●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: หุ้น TR  (อ่าน 10922 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2014, 01:11:00 AM »
ผมชอบมากกว่าหากผู้บริหารไม่ลงทุนแบบซื้อหุ้นบริษัทร่วม แต่ควบรวมเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ต่างสาขาน่ะครับ (อันนี้ผมคิดเองเล่นๆ ไม่ทราบว่าเป็นไปได้รึเปล่า)

เพราะการถือหุ้นบริษัทร่วม สิ่งที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ก็คือกำไรทางบัญชีที่ไม่รู้ว่าจะกลับมาเป็นเงินสดถึงมือเราเมื่อไหร่ นอกจากจะมีปันผลที่เหมาะสมเช่น TCB โดยกระแสของเงินจะเป็นแนวนี้

TR --> สร้างเงินสด --> เอาไปลงทุนในบริษัทร่วมโดยการถือหุ้นเพิ่ม --> ผู้ถือหุ้นในบริษัทร่วมก่อนหน้าซึ่งก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เงินเข้าเป๋า หรือนำไปขยายกิจการต่อไปเรื่อยๆ --> บริษัทร่วมเติบโตมีกำไร --> แสดงในส่วนแบ่งกำไรในงบ TR --> พอโตจนได้ที่ แทนที่จะจ่ายปันผล บริษัทแม่กลับสร้างกิจการใหม่ขึ้นมา --> บริษัทร่วมของเรานี้ก็เอาไปลงทุนต่อในบริษัทร่วมใหม่นั้น --> ไม่รู้จบ


จนกว่าจะมีกรณีแบบ TCB คือได้เป็นงินปันผลคืนกลับมา ไม่เช่นนั้น ก็เหมือนกับการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้บริษัทแม่เท่านั้นล่ะครับ ในขณะที่ผู้ถือหุ้น TR ได้เพียงกำไรทางบัญชีที่ไม่มีวันจะกลับมาเป็นเงินสด หากบริษัทแม่ยังสร้างบริษัทใหม่และใช้เงินทุนจากบริษัทร่วมด้วยกัน แทนที่จะระดมทุนจากแหล่งอื่นๆ

ผลก็คือ wealth ของผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ถูกโอนอย่างละม่อม ทีละน้อย ทีละน้อย ไปที่บริษัทแม่ โดยบริษัทแม่ไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่เลย (มองในแง่ร้ายไปรึเปล่า)

จนกว่าซักวันหนึ่ง (ไม่รู้ว่ากี่สิบปีหรือกี่ร้อยปี) ที่บริษัทแม่จะหยุดการเติบโตหรือหยุดกิจการแล้วจ่ายเงินปันผลกลับมา

ในขณะที่การ take over มาเป็นบริษัทเดียวกันแบบ vertical integration จะทำให้สร้างมูลค่าได้โดยตรง เพราะช่วยลดต้นทุน (ปัจจุบันบริษัทยังต้องซื้อจากบริษัทร่วมในราคาตลาด) หรือเพิ่มรายได้ทางตรง ซึ่งผลออกมาก็จะเป็นเงินสดที่ได้ใน TR เองดัง flow นี้

TR --> สร้างเงินสด --> ลงทุนสร้างโรงงานผลิตเยื่อหรืออื่นๆโดยเป็นชื่อตัวเอง --> ต้นทุนลดลง --> กำไรเงินสดสูงขึ้น --> เงินสดสูงจนล้น --> ปันผลออกมา --> เงินที่เหลือไปหาที่ลงทุนต่อ --> ต้นทุนต่ำลงอีกหรือรายได้เพิ่มขึ้นอีก --> เงินสดสูงขึ้น --> เพิ่มปันผลอีก

จะเกิดอะไรขึ้นครับ หากบริษัทร่วมที่ลาวที่เพิ่งปลูกต้นไม้มีกำไรแต่ขยายตัวต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีการจ่ายปันผลกลับมาเป็นเวลาหลายๆปี ซึ่งเค้าเองสามารถโตได้ด้วยการเพิ่มทุนจากเงิน TR ที่คอยซื้อหุ้นเพิ่มเรื่อยๆ ทุกปีๆ

คำตอบก็คือ เงินสดหรือกำไรใน Retain earning ของ TR จะเป็นแหล่งเงินทุนชั้นดีให้บริษัทร่วม และจะแสดงให้เห็นในงบดุลเงินลงทุนของบริษัทร่วมที่โตเอาๆ แต่กลับไม่มีเงินปันผลตอบแทนกลับมาเลย โดยกำไรทางบัญชีส่วนหนึ่งจะได้มาจากส่วนแบ่งเหล่านี้ (ในขณะที่ปันผลยังต่ำเตี้ยเหมือนเดิม เพราะต้องคอยเอาเงินไปป้อนให้บริษัทร่วม) สังเกตได้จากกำไรทางบัญชีสูงขึ้นเรื่อยๆจากส่วนแบ่งบริษัทร่วม แต่เงินสดอิสระยังเท่าเดิม

ในขณะที่การที่บริษัท TR ไปเป็นคนปลูกป่าที่ลาวเอง จะให้ผลที่แตกต่างกัน นั่นคือกำไร TR จะสูงขึ้นเนื่องจากได้ต้นทุนที่ถูก ผลตอบแทนจะได้กลับมาเป็นเงินสดที่สูงขึ้นในงบดุล ไม่ใช่ เงินลงทุนในบริษัทร่วม และแน่นอนว่า เงินสดเหล่านี้จะกลับมาตอบแทนกลับให้ผู้ถือหุ้น TR โดยตรงในรูปแบบเงินปันผล

นี่อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่การประเมินมูลค่ากิจการ ควรประเมินจากกระแสเงินสดอิสระ ไม่ใช่กำไรทางบัญชีที่สามารถโยกย้ายถ่ายเทให้สวยหรูโดยที่นักลงทุนรายย่อยไม่รู้ตัว

ผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยครับ

เครดิต คุณdoodeemak
- thaivi.org -

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2014, 01:12:18 AM »
อ้อ อีกวิธีหนึ่งที่ผมคิดว่าบริษัทจะสามารถถ่ายเทเงินสดแบบเนียนๆไปให้บริษัทร่วมก็คือการซื้อขายโดยกำหนด term การชำระเงินครับ

เช่น ถ้า TR ต้องซื้อเยื่อกระดาษจากบริษัทที่แคนาดา แต่เนื่องจากน้องแคนาดากำลังเติบโตและต้องการเงินสดไปลงทุนต่อเนื่อง จึงขอให้ TR จ่ายเงินให้เร็วๆหน่อย จากเดิมที่ถ้าซื้อที่อื่น TR จะจ่ายเงินภายใน 60 วัน พอเป็นน้องแคปุ๊บ บริษัทใจดี 7 วันก็โอนเงินให้เลย งานนี้น้องแคสบายเพราะไม่ต้องกู้เงินเพิ่มซักนิด  :roll:

คนที่ทำธุรกิจจะรู้ซึ้งดีถึงเจ้าตัว working capital ว่าสำคัญต่อการเติบโตขนาดไหน การที่ TR ยอมจ่ายเงินให้น้องแคเร็ว จะทำให้บริษัทต้องอั้นเงินไว้ก้อนหนึ่งเพื่อมาหมุน ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้มากเท่าที่ควร

หรือถ้าน้องอินโดที่เป็นลูกค้า TR บอกว่า เค้าต้องการเงินหมุนเวียนเพิ่มขอให้ยืดระยะเวลาชำระหนี้จากปกติ 30 วันเป็น 60 วัน ก็จะส่งผลให้ TR ต้องอั้นเงินไว้อีกก้อน เพราะเงินไหลเข้ามาช้าลง

การที่บริษัทมี % working capital สุงๆจะทำให้เป็นอุปสรรคอย่างมากในการเติบโต เพราะยิ่งโต จะยิ่งต้องการเงินหมุนมากขึ้น

ผิดถูกอย่างไร รบกวนชี้แนะด้วยครับ

ปล. ผมมีหุ้นนิดนึงนะครับ ไม่อยากให้รีบซื้อกันจนราคาสูงเกินไป  :lol:

เครดิต คุณdoodeemak
- thaivi.org -

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2014, 01:14:31 AM »
ขอแสดงความเ็ห็นแบบงูๆปลาๆนะครับ

ส่วนตัวเห็นด้วยกับพี่ doodeemak หลายประการเหมือนกันครับ และจะดีใจมากถ้าหาก TR จะจ่ายปันผลมากกว่านี้

แต่จากอดีตที่ผ่านมา การลงทุนของ TR ส่วนใหญ่ก็ให้ผลกำไรค่อนข้างดีนะครับ ยกเว้นในช่วงปีที่ผ่านมา การลงทุนของบริษัทเป็นตัวช่วยรักษาระดับ ROE ได้ดี ทั้งๆที่ Equity โตค่อนข้างมากในแต่ละปี (เนื่องจากการจ่ายปันผลในอัตราโปรโมชั่นต่ำพิเศษ)

การลงทุนต่อเนื่องแบบนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ TR เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งในวงการอย่างในปัจจุบันนะครับ ถ้ามัวแต่ลงทุนในธุรกิจเรยอนอย่างเดียวก็คงมีัลักษณะเป็น cyclical มากกว่านี้เยอะมาก

Cr Interne
- thaivi.org -

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2014, 01:19:08 AM »
เรื่อง คำชี้แจงกรณีอุบัติเหตุที่โรงงานในจังหวัดสระบุรี

เรียน ฝ่ายบริษัทจดทะเบียน
    ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) (?บริษัทฯ?) ขอชี้แจงให้ทราบเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่โรงงานผลิตก๊าซคาร์บอน
ไดซัลไฟด์ ในอุตสาหกรรมนิคมเอสไอแอล อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552 ได้มีก๊าซ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ในพื้นที่บริเวณถังเก็บสต็อกผลิตภัณฑ์ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์สูงเกินปกติ จนเป็นเหตุให้พนักงานของ
โรงงาน 5 คนที่เข้าไปแก้ไขอุปกรณ์เครื่องจักรกรณีฉุกเฉินดังกล่าว ประสบอุบัติเหตุสูดดมก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์เข้าไปเกิน
ขนาดเป็นเหตุให้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลสระบุรี 4 คน  ซึ่งสำนักงานอุตสาหกรรม
จังหวัดสระบุรีได้มีคำสั่งให้โรงงานหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบและปรับปรุง
   
    โรงงานดังกล่าวของบริษัทฯ เป็นโรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ โดยใช้วัตถุดิบจากก๊าซธรรมชาติและสาร
กำมะถัน ในขั้นตอนการผลิตได้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งโดยปกติในขบวนการผลิตจะต้องนำกลับไปใช้ใหม่ให้หมด
โดยก่อนเกิดเหตุดังกล่าว โรงงานได้หยุดการผลิตเพื่อซ่อมเครื่องจักรประจำปี หลังจากได้เดินเครื่องทำการผลิตมาตลอด
เป็นเวลา 1 ปีแล้ว โดยไม่เคยเกิดอุบัติเหตุรุนแรงใดๆ วัตถุประสงค์ในการซ่อมแซมประจำปีดังกล่าวเพื่อให้อุปกรณ์
เครื่องจักรทุกส่วนสมบูรณ์ตามเดิมมากที่สุด  ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของพนักงานเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามเมื่อได้เริ่ม
เดินเครื่องจักรใหม่ ปรากฏว่ามีความผิดพลาดในการปฏิบัติงานตามคู่มือปฏิบัติการเดินเครื่องจักร ทำให้เกิดก๊าซ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกมาอยู่ในถังเก็บผลผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์  และหลุดออกมาอยู่ในพื้นที่ทำงาน พนักงานผู้ซึ่ง
รับผิดชอบในส่วนงานดังกล่าวจึงรีบเข้าแก้ไขปัญหาเพื่อควบคุมสถานการณ์ แต่ด้วยความรีบร้อน พนักงานบางคนได้ลืม
สวมใส่อุปกรณ์หน้ากากป้องกันก๊าซอันตรายตามกฎระเบียบของบริษัทฯ แม้จะได้มีหน้ากากดังกล่าวติดประจำตัวอยู่
ทำให้ประสบเหตุต่อสุขภาพอย่างรุนแรง สำหรับผู้ที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายถูกต้องได้ประสบปัญหาเพียงเล็กน้อยและ
ปลอดภัยดี
   
    บริษัทฯ ได้ดูแลอย่างใกล้ชิดและรับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลและค่าชดเชยทุกอย่างแก่พนักงานผู้ซึ่งได้รับ
ผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้  โดยแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 2 คน และอีก 2 คนยังคงอยู่ในการดูแลอย่าง
ใกล้ชิดจากแพทย์ และอาการได้ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกจากโรงพยาบาลภายใน 1 สัปดาห์
   
    บริษัทฯ รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการสูญเสียพนักงานในอุบัติเหตุครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้าน
การเงินอย่างเต็มที่ต่อครอบครัวผู้สูญเสีย
   
    อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อวัตถุดิบที่ใช้ในการดำเนินงานผลิตของบริษัทฯ แต่อย่างใด การดำเนินการผลิต
เส้นใยเรยอนที่โรงงานในจังหวัดอ่างทองยังคงเป็นไปตามปกติ ในระหว่างนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไป
ตามข้อกำหนดของทางราชการ เพื่อให้ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการที่โรงงานสระบุรีตามปกติ 

     จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ


                                                          ขอแสดงความนับถือ



                                                    นายแฮรี่ กฤษณะ อาการ์วาล
                                                           ประธานบริษัท


ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2014, 01:23:46 AM »
ประชุมปีนี้ ไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจครับ
แถมนานอีกต่างหาก(3 ชม.) เนื่องจากมีนักลงทุนรายย่อยบางท่าน ทำตัวเป็นตัวป่วนในที่ประชุม คอยตั้งคำถามที่นอกประเด็น และพยายามพูดแดกดันผู้บริหารในทุกวาระการประชุม

โดยสรุป เท่าที่จำได้บางส่วนนะครับ ท่านใดที่อยากอ่านรายงานสรุปแบบเต็ม โปรดติดตามทาง website ของบริษัทครับ

- อย่างแรกที่ผู้ถือหุ้นบ่น คือ รายงานประจำปีอ่านยาก เพราะพิมพ์ด้วยสีส้มค่อนเล่ม อันนี้บริษัทรับว่าจะไปแก้ไขในปีถัดๆไป

- ผู้บริหารให้เหตุผลของการที่กำไรลดลง ว่ามาจากวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งทุกบริษัทในอุตสาหกรรมต่างได้รับผลกระทบกันทั้งหมด

- เรื่องบริษัทย่อย บริษัทร่วม ที่ขาดทุนกันบานเบอะในปีที่แล้ว ผู้บริหารให้เหตุผลถึงความยากลำบากที่เป็นกันทั้งอุตสาหกรรม

- เรื่องการจ้างอดีตผู้บริหาร คุณ P.M. Bajaj เป็น full time advisor นั้น เป็นที่อภิปรายกันพอสมควร โดยเหตุผลของกรรมการบริษัท คือ คุณ Bajaj เป็นผู้บริหารที่อุทิศตน ทำงานกับไทยเรยอนมา 25 ปี สร้างความผลประโยชน์แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ เพื่อผลประโยชน์ของบริษัท และตัวท่านมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนี้ มีทักษะและความรอบรู้ที่เป็นประโยชน์กับบริษัท แต่เนื่องด้วยถึงเวลาเกษียณอายุตามกฎของบริษัท บริษัทจึงอยากจะให้สิ่งตอบแทน เพื่อเป็นตัวอย่างแก่บุคลากรรุ่นหลังต่อไป รวมทั้งอยากจะให้การบริหารงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มี gap ระหว่างการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร โดยค่าตอบแทนที่บริษัทเสนอให้นั้น ใกล้เคียงกับสมัยที่คุณ Bajaj เป็นผู้บริหารอยู่

- เรื่องการซื้อวัตถุดิบราคาแพงในปีที่ผ่านมา ผู้บริหารให้เหตุผลว่า ตอนนั้นราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว และหาซื้อวัตถุดิบยาก อีกทั้ง supplier ต้องการให้ทำสัญญาซื้อขายปริมาณมาก จึงจะยอมขายให้ และที่ผ่านมาราคาวัตถุดิบมักปรับตัวอย่างช้าๆ หลังจากปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในแวดวงนี้ บริษัทจึงต้องทำสัญญาซื้อขายล๊อตใหญ่ ซึ่งต่อมาราคาวัตถุดิบลดลงเร็วมาก จนทำให้บริษัทขาดทุน ซึ่งแนวทางแก้ไข คือต่อไปบริษัทจะทำสัญญาซื้อวัตถุดิบกระจายไปหลายช่วงระยะเวลา

- เส้นใย birla modal ขณะนี้ยังถือเป็นรายได้ส่วนไม่มากของบริษัท ประมาณ 7%-8% แต่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

- ตอนท้าย มีผู้ถือหุ้นเสนอว่าบริษัทน่าจะแจกของชำร่วยบ้าง ผู้บริหารตอบว่า ถ้าบริษัทแจก ก็จะมีผู้ถือหุ้นรายอื่นบ่นอีก ว่าบริษัทกำไรลดลงเยอะ ไม่น่าจะแจกของ  :lol: อย่างไรก้ตาม ถ้าไปเยี่ยมชมโรงงาน คาดว่าน่าจะมีของชำร่วยแจกนะครับ

- เรื่องการลงทุนในอนาคต ไม่มีใครถามถึงเลยครับ

Cr คุณchut    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
Post: Sat Jan 30, 2010 2:34 pm
 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2014, 01:26:19 AM »
การประชุม ที่ น่าหงุด หงิด

  ...จากที่ คุณ chut กล่าว ก้อจริง คือมีผู้ ถือหุ้นคน นึงป่วน ตลอด การประชุม และไม่มีคำถามที่สร้างสรรค์ เช่น ถาม ว่าทำไมกำไรลด ถึงได้จ้าง ประธานคนเดิม ต่อ งี้ ....ถามว่ากำไรลด ลงทำไมผู้ตรวจสอบบัญชี ได้ค่าจ้างเท่าเดิม หรือมากว่าเดิม งี้ ผมฟังไม่ทันไม่ได้สนใจ ...ซึ่ง เมื่อเทียบขนาด ของรายการกับ ขาด ของบริษัทเล็กน้อย มาก....ที่สำคัญ ผม ได้ยินเค้า คุยกับ คนที่นั่ง อยู่ กะเค้า ว่า ถือ หุ้นอยู่ แสน นึง จะขายได้งัย ถ้าขายก้อfloor เฮ้อ นักลงทุน  แบบนี้ ผมคิดว่า เหมือน กบในกะลา มากกว่า ...

   จากการสังเกตุจะเห็น ว่า นักลงทุนส่วน ใหญ่จะเป็น คนสูงวัย ที่ถือหุ้น บริษัทนี้ และถือมานาน สิบปีก้อ มีเยอะ ....ส่วนใหญ่ก้อจะบ่น เกี่ยวกับเรื่องปันผล ว่าน้อย เหลือเกิน ...

ตามความคิดเห็น ส่วนตัว นะครับ ผมคิดเป็น ประเด็น ดังนี้ ที่ผมสนใจลงทุนในบริษัท นี้ คือ
- สำหรับนักลงทุน รุ่น ใหม่ถือว่าเป็น โอกาสอัน ดี ที่จะลงทุนบริษัทนี้ เนื่องจาก ที่ผ่านมา เค้า แทบไม่ปัน ผลเลย  เก็บกำไรสะสมเอาไว้ และมาลงทุน หนักๆ ปีสองปีที่ผ่านมา โดย มูลค่าหุ้น ยัง ขึ้น ไม่ทัน กับ book value ที่เพิ่มขึ้น อย่างมากเมื่อสองสาม ปีที่ผ่านมา เมื่อก่อน bv มันอยู่แถว สี่สิบห้าสิบ ราคาหุ้นก้ออยู่แถวสามสิบสี่สิบ แต่เดี๋ยวนี้ bvมันเจ็ดสิบกว่า หุ้น อยู่แถวสี่สิบกว่า เอง ก้อถือว่า น่าสนใจ เท่ากับคนที่ซื้อหุ้น ตอนนี้ เอากำไรที่เค้า เก็บมานาน แล้วมาลงทุนหนักๆให้เรา ปีสองปี นี้ เราก้อจะเป็นผู้ เก็บเกี่ยวผลปรโยชน์ เท่าๆกับ คนที่ถือหุ้น มา สิบ ปียี่สิบปีเลยทีเดียว ผมคิดว่ามันน่า จะเห็นผลได้เร็ว ไม่เกิน วันที่ 15 กพ. กับ ผลกำไร ที่เกิ ขึ้ น ถ้า คาดเดา จาก งบ grasim บรษัทแม่

- -ข้อมูลที่น่าสนใจตัว นึง คือ ปีที่ผ่านมา กรรมการ คน นึง เค้า มีหุ้น เพิ่มขึ้น ล้าน นึง จากปีที่แล้ว ถือ สามแสน กว่า ซึ่งเป็น ใบที่เจ้าหน้าที่ให้มาแก้ไขในหนังสือ ประชุมผู้ ถือ หุ้น มี นัย หรือป่าว ไม่แน่ใจ อาจเป็นหุ้น โอนมาจาก คนอื่น ก้อได้ บริษัทนี้ ไม่รู้ว่าเวลาผู้บริหารซื้อขาย หุ้น หายังงัย  ไม่เห็น มี เหมือนบริษัทอื่ในwweb กลต เหมือนกัน

ความเห็น ส่วน ตัวนะ ครับ ...

Cr. BERSERK
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2014, 12:56:50 AM »
กราฟราคาหุ้นไทยเรยอน
ใครดู Technical เข้าไปดูได้ครับ

http://investing.businessweek.com/research/stocks/charts/charts.asp?ticker=TR:TB

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2014, 02:21:37 AM »
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า การถือหุ้นที่P/Eตำๆและราคาตำกว่าBVมากๆก็ปลอดภัยดี เพียงแต่รอคนมองเห็นค่าของมัน เดี๋ยว P/Eก็สูงขึ้น และการปันผลน้อยๆก็ไม่เสียหายเพราะเงินก็จะไปรวมใน BV อยู่ดี  ถ้าผู้บริหารเก่งและนำเงินไปลงทุนได้ก็ทำให้กำไรในปีถัดไปดีขึ้น สุดท้ายกำไรก็ดีขึ้นไปอีก และราคาหุ้นก็จะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงตามกลไกราคา เพียงแต่ไม่เร็วทันใจผู้ลงทุน

ยิ่งดูลึกๆยิ่งชอบTRมากๆ  ถือยาวๆ 5 ปีก็จะเห็นความแตกต่างครับ  หุ้นบางตัวเล่นเป็นรอบๆ แต่บางตัวต้องเก็บในพอร์ทนานๆครับและค่อยๆเก็บตอนราคาลงมาถูกๆครับ  ใครเห็นต่างก็แชร์ข้อมูลนะครับ

Cr. little_kop
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2014, 02:24:21 AM »
2.  ปัจจัยความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง
บริษัทฯ มีความเสี่ยงทั้งที่เกิดจากปัจจัยความเสี่ยงของอุตสาหกรรมและปัจจัยความเสี่ยงเฉพาะของบริษัทฯ  โดยบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารปัจจัยความเสี่ยงทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารเกี่ยวกับความเหมาะสมและประสิทธิภาพของนโยบายการบริหารความเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยง
1.    ความเสี่ยงจากการจัดการทางการเงิน
ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้ยืม
บริษัทฯ ไม่มีภาระกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นบริษัทฯ จึงไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือความเสี่ยงจากดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ
ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินจากเงินลงทุนระยะสั้น
อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนตลอดเวลาตามแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก บริษัทฯ มีกระแสเงินสดส่วนเกินซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินฝากระยะสั้นและส่วนใหญ่เป็นเงินบาท เงินที่ครบกำหนดในสัญญาส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินฝากต่างประเทศ ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบต่อดอกเบี้ยรับของบริษัทฯ 
บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการคัดเลือกสถาบันการเงินที่มีความมั่นคง และมีการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้สำหรับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และมีระยะเวลาการฝากเงินที่แตกต่างกัน โดยมีระยะเวลาการฝากเงินสูงสุดไม่เกิน 1 ปี
ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
บริษัทฯ ส่งออกประมาณร้อยละ 55 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยขายเป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เป็นหลัก ในขณะเดียวกัน วัตถุดิบหลักก็มีการนำเข้า โดยจ่ายเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เช่นเดียวกัน ยอดการส่งออกและการนำเข้ามีปริมาณใกล้เคียงกัน ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงในระดับสมดุล โดยการใช้เงินรายได้จากการส่งออกในรูปเงินดอลล่าร์มาชำระการจ่ายค่าสินค้านำเข้า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาวัตถุดิบนำเข้าและสินค้าสำเร็จรูปที่มีการเปลี่ยนแปลง  บริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนเงินดอลล่าร์ในระยะสั้น ในกรณีที่เกิดการขาดแคลนเงินดอลล่าร์ในระยะสั้นหรือระยะยาว บริษัทฯ จะปฏิบัติตามนโยบายโดยการซื้อหรือการขายเงินดอลล่าร์เป็นครั้งคราว ยกเว้นการซื้อขายล่วงหน้าในส่วนของสินค้าทุนที่ต้องมีการนำเข้า

2.    ความเสี่ยงจากรายได้และกำไร
ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
ราคาของวัตถุดิบหลัก 3 รายการ อันได้แก่ เยื่อกระดาษ โซดาไฟ และกำมะถัน เป็นปัจจัยหลักในการกำหนดต้นทุนการผลิตของบริษัทฯ และผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็มีราคาผันผวนเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงส่งผลต่ออัตรากำไรของบริษัทฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น แต่การเพิ่มราคาขายเส้นใยเรยอนก็อาจทำได้ยากเนื่องจากตลาดสิ่งทอที่ซบเซารวมทั้งการแข่งขันจากบริษัทคู่แข่งและเส้นใยทดแทน (เส้นใยที่ใช้แทนกันได้) บริษัทฯ ดำเนินนโยบายการซื้อวัตถุดิบเป็นรายไตรมาส และกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ในตลาดในประเทศเป็นรายไตรมาสเช่นเดียวกัน  ถึงแม้ว่ายอดการขายผลิตภัณฑ์ส่งออกไปต่างประเทศได้ถูกกำหนดไว้เป็นรายเดือน แต่การซื้อวัตถุดิบซึ่งเกี่ยวโยงกับดัชนีการตลาดรายเดือนก็ช่วยรักษาความสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างต้นทุนสินค้าและรายได้ส่งออก
ความเสี่ยงจากราคาขายของเส้นใยทดแทน
เส้นใยประดิษฐ์เรยอนสามารถนำมาใช้ผสมกับเส้นใยโพลีเอสเตอร์หรือใยฝ้ายได้ และบางครั้งอาจนำมาใช้ทดแทนเส้นใยเหล่านี้ได้ ราคาเส้นใยจากฝ้ายจะขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตและพื้นที่ปลูกฝ้ายเป็นหลัก เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้บริโภคฝ้ายรายใหญ่ ดังนั้นผลกระทบจึงมองเห็นได้อย่างชัดเจน อุตสาหกรรมเส้นใยโพลีเอสเตอร์มีปริมาณการผลิตสูงและมีน้ำมันเป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้มีราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ทำให้ผู้ผลิตต้องใช้เส้นใยหลายชนิดรวมกันในอัตราต่างๆ กันไป ในขณะที่เส้นใยประดิษฐ์เรยอนจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนั้นความผันผวนของราคาเส้นใยทดแทนจึงแทบไม่มีผลต่อราคาเส้นใยประดิษฐ์เรยอน เว้นแต่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่กับปริมาณความต้องการเท่านั้น ประเด็นนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นความเสี่ยง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างโอกาสให้กับเส้นใยประดิษฐ์เรยอนด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัทฯ จะได้รับผลประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท เนื่องจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับเส้นใยประเภทอื่น   และขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับลูกค้าในประเทศที่นำเส้นใยเรยอนไปผลิตเพื่อการส่งออกด้วย เนื่องจากรายได้จากการขายได้รับอิทธิพลโดยตรงจากอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่ต้นทุนได้รับอิทธิพลจากอัตราแลกเปลี่ยนเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นรายได้รวมและกำไรจะได้รับผลกระทบอย่างมาก หากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงปกติของธุรกิจทั่วไป

3.    ความเสี่ยงจากการตลาด
ความเสี่ยงจากประเทศคู่ค้า
ตุรกี ปากีสถาน บราซิล และอิหร่าน กำลังกลายเป็นประเทศผู้ค้าสิ่งทอที่สำคัญหลังจากที่ได้มีการยกเลิกระบบโควต้าของ MFA ในปี 2548 ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีปริมาณการขายแก่ลูกค้าในประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้น  นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีนโยบายที่จะส่งผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าออกไปอีก อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้จะก่อให้เกิดความเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมืองและการเงินซึ่งเกิดขึ้นเป็นบางครั้งในประเทศเหล่านี้
ความเสี่ยงจากลูกค้า
บริษัทฯ มีลูกค้าหลักในประเทศ 5 ราย และหนึ่งในลูกค้าดังกล่าวเป็นบริษัทในเครือ และซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ กว่าร้อยละ 20 ด้วยวงเงินเครดิต อย่างไรก็ตามลูกค้ารายนี้มีฐานลูกค้าต่างประเทศที่กว้างขวาง  ดังนั้นบริษัทฯ จึงเชื่อว่าจะไม่มีความเสี่ยงจากการให้เครดิตดังกล่าว บริษัทฯ ยังได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์บางส่วนให้กับผู้นำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ผ่านบริษัทตัวแทนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการคุ้มครองจากการประกันภัยวงเงินเครดิต อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้เฝ้าติดตามการขายเครดิตในวงเงินที่กำหนดอย่างใกล้ชิด
ความเสี่ยงจากนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์
หลายปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มุ่งเน้นไปยังตลาดบน ตลาดนอนนูเว่น และผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งได้เริ่มดำเนินการเดินเครื่องจักรในสายการผลิตใหม่ ทำให้บริษัทฯ สามารถทำการผลิตเส้นใย High Wet Modulus (Modal) ซึ่งเป็นเส้นใยที่ใช้สำหรับลูกค้าระดับบน โดยนำไปผสมกับใยฝ้าย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ถักทอพิเศษ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการผลิต ทำให้บริษัทฯ สามารถรองรับความต้องการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นจากลูกค้ากลุ่มต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทฯ เน้นการทำตลาดระดับบน ก็จะเกิดความเสี่ยงด้านการร้องเรียนคุณภาพของสินค้าในระยะแรกของการพัฒนาตลาด ซึ่งถือเป็นสิ่งปกติสำหรับอุตสาหกรรมนี้ บริษัทฯ ได้เพิ่มความรู้ความเชี่ยวชาญโดยการจัดจ้างที่ปรึกษาที่เปี่ยมประสบการณ์เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพ  และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำสุด
ความเสี่ยงจากการล้าสมัยของผลิตภัณฑ์
บริษัทฯ ค้นคว้าพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวกับเส้นใยเซลลูโลสอย่างใกล้ชิด โดยให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทในเครือในประเทศอินเดียเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้บริษัทฯ ได้พัฒนาเส้นใย “เบอร์ลาโมดาล” เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต บริษัทฯ คาดว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงจากการล้าสมัยของผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของบริษัทฯ 

4.    ความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจ
ความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม
ในกระบวนการผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอน อาจก่อให้เกิดมลภาวะทั้งทางน้ำและทางอากาศ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ลงทุนไปเป็นจำนวนมากเพื่อปรับปรุงระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมและการกำจัดมลพิษ ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ผ่านมาตรฐานทั้งหมดของกระทรวงอุตสาหกรรม ของเสียทุกชนิดจากบริษัทฯ ได้ถูกคัดแยกและส่งไปกำจัดโดยตัวแทนที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริงจะได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจากบริษัทฯ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจัดการของเสียอย่างผิดวิธีจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ถือเป็นความสำคัญที่จะต้องรักษาระดับมลพิษให้ต่ำสุดตามที่กฎหมายกำหนด ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้จัดงบประมาณเพื่อให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยบริษัทเอกชนอิสระ และจากรายงานที่ได้รับมา บริษัทฯ ได้จัดทำมาตรการต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมไอเอสโอ 14001 ทำให้บริษัทฯ มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมีความเสี่ยง ต่ออุบัติเหตุการรั่วไหลในระดับกลางถึงระดับสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
ความเสี่ยงจากการจัดเก็บและการใช้งาน
บริษัทฯ จ้างผู้รับเหมาขนส่งสารเคมีอันตราย เช่น โซดาไฟ กำมะถัน ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ และกรดซัลฟุริค และจัดเก็บไว้ในสถานที่ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ติดตามการดำเนินงานของบริษัทขนส่งและมาตรการการจัดเก็บตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะไม่เคยมีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นจากวัตถุเหล่านี้ บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากสารเคมีเหล่านี้
ความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบ
บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อเยื่อกระดาษระยะยาวระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2552 สัญญาฉบับนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามบริษัทฯ อาจยังต้องพึ่งพาการซื้อเยื่อกระดาษจากแหล่งอื่นเป็นครั้งคราวซึ่งคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ ถ่านไม้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ ที่เป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตเส้นใยเรยอน ปริมาณถ่านไม้ลดลงไปตามทรัพยากรไม้ที่ลดลงรวมทั้งกฎระเบียบของรัฐที่เข้มงวดมากขึ้น โรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์แห่งใหม่ในสระบุรีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นฐานช่วยให้บริษัทฯ มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ใช้อย่างพอเพียง ซึ่งช่วยลดการใช้ถ่านไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ 
ความเสี่ยงจากการทำงานในโรงงาน
บริษัทฯ มีการติดตั้งระบบบำรุงรักษาเครื่องจักร ทั้งแบบตามอายุการใช้งาน และแบบป้องกัน เพื่อให้อุปกรณ์ทุกชิ้นในโรงงานอยู่ในสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีระบบการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอตามประโยชน์การใช้งาน บริษัทฯ คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานเป็นสำคัญ นอกจากการอบรมพนักงานให้คำนึงถึงความปลอดภัยอยู่เสมอแล้ว บริษัทฯ ยังได้ลงทุนในด้านการจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย มีการฝึกซ้อมหนีไฟ การฝึกซ้อมอพยพในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีความตื่นตัวด้านการรักษาความปลอดภัยสูงสุด
ความเสี่ยงของโครงการ
ความเสี่ยงของโครงการอาจเกิดขึ้นในรูปของความบกพร่องในการออกแบบทางวิศวกรรมและการก่อสร้าง การด้อยคุณภาพของผลิตภัณฑ์และฝีมือแรงงาน บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการขยายโรงงานและปรับปรุงการผลิตให้ทันสมัย บริษัทฯ จึงได้จัดให้มีกรมธรรม์ประกันภัยการก่อสร้าง เพื่อครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภท (Construction All Risk: CAR) มาใช้กับโครงการก่อสร้างที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อป้องกันความเสียหายจากโครงการระหว่างก่อสร้าง

5.    ความเสี่ยงจากภายนอก
ความเสี่ยงจากภัยการเมือง
เหตุการณ์ทางการเมือง เช่น การก่อการร้าย ได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดไปทั่วโลก ทำให้ต้นทุนและความเสี่ยงในธุรกิจเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อวัฎจักรของอุปสงค์และอุปทาน
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุน
บริษัทฯ ได้ลงทุนตามแผนกลยุทธ์ (ทั้งแบบขยายตัวไปข้างหน้าและข้างหลัง) โดยการเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ ร่วมกับบริษัทอื่นในกลุ่มเบอร์ล่า แม้ว่าบริษัทฯ จะไม่เห็นความเสี่ยงจากการลงทุนเหล่านี้ แต่การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบในประเทศเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯ ที่ไปลงทุนได้
เศรษฐกิจโลก
วิกฤติการเงินที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญในช่วงปีที่ผ่านมาก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเห็นได้จากราคาหุ้นที่ตกต่ำไปทั่วโลก ปัญหาสินเชื่อซึ่งรวมถึงการกู้ยืมระหว่างธนาคาร สถาบันการเงินใหญ่ๆ ในต่างประเทศต้องปิดกิจการ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง บริษัทฯ ประสบภาวะขาดทุนในช่วงหกเดือนแรกของปี เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลง อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปีได้ปรากฏสัญญาณของการฟื้นตัว คาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์สิ่งทอจะเป็นไปอย่างช้าๆ  ซึ่งจะส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทฯ

http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/56/20090075T04.DOC

 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2014, 02:44:16 AM »
หุ้นถูกเรื้อรัง โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

Monday, 16 June 2008
หุ้นถูกเรื้อรัง

มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มหนึ่งที่ผมเองเคยซื้อ เคยขายไปแล้ว หรือบางทีก็ยังถืออยู่หรือกำลังคิดที่จะซื้อ และส่วนใหญ่ก็ยังจับตาดูอยู่ แต่กลับเป็นหุ้นที่ผมยังไม่เข้าใจดีพอและไม่รู้ว่าอนาคตมันจะวิ่งขึ้นไปไหม สิ่งเดียวที่ผมพอจะบอกได้ก็คือ ราคามันไม่ค่อยตกหรือตกก็ไม่มาก สิ่งที่ยังไม่รู้ก็คือ ทำไมราคามันจึงไม่ไปไหนสักทีทั้ง ๆ ที่มันเป็นหุ้นที่แสนจะถูกและเข้าข่ายเป็นหุ้นคุณค่าไม่ว่าจะวัดโดยตัวเลขอะไร หุ้นกลุ่มที่ว่านี้คือหุ้นที่ผมอยากจะเรียกว่า “หุ้นถูกเรื้อรัง”

หุ้นถูกเรื้อรังนั้นมีคุณสมบัติร่วมกันบางอย่างดังต่อไปนี้คือ ข้อแรก เป็นหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ หลายบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรม “ตะวันตกดิน” อีกหลายบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่โตช้าหรืออิ่มตัว เกือบทั้งหมดนั้นเป็นบริษัทที่เป็นโรงงานผู้ผลิตหรือขายสินค้าให้กับโรงงานอื่นหรือขายสินค้าที่คนซื้อไม่สนใจในตัวยี่ห้อสินค้า ไม่มีบริษัทไหนที่เป็นบริษัทที่ขายบริการ

ข้อสอง หุ้นถูกเรื้อรังนั้นมีผลการดำเนินงานที่ดีเข้าข่ายเป็นหุ้นคุณค่าทุกด้าน เริ่มตั้งแต่ตัวเลขยอดขายและกำไรที่ค่อนข้างจะสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายปี ยอดขายและกำไรของหลายบริษัทอาจจะไม่ค่อยเติบโตมากนัก แต่บางบริษัทก็เติบโตอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอใช้ เรียกว่าผลการดำเนินงานนั้นอยู่ในข่ายที่สามารถ “คาดการณ์ได้” เช่นเดียวกัน บริษัทเหล่านี้มักจะมีปันผลสม่ำเสมอและผลตอบแทนจากปันผลเมื่อเทียบกับราคาหุ้นก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือประมาณ 5- 6 % ต่อปี และถ้าใครที่ลงทุนแล้วหวังปันผลเป็นหลักแล้วละก็ หุ้นเหล่านี้ก็เป็นหุ้นที่น่าสนใจ จะเรียกว่าเป็นหุ้นห่านทองคำก็น่าจะได้

ข้อสาม ฐานะทางการเงินของบริษัทในกลุ่มนี้ค่อนข้างมั่นคง หนี้สินที่เป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินมักจะมีน้อยหรือไม่มีเลย ยิ่งไปกว่านั้น หลายบริษัทมีเงินสดมหาศาลจนเกินความจำเป็น นอกจากเงินแล้ว บริษัทเหล่านี้มักจะมีทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีค่าเพิ่มขึ้นจากมูลค่าทางบัญชีด้วย ดังนั้น ความ “ถูก” ของหุ้นจึงแทบไม่มีข้อสงสัยเลยถ้ามองจากทรัพย์สิน

ข้อสี่ ถ้าวัดความ “ถูก” ของหุ้นจากค่า PE หรือดูจากราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้นก็จะพบอีกว่า หุ้นเหล่านี้มีค่า PE ที่ค่อนข้างต่ำ นั่นคือ เกือบทั้งหมดมีค่า PE ต่ำกว่า 10 เท่า หลายบริษัทมีค่า PE เพียง 7-8 เท่าหรือต่ำกว่าก็มี ดังนั้น สำหรับ Value Investor ที่เพิ่งเข้ามาศึกษาหุ้นเหล่านี้ เขาก็มักจะสรุปทันทีว่านี่คือหุ้นคุณค่าที่น่าสนใจมาก

ข้อห้า ในด้านของการบริหารงานของกิจการ สิ่งที่มักจะพบก็คือ บริษัทน่าจะมีการบริหารที่ดี หลายบริษัทอาจได้รับรางวัลดีเด่นด้านการผลิต หลายบริษัทก็มีความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจที่ใช้ได้ มองในด้านของการคุมโรงงานหรือบริหารการขาย หรือการจัดการโดยทั่วไปแล้ว บริษัทเหล่านี้มักอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ดังนั้น มองโดยผิวเผินแล้ว Value Investor หลายคนก็มักจะสบายใจ และสรุปว่านี่คือหุ้นคุณค่าที่น่าลงทุน

แต่ถ้ามองลึกลงไปอีกสักเล็กน้อย หุ้นถูกเรื้อรังนั้นมักจะมีจุดอ่อนที่เหมือนกันเกือบทุกบริษัทซึ่งผมอยากจะชี้ให้เห็นก็คือ บริษัทเหล่านี้มักมีนโยบายในการจัดสรรเงินที่บริษัททำมาหาได้อย่างที่ผมคิดว่าไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือนักลงทุนทั่วไป แต่อาจจะเป็นประโยชน์กับผู้บริหารและ/หรือหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็น “เจ้าของบริษัท” โดยที่การจัดสรรเงินสดและผลกำไรของบริษัทมักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

ข้อแรกที่เหมือนกันเกือบทุกบริษัทก็คือ เมื่อมีกำไรบริษัทมักจะจ่ายปันผลในอัตราที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่มีสถานะใกล้เคียงกัน หลายบริษัทจ่ายปันผลเพียง 25-30 % ของกำไรทั้ง ๆ ที่บริษัทไม่ได้มีหนี้สินที่เป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินเลย นี่เป็นข้อแรก

ข้อสอง บริษัทเหล่านี้ เนื่องจากมีกำไรต่อเนื่องและจ่ายปันผลน้อย หลายบริษัทจึงมีเงินสดเหลือมาก แต่แทนที่จะจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้น กลับนำไปฝากแบงค์หรือซื้อตราสารการเงินที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ โดยเหตุผลอาจจะเป็นว่าเพื่อสำรองไว้ใช้ขยายงานหรือรองรับกับภาวะ “วิกฤติ” ในอนาคต บางบริษัทก็นำเงินสดที่มีไปขยายงานโดยเฉพาะในกิจการที่อยู่ในต่างประเทศหรือบริษัท “ในเครือ” มากมายไม่มีที่สิ้นสุด ในขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยนั้น หวังที่จะเห็นปันผลเพิ่มยากเย็นมากและถ้าเพิ่มก็เพียงเล็กน้อย ในประเด็นนี้ก็อาจจะมีข้อถกเถียงว่าบริษัทต้องการลงทุนเพิ่มเพื่อที่จะได้ทำกำไรมากขึ้นซึ่งก็จะทำให้ผู้ถือหุ้นได้ปันผลมากขึ้นในอนาคต แต่สำหรับผมและ Value Investor อีกหลายคนนั้น อนาคตอาจจะไม่แน่นอน และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าการลงทุนเกิดความเสียหายและอนาคตเราอาจจะไม่ได้อะไรเลย เหมือนกับคำพูดที่ว่า “นกหนึ่งตัวในมือนั้น ดีกว่านกสองตัวในพุ่มไม้”

ข้อสาม บริษัทเหล่านี้มักมีผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของที่ไม่ค่อยได้แสดงตัวต่อสาธารณชน คนที่ออกมาให้ข่าวและแถลงรายงานตอบคำถามต่าง ๆ มักเป็นผู้จัดการที่เป็นลูกจ้างที่ไม่ได้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ มองอีกด้านหนึ่งก็อาจจะเป็นว่า เจ้าของตัวจริงนั้นมีกิจการอื่น ๆ ที่มีค่าและต้องการเวลามากกว่ากิจการของบริษัทที่พูดถึง และนี่อาจจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้เจ้าของตัวจริงไม่สนใจที่จะจัดสรรเงินของบริษัทให้กับผู้ถือหุ้นผ่านการจ่ายปันผล แต่อาจจะอยากเก็บเงินไว้ในบริษัทแล้วใช้ประโยชน์จากบริษัทแทนเช่น เอาบริษัทไว้ใช้ในการลงทุนกิจการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับกิจการของเครือ เอาบริษัทไว้ใช้เป็นที่ตั้งให้ผู้มีอุปการคุณเป็นกรรมการหรือเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นลูกจ้าง และอื่น ๆ อีกร้อยแปด

ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงข้อสงสัยหรือข้อสังเกตของผม แต่ถ้าถามว่าตกลงเราควรซื้อหุ้นถูกเรื้อรังเพื่อลงทุนหรือไม่? คำตอบของผมก็คือ หุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นที่ “ถูกเรื้อรัง” นั่นแปลว่า โอกาสที่เราจะซื้อตอนหุ้นถูกและขายตอนหุ้นแพงมีน้อยมาก สิ่งที่พอจะหวังได้บ้างก็คือ กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นและราคาหุ้นก็ปรับตัวตามกันไป ซึ่งลักษณะนี้การปรับตัวแบบหวือหวาเร็วและสูงมากก็จะมีน้อย แต่ถ้าซื้อเพื่อกินปันผลก็คงจะพอได้ สิ่งที่สำคัญก็คือ อย่าซื้อหุ้นเหล่านี้เมื่อราคาหุ้นเพิ่งมีการปรับตัวขึ้นไปแรง เพราะหลายครั้งการปรับตัวขึ้นไปนั้นเกิดจากแรงซื้อของใครก็ตามที่เข้ามา และเนื่องจากหุ้นมีสภาพคล่องต่ำราคาจึงขึ้นไปแรง แต่เมื่อแรงซื้อหมด ราคาก็มักจะค่อย ๆ ปรับตัวกลับลงมา ดังนั้น ถ้าจะซื้อหุ้นถูกเรื้อรัง เราควรจะซื้อตอนที่หุ้นอยู่นิ่ง ๆ ในราคาถูกมาก อย่างไรก็ตาม ในการถือหุ้นถูกเรื้อรังนั้น เราอาจจะต้องรับความจริงว่าหุ้นอาจจะไม่ไปไหนนานมาก ซึ่งทำให้มัน “ไม่คุ้ม” กับเวลาที่เสียไปที่เราอาจจะไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ามาก และนี่ก็คือสิ่งที่บัฟเฟตต์บอกว่า เวลาเป็นเพื่อนที่ดีของกิจการที่ดีเยี่ยมแต่เป็นศัตรูของกิจการพื้น ๆ แม้ว่ามันจะมีราคาถูก

 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2014, 11:43:14 PM »
บริษัทกึ่งๆข้ามชาตินี่น่ากลัวอย่างคือ เอากำไรไปตั้งบริษัทลูก แล้วให้บริษัทลูกนั้นซื้อวัตถุดิบ หรือ จ่ายค่าบริหารราคาแพง ใ้ห้กับบริษัทแม่ในต่างประเทศอีกที ซึ่งเป็นการยักย้ายถ่ายกำไร ไปให้กับผู้ถือหุ้นบริษัทแม่หรือบริษัทนอมินีในต่างประเทศ(ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในประเทศ) แล้วปล่อยให้บริษัทลูกเจ้งไป
Cr. คุณGreedyVI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า


ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2014, 11:49:26 PM »
เอาเฉพาะประเด็นหลักๆนะครับ

ปีนี้ผู้ถือหุ้นไม่ค่อยบ่นเรื่องผลประกอบการ เพราะผลประกอบการออกมาดี แต่ที่บ่นกันมากก็เรื่องปันผลเหมือนกับทุกปี
ผู้บริหารชี้แจงว่า ที่กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นมาจากหลายปีก่อนได้มากขนาดนี้ เพราะมีการนำเงินไปลงทุนสม่ำเสมอ แทนที่จะจ่ายเป็นปันผลออกมา

ปีนี้ เรื่องปันผลออกจะดุเดือดมากกว่าปีก่อนๆอยู่บ้าง เพราะปีก่อนๆมีการชี้แจงที่ชัดเจนว่าจะเอาเงินไปทำอะไร เช่น เพิ่มสายการผลิต ซื้อบริษัทผลิตเยื่อกระดาษละลายน้ำได้
แต่ปีนี้ ยังไม่มีแผนลงทุนอะไรที่ชัดเจน ขณะที่มีเงินสดอยู่ 2,600 ล้านบาท จ่ายปันผลเพียง 350ล้านบาท

ผู้บริหาร แจ้งแผนงานคร่าวๆว่า อีกสัก 2 ปี บริษัท Birla Laos Pulp and Plantation ที่ปลูกต้นไม้อยู่ จะเริ่มสร้างโรงงานเพื่อผลิต pulp ซึ่งต้องใช้เงินราว $400-500ล้าน (ผมคิดเอาเองว่า TR มีหุ้นอยู่ 30% ถ้าเข้าเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นเท่าเดิม ก็ต้องลงเงิน 3,600-4,500 ล้านบาท ซึ่งแปลว่าต้องนำกำไรของบริษัทประมาณปีกว่าๆมาลงทุน)
และบริษัทอาจขยายกำลังการผลิตที่จีน กับอาจเข้าซื้อบริษัท pulp ใน US,Canada เพิ่มเติม เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม

มีผู้ถือหุ้นท่านนึงที่เสนอได้ตรงใจผมมาก คือบอกว่า เมื่อบริษัทต้องการใช้เงินลงทุนเพิ่ม ใช้วิธีกู้เอาก็ได้ เนื่องจากขณะนี้ D/E ratio 0.02 ไม่น่าจะมีปัญหาในการขอกู้จากธนาคาร แต่เมื่อมีเงินเหลือเฟือโดยตอนนี้ยังไม่ได้เอาไปทำอะไร ก็ขอให้จ่ายปันผลออกมาก่อน

ข้อเสนออื่นๆจากผู้ถือหุ้น
1. หากบริษัทต้องการจ่ายปันผลน้อยไปทุกปี ขอให้ระบุในนโยบายการจ่ายปันผลเลย เช่น จ่ายไม่ต่ำกว่า 10%-15% ของกำไรสุทธิ
2. ขอให้บริษัททำการโปรโมทตัวเองให้เป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วไปบ้าง เช่น การไป Opportunity day เพื่อให้นักลงทุนรู้จักมากขึ้น จะได้มีคนสนใจซื้อ ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้น เพื่อนักลงทุนจะได้กำไรแม้ปันผลจะน้อย อันนี้ผู้บริหารท่าทางไม่สนใจ
3. ผู้ถือหุ้นอาวุโสท่านหนึ่ง ถึงกับเปรยว่า ผมอายุ 81 ปีแล้ว ถือหุ้นมานาน หวังจะได้ปันผลบ้าง ถ้ารอบริษัทโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จะต้องรอถึงเมื่อไร
4. ผู้ถือหุ้นเชื้อสายอินเดีย ท่านหนึ่ง มาเชียร์บริษัทว่า ไม่ควรมองแต่ราคาหุ้นในช่วงสั้นๆ ให้มองภาพรวมของบริษัทในระยะยาว ที่บริษัททำกำไรเพิ่มขึ้นได้ขนาดนี้ในช่วง 30 ปี เพราะเป็นบริษัทที่ดีมาก ทีมบริหารสุดยอด การเติบโตของบริษัทสุดยอด อัตราส่วนทางการเงินก็สุดยอดไปทุกตัว หาหุ้นดีแบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว ต้องเก็บเอาไว้เป็นสมบัติให้ลูกให้หลาน จนคณะกรรมการต้องยกมือ ขอให้หยุดพูด เพราะเริ่มจะมีการถกเถียงกัน
5. มีบางท่าน ถามว่า ในเมื่อเราคิดว่าบริษัทที่ไปลงทุนนั้นดี ทำไมไม่ถือหุ้น 100% ไปเลย และเอางบการเงินมารวมกัน ได้คำตอบว่า การลงทุนในที่ใหม่ๆนั้นมีความเสี่ยงอยู่ ซึ่ง TR ไม่กล้าลงเงินเสี่ยงคนเดียว ต้องร่วมลงทุนกับบริษัทอื่นๆในเครือ เพื่อแบ่งปันความเี่สี่ยงออกไป

โดยสรุป สิ่งที่ผู้บริหารเน้นถึงเป็นพิเศษ คือ คู่แข่งของ TR ในจีน ที่มีอยู่ประมาณ 25 โรงงาน กำลังขยายกำลังการผลิตอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่ TR จะทำเพิ่อเป็น barrier หรือ key success factor คือการทำ backward integration เพื่อรักษาและเพิ่ม supply ของ dissolve grade pulp ไว้ให้ได้ ซึ่งการลงทุนในบริษัทร่วมบางแห่ง ผลประโยชน์ที่ได้ อาจไม่ได้ตอบแทนกลับมาในรูปของเงินปันผล อย่างเช่น โรงงาน pulp ที่แคนาดา สิ่งที่ได้กลับมา คือการซื้อวัตถุดิบในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาดอย่างมาก ซึ่งมีส่วนทำให้ gross fit margin ของ TR สูงนั่นเอง

อีกอย่างที่หลายท่านอาจจะอยากรู้ คือ ผลประกอบการของไตรมาสที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ผู้บริหารบอกว่า ok :) ซึ่งก็รอดูกันว่า คำว่า ok หมายถึง EPS สักเท่าไร

Cr. คุณ chut    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2014, 12:16:50 AM »
:: ศูนย์นิเวศวิทยาฯแนะนำการบำบัดกลิ่นให้กับโรงงานไทยเรยอน
ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ นำโดย รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี และ รศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี ได้ไปแนะนำการติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศให้กับบริษัทไทยเรยอน จำกัด จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา เนื่องจากทางบริษัทไทยเรยอน จำกัด เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสภาพอากาศและการติดตามการเปลี่ยนแปลงของความเร็วลมและทิศทางลมที่พัดในบริเวณจังหวัดอ่างทอง    
วันที่ประกาศ : 26 ก.ค. 2557
http://masterorg.wu.ac.th/source/detail.php?newss_id=2889&paths=ird
 :wanwan017:

ออฟไลน์ friend

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 208
  • ถูกใจ 0
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2015, 12:00:29 PM »
บางคนก็ว่า บริษัท เปลี่ยนไป จากผู้ใหญ่ใจดี...
ลองเทียบกันกันระหว่างปี 48 กับปัจจุบัน
ก็น่าจะเห็นความแตกต่างนะครับ....

---------------------------------------------

ตามไปดูบริษัทWorld Class Organization
 บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)กับการจัดการความรู้
เมื่อวานนี้ (22 ต.ค.48)  ผู้เขียนได้มีโอกาสนำนักศึกษา MBA. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 29 คน ไปเยี่ยมชม ศึกษา-ดูงาน โรงงานไทยเรยอน (บริษัทไทเรยอน จำกัด (มหาชน))

สิ่งที่น่าสนใจในบริษัทแห่งนี้  นอกจากจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่มีกำลังการผลิตเส้นด้ายส่งออกมาที่สุดเป็นอันดับสามของโลกแล้ว  สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ "เขามีวิธีการบริหารจัดการ" อย่างไร

จากการบรรยายสรุปของรองประธานบริษัทและผู้จัดการแผนก พบว่า "บริษัทมีวิธีการบริหารจัดการความรู้ KM:Knowledge Management ที่กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นการทำ 5 ส. , QC. KAIZEN, TPM ฯลฯ

ผู้เขียนได้มีโอกาสสอบถาม, สัมภาษณ์ผู้จัดการฝ่าย HRM. ได้แง่คิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานของบุคลากรในบริษัท  ทุกคนจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของงาน/เป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งได้รับการผลักดันและการสนับสนุนส่งเสริมอย่างเต็มที่จากท่านรองประธานบริษัท (ผู้บริหาระดับสูงชาวอินเดีย) ซึ่งเดินทางมาตั้งหลักปักฐาน สร้างกิจการโรงงานไทยเรยอนที่ ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เมื่อ 28 ปีที่ผ่านมาจวบจปัจจุบัน ด้วยเงินลงทุนไม่กีสิบล้านบาท กลายเป็นบริษัทมหาชนที่มีทุนดำเนินการและผลประกอบการปีละไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท  มีพนักงานเริ่มต้นเพียงไม่กีสิบคนมาเป็นพนักงานเกือบพันคนและมีกิจการในบริษัทเคือข่ายในประเทศจีน อินโดนีเวียและฟิลิปปินส์

ผลจากการได้เข้าเยี่ยมชมศึกษา-ดูงานบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการสิ่งทอระดับโลกในครั้งนี้ ผมได้แง่คิดที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง  ได้เรียนรู้วิธีคิด วิธีทำงานซึ่งผู้บริหารระดับสูงเปิดโอกาสให้พนักงานระดับปฏิบัติการได้ "มีส่วนร่วม" และมีการสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนได้ "พัฒนาอย่างต่อเนื่อง" ผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนเป็น "บุคคลแห่งการเรียนรู้"

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/5766

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2015, 09:23:45 PM »
Stock In focus‎ > ‎TR


วิเคราะห์งบการเงิน Q4/56 fiscal (as of 31 March 2013)

ผลประกอบการในไตรมาส4 ของบริษัทขาดทุน -190 ล้านบาทหรือ -0.95 บาทต่อหุ้น เป็นผลมาจาก
1) การขาดทุนในบริษัท AV Terrace Bay Inc. สูงถึง -487 ล้านบาท(งวด3เดือน) คิดเป็นสัดส่วน 60% ซึ่งเป็นของ TR ลงทุน ก็จะขาดทุน -293 ล้านบาท เป็นการขาดทุนต่อเนื่องและมากกว่าในไตรมาสก่อน แต่เนื่องจากโรงงานเพิ่มเริ่มดำเนินงานและเริ่มการปรับปรุงจึงยังคงมีผลขาดทุนต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทคาดว่า AV Terrace Bay Inc. จะมีผลประกอบการเป็นบวกได้ในปีหน้า

2) การขาดทุนในบริษัทร่วมจำนวน -52 ล้านบาท ตามตารางที่ 2
เมื่อรวมทั้งสองรายการมีผลต่อ TR เป็นจำนวน -345 ล้านบาท โดยในส่วนของบริษัท(งบเดี่ยว)ยังคงมีกำไรที่ระดับน่าพอใจ (674 ล้านบาท สำหรับงวดรายปี)

มองไปข้างหน้า บริษัทร่วมยังคงมีผลประกอบการที่อ่อนแอตามภาวะของอุตสาหรรม fiber ต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 4 ไตรมาส รวมถึงบริษัท AV Terrace Bay Inc.ที่ยังขาดทุนจำนวนมาก(มากกกว่า 1 พันล้านต่อปี) แต่ธุรกิจคู่แข่ง fiber ก็ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักเช่นกัน สภาวะจะคงอยู่ต่อไปได้ไม่นานเพราะไม่มีใครแข่งขันกันขาดทุน อย่างเช่นอุตสหกรรมเหล็กที่ยังคงถูกกดดันจาก demand น้อยกว่า supply เนื่องมาจากการขยายตัวของการผลิตในช่วงภาวะขาขึ้น โรงงานหลายแห่งเริ่มตัดสินใจหยุดการผลิตเนื่องจากขาดทุนและมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก
การฟื้นตัวของอุตสาหกรรม fiber และกลับมามีอัตรากำไรเหมือนก่อนคงเป็นไปได้ยากในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า สำหรับ TR ได้เตรียมลดความผันผวนด้วยการซื้อธุรกิจต้นน้ำคือ AV Terrace Bay Inc.ในแคนนาดาและ Aditya Group AB ในสวีเดน เพื่อลดความผันผวนของอัตราการทำกำไร แต่ทั้งสองก็ยังขาดทุนเป็นจำนวนมากในขณะนี้ สำหรับการขาดทุนของ Aditya Group AB เป็นเพราะเพราะราคาสินค้าของบริษัทอยู่ในภาวะขาลงแต่ก็ไม่ถึงกับราคาต่ำเกินไป เพียงแต่บริษัทอาจจะขาดทุนจาก inventory (ดูราคาเยื่อกระดาษได้ที่ wood pulp ) คงต้องลุ้นกันว่าในไตรมาสหน้าบริษัท Aditya Group AB จะกลับมามีกำไรได้หรือไม่ รวมถึงบริษัท บริษัท เบอร์ล่า จิงเว่ย์ ไฟเบอร์ จำกัด ที่ขาดทุนต่อเนื่องมายาวนาน

------------------

ข้อสังเกตในการเข้าซื้อกิจการ AV Terrace Bay Inc (Canada)

1.ธุรกิจยังไม่มีการดำเนินการเต็มที่เนื่องจากการปิดกิจการของบริษัท AV Terrace Bay Inc (Canada)
2.บริษัทเข้าซื้อธุรกิจที่เป็นวัตถุดิบของบริษัทคือ เยื่อกระดาษ เพื่อนำไปผลิต VSF
3.ใช้เงินในการเข้าซื้อและลงทุนถึงปี 2559 เป็นจำนวนเงิน 2,068 ล้านบาท โดยใช้เงินของบริษัท(ไม่มีการกู้ยืม)
4.บริษัทจะปรับปรุงการผลิตของโรงงานนี้เพือผลิตให้ได้ 280,000 ton โดยจะใช้เงินลงทุนทั้งสิน้ $250 million โดยใช้เวลาถึงปี 2016

ผลที่จะได้รับ
1.เมื่อทำการปรับปรุงโรงงานแห่งนี้เสร็จ คาดว่าจะทำให้บริษัทมีวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าอย่างมั่นคง
2.TR จะได้นำเงินที่มีอยู่ราวๆ 3 พันล้านเพื่อใช้ประโยนช์ โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัท และจะหนุนกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นในอนาคต
3.การลงทุนครั้งนี้ทำให้บริษัทลดการผันผวนของกำไร/ขาดทุนลง เนื่องจากเยื่อกระดาษ(pulp) เป็นต้นทุนสินค้าที่สำคัญของ TR
4.การฟื้นตัวของกำไรบริษัทในระยะสั้น (3-6 เดือน)คงยากขึ้น (แต่เป็นผลดีในเรื่องการจัดพอร์ตโพลิโอเพื่อมีโอกาสหาเงินมาลงทุนหากทิศทางของธุรกิจดีขึ้นอย่างชัดเจน)


คำแนะนำ ยังไม่ต้องเพิ่มการลงทุน

ที่มา https://sites.google.com/site/100instock/stock-in-portfolio/tr
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2015, 09:33:21 PM โดย Admin »