหญ่ก็คงอนุญาตให้แกเอากำไรไปลงทุนต่ออยู่ดี

ทีนี้ ลองมาดู ROE ของ TR ย้อนหลังหลาย ๆ ปีดูครับ อาจจะได้คำตอบ  :wink:

Cr คุณ mprandy    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:16:35 AM »
ขอบคุณมากเลยครับสำหรับการCompany visit

โรงงานสะอาดเรียบร้อยดี processการทำงานดูสลับซับซ้อนเหมือนกัน
โรงงานเคมีนี่ ถ้าไม่ออกแบบดีๆตั้งแต่ต้นผมว่า คงทำงานลำบากน่าดู
ก็จะมีเรื่องกลิ่นนิดหน่อยที่โรงงานเคมีคงหนีไม่พ้น
ตอนเปิดรถก็ได้กลิ่น นึกว่าเข้าไปโรงงานกลิ่นจะแรงกว่า
แต่ผมว่าภายในโรงงานก็ไม่ถึงกับแย่

จากที่ลองสอบถามพนักงานเรื่องความเป็นอยู่
ก็ดูเหมือนว่าส่วนมากจะพอใจกับเรื่องสวัสดิการ
ดูเหมือนบริษัทจะใส่ใจกับชุมชนพอควร ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับผู้อยู่อาศัย

ที่เคยมีปัญหาเรื่องบ้านพัก ก็ได้ถามเหมือนกัน ก็เห็นว่าไม่มีปัญหาอะไรแล้ว

Cr คุณ nanchan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:18:56 AM »
เป็นลักษณะของการถือหุ้นไขว้กันในเครือเบอร์ล่าทั้งกลุ่ม ทุกบริษัทเป็นแบบนี้หมดครับทั้ง TR, TCB รวมไปถึง บ.ต่างประเทศด้วย ไม่เว้นแม้แต่บริษัทผลิต wood pulp ทั้งเบอร์ล่า ลาว, AV cell, AV Nackawick

ธุรกิจเครือเบอร์ล่า มีทั้งหมด 3 สายใหญ่ คือ ซีเมนต์, Viscose และ Carbon black และอีกหลายสายย่อย ได้แก่เหมืองทองแดง, มือถือ, เส้นใยอื่น ๆ เช่นอคริลิก

Cr คุณ mprandy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:21:38 AM »
หลังจากกลับมาจาก visit พึ่งจะมีเวลา...

ยังไงก็ขอบคุณทีมงานของ TR ทุกท่านมากๆ ครับ... ไปเยี่ยมชมคราวนี้ทำให้เข้าใจกระบวนการผลิตเส้นใยเรยอนมากขึ้นเยอะเลย

ขอสรุปกระบวนการผลิตของเส้นใยเรยอนเอาไว้ที่นี้ เผื่อเพื่อนๆ จะสนใจ...
- กระบวนการผลิตของเส้นใยเรยอนถ้าจะว่ากันง่ายๆ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเตรียม กับส่วน spinning ซึ่งตัวโรงงานก็แบ่งตึกออกเป็น 2 ตึกอย่างชัดเจน

- วิธีการผลิตเค้าจะเอาเยื่อกระดาษละลายน้ำ ซึ่งแบ่งประเภทเป็น hard-wood กับ soft-wood ใช้สัดส่วน 60:40 (มั้ง ถ้าจำไม่ผิด) เอามาบดๆๆ แล้วก็เอามาผสมโซดาไฟ แล้วก็มาหมักใน drum แล้วก็เอาไปผสมกับ CS2 สุดท้ายจะได้ออกมาเป็นน้ำสีเหลืองๆ ที่จะเอาไปใช้ในการทำ Spinning ต่อ ซึ่งตรงนี้ก็จะจบกระบวนการเตรียม

- น้ำสีเหลืองๆ ที่ได้จะถูกส่งข้ามตึกมาเข้าสู่ขบวนการ spinning ทำการฉีดผ่านท่อรังผึ้งออกมาเป็นเส้นใย แล้วก็ทำดึงและตัด ให้ได้ออกมาตามความยาวและขนาดที่ลูกค้าต้องการ จากนั้นก็ทำการซักล้าง กำจัดซัลเฟอร์ออก ฟอกขาว อบแห้ง แล้วก็เอามาอัดเป็นก้อนๆ เพื่อเตรียมส่งให้กับลูกค้า ก็จบกระบวนการทำเส้นใยเรยอน

- เส้นใยโมดาลกับเรยอนธรรมดาต่างกันที่การสัดส่วนของวัตถุดิบในการเตรียม และในความตึงระหว่างการทำ spinning ซึ่งทำเส้นใยโมดาลมีความแข็งแกร่งกว่าเส้นใยเรยอน และใช้เวลาในการทำ spinning มากกว่า

- เนื่องจากมีการขยายสายการผลิต (spinning) ตอนนี้ทางไทยเรยอนก็เลยกำลังก่อสร้างโรงงานเพื่อขยับขยายส่วนเตรียมวัตถุดิบ เพื่อให้มีความพร้อมกับสายการผลิตใหม่ๆ

- Modal ถือเป็น generation ที่ 2 ของ Rayon ส่วน Excel นี่เป็น generation ที่ 3 ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาที่อินเดีย ก็หวังว่าเบอร์ล่าจะสามารถเข็น Excel ออกมาสู้กับ Tencel ของ Lenzing ได้ในอนาคต

- Stock ของวัตถุดิบ (กระดาษละลายน้ำ) เมื่อก่อนจะเตรียมกันที่เป็นปี แต่เก็บๆ เอาไว้แล้วมันเหลือง หลังๆ เลยเก็บแค่ครึ่งปี (ผมเลยเดาว่าผลกระทบของราคาวัตถุดิบที่ขึ้นมาเยอะๆ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา จะยังไม่ออกฤทธิ์เต็มที่ในไตรมาสนี้ น่าจะไปส่งผลในไตรมาสหน้ามากกว่า แต่ก็มีตัวช่วยตรงที่สายที่ 5 กับโรงงาน CS2 สร้างเสร็จพอดี)

คร่าวๆ เท่านี้ก่อนละกัน

Cr คุณ picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:24:42 AM »
zephyr wrote:
ไม่ทราบมีใคร update ราคาเส้นใยเรยอน และ cotton บ้างครับ

ผมไม่รู้จะหาที่ไหน search googlle ไม่ค่อยเจอเลย เจอแต่ข้อมูลเก่าๆครับ :?


VSF fiber was steady in India, rising by a cent. 1.5D/38mm in China was at US$2.81/kg last week while in India it was US$2.81/kg.

จัดให้ครับ ส่วนหน้าเวปถ้าอยากดูเองก็  :P

http://www.yarnsandfibers.com/textile_intelligence/textile-pricewatch/viscosestaplefibre-vsf-price-trends-reports

เครดิต คุณ Luty97    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:27:41 AM »

ผมจำใจขาย TR ออกไปบางส่วนช่วงนี้เพราะต้องการใช้เงินสด

เมื่อประมาณปี 2000 ตอนนั้น ราคา พาร์ของ TR ยังอยู่ที่ 10 บาท ผมเคยเสนอซื้อ TR ที่ 72 บาท แต่ซื้อไม่ได้ เพราะราคาอยู่ที่ 74 บาท เมื่อซื้อไม่ได้ก็เลยไม่สนใจติดตามเพราะคิดว่าราคาแพงและปันผลต่ำ

ผมมาสนใจหุ้นตัวนี้อีกครั้งเมื่อ ปลายปี 2006 ตอนนั้นหุ้นแตกพาร์เหลือ 1 บาทแล้ว ราคาหุ้นตอนนั้นประมาณ 35 บาท และหลังเกิดมาตรการ 19 ธ.ค. ราคาตกลงมาอยู่ที่ประมาณ 32 บาท แต่ผมยังรีรอไม่กล้าซื้อแต่ติดตามหุ้นตัวนี้มาตลอดจนกระทั่งรู้จักกับ website thaivi.com เมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 หลังจากอ่านข้อมูลที่มีผู้วิเคราะห์  ผมมั่นใจในอนาคตของบริษัทโดยเฉพาะการขยายกำลังการผลิตที่จะเห็นผลในเวลาอันใกล้นี้

เครดิต คุณ chairt01    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 02:31:35 AM »
Grasim ไม่ใช่คู่แข่งครับ แต่เป็นบริษัทแม่ของ TR

เครดิต คุณ mprandy