●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจสุขภาพแล้ว มาดูผลงานกัน - วิธีการอ่านผลการตรวจเลือด!  (อ่าน 2510 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
ใครที่ตรวจสุขภาพแล้ว มาดูผลงานกัน...  วิธีการอ่าน ผลการตรวจเลือด... คิดยังว่ามีหลายๆคน ยังไม่รู้นะครับ ^.^

การตรวจเลือด
กรุ๊ปเลือด (Blood Group) ปกติกรุ๊ปเลือดจะรายงานผลออกมา เป็นสองระบบคือ ABO System และ Rh System โดยจำแนกตาม Antigen บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่
ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ สี่กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O

Group O พบมากสุด, A กับ B พบพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด

ในระบบ Rh จะรายงานได้เป็นสองพวก
1. +ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้มากเกือบทั้งหมดของคนไทยเป็นพวกนี้
2. -ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้น้อยมาก คนไทยเราพบเลือดพวกนี้ แค่ 0.3%เป็นพวกที่บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบได้มากขึ้นในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนพวกนั้น แม้ว่าจะมี Rh-ve มากกว่าคนไทยปกติ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นพวก Rh +veอยู่ดี)

ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือดเช่น A+ve คือ เลือดกรุ๊ป A Rh+ve ตามปกติ AB-ve อันนี้เป็น กรุ๊ป AB และ เป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด ปกติ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า 5% ถ้าเป็น AB-ve นี่ พบแค่ 1.5 คน ในหมื่นคนเท่านั้น

CBC (Complete Blood Count ) เป็นการตรวจเลือดทั่วๆ ไปที่ใช้กันบ่อยที่สุด ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้หลายอย่างๆ การรายงานจะมีค่าที่เกี่ยวข้องออกมาหลายตัว ซึ่งต้องดูประกอบไปด้วยกันหลายๆ ค่า ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย แต่ก็เป็นการตรวจ ที่สำคัญอันนึง (บางแห่งใช้เป็นการตรวจพื้นฐานก่อนรับคนไข้นอนรพ.คู่กับ การตรวจปัสสาวะ (U/A)

ค่าต่างๆ ที่รายงานใน CBC ได้แก่

WBC (White Blood Cell Count) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะอยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml
ถ้าจำนวน WBC ต่ำมาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำบางอย่าง หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ เช่น Aplastic Anemia หรือไขกระดูกฝ่อซึ่งจะทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด (ทั้ง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ต่ำหมดทุกตัว)

ถ้า WBC มีจำนวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย
แต่ถ้าจำนวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่นเช่น สี่ห้าหมื่น หรือเป็นแสน อันนั้นจะทำให้สงสัยพวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ดเลือดขาว หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง (มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) อาจจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติ หรือ ต่ำกว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic Leukemia)

Hb (Hemoglobin) เป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยจับอ๊อกซิเจน ค่าของ Hb ใช้บอกภาวะโลหิตจาง เช่นเดียวกันกับ Hct
ค่าปกติของ Hb มักจะเป็น 1/3 เท่าของ Hct และหน่วยเป็น Gm% เช่น คนที่ Hct 30% จะมี Hb =10 gm% เป็นต้น

Hct (Hemotocrits) หรือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตร ของเลือดทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจาง หรือ ความข้นของเลือด
ปกติ คนไทย Hct จะอยู่ประมาณ 30กว่า % ถึง 40 กว่า% ถ้าต่ำกว่า 30% ถือว่า ต่ำมาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือด ช่วยในบางราย ถ้า Hct สูงมากอาจจะต้อง ระวังโรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ หรือพวกไข้เลือดออกในระยะช้อค ก็จะมีค่าตัวนี้สูงเนื่องจากน้ำเลือดหนีออกจากเส้นเลือด (ต้องดูค่าอื่นๆ ประกอบด้วย)

Plt count หรือ Platelets หรือเกล็ดเลือด เป็นเซลเม็ดเลือด คล้ายเศษเม็ดเลือดแดง เป็นตัวที่ช่วยในการหยุดไหล ของเลือด เวลาเกิดบาดแผล คนปกติ จะมีจำนวนประมาณ แสนกว่าเกือบสองแสน ขึ้นไปถึงสองแสนกว่า การรายงานอาจจะรายงานเป็นจำนวน cell/ml เลยจากการนับ หรือ จากการประมาณด้วยสายตาเวลาดูสไลด์ที่ย้อมดูเม็ดเลือด แล้วประเมินปริมาณคร่าวออกมาดังนี้

- Adequate หรือเพียงพอ หรือพอดี หรือปกติ (ผู้ที่มีเกล็ดเลือด 150,000~350,000 เซล/ลูกบาศก์มิลลิเมตร )

- Decrease หรือ ลดลงกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติ (ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50,000 เซล/ลูกบาศก์มิลลิเมตร  ถ้าต่ำกว่า 20,000 เซล/ลูกบาศก์มิลลิเมตร อาจต้องให้เกล็ดเลือดเพิ่ม) พวกนี้มักจะพบในคนไข้ที่ติดเชื้อพวกไวรัส (เช่นไข้เลือดออก) หรือ มีการสร้างผิดปกติ หรือ โรคเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Thrombocytopenic Purpura (ITP) ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่ายและเกิดจ้ำเลือดได้ตามตัว พบได้บ่อยพอสมควร

- Increase พบได้ในบางภาวะเช่นมีการอักเสบรุนแรง มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกายหรือ มีการเลือดฉับพลัน (จะมีการกระตุ้นให้ไขกระดูกเร่งสร้างเกล็ดเพื่อไปช่วยทำให้เลือดหยุด และอุดบาดแผล) นอกจากนี้ยังมีพวกที่เกล็ดเลือดสูงขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น ต่างๆ ก็ได้ เรียกว่า Essential Thrombocytosis
(พวกที่มีความผิดปกติ ทั้ง Decrease และ Increase นี่อาจจะต้อง นับ Platelets ให้ละเอียดแล้วรายงานเป็นตัวเลขอีกที)

Differential Count การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว จะรายงานออกมาเป็น % ของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ (ดังนั้นรวมกันทั้งหมดทุกชนิดจะต้องได้ 100 (%) พอดี) ตัวสำคัญหลักๆ ดังนี้

PMN หรือ N หรือ Neu (Polymorphonuclear cell หรือ Neutrophil) ตัวนี้ ค่าปกติ ประมาณ 50-60% ถ้าสูงมาก (เช่นมากกว่า 80% ขี้นไป และโดยเฉพาะถ้า สูงและมีปริมาณWBC รวม มากกว่าหมื่น ขึ้นไป จะทำให้นึกถึงภาวะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย

Eosin หรือ E (Eosinophil) พวกนี้เป็นเม็ดเลือดขาว ที่ปกติไม่ค่อยพบ (อาจจะพบได้ 1-2%) แต่ถ้าพบสูงมากเช่น 5-10% หรือมากกว่า พวกนี้จะสงสัยว่าเป็น พวกโรคภูมิแพ้ หรือพยาธิในร่างกาย

Lymp หรือ L (Lymphocyte) หรือเม็ดน้ำเหลือง พวกนี้ปกติ จะพบน้อยกว่า PMN เล็กน้อย (สองตัวนี้รวมกัน จะได้เกือบ 100 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด) ถ้าพบ Lymp ในปริมาณ สัดส่วนสูงขึ้นมามากๆ โดยเฉพาะร่วมกับ ภาวะเม็ดเลือดขาว(WBC)โดยรวมต่ำลง อาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะถ้ามี Lymp ที่รูปร่างแปลกๆและตัวโตผิดปกติ ที่เรียกกันว่า Atypical Lymphocyte จำนวนมากร่วมกับ เกล็ดเลือดต่ำ และ Hct สูง จะพบได้บ่อยในคนไข้ ไข้เลือดออก

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายตัว เช่น B หรือ Basophil , M หรือ Monocyte และพวกตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะพบในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะรายงานเมื่อพบ และต้องการการตรวจละเอียดเพิ่มต่อไป


RBC Morphology หรือรูปร่างของเม็ดเลือดแดง จะมีรายงานออกมาหลายรูปแบบ ตามลักษณะที่มองเห็น ซึ่งจะช่วยแยกโรคได้หลายอย่าง เช่น บอกว่าเป็น ธาลลาสซีเมียได้คร่าวๆ หรือ บอกภาวะโลหิตจาง จากการขาดเหล็กเป็นต้น และบางครั้ง อาจจะเห็นพวก มาเลเรีย อยู่ในเม็ดเลือดแดงด้วยก็ได้

ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=club&date=11-09-2006&group=2&gblog=22
 :wanwan017:

ได้มีการเรียบเรียงให้อ่านได้ง่ายขึ้น... โดยเมทไทยดอทคอม

MCH ย่อมาจาก mean corpuscular hemoglobin แปลว่าน้ำหนักเฉลี่ยของฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนในเม็ดเลือดหนึ่งเม็ด คนปกติก็จะมีประมาณ 27-31 พิโคกรัม (pg) ขออนุญาตฝอยนอกเรื่องหน่อยนะ เพราะว่าผมชอบเล่นของเล็กๆ คำว่าพิโคกรัมนี้หมายถึงถึงหนักเศษหนึ่งส่วนล้านล้านกรัม หรือเท่ากับหนึ่งกรัมยกกำลัง -12 ลูกชายคุณมี MCH แค่ 19.5 pg แสดงว่านอกจากเม็ดเลือดแดงจะมีขนาดเล็กแล้วยังมีตัวพาออกซิเจนน้อยอีกด้วย

MCHC ย่อมาจาก mean corpuscular hemoglobin concentration แปลว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของตัวพาออกซิเจน (ฮีโมโกลบิน) ในเม็ดเลือดแดงหนึ่งเม็ด หรือพูดอีกอย่างว่าคือค่าบอกสัดส่วนของฮีโมโกลบินต่อปริมาตรเม็ดเลือด อันนี้หมายความจากค่า MCV เรารู้ว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก จากค่า MCH เรารู้ว่าในเม็ดเลือดแดงหนึ่งเม็ดมีฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติ

แต่ค่า MCHC จะช่วยบอกเราว่าที่ฮีโมโกลบินมันมีน้อยนั้นเป็นเพราะเม็ดเลือดมันมีขนาดเล็กอย่างเดียว หรือเป็นเพราะมันมีเหตุอื่นที่ทำให้ฮีโมโกลบินยิ่งน้อยลงไปอีกสมทบอยู่ด้วย (เช่นขาดธาตุเหล็กสำรับสร้างฮีโมโกลบิน เป็นต้น) คนปกติค่า MCHC จะตกประมาณ 32-36% ของลูกคุณได้ 32.5% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ แสดงว่าที่ลูกคุณมีฮีโมโกลบินน้อยนั้น เพราะเม็ดเลือดมันมีขนาดเล็กอย่างเดียว ไม่ได้มีเหตุอื่นเช่นขาดธาตุเหล็กสมทบอยู่ด้วย

MCV ย่อมาจาก mean corpuscular volume แปลว่าปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงหนึ่งเม็ด เป็นตัวบอกว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดเม็ดใหญ่หรือเม็ดเล็ก ของคนปกติจะมีขนาด 80-100 เฟมโตลิตร (fl) คำว่าเฟมโตลิตรนี้เป็นหน่วยนับปริมาตรของอะไรที่เล็กๆในทางการแพทย์ คุณรู้จักซีซี. หรือ cubic centimeter ใช่ไหม นั่นแหละ หนึ่งซีซี. คุณเอามาแบ่งได้ล้านล้านเฟมโตลิตร มีคำว่าล้านสองทีนะ คือมีศูนย์ 12 ตัว

นั่นหมายความว่าหนึ่งเฟมโตลิตรเท่ากับหนึ่งซีซี.ยกกำลังลบ 12 งงมั้ยเนี่ย งงก็ไม่เป็นไร ขอให้งงต่อไป เพราะมันไม่สำคัญอะไรต่อเรื่องที่เรากำลังคุยกันดอก ประเด็นสำคัญก็คือค่า MCV ของลูกคุณวัดได้ 59.8 fl ซึ่งต่ำกว่าปกติมาก แปลว่าขนาดของเม็ดเลือดเฉลี่ยเล็กกว่าของชาวบ้านเขาครึ่งต่อครึ่ง ตรงนี้เป็นเรื่องเลยนะ ต้องมีตอนต่อไป

ที่มา http://visitdrsant.blogspot.com/2011/07/cbc.html
 :wanwan017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 04, 2014, 04:28:50 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: การอ่านผลการตรวจเลือด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 03, 2014, 12:43:02 PM »
Liver function tests (LFTs หรือ LFs)
การตรวจการทำงานของตับ คือ กลุ่มของการตรวจทางเคมีคลินิกในเลือดภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานะของตับของผู้ป่วย

Total protein
ตรวจหาโปรตีนที่สร้างจากตับได้แก่ Total protein

โปรตีนนี้สร้างในตับ มีหลายโรคที่ทำให้ค่าโปรตีนนี้สูงหรือว่าต่ำได้แก่ โรคตับ โรคไต มะเร็ง ขาดอาหารโปรตีนที่ตรวจได้แก่

    Globulin เป็นโปรตีนที่สร้างจากตับและเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต่อสู่กับเชื้อโรค ค่านี้ต่ำอาจจะพบได้ในหลายๆโรค นอกเหนือจากโรคตับ

    Albumin เป็นโปรตีนที่สร้างจากตับ หากตับเกิดเสียหายก็ไม่สามารถที่จะสร้างโปรตีนชนิดนี้ทำให้โปรตีนนี้ต่ำเป็นผลให้เกิดอาการบวมที่เท้า และทั่วร่างกายค่าปกติ 3.4 - 5.4 g/dL. เราอาจจะพบว่าค่านี้ต่ำกว่าปกติในภาวะ

-    ท้องมานหรือมีน้ำในท้อง ascites
-    ถูกไฟไหม้ burns (extensive)
-    โรคไตอักเสบ glomerulonephritis
-    โรคตับ เช่นตับอักเสบ ตับแข็ง liver disease ( hepatitis, cirrhosis, or hepatocellular necrosis "tissue death")

-    ลำไส้ไม่ดูดซึมอาหาร malabsorption syndromes (for example,Crohn's disease,sprue, or Whipple's disease)

-    ขาดอาหาร malnutrition
-    ไตรั่ว nephrotic syndrome

อัลบูมิน (Albumin)
ช่วงค่าอ้างอิง 3.5 to 5.3 g/dL
เป็นโปรตีนที่ผลิตขึ้นอย่างจำเพาะโดยตับและสามารถวัดได้อย่างง่ายดาย มันเป็นส่วนประกอบหลักของโปรตีนรวม ส่วนที่เหลือ เรียกว่า โกลบูลิ (รวมถึง immunoglobulins)

ระดับอัลบูมินจะลดลงในโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง นอกจากนี้ มันอาจจะลดลงในกลุ่มอาการเนโฟตริก (nephrotic syndrome) ซึ่งจะมีการสูญเสียอัลบูมินทางปัสสาวะ โภชนาการที่ไม่ดีหรือภาวะกระบวนการสลายโปรตีนบกพร่อง เช่น ใน Ménétrier's disease อาจนำไปสู่ภาวะระดับอัลบูบินในกระแสเลือดต่ำ (hypoalbuminaemia)

ครึ่งชีวิตของอัลบูมิอยู่ที่ประมาณ 20 วัน การตรวจวัดอัลบูมินไม่ถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับ liver synthetic function เนื่องจากการตรวจดู coagulation factors (ดูด้านล่าง) จะมีความไวมากกว่า

Total bilirubin (TBIL)
บิลิรูบิน (Bilirubin) เป็นผลิตผลที่เกิดจากการสลายของ heme (ส่วนหนึ่งของ เฮโมโกลบิน ในเซลล์เม็ดเลือดแดง) ตับจะทำหน้าที่ในการกำจัดบิลิรูบิน โดยกลไกต่อไปนี้ : บิลิรูบินจะถูกนำเข้าสู่ เซลล์ตับ (Hapatocytes), แล้วเปลี่ยนเป็นรูปแบบ (form) ที่สามารถละลายในน้ำได้ หลังจากนั้น จึงหลั่งไปในน้ำดีและถูกขับออกมาในลำไส้ในที่สุด

การเพิ่มขึ้นของบิลิรูบินอาจนำไปสู้ภาวะดีซ่านและสามารถเป็นสัญญาณของปัญหามากมาย ได้แก่

1.    Prehepatic : การสร้างบิลิรูบินที่เพิ่มมากขึ้นสามารถเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น hemolytic anemias และอาการตกเลือดภายใน

2.    Hepatic : มีปัญหาเกี่ยวกับตับซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการเกิดข้อบกพร่องของกระบวนการสลายบิริรูบิน (bilirubin metabolism) เช่น ลดการดูดซึมจากเซลล์ตับ, การบกพร่องของการเปลี่ยนรูปแบบของบิลิรูบิน และเซลล์ตับหลั่งบิริรูบินได้น้อยลง ตัวอย่างที่เกิดจากปัญหานี้ เช่น ตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ

3.    Posthepatic : การอุดตันของท่อน้ำดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นข้อบกพร่องในการขับถ่ายบิลิรูบิน (การอุดตันนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในตับหรือในท่อน้ำดี)

Direct bilirubin (Conjugated Bilirubin)
การตรวจระดับบิลิรูบินในรูปแบบ conjugated form หรือที่เรียกว่า Direct bilirubin เป็นการวินิจฉัยที่ละเอียดขึ้นไปอีก

    ถ้า Direct bilirubin มีค่าปกติ แต่มีระดับ unconjugated bilirubin เพิ่มมากขึ้น แสดงว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นในขั้นตอนก่อนการขับถ่ายบิลิรูบิน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเกิด hemolysis, ไวรัสตับอักเสบ หรือ ตับแข็ง เป็นต้น

    ถ้า Direct bilirubin มีค่าสูง แสดงว่า ความผิดปกติอาจจะเกิดขึ้นจากการไม่สามารถขับถ่ายของบิริรูบินออกไปได้ อาจจะเกิดจากท่อน้ำดีอุดตันโดยก้อนนิ่วหรือมะเร็ง

Aspartate transaminase (AST)
ช่วงค่าอ้างอิง
10 to 35 IU/L

SGOT
Aspartate transaminase (AST) หรือที่เรียกว่า Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase (SGOT) หรือ aspartate aminotransferase (ASAT)

คล้ายกับ ALT เนื่องจากเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับตับ parenchymal cells มันจะเพิ่มขึ้นเมื่อตับได้รับความเสียหายอย่างเฉียบพลัน แต่ก็สามารถพบได้ในเซลล์เม็ดเลือดแดง กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อโครงร่าง

ดังนั้น มันจึงไม่มีความจำเพาะต่อตับเท่านั้น บางครั้งอัตราส่วนของ AST ต่อ ALT ก็เป็นประโยชน์ในการบอกความแตกต่างระหว่างสาเหตุของความเสียหายที่ตับ[2][3] อย่างไรก็ตาม ระดับ AST ที่สูงไม่ได้มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับความเสียหายที่ตับเท่านั้น และ AST ยังใช้เป็น cardiac marker อีกด้วย

SGPT
Alanine transaminase (ALT) หรือที่เรียกว่า Serum Glutamic Pyruvate Transaminase (SGPT) หรือ Alanine aminotransferase (ALAT)

เป็นเอนไซม์ที่สามารถพบได้ในเซลล์ตับ เอนไซม์ตัวนี้จะถูกปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดเมื่อเซลล์ตับได้รับความเสียหายซึ่งเราสามารถวัดได้ เกิดการรั่วไหลของมันเอนไซม์นี้เข้าสู่กระแสเลือดซึ่งจะมีการวัด ALT จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อตับได้รับความเสียหายอย่างเฉียบพลัน

เช่น ไวรัสตับอักเสบ หรือ การได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด ซึ่งมักจะวัดค่า ALT ได้มากกว่าค่าปกติ

Alkaline phosphatase (ALP)
เป็นเอนไซม์ในเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีของตับ ระดับ ALP ในพลาสมาจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำดี, intrahepatic cholestasis, หรือ infiltrative diseases ของตับ นอกจากนี้ ALP ยังสามารถพบได้ในกระดูกและรก ดังนั้น ค่ามันจึงสูงในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต (เนื่องจากกระดูกกำลังสร้าง) และผู้ป่วยสูงอายุที่มีเป็น Paget's disease

เกลือแร่ในเลือด (Blood electrolyte)
ในภาวะปกติเลือดจะประกอบด้วย น้ำ 93% และอีก 7% เป็นของแข็ง ที่ประกอบด้วย อิเล็คโตรลัยด์(electrolyte) โปรตีน และไขมัน

เกลือแร่ (Minerals) เป็นสาระสำคัญในเลือดและในส่วนที่เป็นของเหลวในร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานของเซลล์โดยเฉพาะเซลล์สมอง และเซลล์ กล้ามเนื้อ

เกลือแร่ สำคัญที่เรารู้จักกันดี คือ
-    โซเดียม (Sodium ย่อว่า Na)
-    โปแตสเซียม (Potassium ย่อว่า K)
-    คลอไรด์ (Chloride ย่อว่า Cl)
-    แคลเซียม (Calcium ย่อว่า Ca)
-    ฟอสฟอรัส (Phosphorus ย่อว่า P)

ส่วนเกลือแร่ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด คือ
    โซเดียม มีหน้าที่ ช่วยคงสมดุลของน้ำในร่างกาย ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ ของเซลล์สมอง และช่วยคงความดันโลหิต

    โปแตสเซี่ยม มีหน้าที่ ช่วยการเต้นและการทำงานของหัวใจ และช่วยการหดและยืดตัวของกล้ามเนื้อ

    คลอไรด์ มีหน้าที่ช่วย รักษาสมดุลความเป็นกรดด่างของเลือด


การเจาะเลือดหาเกลือแร่ของเลือด
http://www.siamhealth.net/public_html/Health/Lab_interprete/electrolyte.html#.VIAgx2eeq00

บทที่ 10.1: ความผิดปกติของ Electrolyte ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
http://www.thaicpr.com/?q=node/26
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 04, 2014, 04:24:21 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: การอ่านผลการตรวจเลือด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 03, 2014, 12:51:27 PM »
Platelet count - การนับเกล็ดเลือด Platelet
เกล็ดเลือด Platelet หรือ thrombocyte มีต้นกำเนิดมาจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดชนิดอื่น ขณะเมื่อยังเป็นวัยรุ่นจะถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า megakaryocyte ซึ่งควรอยู่แต่ในไขกระดูก เกล็ดเลือดเมื่อโตเต็มที่และออกมาสู่หลอดเลือดแล้ว จะมีรูปร่างเป็นแผ่นกลมหรือรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ไมครอนมีขนาดประมาณร้อยละ 20ของขนาดเม็ดเลือดแดง (แต่ขนาดเม็ดเลือดแดงประมาณ 6.7 ไมครอน) นับว่ามีขนาดประมาณครึ่งของเม็ดเลือดแดงเท่านั้น เกล็ดเลือดจะไหลวนเวียนในกระแสเลือด โดยมีอายุขัยประมาณ 9-11 วัน ภายหลังจากนั้นกล็ดเลือดรุ่นเก่าก็จะถูกทำลายส่วนใหญ่โดยม้ามและส่วนน้อยโดยตับ ในการตรวจเกล็ดเลือดจะต้องตรวจ ขนาด รูปร่าง ปริมาณ และการเกาะตัวของเกล็ดเลือด

ค่าปกติของเกล็ดเลือด
-    100,000- 400,000/ต่อเลือด 1 mm3
-    เกล็ดเลือดโดยทั่วไปจะมีอายุขัยในเลือดประมาณ 10 วัน
-    ค่าผิดปกติที่ถือว่าวิกฤติ < 50,000/ หรือ > 1 ล้าน/

หน้าที่ของเกล็ดเลือด
-    เมื่อเกิดบาดแผล จะช่วยให้เลือดที่ไหลออกมาเกิดการแข็งตัว อันเป็นการห้ามเลือดมิให้ไหลพ้นออกนอกร่างกายมากเกินไป

-    มีหน้าที่กลืนกินสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัสบางชนิด

-    มีหน้าที่เก็บสะสมสารชีวเคมีบางอย่าง เช่น ฮอร์โมน epinephrine, serotonin และเอนไซม์บางชนิด

ค่าผิดปกติ
เกล็ดเลือดต่ำ thrombocytopenia ย่อมทำให้เมื่อเกิดบาดแผล เลือดอาจจะหยุดช้ากว่าปกติสาเหตุ

-    อาจเกิดสภาวะม้ามโตกว่าปกติHypersplenism จึงดักจับเก็บทำลายเกล็ดเลือดมากผิดปกติ

-    อาจเกิดการเสียเลือด ณ จุดหนึ่งจุดใดของร่างกาย

-    อาจมีการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคโม หรือวิธีเคมีบำบัด (cancer chemotherapy) ย่อมมีผลเสียหายทำลายต่อไขกระดูก ซึ่งมีบทบาทในการผลิตเกล็ดเลือด

-    ยาบางชนิดทำให้เกล็ดเลือดต่ำ

-    ภาวะ Disseminated intravascular coagulation (DIC)

-    เม็ดเลือดแดงแตกก่อนวัย Hemolytic anemia

-    Idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP)

-    มะเร็งเม็ดเลือด Leukemia

-    การให้เลือดมาก Massive blood transfusion

-    ผู้ที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม Prosthetic heart valve

-    Thombotic thrombocytopenic purpura (TTP)

-    Celiac disease

-    ขาดวิตามินเค Vitamin K deficiency

เกล็ดเลือดสูง
-    อาจเกิดโรคมะเร็งเกี่ยวกับไขกระดูก เช่น leukemia, lymphoma

-    อาจเกิดโรคภาวะเม็ดเลือดแดงมาก ทำให้เกล็ดเลือดต้องพลอยมากไปด้วย

-    อาจขาดธาตุเหล็ก ทำให้ไขกระดูกต้องเร่งผลิตเม็ดเลือดแดง เพื่อให้การจับออกซิเจนของเลือด มีความเพียงพอ แม้เกล็ดเลือดจะมิได้ใช้เหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่เกล็ดเลือดก็ต้องพลอยถูกผลิตออกมาตามเม็ดเลือดแดงไปด้วย

-    โลหิตจาง

-    โรคมะเร็งเม็ดเลือดChronic myelogenous leukemia (CML)

-    โรค Polycythemia vera

-    Primary thrombocythemia

-    Recent spleen removal

กลไกการห้ามเลือดของเกล็ดเลือด
ในภาวะปกติ เกล็ดเลือดจะไม่เกาะกับผนังหลอดเลือดหรือเกาะกันเอง แต่เมื่อมีการฉีกขาดของหลอดเลือด บริเวณนั้นจะไม่มีเซลล์เอนโดทีเลียมที่จะยับยั้งกระบวนการสร้างลิ่มเลือด รวมทั้งเกิด exposure ของ subendothelial layer กับเลือด ทําให้เกล็ดเลือดเริ่มเข้ามายึดเกาะบริเวณดังกล่าว นําไปสู่การกระตุ้นและการเกาะกลุ่ม ของเกล็ดเลือดเป็น platelet plug ทําหน้าที่อุดบริเวณที่มีการฉีกขาด ทําให้เกิดการห้ามเลือดขึ้นในระยะแรก โดยกลไก การเกิด platelet plug สามารถแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน

1.    Platelet adhesion เป็นขั้นตอนที่เกล็ดเลือดจะเข้ามายึดเกาะกับชั้นผนังหลอดเลือด subendothelial ของหลอดเลือดที่จะถูก เปิดเผยขึ้นมาสัมผัสกับเลือดเมื่อมีการฉีกขาด เพื่อทําหน้าที่ในการห้ามเลือด ขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกและมีสําคัญ มากสําหรับการทําหน้าที่ห้ามเลือดของเกล็ดเลือดโดยเฉพาะในหลอดเลือดแดง ซึ่งมีการไหลของเลือดสูง โดย platelet adhesion จะเกิดข้ึนผ่านทางปฏิกริยาเคมีทำให้มีการยึดเกาะของโปรตีน คอลลาเจน และเกล็ดเลือดกับผนังหลอดเลือดที่ฉีกขาด

2.    Platelet activation เป็นขั้นตอนที่เกล็ดเลือดปกติจะถูกกระตุ้นทำให้อยู่ในรูปที่ ทําหน้าที่ในการห้ามเลือดโดย เกิดการเปลี่ยนรูปร่างของเกล็ดเลือดจากปกติที่มีรูปจานกลมไปเป็นเซลล์ที่มีหนวดยื่น projection ยื่นออกไปที่ เรียกว่า pseudopod ทําให้พื้นที่ผิวของเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดจึงดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีการหลั่งของสารเคมี และกระบวนการสังเคราะห์สารห้ามเลือด

3.    Platelet aggregation เป็นกระบวนการที่เกล็ดเลือดเกาะกลุ่ม platelet plug มาอุดบริเวณที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดซึ่งเป็นหน้าที่ของเกล็ดเลือดในการห้ามเลือด primary hemostasis ที่จะเกิดขึ้นภายในเวลาเป็นวินาทีเมื่อมีการเสียหายของหลอดเลือด กระบวนการนี้มีความสําคัญในการห้าม เลือดโดยเฉพาะในหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น capillary, small arteriole และ venule

กระบวนดังกล่าวจะได้ผลในกรณีที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กหรือแผลเล็ก แต่หากหลอดเลือดใหญ่ หรือแผลขนาดใหญ่จะต้องมีกระบวนการห้ามเลือดอื่นร่วมด้วย

ที่มา http://www.siamhealth.net/public_html/Health/Lab_interprete/platelet.html#.VH6fg2eeq01
 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
การตรวจปัสสาวะ
U/A (Urinary Analysis) คือการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ จะมีค่าที่รายงานออกมาหลายอย่างเช่น

ลักษณะของปัสสาวะทั่วไป เช่น ความขุ่นใส สี คนปกติ ควรมีสีเหลืองอ่อนและใส ( Yellow Clear)

Sp G (Specific Gravity)    = ความถ่วงจำเพาะ คนปกติจะอยู่ประมาณ 1.010 ถึง 1.020

......ถ้าสูงเกินไป อาจจะเกิดจากร่างกายขาดน้ำ เช่นดื่มน้ำน้อย ท้องร่วงรุนแรง หรือในเด็กเป็นไข้เลือดออกที่กำลังช้อค และได้น้ำชดเชย น้อยเกินไปทำให้ขาดน้ำในกระแสเลือด จะทำให้ปัสสาวะเข้มข้น

......ถ้าต่ำไป อาจจะเกิดจาก กินน้ำมากเกิน ร่างกายจึงกำจัดน้ำ ออกมาทางปัสสาวะเยอะ หรือ เป็นโรคที่ทำให้มีปัสสาวะมีน้ำออกมา มากผิดปกติ เช่น โรคเบาจืด
pH   หรือ ความเป็นกรดเป็นด่างของปัสสาวะ คนปกติจะมี pHประมาณ 6-8 ค่าความเป็นกรด และด่างของปัสสาวะมีผลต่อการออกฤทธิ์ ของยาบางอย่างและการตกตะกอน ของสารบางอย่าง ในปัสสาวะทำให้เกิดนิ่วได้

Alb (Albumin) หรือ Protein   คือโปรตีนไข่ขาว ปกติในปัสสาวะไม่ควรมีโปรตีนไข่ขาวนี้ หลุดออกมา แต่ถ้าไตทำงานผิดปกติ จะมีAlb ออกมาในปัสสาวะ เช่นคนไข้ โรคไตชนิด Nephrotic Syndrome หรือ ถ้าเป็นในคนท้อง ถ้าพบ Alb ก็จะต้องระวังภาวะครรภ์เป็นพิษ (ซึ่งจะพบมีอาการบวม และ ความดันสูงร่วมไปด้วย)

Sugar หรือ Glucose   คนปกติ ไม่ควรมีน้ำตาลหรือกลูโคสในปัสสาวะ ถ้าตรวจพบ จะสงสัยว่าคนไข้อาจจะเป็นเบาหวาน ควรจะงดอาหารไม่น้อยกว่าหกชม. แล้วเจาะเลือด ดูน้ำตาลในเลือด(FBS )เพื่อยืนยันโรคเบาหวานต่อไป (Note ทั้ง alb และ sugar ปกติจะรายงานปริมาณมากน้อย เป็น +1,+2,+3,+4 ตามลำดับ)

WBC   หรือเม็ดเลือดขาว ในคนปกติ ไม่ควรมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะเลย
ถ้ามีเม็ดเลือดขาวออกมามากในปัสสาวะ แสดงว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือกรวยไตอักเสบ (ปกติจะรายงานเป็นจำนวนเซลที่พบ ต่อพื้นที่ที่มองเห็นด้วยหัวกล้อง ขนาด X40หรือ High Dry Field (HDF) ถ้าพวกที่พบเล็กน้อย เช่น 1-2 Cell/ HDF อาจจะไม่สำคัญเท่าไรนักแต่ถ้าพวก มีการติดเชื้ออาจจะพบหลายสิบตัว หรือเป็นร้อยๆ ซึ่งจะรายงานว่า มีจำนวนมาก (Numerous)

RBC   หรือเม็ดเลือดแดง เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวคือ คนปกติไม่ควรพบเม็ดเลือดแดง  ถ้าพบแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ อาจจะจากอุบัติเหตุ (ถ้ามีประวัติบ่งชี้ว่า ได้รับการกระแทกตามทางเดินปัสสาวะ) หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ (การติดเชื้อบางครั้งก็ทำให้มีเม็ดเลือดแดงออกมา ในปัสสาวะได้แต่มักจะมี เม็ดเลือดขาวมากกว่า แต่สาเหตุที่พบบ่อยสุด ที่ทำให้พบเม็ดเลือดแดงจำนวนมากในปัสสาวะคือ นิ่ว )

(หมายเหตุ - การเก็บปัสสาวะถ้าคนไข้กำลังเป็นเม็นส์ควรหลีกเลี่ยง เพราะว่าจะมีเลือด จากเม็นส์ลงไปปนทำให้ พบเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง จำนวนมากในปัสสาวะได้)

Epithelial   หรือเซลเยื่อบุทางเดินปัสสาวะในส่วนต่างๆ อาจจะพบได้เมื่อมีการอักเสบหรือความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ

นอกจากนี้อาจจะมีรายงานพวกผลึกของสารต่างๆ ที่ปนมากับปัสสาวะเช่น Calcium
Oxalate หรือ Urate Crystal ซึ่งพวกนี้อาจจะตกตะกอนเป็นนิ่วต่อไปได้

ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=285951
 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
HIV

HIV หรือ การตรวจเอดส์ ปกติในการตรวจทั่วไป มักเป็นการตรวจหา Antibody ของเอดส์ในเลือดด้วยวิธีElisa หรือ RPHA ซึ่งตรวจได้ง่าย ราคาไม่แพง ทราบผลไว พวกนี้ถ้าไม่พบแอนติบอดี้ดังกล่าว ก็เชื่อได้ว่ายังไม่มีระดับ Antibody ต่อโรคนี้ในเลือด

.......แต่ถ้าพบแอนติบอดี้ด้วยวิธีดังกล่าว อาจจะต้องส่งเลือดเพื่อตรวจยืนยันด้วยวิธี Western's blot ซึ่งจะยืนยัน ได้100 % ว่าเป็น HIV แน่นอน (ที่ไม่ตรวจด้วยวิธีนี้ทุกราย เพราะว่าเครื่องมือมีน้อยและค่าตรวจแพง มากจึงเอาไว้ตรวจยืนยันเท่านั้น)

........ถ้าพบว่ามี Antibody +ve ก็แสดงว่า ได้รับเชื้อโรคนี้ อาจจะมีอาการของโรคแล้ว หรือไม่ก็ได้ ........ถ้าตรวจยังไม่เจอ Antibody และ คิดว่าตัวเองมีปัจจัยเสี่ยงสูง ควรตรวจซ้ำ ทุกสามเดือน จนครบหนึ่งปีหลังจากเวลาที่คาดว่าจะได้รับเชื้อครั้งสุดท้าย ถ้าครบปีแล้ว ยังไม่พบก็มั่นใจได้ว่าไม่ได้ติดเชื้อ)

........กรณีที่เป็นการตรวจเลือดที่จะเอาให้กับคนไข้ นอกจากตรวจ Antibody แล้ว ทางรพ. จะตรวจหา Antigen ของเชื้อ HIV ด้วยเพราะว่า การตรวจหา Antibody จะตรวจพบ ได้เร็วกว่าการตรวจหา Antibody (แต่ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าด้วย)

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
VDRL
VDRL คือ เป็นการตรวจหา Antibody ของเชื้อซิฟิลิส หรือที่เรียกกันว่า ตรวจ เลือดบวก

เพราะว่าแต่ก่อนเวลารายงานผลตัวนี้ จะรายงานตามความแรง ของปฏิกริยาเป็น +1, +2, +3, +4 .......

แต่ปัจจุบัน จะรายงานผลเป็น Nonreactive หรือ -ve ซึ่งแสดงว่าไม่เป็น หรือไม่พบ Antibody ของเชื้อนี้ ........กับ Reactive หรือ +ve หรือ พบ Antibody ซึ่งมักจะรายงานระดับความแรง ของปฏิกริยา ไว้ด้วยเช่น 1:1 ,1:2, 1:4 ,1:8 ,1:16 ,1:32 (ยิ่ง อันหลังๆ นี่ปฏิกริยายิ่งแรงมากตามลำดับ)

พวกนี้แม้ว่าจะพบ ว่า Reactive หรือ +ve ก็ไม่ได้บอก ว่าคนไข้จะเป็น ซิฟิลิส ทั้งหมด (โดยเฉพาะถ้าปฏิกริยาเป็นแบบอ่อนๆ) เพราะว่า มีโรคอื่นๆ ที่ทำให้ VDRL ให้ผลเป็นบวกได้เช่นกัน เช่นพวกโรคทางภูมิต้านทานของร่างกายผิดปกติ (Autoimmune Disease) เช่น SLE (โรคพุ่มพวง)

ดังนั้นถ้าจะยืนยันว่าเป็น ซิฟิลิสจริง จะส่งตรวจหาเชื้อซิฟิลิสด้วยวิธี TPHA เพื่อยืนยันให้แน่นอนอีกที

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
ไวรัสตับอักเสบบี     HBsAg
เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส ตับอักเสบชนิด B ว่ามีในเลือดหรือไม่

ถ้ารายงานว่า HBsAg -ve ก็คือปกติ หรือไม่มีเชื้อนี้ในเลือด
ถ้ารายงานว่า HBsAg +ve ก็คือพบว่า มีเชื้อนี้ในเลือด ซึ่งต้องดูว่าจะเป็นประเภทไหนดังต่อไปนี้

...... พวกที่มีเชื้อ และ มีอาการอักเสบฉับพลันของตับชัดเจน (เช่นมีไข้ท้องอืดตาเหลืองตัวเหลือง และมีค่าเอ็นไซม์ต่างๆของตับผิดปกติ) รวมทั้งอาจจะมีประวัติเพิ่งสัมผัสโรคมา ก็จัดเป็นพวกที่ กำลังเป็นไวรัสตับอักเสบชนิด B พวกนี้ถ้าได้รับการรักษา ด้วยการพักผ่อนให้พอเพียง ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติได้ และเชื้อจะหมดไปจากเลือดภายในหกเดือน และจะมีภูมิต้านทาน (HBsAb) เกิดขึ้นมาแทน และจะไม่เป็นโรคนี้อีกต่อไป แต่ถ้าหกเดือนแล้วยังไม่หาย ก็จะกลายเป็นพวกพาหะ หรือ พวกตับอักเสบเรื้อรัง ต่อไป

...... พวกที่มีเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ ทั้งสิ้นรวมทั้งผลการตรวจเอ็นไซม์ของตับปกติพวกนี้เรียกเป็นพาหะ(Carrier)  พวกนี้ไม่มีอันตราย แต่ต้องระวังเชื้อจะติดต่อไปยัง คู่สมรสได้หรือ ถ้าเป็นหญิงก็ จะมีเชื้อผ่านไปลูกได้ และถ้ากินเหล้าหรือตรากตรำอาจจะเกิดตับอักเสบขึ้นมาภายหลังได้ แต่ก่อนพวก พาหะตับอักเสบบีนี้ จะไม่มีการรักษาเฉพาะ (มีหายไปเองได้บ้างบางส่วน) แต่ปัจจุบัน มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อใช้ยาให้ภาวะนี้หายไปได้มากขึ้น ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป

(หมายเหตุ - กรณีที่เป็นพาหะ ที่เจาะเลือดเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะมีประวัติ คล้ายตับอักเสบมาก่อนไม่เกินหกเดือนอาจจะ ไม่ใช่พาหะก็ได้ อาจจะเป็นพวกตับอักเสบ ที่กำลังหายแต่เชื้อยังไม่หมดไป ควรรอจนครบหกเดือนแล้วเจาะซ้ำอีกครั้ง ถ้ายังพบเชื้ออยู่ จึงจัดเป็นพาหะนำเชื้อตับอักเสบ)

...... พวกที่มีเชื้อ และยังไม่มีอาการอะไร แต่อาจจะพบมีค่าเอ็นไซม์ของตับสูงผิดปกติ หรือ มีประวัติเคยเป็นตับอักเสบเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง พวกนี้จะจัดเป็นพวกที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง พวกนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบรุนแรงกลับขึ้นมาอีก หรือ เกิด ภาวะตับแข็ง ตลอดจนมะเร็งตับได้ง่ายกว่าคนปกติมาก พวกนี้ถ้าจำเป็นอาจจะต้อง รับการวินิจฉัยด้วยการเจาะเอาเนื้อตับมาตรวจ (Liver Biopsy) และพิจารณาให้ Interferon เพื่อการรักษา (ราคาแพงมาก)

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
HBsAb   
ตัวนี้เป็นการตรวจหาระดับ ภูมิต้านทานต่อเชื้อตับอักเสบชนิด B

ถ้ารายงานว่า HBsAb -ve ก็คือ ไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้ในเลือด และถ้าไม่มีเชื้อ (HbsAg) ด้วย และไม่เคยมีประวัติได้รับวัคซีนมาก่อน ถ้าอยากจะป้องกันโรคนี้ไว้ ก็ให้วัคซีนป้องกันตับอักเสบได้ รวมสามเข็ม จะมีผลป้องกันได้ตลอดไป  แต่ถ้าเคยมีประวัติได้รับวัคซีนนี้มาครบสามเข็มแล้ว แม้ว่าการตรวจ จะไม่พบระดับภูมิต้านทานนี้

อายุรแพทย์และกุมารแพทย์หลายท่าน ยังคงแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพิ่ม เนื่องจากมีการศึกษา และรายงานว่า แม้ระดับภูมิต้านทานจะต่ำกว่า ระดับที่เราจะตรวจพบได้ แต่ก็ยังคงเพียงพอต่อการป้องกันโรค

ถ้ารายงานว่า HBsAb +ve พวกนี้ดี คือมีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้แล้ว และจะไม่เป็นโรคนี้อีก พวกนี้อาจจะเกิดจากเคยฉีดวัคซีนนี้ครบแล้วมาก่อน หรือเคยเป็นโรคนี้แล้วหายไปแล้ว หรือ บางคนเคยรับเชื้อและหายไปเองโดยไม่รู้สึกตัว (ผมเองก็เป็นแบบนี้ คือมีภูมิต้านทานโดยไม่รู้ตัว)

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
เบาหวาน
FBS (Fasting Blood Sugar)   = ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ที่เจาะหลังงดอาหารไม่น้อยกว่า 6 ชม.

คนปกติ ค่าจะอยู่ระหว่าง 60-110 mg%(บางแห่งใช้แค่ 100 ) ถ้าสูงกว่านี้เรียกว่า เป็นเบาหวาน แต่ถ้าต่ำกว่า 60 ถือว่าต่ำเกินไป(Hypoglycemia) อาจจะมีอาการหิวใจสั่นหน้ามืดเป็นลม ไปถึงชักหมดสติได้เช่นกัน เช่นคนเป็นลมเพราะอดอาหาร หรือคนเป็นเบาหวานแล้วกินยา หรือฉีดยาลดน้ำตาลมากเกินไป

ไขมันในเลือด
Cholesterol   เป็นไขมันตัวนึงในเลือด (ตัวนี้ส่วนใหญ่รู้จักกันดี) ถ้าสูงมากจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดตามที่ต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ หรือไต เป็นต้น คนปกติ จะไม่เกิน 200 Mg% (ตัวนี้เดิมเคยให้ถือว่าสูงเมื่อเกิน 250mg% แต่ปัจจุบันใช้ค่าที่มากกว่า 200mg% ก็ถือว่าสูงจนผิดปกติแล้ว)

Triglyceride   เป็นไขมันอีกตัวนึงในเลือด (แต่คนไม่ค่อยคุ้นกับตัวนี้กัน) ตัวนี้ถ้าสูงมากก็ทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดในที่ต่างๆ ได้เหมือนกับ Cholesterol นอกจากนี้ยังพบขึ้นสูงได้ ในรายที่กินเหล้ามากๆ พวกนี้ถ้าสูงมากๆ อาจจะไปสะสมที่ตับ เป็น Fatty Liver และเกิดตับแข็งตามมาได้

ค่าปกติ ไม่ควรสูงเกิน 200 mg% เช่นกัน (แต่บางตำราให้แค่ 170 mg% และบางคนที่กินไขมันมากๆ อาจจะทำให้ไขมันตัวนี้ในเลือดขึ้นสูงไปได้ถึง 5-600 mg% ก็มี)
การเจาะพวกไขมันทั้งสองตัว ถ้าให้ได้ผลดีควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกไขมันมากๆ ล่วงหน้าสามสี่วันก่อนตรวจก็จะดียิ่งขึ้น

HDL (High Density Lipoprotien)   = ไขมันชนิดที่มีความหนาแน่นของโมเลกุลสูง ตัวนี้ช่วยในการนำพวกไขมันที่เกิดโทษ (เช่น Cholesterol และ Triglyceride) ไปกำจัดทิ้ง ซึ่งจะทำให้มีการอุดตันหลอดเลือดตามอวัยวะต่างๆได้น้อยลง

ตัว HDL ยิ่งมีระดับสูงยิ่งดี(ถ้าเปรียบให้เข้าใจง่ายก็คือ Cholesterol กับ Triglyceride เป็นขยะที่ต้องกำจัดทิ้ง (จริงๆ มันก็มีประโยชน์แต่ถ้ามีมากก็จะก่อให้เกิดปัญหา การอุดตันตามหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ) เหมือนขยะหมักหมม แต่ HDL จะเปรียบเหมือน รถขนขยะ ถ้ายิ่งมีมากยิ่งดี จะได้มาช่วยเก็บขยะไปได้มาก ทำให้แม้ขยะจะมีมาก แต่ถ้ามีรถขนขยะมากก็ช่วยบรรเทาไปได้

คนปกติ ควรมี HDL สูงมากกว่า 35 Mg% (ยิ่งมากยิ่งเสี่ยงต่อโรคไขมันอุดตัน หลอดเลือดต่างๆ น้อยลง รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจด้วย)

โรคเก๊าต์
Uric Acid   ตัวนี้เป็นเกลือยูริคในกระแสเลือด พบสูงได้ในโรคเก๊าต์ นอกจากนี้ยังพบในโรคอื่นๆอีกหลายอย่างเช่นโรคที่มีการทำลายของเม็ดเลือดมากผิดปกติ เป็นต้น คนปกติผู้ชายสูงไม่เกิน 8.5 mg% หญิงไม่เกิน 8.0mg% ( บางแห่งให้ใช้ค่าปกติ เป็นชายน้อยกว่า 8 หญิง น้อยกว่า 7)

ตรวจการทำงานของไต
Creatinine   = เป็นการตรวจการทำงานของไต ในการกำจัดของเสีย ถ้าคนไข้ที่มีภาวะไตวาย จะมีค่าตัวนี้สูงกว่าปกติ คนปกติ จะสูงไม่เกิน 1.8mg% ถ้าสูงมากๆ ต้องระวังว่าเกิดภาวะไตเสื่อม หรือไตไม่ค่อยทำงานที่เรียกกันว่า ไตวาย

BUN (Blood Urea Nitrogen)   = การตรวจหาสารนี้ในเลือด ใช้เพื่อดูการทำงานของไต คู่กับ Creatinine เช่นกัน ในคนที่ไตทำงานกำจัดสารพิษ ออกจากร่างกายได้น้อยลง (ไตวาย) จะมีสารนี้สูง มาก คนปกติ ไม่ควรสูงเกิน 20 mg%

ตรวจการทำงานของตับ
LFT (Liver Function Test)  หรือ การตรวจการทำงานของตับ จะเป็นการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดหลายตัวเข้ามาประกอบกัน ด้วยกันเป็นชุด ประกอบด้วย
SGOT และ SGPT   สองตัวนี้เป็นเอ็นไซม์ของตับ ที่จะพบเมื่อมีการทำลายของเซลล์ตับ เช่นเกิดจากภาวะตับอักเสบ จากโรคต่างๆ เป็นต้น ค่าปกติ ของสองตัวนี้ประมาณไม่เกิน 40 U/L

Alk Phosphatase  = ค่าเอ็นไซม์ของเลือดอีกตัวหนึ่ง คนปกติจะมีค่า Alk Phos สูงไม่เกิน 280 Mg%

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคตับ คือ ถ้าตัวนี้สูงมาก จะระบุว่าอาจจะมีการอุดตัน ของระบบทางเดินน้ำดีในตับ เช่นจากภาวะตับแข็ง หรือถ้าสูงมากๆ ก็อาจจะต้องนึกถึง พวกนิ่วในท่อน้ำดี หรือ มะเร็งในตับหรือทางเดินน้ำดี

นอกจากนี้ยังพบเอ็นไซม์ตัวนี้สูงได้ ในโรคที่มีการทำลายกระดูก และมีการสร้างกระดูก
ขึ้นชดเชย ด้วยเช่นกัน

(ถ้าคนทีมีนิ่วอุดตันหรือมะเร็งในตับอาจจะสูงเป็นพัน เลยก็ได้)

TB (Total Bilirubin)   = สารน้ำดี ทั้งหมด ในกระแสเลือด คนปกติ ค่า TB จะสูงไม่เกิน 1.5 mg% ถ้ามีมาก เรียกว่ามีภาวะ ดีซ่าน(Juandice) มีอาการตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเกิดได้จากทั้งโรคจากตับ หรือนิ่วในระบบท่อน้ำดี หรือโรคที่มีการแตกตัวหรือ ทำลายเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติก็ได้

DB (Direct Bilirubin)   = สารน้ำดี ชนิดที่ได้รับการเปลี่ยนแปลง (Conjugated) ที่ตับแล้ว (เป็นพวกที่ละลายในน้ำ) คนปกติ จะมี DB ไม่เกิน 0.5 mg % ถ้าเอาค่า DB หักออก จากค่า TB (TB- DB) จะได้เป็นค่าของ Indirected Bilirubin หรือพวกน้ำดี ซึ่งยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงที่ตับ (Unconjugated Bilirubin) ซึ่งเป็นพวกละลายในไขมัน)

การแปลผลโดยอาศัย ค่าของ TB , DB และ Indirect Bilirubin(ปกติตัวหลังไม่มีรายงาน แต่หาได้จากการคำนวนที่ เอาสองตัวแรกลบกันอย่างที่บอก) จะช่วยให้เราช่วยแยกได้ว่า ดีซ่านนั้น มีสาเหตุจากตัวตับทำงานผิดปกติเอง หรือ ตับยังทำงานได้ (เปลี่ยนแปลงน้ำดี จาก Indirect Bilirubinไปเป็น DBได้) แต่เกิดการอุดตันจากทางเดินน้ำดี หรือ จากสาเหตุอื่น ที่ทำให้มีการสร้างน้ำดีมากผิดปกติ เช่น โรคที่มีการแตกของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ

Alb (Albumin)   = ระดับของโปรตีนอัลบูมินในเลือด ค่าปกติ ตัวนี้อยู่ประมาณ 3.5-5 mg% ถ้ามีค่าต่ำกว่าปกติอาจจะเกิดจาก ขาดอาหารพวกโปรตีน หรือมีการสูญเสียออกทางไตไปมากในคนที่เป็นโรคไต (Nephrotic Syndrome) หรือ มีความผิดปกติเรื้อรังของตับ เช่นตับแข็ง ก็ทำให้ มีระดับอัลบูมิน ต่ำลงได้

Glob (Globumin) = โปรตีนอีกตัวหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน ของร่างกาย (พวกแอนติบอดี้ ต่างๆ ก็มักจะอยู่ในรูปของ Globurin ) ค่าปกติ ของ Glob ประมาณ 2.0-3.5 mg%  Glob สร้างจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกายไม่ใช่ที่ตับเหมือน Albumin นอกจากนี้ ในคนไข้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง จะพบว่ามีการกระตุ้นให้มีการสร้าง Globulin มากกว่าปกติ ทำให้ระดับของ Glob ในเลือดสูงผิดปกติ

     จะสังเกตเห็นว่าในโรคตับเรื้อรัง จะมี Alb ลดลง และ Glob เพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อดูสัดส่วนระหว่าง Alb/Glob จะเห็นว่า แทนที่ Alb จะมากกว่า Glob ตามปกติ คนไข้โรคตับเรื้องรัง จะพบว่า สัดส่วนจะพลิกกลับกลายเป็น Glob มากกว่า

โดย PORTO
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=285951
 :wanwan017:

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
การแปลผลการตรวจเลือด - CBC

http://www.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=13826&qid=8700

 :wanwan017: