●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: AEC คืออะไร? และประโยชน์ที่จะได้รับจาก ประชาคมอาเซียน!  (อ่าน 1358 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
ปี 2015 หรือ พศ.2558 จะเริ่ม AEC แล้วนะครับ
แม้จะยังไม่ชัดเจนนัก กำหนดการเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ที่เคยประกาศไว้ว่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2015 ทำท่าจะเลื่อนไปอีกเกือบ 1 ปี เป็นวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2015 เหตุผลสำคัญคือ ความไม่พร้อมของสมาชิกบางประเทศครับ
 :wanwan017:

ประชาคมอาเซียน หรือ AEC คืออะไร? และประโยชน์ที่จะได้รับจาก ประชาคมอาเซียน!

จุดเริ่มต้นของอาเซียน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ริเริ่มโดยประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของประชาชน การเริ่มจัดตั้งประชาคมอาเซียน ไม่ได้เกิดขึ้นภายใต้การเจรจาครั้งเดียวระหว่าง 10 ชาติสมาชิก แต่แท้ที่จริงแล้ว ในตอนแรกเกิดจากการความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศก่อน อันได้แก่ ไทย อินโดนิเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จากนั้นชาติอื่นจึงได้เข้าร่วมในภายหลัง ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา มีประชากรในภูมิภาครวมกันประมาณ 600 ล้านคน

ประชาคมอาเซียน คืออะไร หรือ AEC คืออะไร
อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดย อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ 1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ) 2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ) 3.มาเลเซีย  โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ) 4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ) 5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ) ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ  8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538  เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

ประโยชน์ที่ได้รับจากประชาคมอาเซียน
1.ป้องกันความขัดแย้งและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อช่วยส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค

2.ช่วยให้มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีกลไกในการควบคุมการทำงานของภาครัฐให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น

3.ช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

4.ช่วยให้ไทยสามารถแก้ไขปัญหาและความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นภัยพิบัติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์

5.ช่วยสร้างอำนาจต่อรองแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนในเวทีโลกทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง

6.ทำให้ตัวเลขการค้าขายสินค้าเพิ่มพูนสูงขึ้น และผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ในการซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนในราคาถูกลง

7.ตลาดขนาดใหญ่ของอาเซียนกว่า 600 ล้านคน จะเป็นโอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าไทยมากขึ้น

8.ร่วมมือกันปรับระเบียบและกฎเกณฑ์ของอาเซียนที่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันและขจัดมาตรการกีดกันต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

9.การรวมเป็นตลาดเดียวกันจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในภูมิภาค รวมถึงประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างงานและรายได้แก่ประชาชน

10.ช่วยกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของไทย อาทิ ภาคธุรกิจ เกษตร ท่องเที่ยว เริ่มปรับตัวเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

11.ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในอาเซียนรวมทั้งประเทศไทย

12.การลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนจะช่วยลดปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานของประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า

13.ช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความยากจนจะลดลง สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มีสวัสดิการทางสังคมที่มั่นคงและมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ธุรกิจหลายๆธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น SME หรือธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากจุดนี้เป็นอย่างมากครับผมคิดว่าการค้าขายจะครึกครื้นมากขึ้นเพราะตลาดจะเปิดอย่างเสรีครับ คุณล่ะครับมองเห็นประโยชน์ของ อาเซียน หรือ aec แล้วหรือยัง

สัญลักษณ์อาเซียน
ต้นข้าวสีเหลือง10ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
สีน้ำเงินหมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาวหมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

คำถามที่น่าสนใจ ก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ถาม เมื่อเป็นประชาคมอาเซียนแล้วประชาชนในอาเซียนจะเดิน ทางไปมาหาสู่กันได้โดยไม่ต้องใช้หนังสือเดือนทางหรือ วีซ่าจริงหรือ???

ตอบ แม้จะเป็นประชาคมอาเซียน ยังต้องใช้หนังสือเดินทางในการเดินทางไปประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ปัจจุบันผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวในทุกประเทศสมาชิกอาเซียนได้โดยไม่ต้องขอวีซ่ายกเว้นเมียนมาร์ โดยอยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้ ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด คือ วัน สำหรับบรูไนดารุสซาลาม และกัมพูชา วัน สำหรับฟิลิปปินส์ วัน สำหรับอินโนนีเซีย ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม สำหรับเมียมาร์ ต้องติดต่อสถานเอกอัครราชฑูตเมียนมาร์ประจำประเทศไทย เพื่อยื่นคำร้องขอวีซ่า ตามระเบียบที่สถานฑูตฯกำหนด

รวมข้อมูลโดย MateThai.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2014, 11:22:42 AM โดย Admin »