●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: หุ้น TR  (อ่าน 10900 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2015, 09:41:42 PM »
บริษัท ไทยอคริลิคไฟเบอร์ - บริษัทร่วม คว้ารางวัล  TQA

“รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ” TQC : Thailand Quality Class ซึ่งคงรู้กันดีว่าใครคว้ารางวัลนี้ไปครองกันบ้างทั้งในปี 2554 และของปีที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 10 ปี
       
       แต่องค์กรไทยไม่ใช่ไม่เคยคว้ารางวัล TQA เพราะในปี 2545 ปี 2546 ปี 2549และปี 2553 มีองค์กรที่คว้ารางวัลนี้ไปกอดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ บริษัท ไทยอคริลิคไฟเบอร์ จำกัด, บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด, โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ
       
       “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” มีโอกาสสัมภาษณ์ มร.ริตูราจ ชาห์ Joint President Head Manufacturing บริษัท ไทยอคริลิคไฟเบอร์ จำกัด หนึ่งในองค์กรที่ได้รับรางวัล TQA เพื่อเป็นแนวทางให้หลายองค์กรนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานให้มากขึ้น
       
       การดำเนินงานของบริษัทเริ่มจากความชัดเจนเป็นรูปธรรมของระบบการนำที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการสร้างผู้นำมากกว่าผู้ตาม ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามแนวทางการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีภาระความรับผิดชอบ 2 ส่วนคือ งานตามหน้าที่ในสายงานและงานพัฒนาปรับปรุง โดยทุกคนต้องเข้าร่วมในทีมข้ามสายงาน ในงานส่วนพัฒนาปรับปรุง ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ระดับบริษัท ระดับโซน ระดับส่วน และระดับกลุ่มงานปฏิบัติการ
       
       ทั้งนี้ บทบาทของพนักงานในทีมข้ามสายงานอาจเป็นหัวหน้าที่สามารถตัดสินใจในการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานได้อย่างอิสระภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งบทบาทนี้ในทีมไม่จำเป็นต้องเป็นของผู้บริหารเสมอไป นอกจากนี้ ด้วยระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การวางแผนการประชุมและจัดตารางการประชุมอย่างชัดเจนตลอดปี รวมทั้งการประชุมระดับองค์กร และอื่นๆ ทำให้พนักงานทุกคนของบริษัทเกิดความเข้าใจร่วมกันในวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร แผนกลยุทธ์ และเป้าหมายองค์กร
       
       “ กุญแจความสำเร็จของบริษัทมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.Strong Leadership Approach หมายถึงคำมั่นสัญญาของผู้นำองค์กร เป็นการนำเสนอโดยตรงไปยังลูกค้า และพนักงาน เพราะภาวะผู้นำจะเป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ และเชื่อมโยงไปยังลูกค้า 2.Strong Teamwork องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ไม่ได้มาจากคนๆเดียว หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือลูกจ้างคนใดคนหนึ่ง ถ้ารวมกันได้จะสร้างสมรรถนะที่ดีที่จะพัฒนาองค์กรให้ธุรกิจดีขึ้น 3.Stong Attitude เป็นแนวคิดของพนักงานของบริษัทในการต่อสู้ว่า “เราทำได้”
       
       นอกจากนี้บริษัทยังสร้างระบบทบทวนผลการดำเนินงาน ซึ่งเกิดจากการกำหนดกลไกการตรวจสอบและทบทวนทั้งระดับปฏิบัติการและระดับนโยบาย ช่วยให้ผู้บริหารสามารถติดตามความคืบหน้าของผลการดำเนินงานและปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับกลไกการตรวจสอบเหล่านี้ได้แก่ การทบทวนเป็นรายวันระดับกลุ่มงานปฏิบัติการและระดับแผนก การตรวจสอบและทบทวนเป็นรายเดือนระดับฝ่ายและระดับคณะกรรมการองค์ประกอบทางธุรกิจ การตรวจสอบและทบทวนรายไตรมาสตามกระบวนการตรวจสอบ-ทบทวน-ปรับปรุง รวมถึงการตรวจสอบและทบทวนแผนกลยุทธ์ทุกครึ่งปี
       
       หากมองเรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์กันบ้าง บริษัทได้จัดทำกลยุทธ์ที่มีการจัดการกระบวนการอย่างเป็นระบบ เช่น การตั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้า, ขั้นตอน, กรอบเวลา, และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนในทุกขั้นตอน การจัดทำกลยุทธ์ที่นำข้อกำหนดเหล่านี้มาออกแบบเป็นกระบวนการ ทำให้การจัดทำกลยุทธ์ของบริษัทเป็นกระบวนการที่เป็นมาตรฐานสามารถปฏิบัติซ้ำได้อีก และในแง่การควบคุมกระบวนการ บริษัทได้สร้างกลไกควบคุมด้วยการกำหนดระบบดัชนีชี้วัด ระบบตรวจสอบและทบทวนผลการดำเนินงาน ระบบดัชนีชี้วัดครอบคลุมปัจจัยการดำเนินงานต่างๆ 7 ด้านคือ ด้านคุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ นวัตกรรม การเพิ่มผลผลิต ความปลอดภัย และขวัญกำลังใจ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้มีการกำหนดและกระจายเป้าหมายตามกรอบตัวชี้วัดดังกล่าวจากระดับองค์กรไปสู่ระดับล่างในแนวดิ่งตามโครงสร้างองค์กร และกระจายเป็นเป้าหมายในแนวราบตามองค์ประกอบทางธุรกิจ ซึ่งการควบคุมกระบวนการตามกลไกทั้งสอง ทำให้การจัดทำกลยุทธ์ของบริษัทเป็นกระบวนการที่วัดผลได้ และเป็นกระบวนการที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
       
       ในหนังสือกรณีศึกษา Best Practices ของบริษัทไทยอคริลิคไฟเบอร์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทได้กำหนดโดยคำนึงถึงความสมดุลในความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกลุ่มต่างๆ ความท้าทายและโอกาสใหม่ ทั้งระยะและระยะยาว กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ลูกค้าภายนอก (ผู้ซื้อสินค้า ผู้ส่งมอบ และผู้ถือหุ้น) ลูกค้าภายใน (พนักงานและหน่วยงานภายใน) ตลอดจนสังคมและชุมชน ส่วนความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ ความท้าทายภายในองค์กร อาทิ การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่วนความท้าทายภายนอก ได้แก่ ความพึงพอใจของลูกค้า การรักษาลูกค้า และการขยายตลาด
       
       มร.ริตูราจ กล่าวว่า ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดมีมากขึ้น ไม่สามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นใน 6 เดือนข้างหน้า ดังนั้น บริษัทจึงต้องมองแบบ outside-in มากกว่าการมองแบบ inside-out หมายความว่าบริษัทต้องโฟกัสที่ลูกค้าให้มากขึ้น ทำให้บริษัทรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร บริษัทต้องขายอะไร และต้องฟังอย่างต่อเนื่องด้วยว่าลูกค้าต้องการอะไร
       
       “ธุรกิจนี้ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตเพียงแค่ 1% เท่านั้น หรือบางทีไม่มีการเติบโต ขณะเดียวกันมีการแข่งขันที่รุนแรง การเติบโตอย่างต่อเนื่องของเรามาจากการเข้าไปหาตลาดใหม่ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม การออกสินค้าใหม่ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการผลิตในต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ แต่ให้ได้คุณภาพการผลิตที่ดีที่สุด ซึ่งการเข้าสู่ตลาดใหม่นั้น เราต้องนำเสนอและตอบสนองโดยตรงไปผู้บริโภค ส่งมอบสิ่งที่เขาต้องการด้วยผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด การบริการที่ดีที่สุด และการสนับสนุนทางเทคนิค นั่นจึงกลายเป็นความแตกต่างระหว่างเรากับบรรดาคู่แข่ง รวมถึงราคาที่แตกต่างคู่แข่งด้วย”
       
       ไทยอคริลิคฯ มีวิธีเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าด้วยการตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ มีการปรับเส้นใยให้มีขนาดที่สอดคล้องกับการทำงานกับเครื่องจักรของลูกค้า ด้านเทคนิคมีการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเพิ่มคุณลักษณะบางอย่างในผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค้าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ตลอดจนการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องเฉพาะรายของลูกค้า นอกจากนี้ยังรวมถึงการเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนในองค์กรของลูกค้าด้วย
       
       *************
       
       บริษัท ไทยอคริลิคไฟเบอร์ จำกัด หรือ TAF เป็นบริษัทในเครือ Aditya Bria Group ประเทศอินเดีย ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตเส้นใยอคริลิคในประเทศไทยเมื่อปี 2530 โดยตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดสระบุรี เริ่มทำการผลิตเมื่อปี 2532 ด้วยกำลังการผลิต 14,000 ตันต่อปี
       
       TAF เป็นผู้ผลิตเส้นใยอคริลิครายแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับตั้งแต่เริ่มการผลิตบริษัทขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องและนับเป็นโรงงานที่มีการขยายกำลังการผลิตโดยใช้เวลาสั้นที่สุดในโลกคือ 13 เดือน และ 12 เดือน ในปี 2538 และ 2540 ตามลำดับ ช่วงระยะเวลาเกือบ 10 ปีนับตั้งแต่เริ่มการผลิตจนถึงปี 2541 กำลังการผลิตของบริษัทเพิ่มขึ้นถึง 400%

ที่มา http://www.manager.co.th/mgrweekly/viewnews.aspx?NewsID=9550000041553&TabID=3&

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2015, 09:54:52 PM »
วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตลาดเส้นใยสังเคราะห์โตต่อเนื่อง
การพัฒนาสินค้าของเส้นใยสังเคราะห์ไม่ใช่แค่ออกชื่อสินค้าใหม่ๆ ด้วยประเภทสินค้าที่มีอยู่หลากหลายแล้วในตลาด แต่รวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของการผลิตทั้งวงจรการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของทั้งกระบวนการ

ในปี2554 ปริมาณการผลิตเส้นใยทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 4.1 เป็นปริมาณ79.1ล้านตันซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน ผลผลิตฝ้ายเพิ่มขึ้นร้อยละ6.7 เป็น 26.8ล้านตันซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณการผลิตในปี 2549 – 2555 บรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอุปทานฝ้ายคงจะไม่สูงไปกว่านี้อีกแล้วเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด จีนแผ่นดินใหญ่ได้ประกาศว่าพื้นที่เพาะปลูกฝ้ายจะลดลงร้อยละ10ในปีนี้ ส่วนเกษตรกรในประเทศอื่นๆก็หันไปปลูกถั่วเหลืองและพืชผลอื่นๆเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารและพลังงานทดแทนซึ่งนับวันจะขยายตัวตามจำนวนประชากรของโลก

ในปี 2554ปริมาณการผลิตเส้นใยเคมี ซึ่งครอบคลุมถึงเส้นใยสังเคราะห์และเซลลูโลซิคในหมวดหมู่man-made cellulosics(MMCs)อาทิ viscose, acetate, modal, lyocellเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.9%เป็น 51.2 ล้านตันซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกันสามในสี่ของปริมาณการผลิตเส้นใยเคมีในปี 2554 ได้แก่โพลีเอสเตอร์ซึ่งครองอันดับหนึ่งทั้งในแง่ปริมาณการผลิตและอัตราการเจริญเติบโตในยุโรป โรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์รายใหญ่ๆ กำลังทบทวนประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต

กลุ่มอดิตยา เบอร์ล่า
ผู้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์ที่เล็งเห็นแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้นและช่องทางการตลาดนี้อีกรายหนึ่งคือกลุ่มอดิตยา เบอร์ล่า ของอินเดียซึ่งมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตเส้นใยวิสโคสสั้นที่เมือง Adana ประเทศตุรกี

กลุ่มนี้เป็นผู้ผลิตวิสโคสชั้นนำของโลกอยู่แล้วจะลงทุนอีก 500ล้านเหรียญสหรัฐในห้าปีข้างหน้าและเพิ่มกำลังการผลิตอีก 180,000 ล้านตันต่อปี

เส้นใยเซลลูโลซิคของเบอร์ล่าเป็นเส้นใยจากวัสดุที่มาจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ (biodegradable) และมีคุณสมบิตซึมซับน้ำได้ดีมากสินค้าใหม่ภายใต้ชื่อ Purocelเป็นเส้นใยกลวงซึ่งไร้สารคลอรีนและตะกั่ว (hollow, chlorine and zinc-free)พร้อมกันนี้ยังมีคุณสมบัติกันเชื้อโรคanti-bacteria เหมาะมากสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์ non-woven สำหรับผ้าเช็ดพื้นผิว (wipes) หรือสินค้าทางสุขภัณฑ์ (personal hygiene), ผลิตภัณฑ์เด็ก (baby care), sanitary items, ที่ใช้ในสถานพยาบาลและทั้งที่ใช้ในบ้าน (medical and household end-uses)

กลุ่มเบอร์ล่าขณะนี้มีส่วนแบ่งตลาดโลกอยู่แล้วกว่า 21%ในตลาดเส้นใยวิสโคสสั้นในกำลังผลิตที่750,000 ตันต่อปีซึ่งจะขยายไปถึง 1.1 ล้านตันในปี2558

“เราคาดว่าจะเริ่มโรงงานที่ตุรกีตอนต้นปี 2558 ผลิตป้อนอุตสาหกรรมสิ่งทอในตุรกี คุณ K.K.Maheshwari อธิบาย “ขณะนี้เส้นใยวิสโคสสั้นในตุรกีใช้ในภาคสิ่งทอและ nonwoven ทั้งหมดต้องนำเข้า และเข้าใจว่าตลาดนี้มีผู้บริโภคใหญ่เป็นที่ 4 ของโลกและกำลังจะเป็นที่ 2 ในห้าปีข้างหน้า ฉะนั้นการมาถึงโรงงานผลิตใหม่ที่นี่มีความสมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง และเราก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาลตุรกีทั้งด้านนโยบายอุตสาหกรรมและความช่วยเหลือด้านแรงงาน”

* ข้อมูลจาก www.adsaleATA.com

ที่มา http://patternit.blogspot.com/2013/03/blog-post_20.html

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 11:53:33 PM »
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 20 มกราคม 2557

นายปราโมท คานเดลวาล ผู้ช่วยรองประธาน (ฝ่ายการเงินและพาณิชย์) บมจ.ไทยเรยอน (TR) แจ้งว่า ตามที่สหภาพแรงงานของบริษัทได้ส่งหนังสือนัดหยุดงานในวันที่ 17 ก.ย.56 และบริษัทได้ประกาศปิดโรงงานในวันที่ 18 ก.ย.56 นั้น บริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบว่าบริษัทและสหภาพแรงงานได้มีการบรรลุข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ทั้งนี้ บริษัทและสหภาพแรงงานได้ทำข้อตกลงยกเลิกการนัดหยุดงานและการปิดโรงงานโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค.57

บริษัทมีสายการผลิตจำนวน 5 สาย ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะเริ่มดำเนินการผลิตตามปกติทีละสายการผลิต ภายหลังจากการบำรุงรักษาและความพร้อมในการติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตได้ทุกสายการผลิตภายในเดือน ก.พ.57 ส่วนกำลังการผลิตเต็มที่นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์ทางตลาด บริษัทจะรายงานข้อมูลความคืบหน้าต่อไป

อ่านต่อได้ที่ : http://www.beta.ryt9.com/s/iq05/1819537

 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #63 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 11:56:47 PM »
TR ลงทุนเพิ่ม 605 ลบ.ในธุรกิจปลูกยูคาลิปตัสในประเทศลาว

บมจ.ไทยเรยอน(TR)เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของทุนในบริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์ แพลนเทชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทั้งนี้ บริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์ แพลนเทชั่น จำกัด ได้พิจารณาปรับต้นทุนโครงการระยะที่ 1 (ปลูกต้นยูคาลิปตัส) เป็นจำนวนเงิน 90 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากต้นทุนเดิมจำนวน 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต้นทุนโครงการทั้งหมดของระยะที่ 1 จะเป็นเงินทุนที่มาจากส่วนของทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการมีส่วนร่วมโดยผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ดังนั้น บริษัทฯจะลงทุนเพิ่มเติมจำนวน 19.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 605 ล้านบาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ = 31 บาท) เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นที่ร้อยละ 30 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70 จะเป็นการลงทุนโดยผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่น

ที่มา http://www.beta.ryt9.com/s/iq10/1095751

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2015, 12:13:18 AM »
หัวข้อข่าว เปลี่ยนแปลงกรรมการ และลงทุนเพิ่มเติมในบจ.เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์ แพลนเทชั่น

24 กุมภาพันธ์ 2554

4. อนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของทุนในบริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์ แพลนเทชั่น จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยบริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์
แพลนเทชั่น จำกัดได้พิจารณาปรับต้นทุนโครงการระยะที่ 1 (ปลูกต้นยูคาลิปตัส) เป็นจำนวนเงิน 90
ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากต้นทุนเดิมจำนวน 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต้นทุนโครงการทั้งหมดของระยะที่ 1
จะเป็นเงินทุนที่มาจากส่วนของทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการมีส่วนร่วมโดยผู้ถือหุ้นทั้งหมด ดังนั้นบริษัทฯ
จะลงทุนเพิ่มเติมจำนวน 19.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 605 ล้านบาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1
ดอลล่าร์สหรัฐฯ = 31 บาท) เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นที่ร้อยละ 30 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70
จะเป็นการลงทุนโดยผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่น

------------------------------

เรื่องการลงทุนเพิ่มที่ลาวผมลองโทรไปถามมาดูครับ ได้ความว่าที่ลาวมีการขยายเพิ่มครับทำให้ต้องลงทุนเพิ่มทุกคน โดยที่มีการขยายเพิ่มเลยจะได้ใช้เครื่องที่ใช้ในการขยายปัจจุบันอยู่ต่อไปเลยจะได้ไม่ต้องลงทุนใหม่ในอนาคตครับ ส่วนการลงทุนพวกนี้ต้องใช้เวลาครับ พวกปลูกต้นยูคาลิปตัส น่าจะใช้เวลาประมาณ 3-6 ปี ครับ แต่ยังไม่ทราบว่าที่ลงไปส่วนแรก 7.5 ล้านเหรียญ นั้นมีปลูกไปเท่าไหร่ ครับ

ที่มา http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=4&t=3519&start=2190&view=print

 :wanwan017:


ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #65 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2015, 12:45:25 AM »
บาทแข็งค่าฉุด “ไทยเรยอน” งวดสิ้นปี 57 ขาดทุนเพิ่ม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
   
16 กุมภาพันธ์ 2558 13:43 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2558 14:03 น.)

        ไทยเรยอน งวดสิ้นปี 57 ขาดทุนสุทธิ 453 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 69 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 18% แม้งวดนี้ยอดขายจะเพิ่มขึ้น ขณะที่มีส่วนต่างในอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง 262% จากการแข็งค่าของเงินบาท
       
       นายปราโมท คานเดลวาล รองประธาน (ฝ่ายการเงินและพาณิชย์) บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) หรือ TR แจ้งผลงานงวดสิ้นปี 57 ว่า บริษัทขาดทุนสุทธิ 453 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนขาดทุนสุทธิ 384 ล้านบาท 69 ล้านบาท หรือขาดทุนเพิ่มขึ้น 18%
       
       โดยผลงานงวดนี้บริษัทมีรายได้จากการขายรวมเพิ่มขึ้น 1,715 ล้านบาท หรือคิดเป็น 90% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายของบริษัทฯ 1,603 ล้านบาท หรือคิดเป็น 472% เทียบกับยอดขายที่ลดลงของบริษัทฯ ในช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการนัดหยุดงาน ขณะเดียวกัน มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 14 ล้านบาท หรือคิดเป็น 112% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในบริษัทย่อย 7 ล้านบาท และลดลงจากผลขาดทุนในบริษัทฯ จำนวน 6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้เงินปันผลเพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท หรือคิดเป็น 100% เนื่องจากการรับเงินปันผลจากการลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งไม่มีการบันทึกรับเงินปันผล
       
       ขณะที่มีต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 1,587 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายของบริษัทฯ 1,603 ล้านบาท หรือคิดเป็น 472% เทียบกับยอดขายที่ลดลงของบริษัทฯ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการนัดหยุดงานและมีค่าใช้จ่ายการผลิตในช่วงปิดโรงงานซึ่งไม่ได้ถูกปันส่วนลดลง ขณะค่าใช้จ่ายในการขายเพิ่มขึ้นตามยอดขายที่สูงขึ้น
       
       นอกจากนี้ ยังมีผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงินที่เป็นเงินต่างประเทศลดลง 344 ล้านบาท หรือคิดเป็น 262% เนื่องมาจากการแข็งค่าของเงินบาท อีกทั้งผลกระทบของภาษีเงินได้ลดลง จากผลขาดทุนจากการแปลงค่างบการเงินจากการแข็งค่าของเงินบาท