ชุมชนออนไลน์ หาเพื่อนคุย รวมเกมส์ ดูดวง ฟังเพลง ฟุตบอล ดารา และอีกมากมาย

งานและอิสรภาพทางการเงิน => อิสรภาพทางการเงิน => ข้อความที่เริ่มโดย: Adminis ที่ มกราคม 19, 2014, 04:01:19 PM

หัวข้อ: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ มกราคม 19, 2014, 04:01:19 PM
หุ้น TR
บริษัท ไทยเรยอนจำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ ณ. จังหวัด อ่างทอง ในเครือ กลุ่มอุตสหกรรม เบอร์ล่า ประเทศอินเดีย(อยู่ใน Fortunes 500) ซึ่งมีกิจการในประเทศไทย กว่า 10 บริษัท และ บริษัทต่างๆ ในทวีปเอเซีย ยุโรป อเมริกา และเป็นผู้ผลิตเส้นใยประดิษฐ์ เรยอนชั้นนำของโลก

* บริษัท "FORTUNE 500" หมายถึง บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทในอเมริกา

------------------

เรยอน (Rayon) หมายถึง เส้นใยกึ่งสังเคราะห์ (semi-synthetic fiber) หรือ วิสโคส Viscose ซึ่งได้มาจาก เซลลูโลสจากพืช (cellulose pulp) + ผ่านกระบวนการและสารเคมี เพื่อสกัดและปั่นออกมาเป็นเส้นใย ได้แก่ โมดอล เทนเซล ใยไผ่...ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ซีกวาง” ส่วนใหญ่ใช้ทอผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ เส้นใยนุ่มนวล มีน้ำหนัก ทิ้งตัวได้ดี..

------------------

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า - เว็บบอร์ดพูดคุยหุ้นไทยเรยอน
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=4&t=3519&sid=063ff8257aa5eb2f1acbcad8c51be7ce (http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=4&t=3519&sid=063ff8257aa5eb2f1acbcad8c51be7ce)

ใครอยากดูราคา cotton
สามารถดูได้จาก App CNBC หรือ Bloomberg ในโทรศัพท์ Android หรือ IPhone หรือ Ipad ก็ได้นะครับ

หากดูในคอมหรือเข้าหน้าเวบ ก็ search ใน google คำว่า cotton #2 price quotes แล้วก็เลือกดูอันที่ชอบได้เลยนะครับ

 :wanwan017:

สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน
TR บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)

http://www.set.or.th/set/factsheet.do?language=th&country=TH&symbol=TR (http://www.set.or.th/set/factsheet.do?language=th&country=TH&symbol=TR)
 :wanwan017:

- ราคา เมื่อเทียบอันดับในอุตสาหกรรมเดียวกัน -
http://www.settrade.com/C04_08_stock_sectorcomparison_p1.jsp?txtSymbol=TR (http://www.settrade.com/C04_08_stock_sectorcomparison_p1.jsp?txtSymbol=TR)
 :wanwan017:

บริษัท ไทยเรยอน ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นที่ 1 ในโลก
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ ให้ก้าวสู่การเป็น ผู้ผลิตเส้นใยเรยอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

(อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวผมนะครับ กับธุรกิจสิ่งทอนะครับ
สินค้าแฟชั่นการแต่งกายสำหรับสตรีและบุรุษ เป็นธุรกิจทีมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัยอยู่เสมอ มีการแข่งขันด้านสินค้าและราคาอย่างรุนแรง สินค้าที่จัดวางเพื่อจำหน่ายมีความหลากหลาย และมากเกินกว่าความต้องการของตลาด ส่งผลให้เกิดการแย่งครองส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มมากขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ส่งผลให้สินค้ากลุ่มแฟชั่นลดต่ำลง  อีกทั้งมีอิทธิพลต่อ สินค้าล้าสมัย ส่งผลต่อการเก็บสต็อกเพิ่มขึ้นครับ ดังนั้นตัวธุรกิจสิ่งทอ ก็จะมีความเสี่ยงที่ต้องระวังอยู่ครับ)

- TR ไม่ได้ผลิตฝ้ายผลิตสิ่งที่ใช้แทนฝ้ายได้ ราคาจะวิ่งไปทางเดียวกันกับฝ้ายครับ -

ราคา cotton และ volume การซื้อขาย

http://futures.tradingcharts.com/chart/CT (http://futures.tradingcharts.com/chart/CT)

- ราคา cotton futures chart ครับ -
Monthly Commodity Futures Price Chart

http://futures.tradingcharts.com/chart/CT/M?anticache=1432649623 (http://futures.tradingcharts.com/chart/CT/M?anticache=1432649623)


- ดูราคาเยื่อกระดาษ - บริษัท Aditya Group AB  บริษัทร่วม -
Wood Pulp Monthly Price - US Dollars per Metric Ton]Wood Pulp Monthly Price - US Dollars per Metric Ton

http://www.barchart.com/commodityfutures/Cotton_%232_Futures/CT?search=CT* (http://www.barchart.com/commodityfutures/Cotton_%232_Futures/CT?search=CT*)

cotton -- ข่าว cotton

http://www.ryt9.com/tag/cotto (http://www.ryt9.com/tag/cotto)

การวิเคราะห์คาดการณ์ สถานการณ์ราคา Cotton

http://www.yarnsandfibers.com/Prices/Price-Forecast-Cotton (http://www.yarnsandfibers.com/Prices/Price-Forecast-Cotton)


--------------------

ราคา cotton รายวันมาจาก bloomberg นะครับ ตาม link ด้านล่างนี้  อยู่ใน Agriculture section

http://www.bloomberg.com/markets/commodities/futures/

ส่วนอีกตัวที่น่าดูก็ราคากระดาษครับ NBSK Pix pulp index

http://www.foex.fi/

และราคาหุ้นตัวแม่ grasim ครับ

http://www.google.com/finance?q=BOM%3A500300

รวมถึงคู่แข่ง lenzing ครับ

http://finance.yahoo.com/echarts?s=LEN.F+Interactive#{%22range%22%3A%221y%22%2C%22scale%22%3A%22linear%22}

Cr. Buoyant    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

-----------------------------

*** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ ***

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ เมษายน 02, 2014, 08:49:37 PM
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2517 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอน (VSF) โดยเริ่มทำการผลิตเชิงพาณิชย์ในวันที่ 14 กันยายน 2519

เริ่มจากกำลังผลิต 9,000 ตันต่อปี ปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอนถึง 151,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นเกลือโซเดียมซัลเฟต 126,000 ตันต่อปี

บริษัทฯ ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2527 โดยมีมูลค่าเงินลงทุนตามราคาตลาด 7.26 พันล้านบาท หรือประมาณ 215.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2552

โรงงานของบริษัทฯ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดอ่างทอง บนเนื้อที่กว่า 156 ไร่ กระบวนการผลิตได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9002 และ ISO 14001 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้รับรางวัล TPM Excellence Award จาก JIPM ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ภายใต้ตราสินค้า ‘Birla Cellulose’ ประกอบด้วยเส้นใยมากมายหลายชนิดซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆ เช่น สัมผัสนุ่มสบาย ดูดซับความชื้นสูง ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และมีรูปแบบที่ทันสมัย เส้นใยเหล่านี้สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ของแต่งบ้าน เครื่องประดับ ไหมพรม ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาด ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในโรงพยาบาล

บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เส้นใยพิเศษแบบใหม่ “เบอร์ล่าโมดาล” ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างดีสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายตามแฟชั่น

บริษัทฯ ยังได้ผลิตเกลือโซเดียมซัลเฟต เป็นผลผลิตพลอยได้ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมผงซักฟอก ผลิตเยื่อกระดาษ ผลิตกระจก ผลิตเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เริ่มจำหน่ายก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์จากโรงงานที่จังหวัดสระบุรีไปยังต่างประเทศ

ผลิตภัณฑ์เส้นใยเรยอนของบริษัทฯ มากกว่าร้อยละ 50 ส่งออกโดยตรงไปยังกว่า 25 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านคุณภาพที่เข้มงวดของลูกค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล ยุโรป ตุรกี เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ปากีสถาน เวียดนาม และศรีลังกา เป็นต้น

บริษัทฯ ตอบสนองต่อความต้องการทั้งในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่สิ่งทอ โดยทำการผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอนที่มีความหลากหลายตั้งแต่ 0.9 ถึง 5.5 Denier เส้นใยที่มีความยาวตั้งแต่ 32 ม.ม. ถึง 120 ม.ม. ระดับความแวววาวของการฟอกย้อม และกึ่งทึบ

หลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการขยายการลงทุนในรูปแบบการขยายตัวไปข้างหลังและการขยายตัวไปข้างหน้า ในประเทศไทย บริษัทฯ ได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตในสายการผลิตที่ 5 และการติดตั้งเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเก่าในสายการผลิตที่ 1 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต สำหรับโรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติสามารถดำเนินการผลิต ณ ที่ตั้งใหม่ในจังหวัดสระบุรี

เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ ให้ก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตเส้นใยเรยอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการผลิตเส้นใยโมดาลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษสำหรับลูกค้าสิ่งทอระดับบน ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ดำเนินการหาช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกในตลาดต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ เมษายน 02, 2014, 09:36:17 PM
ติดตามข่าวหุ้น tr ได้ที่นี่ครับ

http://www.beta.ryt9.com/tag/(TR) (http://www.beta.ryt9.com/tag/(TR))

 :wanwan017:

--------------------

อ่างทอง - อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมบุก “ไทยเรยอน” เมืองอ่างทอง หลังชาวบ้านร่วมกันถ่ายคลิปแฉปล่อยควันส่งกลิ่นเหม็น จนชาวบ้านเดือดร้อน ล้มป่วย พร้อมสั่งโรงงานหยุดเดินเครื่องจักรปรับปรุงชั่วคราวให้เรียบร้อยภายใน 30 มี.ค.นี้ หากไม่เรียบร้อยก็จะให้หยุดประกอบการ และจะถูกปิดเป็นการถาวร

  เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (3 มี.ค.) นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายปัญญา งานเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้เดินทางไปตรวจสอบโรงงานของบริษัท ไทเรยอน จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ริมถนนสายอ่างทอง-อยุธยา (สายใน) เลขที่ 36 หมู่ 2 ถนนอยุธยา-อ่างทอง ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง ผู้ผลิตและจำหน่ายเส้นใยสังเคราะห์รายใหญ่ของประเทศ หลังจากชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานร่วมกันถ่ายคลิปออกมาแฉขณะที่โรงงานปล่อยควันเหม็นออกมา
       
       โดยลักษณะควันที่ปล่อยออกมาเป็นลักษณะหมอกสีขาว มีกลิ่นฉุน ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ในพื้นที่ ต.จำปาหล่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง และชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงโรงงานดังกล่าวอย่างมาก จนชาวบ้านหลายคน รวมทั้งเด็กล้มป่วย
       
       จากการเข้าตรวจสอบเบื้องต้น ทางโรงงานได้ชี้แจงต่อ นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้ทราบว่า ควันที่ชาวบ้านพบเกิดที่บริเวณหน่วยผลิตกรดกำมะถัน สาเหตุที่เกิดควันลักษณะดังกล่าวขึ้น เนื่องจากทางโรงงานได้มีการฉีดสารกำมะถันเข้าสู่หอแปลงสภาพเพื่อให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศให้เกิดสารซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ขึ้น แล้วจะถูกส่งผ่านไปยังหอดักจับก๊าซ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะต้องควบคุมอุณหภูมิของกรดกำมะถันให้มีอุณหภูมิประมาณ 70-80 องศาเซลเซียล ซึ่งตัวควบคุมอุณหภูมิของกรดกำมะถันเป็นชนิดแผ่นแลกเปลี่ยนความร้อน (Plate Heat Exchanger) ซึ่งใช้น้ำเป็นตัวถ่ายเทควบคุมอุณหภูมิ
       
       แต่ปรากฏว่า วาล์วน้ำถูกเปิดไว้ ทั้งที่กระบวนการนี้วาล์วน้ำจะต้องปิด จึงทำให้ประสิทธิภาพในการดักจับก๊าซไม่ดี ทำให้ก๊าซเล็ดลอดออกสู่ภายนอก ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนดังกล่าว
       
       จากนั้น นายณัฐพล และคณะได้เดินทางไปตรวจสอบที่บริเวณที่เกิดเหตุ และได้ปิดประกาศให้ทางโรงงานหยุดเดินเครื่องจักรชั่วคราว โดยสั่งให้ทางโรงงานปรับปรุงเครื่องจักรให้เรียบร้อยภายในวันที่ 30 มี.ค.นี้ หากไม่เรียบร้อยก็จะให้หยุดประกอบการ และจะถูกปิดเป็นการถาวรต่อไป
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ใช้สารเคมีหลักประกอบด้วย คาร์บอนไดซัลไฟด์ เป็นของเหลวมีกลิ่นคล้ายกระเทียม กรดกำมะถันเหลือง มีกลิ่นฉุน โซเดียมไฮดอกไซด์หรือโซดาไฟ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า

ที่มา http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000024386
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ เมษายน 03, 2014, 05:27:09 PM
ชี้แจ้งรายงานข่าวของสื่อ จากบริษัทไทยเรยอน

อยู่ในไฟล์แนบนะครับ

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: หาเพื่อนคุย ที่ เมษายน 29, 2014, 08:09:42 PM
บทวิเคราะห์หุ้น TR
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)
THAI RAYON PUBLIC COMPANY LIMITED

http://jo.klongjan.com/consensus/TR (http://jo.klongjan.com/consensus/TR)

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: หาเพื่อนคุย ที่ เมษายน 29, 2014, 08:18:20 PM
TR หุ้นสองบุคลิก

หุ้น TR หรือบริษัทไทยเรยอน เป็นหุ้นที่ผมชื่นชอบมากในแง่ของการ "หาเงิน" แต่ก็เป็นหุ้นที่ผมไม่ชอบมากอีกเหมือนกันในแง่ของการ "ใช้เงิน"

ในด้านการ "หาเงิน" model ของ TR จัดได้ว่าเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง เป็นเจ้าเดียวในประเทศที่ผลิตเส้นใยเรยอน เมื่อครั้งไปดูโรงงานก็พบว่ามีการบริหารจัดการที่ดี ผู้บริหารดูมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและพยายามลดต้นทุน

ในด้านการ "ใช้เงิน" สามารถแบ่งเป็นสองส่วนคือ
ส่วนการใช้เงินลงทุนเครื่องจักรเพื่อแทนเครื่องเก่าหรือสร้าง line การผลิตใหม่และ
ส่วนที่สองคือการลงทุนไปยังบริษัทในเครือ

ประเด็นแรกไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเป็นการทดแทนเครื่องจักรเก่า ซึ่งมีแต่จะทำให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากรายได้ของไลน์ใหม่และต้นทุนที่ประหยัดจากเครื่องจักรใหม่

แต่ประเด็นที่สองนับว่าเป็นจุดบอดที่ทำให้ผมคิดว่าการลงทุนใน TR อาจจะไม่คุ้มค่า (หรือต้องต่อราคามากหน่อย) ก็เพราะว่าการเอาเงินไปลงทุนในบริษัทในเครือที่สูญเปล่าโดยไม่มีอะไรตอบแทนกลับมาเป็นเงินสดนอกเสียจากสิ่งที่เรียกว่า "ส่วนแบ่งกำไร" ทางบัญชี

ยกเว้นการลงทุนใน TCB เพียงตัวเดียวที่ดูดีมี return on investment มากกว่า 10% จากเงินปันผล นอกนั้นการลงทุนในบริษัทอื่นๆดูเหมือนจะเป็น conflict of interest ระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่กับผู้ถือหุ้นรายย่อย

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถขยายกิจการในต่างประเทศอย่างง่ายดาย โดยการใช้กระแสเงินสดที่ TR สร้างขึ้นมาไปซื้อหุ้น ในขณะที่หนทางในการนำเงินจากธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยตรงจากตลาดหลักทรัพย์ สามารถจ่ายผ่านช่องทางอื่นๆได้ง่ายๆ เช่น ค่า Management fee หรือ Royalty fee
ตรงนี้เป็นสิ่งที่รายย่อยไม่สามารถเข้าถึงและเผลอๆ ชาตินี้ทั้งชาติอาจจะไม่ได้เห็นอะไรกลับมาจากการลงทุนในบริษัทย่อย นอกเสียจาก "ส่วนแบ่งกำไร" ทางบัญชี

ปล. สัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทย่อยของ TR ในงบดุลแทบจะมีสัดส่วนเกือบ 50% ของสินทรัพย์รวมเข้าไปแล้ว

ต่อไปนี้เป็น comment ที่ผมเคย post ในกระทู้ร้อยคนร้อยหุ้นของหุ้น TR เมื่อวันที่ 28 Nov 2009 ระหว่างรองบปีออกครับ

EPS คงจะผันผวนน้อยลงนะครับ มีสาเหตุหลักคือ

1) เดือนตุลาคม 2552 มีการเปลี่ยนนโยบายการคิดต้นทุนวัตถุดิบจาก FIFO เป็น Moving avg.

2) นโยบายการขายของและการสั่งวัตถุดิบที่ match กันจาก Annual report (แต่ข้อนี้มีอยู่ก่อนแล้ว)

3) Trend ในอดีตที่ราคาขายกับราคาวัตถุดิบหลักมักไปด้วยกัน (แต่ให้ผลที่ดีมากกว่าถ้าราคาขายขึ้น ถึงแม้ต้นทุนจะขึ้นด้วยก็ตาม)

4) ถ้าในอนาคต Modal ที่มีส่วนต่างกำไรสูงกว่า สามารถเพิ่มสัดส่วนได้อย่างต่อเนื่อง (จะช่วยไป offset ในกรณีที่เป็น trend ราคา rayon --> Price variance ไม่ดีแต่ Mixed variance ดี)

แต่แปลกดีจังครับ TR นี่

กำไรต่ำกว่าปีที่แล้วตั้งเยอะ

แต่ Free cash flow กลับสูงสุดในรอบ 4 ปี

และคิดว่าจะทำ New high ในปีหน้าและปีหน้าๆจากการที่ราคาขายสูงขึ้นหนึ่งเด้งและการลงทุนที่ลดลง 1 เด้ง (ปีนี้ลงทุนแค่ 60% ของค่าเสื่อมเอง)

Operating cash flow ก็ไม่สะทกสะท้าน

เห็นทีใครว่า TR เป็น cyclical stock นี่ คงใช้ไม่ได้ถ้ามองในมุมของกระแสเงินสด
(รึเปล่า)

แต่ก็มีข้อเสียหลายข้อนะครับเจ้า TR นี่

1) Working capital สูงประมาณ 20% ของยอดขายทำให้กระแสเงินสดที่ได้จากการเติบโตถูกสะกัดดาวรุ่งด้วยการเพิ่มขึ้นของ Working capital ซึ่งท้ายสุดก็เป็นสาเหตุ classic ที่จะตอบผู้ถือหุ้นว่าต้องสำรองเงินไว้ใช้ จึงไม่สามารถจ่ายเงินปันผลสูงๆได้ ซึงสาเหตุมาจากการสั่งซื้อวัตถุดิบเก็บ stock 2 เดือนแต่จ่ายเงินให้เจ้าหนี้ 2 สัปดาห์และให้ลูกหนี้ชำระเงินยาวนานถึงเดือนครึ่ง (ทั้งๆที่เป็นผู้ขาย Rayon เจ้าเดียวในประเทศและมีสัดส่วนยอดขายในประเทศกว่าครึ่งของยอดขายรวม)

2) ค่าใช้จ่ายในการสร้างสัมพันธ์และประกันอนาคตสูง ถึงสูงมาก เพราะท่านเล่นเอาทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกือบครึ่งนึงของ asset ไปประกันลูกพี่อินโด (อันนี้ยากจะยอมรับ dividend ต่อเงินลงทุนยังกะฝากแบงค์), ประกันเชื้อเพลิงจากเจ้าดำ (แต่อันนี้พอรับได้เพราะ dividend ดี) และตัวแสบสุดๆก็บริษัทที่มีชื่อคล้ายๆกับบริษัทแม่ที่แม้แต่ dividend ก็ยังไม่ได้รับซักบาท (แถมไม่รู้ด้วยว่าเจ้านี่ช่วยอะไรให้ TR บ้าง) และล่าสุดประกันอนาคตอย่างไกลที่จีนและลาว

เหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินปันผล TR ไม่ไปไหนซักที

ไม่ทราบว่าวิเคราะห์ถูกหรือผิดอย่างไร โปรดชี้แนะด้วยครับ

ปล. ยังสงสัยอยู่ว่าหากพี่ท่านจะขายหุ้นอินโดที่เป็นลูกค้าออกไป เค้าจะไม่ซื้อกับ TR รึเปล่า หรือหากพี่ท่านขายหุ้นบริษัทที่ชื่อคล้ายๆแม่ออกไป จะส่งผลอะไรกับ TR บ้าง เพราะข้อตกลงการซื้อขายก็เป็นไปตามราคาตลาดอยู่ดี

ผมชอบมากกว่าหากผู้บริหารไม่ลงทุนแบบซื้อหุ้นบริษัทร่วม แต่ควบรวมเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ต่างสาขาน่ะครับ (อันนี้ผมคิดเองเล่นๆ ไม่ทราบว่าเป็นไปได้รึเปล่า)

เพราะการถือหุ้นบริษัทร่วม สิ่งที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ก็คือกำไรทางบัญชีที่ไม่รู้ว่าจะกลับมาเป็นเงินสดถึงมือเราเมื่อไหร่ นอกจากจะมีปันผลที่เหมาะสมเช่น TCB โดยกระแสของเงินจะเป็นแนวนี้

TR --> สร้างเงินสด --> เอาไปลงทุนในบริษัทร่วมโดยการถือหุ้นเพิ่ม --> ผู้ถือหุ้นในบริษัทร่วมก่อนหน้าซึ่งก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เงินเข้าเป๋า หรือนำไปขยายกิจการต่อไปเรื่อยๆ --> บริษัทร่วมเติบโตมีกำไร --> แสดงในส่วนแบ่งกำไรในงบ TR --> พอโตจนได้ที่ แทนที่จะจ่ายปันผล บริษัทแม่กลับสร้างกิจการใหม่ขึ้นมา --> บริษัทร่วมของเรานี้ก็เอาไปลงทุนต่อในบริษัทร่วมใหม่นั้น --> ไม่รู้จบ

จนกว่าจะมีกรณีแบบ TCB คือได้เป็นงินปันผลคืนกลับมา ไม่เช่นนั้น ก็เหมือนกับการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้บริษัทแม่เท่านั้นล่ะครับ ในขณะที่ผู้ถือหุ้น TR ได้เพียงกำไรทางบัญชีที่ไม่มีวันจะกลับมาเป็นเงินสด หากบริษัทแม่ยังสร้างบริษัทใหม่และใช้เงินทุนจากบริษัทร่วมด้วยกัน แทนที่จะระดมทุนจากแหล่งอื่นๆ

ผลก็คือ wealth ของผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ถูกโอนอย่างละม่อม ทีละน้อย ทีละน้อย ไปที่บริษัทแม่ โดยบริษัทแม่ไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่เลย (มองในแง่ร้ายไปรึเปล่า)

จนกว่าซักวันหนึ่ง (ไม่รู้ว่ากี่สิบปีหรือกี่ร้อยปี) ที่บริษัทแม่จะหยุดการเติบโตหรือหยุดกิจการแล้วจ่ายเงินปันผลกลับมา

ในขณะที่การ take over มาเป็นบริษัทเดียวกันแบบ vertical integration จะทำให้สร้างมูลค่าได้โดยตรง เพราะช่วยลดต้นทุน (ปัจจุบันบริษัทยังต้องซื้อจากบริษัทร่วมในราคาตลาด) หรือเพิ่มรายได้ทางตรง ซึ่งผลออกมาก็จะเป็นเงินสดที่ได้ใน TR เองดัง flow นี้

TR --> สร้างเงินสด --> ลงทุนสร้างโรงงานผลิตเยื่อหรืออื่นๆโดยเป็นชื่อตัวเอง --> ต้นทุนลดลง --> กำไรเงินสดสูงขึ้น --> เงินสดสูงจนล้น --> ปันผลออกมา --> เงินที่เหลือไปหาที่ลงทุนต่อ --> ต้นทุนต่ำลงอีกหรือรายได้เพิ่มขึ้นอีก --> เงินสดสูงขึ้น --> เพิ่มปันผลอีก

จะเกิดอะไรขึ้นครับ หากบริษัทร่วมที่ลาวที่เพิ่งปลูกต้นไม้มีกำไรแต่ขยายตัวต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีการจ่ายปันผลกลับมาเป็นเวลาหลายๆปี ซึ่งเค้าเองสามารถโตได้ด้วยการเพิ่มทุนจากเงิน TR ที่คอยซื้อหุ้นเพิ่มเรื่อยๆ ทุกปีๆ

คำตอบก็คือ เงินสดหรือกำไรใน Retain earning ของ TR จะเป็นแหล่งเงินทุนชั้นดีให้บริษัทร่วม และจะแสดงให้เห็นในงบดุลเงินลงทุนของบริษัทร่วมที่โตเอาๆ แต่กลับไม่มีเงินปันผลตอบแทนกลับมาเลย โดยกำไรทางบัญชีส่วนหนึ่งจะได้มาจากส่วนแบ่งเหล่านี้ (ในขณะที่ปันผลยังต่ำเตี้ยเหมือนเดิม เพราะต้องคอยเอาเงินไปป้อนให้บริษัทร่วม) สังเกตได้จากกำไรทางบัญชีสูงขึ้นเรื่อยๆจากส่วนแบ่งบริษัทร่วม แต่เงินสดอิสระยังเท่าเดิม

ในขณะที่การที่บริษัท TR ไปเป็นคนปลูกป่าที่ลาวเอง จะให้ผลที่แตกต่างกัน นั่นคือกำไร TR จะสูงขึ้นเนื่องจากได้ต้นทุนที่ถูก ผลตอบแทนจะได้กลับมาเป็นเงินสดที่สูงขึ้นในงบดุล ไม่ใช่ เงินลงทุนในบริษัทร่วม และแน่นอนว่า เงินสดเหล่านี้จะกลับมาตอบแทนกลับให้ผู้ถือหุ้น TR โดยตรงในรูปแบบเงินปันผล

นี่อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่การประเมินมูลค่ากิจการ ควรประเมินจากกระแสเงินสดอิสระ ไม่ใช่กำไรทางบัญชีที่สามารถโยกย้ายถ่ายเทให้สวยหรูโดยที่นักลงทุนรายย่อยไม่รู้ตัว

ผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยครับ

อ้อ อีกวิธีหนึ่งที่ผมคิดว่าบริษัทจะสามารถถ่ายเทเงินสดแบบเนียนๆไปให้บริษัทร่วมก็คือการซื้อขายโดยกำหนด term การชำระเงินครับ

เช่น ถ้า TR ต้องซื้อเยื่อกระดาษจากบริษัทที่แคนาดา แต่เนื่องจากน้องแคนาดากำลังเติบโตและต้องการเงินสดไปลงทุนต่อเนื่อง จึงขอให้ TR จ่ายเงินให้เร็วๆหน่อย จากเดิมที่ถ้าซื้อที่อื่น TR จะจ่ายเงินภายใน 60 วัน พอเป็นน้องแคปุ๊บ บริษัทใจดี 7 วันก็โอนเงินให้เลย งานนี้น้องแคสบายเพราะไม่ต้องกู้เงินเพิ่มซักนิด

คนที่ทำธุรกิจจะรู้ซึ้งดีถึงเจ้าตัว working capital ว่าสำคัญต่อการเติบโตขนาดไหน การที่ TR ยอมจ่ายเงินให้น้องแคเร็ว จะทำให้บริษัทต้องอั้นเงินไว้ก้อนหนึ่งเพื่อมาหมุน ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้มากเท่าที่ควร

หรือถ้าน้องอินโดที่เป็นลูกค้า TR บอกว่า เค้าต้องการเงินหมุนเวียนเพิ่มขอให้ยืดระยะเวลาชำระหนี้จากปกติ 30 วันเป็น 60 วัน ก็จะส่งผลให้ TR ต้องอั้นเงินไว้อีกก้อน เพราะเงินไหลเข้ามาช้าลง

การที่บริษัทมี % working capital สุงๆจะทำให้เป็นอุปสรรคอย่างมากในการเติบโต เพราะยิ่งโต จะยิ่งต้องการเงินหมุนมากขึ้น

ผิดถูกอย่างไร รบกวนชี้แนะด้วยครับ

ปล. ผมมีหุ้นนิดนึงนะครับ ไม่อยากให้รีบซื้อกันจนราคาสูงเกินไป

ที่มา http://doodeemak.blogspot.com/2010/06/tr.html

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: หาเพื่อนคุย ที่ เมษายน 29, 2014, 08:21:39 PM
กราฟ หุ้น  :: TR [บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)]

http://siamchart.com/stock-chart/TR/ (http://siamchart.com/stock-chart/TR/)

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: หาเพื่อนคุย ที่ เมษายน 29, 2014, 08:32:23 PM
หุ้นหมัดน๊อค (ภาคขยายความ)
มีคนอยากให้ผมยกตัวอย่างหุ้นหมัดน๊อคที่เห็นได้ชัดๆในช่วงนี้ ... จริงๆแล้วผมเองก็ไม่ค่อยกล้าที่จะมาทำนายล่วงหน้าเท่าไหร่ว่าหุ้นไหนจะเป็นยังไง... เพราะหลายๆครั้งก็มีพลาดอยู่เหมือนกัน.. บอกๆไปเดี๋ยวจะมีคนมาติดหุ้นตามจะซวยกันหมด ...

จริงๆแล้วระหว่างที่ผมเขียนบทความเจ้าหุ้นหมัดน๊อคอันที่แล้ว มีหุ้นอยู่ตัวนึงที่ผมนึกถึงอยู่คือบริษัทไทยเรยอน หรือมีตัวย่อว่า TR คุณสมบัติของ TR นี่เรียกได้ว่าเข้าแก๊ปจากบทความที่แล้วเป๊ะเลย .. คือมีแนวโน้มธุรกิจและผลกำไรที่ดี และมี PE ต่ำ

TR ที่ทำเส้นใยเรยอนครับ .. เป็นบริษัทระดับโลก อยู่ในกลุ่ม Grasim ซึ่งเป็นบริษัทอินเดีย มีคู่แข่งอยู่ในตลาดโลกอยู่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น .. เรียกได้ว่าผูกขาดกลายๆเหมือนกัน เลยทำให้เป็นธุรกิจผลิตเส้นใยที่ดูไม่น่าจะมีกำไรดีเท่าไหร่ แต่ดันกำไรดีมากๆ เมื่อปีก่อนมี Gross Profit Margin ประมาณ 22-23 กว่า % ซึ่งสูงมากๆ สำหรับธุรกิจที่ดูน่าเบื่อแบบนี้

ผมมาเจอมันเมื่อประมาณกลางๆปี 50 เห็นว่าบริษัทมีการขยายกำลังการผลิตอย่างมาก จากที่ไม่ได้ขยายมากนาน.. ก็เลยดูว่าน่าจะมีอะไรดีให้ติดตาม เลยค้นไปต่อ .. พยายามหาราคาเส้นใยเรยอนจาก Google แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ แต่พอดีไปเจอราคาของ Cotton ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนกัน .. ผมก็เลยเอาราคาของ Cotton เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ .. ก็เห็นว่าราคา Cotton นั้นก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เลยคิดเอาเองว่าเรยอนก็น่าจะขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะถ้า Cotton แพง คนก็จะเปลี่ยนไปใช้เส้นในอื่น .. พอมาใช้เรยอนเยอะขึ้น ตามหลัก Demand Supply ก็น่าจะทำให้เรยอนเพิ่มตาม ... แต่หลักฐานที่ชัดเจนว่าจะดีก็ยังไม่มีครับ เพราะเป็นข้อมูลที่เดาๆเอาเอง

แต่พอดูจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว จากเดิมมีกำลังประมาณ 3 สายการผลิต .. บริษัทเพิ่มในช่วงต้นปี 50 ไป 1 สาย .. และมีกำลังลงเครื่องจักเพิ่มปี 51 อีก 1 สาย แถมสายการผลิตใหม่ก็เป็นสายที่ทันสมัยกว่า สามารถผลิตเส้นใยเรยอนก็ได้ .. หรือเส้นในโมดาลก็ได้ (ซึ่งเป็นเส้นใยที่กำไรดีกว่าเรยอนอีก) นอกจากนี้บริษัทยังขยายโรงงานไปทำวัตถุดิบเอง ทั้งคาร์บอนไดซัลไฟ รวมถึงย้อนไปปลูกต้นไม้ที่เป็นวัตถุดิบหลักอีกตัวหนึ่ง .... เห็นแบบนี้แล้วผมก็ดูว่าแม้ราคาเรยอนไม่ได้เพิ่มขึ้น (ซึ่งผมดูจากราคา Cotton แล้วก็น่าจะขึ้นนะ) ลำพังแค่กำลังการผลิตที่เพิ่มใหม่ก็น่าจะทำให้บริษัทมี Growth ในระดับที่ดีได้แถว 25-30% ถ้าราคาเส้นใยยังเพิ่มขึ้นได้อีก .. Growth ของกำไรอาจจะได้เห็นเกิน 30-35% ได้

ตอนที่ผมซื้องบออกมาแล้ว 2 ไตรมาสได้กำไรประมาณ 4.4 บาทต่อหุ้น ผมคิดแบบง่ายๆคือเอา 2 คูณไปเป็น 8.8 บาทต่อหุ้น เป็นกำไรทั้งปีแบบหยาบๆ ตอนนั้นหุ้นราคาประมาณ 40 บาทคิดเป็น PE ประมาณ 4.5 เท่าซึ่งน่าสนใจมากๆกับหุ้นที่มี Growth แบบนี้ และถึงแม้ว่ากำไรอาจจะไม่เป็นไปตามที่ผมคาด แต่ด้วยราคาที่ซื้อมาไม่แพงเทียบกับ PE แล้ว ผมว่าความปลอดภัยก็น่าจะมีระดับหนึ่ง เลยซื้อหุ้นเข้าไปเรื่อยๆ

ผมซื้อหุ้นไปไม่นานได้ราคาเฉลี่ยแถวๆ 44 บาท งบก็ประกาศออกมาว่าบริษัทได้กำไรในไตรมาส 3 ประมาณ 3.2 บาทต่อหุ้น .. ซึ่งเกินที่ผมตั้งใจว่าจะเป็น 2.2 บาทไว้สูงมาก ราคาหุ้นก็ไปยืนอยู่แถวๆ 50 บาทอยู่ได้พักใหญ่ ... ณ ตอนนี้ผมมีผลตอบแทนแล้วประมาณ 13-14% ซึ่งก็ไม่น้อยเลยด้วยระยะเวลาสั้นๆ .....

สาเหตุที่งบออกมากำไรดีนั้น เนื่องจากกำลังการผลิตใหม่ (สายที่ 4) ทำให้บริษัทผลิตสินค้าออกมาขายได้มากขึ้น บวกกับราคาเส้นในเรยอนนั้นสูงขึ้นจนทำให้ Gross Margin ที่เคยทำได้ประมาณ 23 ต้นๆนั้นพุ่งไปถึง 30% .... ทำให้ผมยิ่งมั่นใจว่าผมเริ่มมาถูกทางแล้ว กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นก็เห็นผลชัดเจนดี ราคาเรยอนก็เพิ่มขึ้นตามที่คิดไว้ (จริงๆเพิ่มสูงกว่าที่คิดไว้เยอะเลย แฮะๆ) ผมก็เลยถือหุ้นต่อไป แม้หุ้นจะไม่ค่อยขยับไปมากเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับกำไรที่เกินคาดขนาดนี้ ....

แต่เมื่อไม่นานมานี้อาจจะด้วยว่ามีคนมาสนใจหุ้น TR เพิ่มมากขึ้น และเห็นว่าน่าจะมีแนวโน้มที่ดี จากหุ้นที่ไม่ค่อยมีใครสนใน Trade กันที่ PE ประมาณ 5-6 เท่ามาตลอด .. ราคาเริ่มไต่ขึ้นมาเรื่อยๆจนมาสูงถึง 70 บาทในเวลาไม่นานมาก ... (ณ เวลานี้ผมได้ผลตอบแทนไปแล้ว 59%) ซึ่งกำไรที่ทำไว้ 3 ไตรมาสแรกประมาณ 8 บาทนั้น เมื่อรวมกับกำไรในไตรมาส 4 ที่ผมคาดไว้น่าจะประมาณ 3 บาท (ให้น้อยกว่าไตมาส 3 ที่ทำได้ 3.2 บาทนิดหน่อย เพื่อความปลอดภัยในการประมาณ) จะทำให้ TR มีกำไรทั้งปีประมาณ 11 บาท เทียบกับราคา 70 ก็ Trade กันที่ PE 6.4 เท่าซึ่งสูงกว่าที่เคยเป็นมาพอสมควร ... (ผมแอบหวังว่าตลาดให้ความสนใจมากขึ้นจะปรับ PE ของ TR ให้เพิ่มขึ้นได้กว่าที่เคยเป็นที่ 5-6 มาอยู่ในระดับ 6-7 เท่า)

จากการที่ผลกำไรของบริษัทนั้นดีขึ้นเรื่อยๆจากการขยายกำลังการผลิตสายที่ 4 และราคาเส้นในที่สูงขึ้น ทำให้ไตรมาส 3 ทำกำไรได้ประมาณ 3.2 บาท ผมก็คิดต่อเอาเองเล่นๆว่า ในช่วงเดือนมีนาปี 51 สายการผลิตสายที่ 5 จะสามารถเริ่มผลิตได้ตามแผน บวกกับการที่บริษัทย้อนกลับไปทำวัตถุดิบเอง ก็จะทำให้บริษัทมีกำไรที่น่าจะสูงขึ้นกว่า 3.2 บาท ..

ผมแอบฝันไปว่าบริษัทจะทำกำไรได้ถึง 4 บาทต่อไตรมาส ... (เพื่อนๆก็เตือนๆกันบ้างอยู่เหมือนกัน ว่าฝันเกินไปรึเปล่า) แต่คิดในใจแล้วทั้งปีก็น่าจะได้ 16 บาท ... เอ้า เป็น 15 ก็ได้.. ลดให้นิดนึง ที่ราคาแถวๆ 68-70 บาทก็คิดเป็น PE เพียง 4.67 เท่าเท่านั้นเอง ...

แม้ราคามันจะขึ้นมาเยอะ แต่กำไรมันก็วิ่งเร็วไม่แพ้กัน ทำให้ PE มันยังไม่สูงมาก เห็นยังนี้แล้วผมก็เลยซื้อหุ้นเพิ่มเข้าไปอีกนิดหน่อยแถวๆ 68-69 บาท โดยคาดหวังว่าไตรมาส 4 จะทำกำไรได้ซัก 3 บาท แล้วค่อยเพิ่มเป็น 4 บาทต่อไตรมาสในไตรมาสต่อๆไป ....

ณ เวลานี้มีพี่ๆบางคนผมว่า บริษัทอาจจะทำได้ถึงไตรมาสละ 5 บาทก็ได้เป็น .. แต่ผมก็ยังว่ามันดูเยอะไปหน่อย ... แค่ 4 บาทผมก็ดีใจจะแย่อยู่แล้ว ... ถ้าทำได้ 15 บาทต่อหุ้นแล้ว PE 8 เท่า ราคาอาจะได้เห็น 120 บาท ... นี่คิดจากที่ผมซื้อครั้งแรกแถวๆ 44 เป็นผลตอบแทนถึง 172% เลยนะเนี่ย

ระหว่างนี้ก็ยังมี Update ราคาเส้นใยอยู่บ้าง ... หาราคา Cotton ดู ก็ยังมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ .... แม้จะคิดไว้แต่แรกว่าไตรมาส 4 นี่ทำได้ 3 บาทก็ดีแล้ว....

เมื่อเย็นวันนี้นี่เอง งบ TR ไตรมาส 4 เพิ่งออกมาให้เห็น .... ผมเห็นกำไรแล้วก็ตกใจตะลึง .. O_O บริษัทสามารถทำกำไรได้ประมาณ 4.4 บาทเลย ... เกินที่ผมคิดไว้เยอะไปไกลมาก ไปดูในงบให้ละเอียดขึ้น ก็เห็นว่ารายได้เพิ่มขึ้นมาก (ผมนับเฉพาะรายได้จากการขายนะครับ คนที่ไปดูงบแล้วดูรายได้รวมอาจจะต่างจากที่ผมเขียนไว้)

... จากปีที่แล้วทำได้เฉลี่ย Q ละ 1300 มา Q1-1418, Q2-1596, Q3-1915 และ Q4 ทำได้สูงถึง 2336 ล้านบาท และ Margin ก็เพิ่มจาก Q3 ที่สูงมากอยู่แล้วที่ 30% มาเป็น 37% .... แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าเส้นใยเรยอนต้องมีราคาเพิ่มขึ้นมากแน่ๆ บริษัทถึงทำกำไรขั้นต้นเป็น % ได้สูงมากขนาดนี้

วันนี้งบออก ไม่รู้พรุ่งนี้ราคาหุ้นจะเป็นยังไงบ้าง .. เสียดายที่ผมซื้อหุ้นตัวนี้ไว้ไม่เยอะมาก (เพราะปัญหาเรื่องสภาพคล่อง + กับตังค์หมดพอดี) ถ้าซื้อไว้เยอะๆคงจะกำไรเยอะกว่านี้อีกเพียบ .. (สุธาษิตจากพี่พอใจใน ThaiVI ที่บอกว่า "รู้อะไรไม่สู้รู้งี้" ยังคงใช้ได้ดีเสมอในทุกสถานการณ์)

วันนี้พี่ที่บอกไว้ว่ากำไรต่อหุ้นปีหน้าได้ซัก 5 บาท ก็อาจจะไม่ใช่ฝันเกินจริงๆแล้วก็ได้ครับ ... ถ้าทำได้จริงบริษัทมีกำไรทั้งปีที่ 20 บาทต่อหุ้น .. บวกกับการที่คนมาสนใจหุ้นตัวนี้มากขึ้น เห็นความแข็งแกร่งและแนวโน้มธุรกิจที่ดีมากขึ้น อาจจะทำให้ PE ไปถึง 8 เท่า ... ราคาหุ้นคงมีลุ้นที่ 160 บาทได้ ... คิดจากราคาที่ 44 บาทซึ่งเป็นทุนของผม ... คิดได้เป็นผลตอบแทนถึง 264% ในระยะเวลาปีมาณ 1 ปีกว่าๆเท่านั้นเอง

นี้แหละครับ .. หุ้นหมัดน๊อค ที่ผมพูดถึง พอจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นรึยัง ....

ปล.1 ราคาหุ้นในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เกินคาดเดาครับ .. ที่ผมเขียนไปเป็นการคาดการณ์ของผมเองล้วนๆ โอกาสผิดพลาดก็อาจจะมีสูง เพราะเวลาที่ถือหุ้นตัวไหนอยู่เยอะๆ ผมชอบจะมีอาการ Bias คิดเข้าข้างหุ้นตัวเองอยู่พอสมควร .. ต้องระวังจุดนี้ด้วย (เพราะผมเชื่อว่าได้อาการเข้าข้างหุ้นตัวเองที่ไม่ใช่ผมคนเดียวหรอกครับที่เป็น .... คนเล่นหุ้นส่วนใหญ่ก็เป็นกันทั้งนั้น)

ปล.2 มีหลายครั้งที่ผมคิดผิดในหุ้นบางตัว ... เช่นกำไรไม่เป็นไปตามที่คาดบ้าง ไม่ค่อยมีคนมาสนใจบ้าง..ทำให้ PE ที่น่าจะสูงขึ้นกลับนิ่งอยู่เหมือนเดิม ... ก็ทำให้ผลตอบแทนไม่ได้สูงอย่างที่ตั้งใจ .. แต่อย่างไรก็ตาม .. การที่ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำ แม้กำไรจะไม่ดีอย่างที่คิด .. หุ้นก็มักจะไม่ลงแรง หรือการซือ้หุ้นที่มีกำไรเติบโตที่พอใช้ แม้ PE ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น เราก็ยังได้ผลตอบแทนเท่าๆกับกำไรที่เติบโตซึ่งก็ยังดี นอกจากจะเป็นเหตุการณ์ที่แย่ที่สุด คือนอกจากกำไรจะไม่โตแล้ว ยังกำไรลดลงด้วย .. และยิ่งกำไรลดลงคนก็อาจจะมองหุ้นแต่ลง PE ก็อาจจะโดนปรับลดลงได้ ... ทำให้ขาดทุนได้เหมือนกัน ... เพราะฉะนั้น จะซื้อหุ้นอะไรต้องศึกษาให้ดีนะครับ ไม่ใช่เห็นใครบอกว่าดีก็ซื้อๆตามโดยไม่ได้ดูพื้นฐานด้วยตัวเอง โอกาสขาดทุนมันสูง ...

ที่มา http://thai-value-investor.blogspot.com/2007/11/blog-post_29.html

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: หาเพื่อนคุย ที่ เมษายน 29, 2014, 08:38:32 PM
tr เป็นหุ้นตัวนึงที่ผมติดตาม และเคยเขียนกระทู้เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วครับ

หุ้น2ตัวนี้ไม่มีคำว่าสายหากคิดจะซื้อ

ก่อนที่ราคาจะขึ้นไปปลายปีที่แล้ว ผมถืออยู่นิดหน่อยที่ 35 บ.เพราะเก็งว่าการขยายกำลังการผลิตเสร็จแล้ว กำไรน่าจะเพิ่มขึ้น แต่พอได้กำไร 10% ผมก็ขายไปซะแล้วจำได้เลาๆว่าเจอตัวไหม่ที่น่าสนใจกว่า

หลังจากนั้นราคาก็ขยับตัวขึ้นตลอด จนต้นปีนี้ไปถึง 90 บ. สาเหตุที่ราคาหุ้นขึ้นไปมาก ผมก็เดาๆว่ามีนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาเก็งกำไรผลประกอบการเช่นกัน เงินเข้ามามากแต่หุ้นไม่มีสภาพคล่อง ราคาก็เลยขึ้นไปเยอะอย่างที่เห็น

เผอิญอีกเหมือนกันที่ผลประกอบการช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมาดีมากๆ เลยทำให้ทุกอย่างดูดีไปหมด จำได้ว่าประกาศผลประกอบการ ผมยังอยากจะซื้อที่ราคาเปิดเลยครับ คิดง่ายๆว่าเอา q ล่าสุดคูณ 4 เลย ที่ราคา 80บ. P/E ยังต่ำมากเลย แต่ด้วยความระแวดระวังผมอ่านรายงานผลการดำเนินงานของ MD อ่านรายงานประจำปี 56-1 56-2 และฟังจากเพื่อนๆที่ไปประชุม เริ่มมีสัญญานเตือนจากผู้บริหารทำนองว่าที่กำไรเพราะมีสต็อควัตถุดิบราคาต่ำ

ผมกลับไปดูผลการดำเนินงานในอดีตปรากฎว่า 5 ปีที่ผ่านมามีปี 2004 ไตรมาสเดียวที่มีกำไรขั้นต้นสูงสุดที่ 34% แต่ปี50 ที่ผ่านมา 2 ไตรมาสล่าสุด tr มีกำไรขั้นต้นถึง 37 และ 40% ตามลำดับ ผมชักลังเลว่าเป็นกำไรที่ too good to be true หรือเปล่าไม่คอ่ยแน่ใจเหมือนกันเพราะนอกจากมีสต็อคราคาต่ำแล้ว อาจเป็นเพราะบริษัทเริ่มผลิตสินค้าที่มีมาร์จินสูงก็เป็นได้ (modal)

ส่วนที่ราคาลงมามากในตอนนี้ ผมก็เดาอีกละว่านักลงทุนที่เคยซื้อ พอเริ่มมีข่าวด้านลบหรืออาจเป็นเพราะต้องการทำกำไร ก็ขายหุ้นออกมา ทั้งแบบมีจริยธรรมและไม่มีจริยธรรม (ไม่รู้เหมือนกันว่าต่างกันอย่างไร ) ส่วนที่ว่าน่าจะเข้าไปรับหรือเปล่าเพราะราคาลงไปมาก

ถ้าสมมุติเป็นผมคงไม่เข้าซื้อหุ้นเพียงเพราะราคาลงมามากเพียงอย่างเดียว แต่ถ้ามั่นใจว่าบริษัทจะยังทำกำไรได้ดี กำไรไม่ตกหรือตกไม่มาก เราสามารถเข้าถึงราคาเรยอน ราคาวัถตุดิบ ผมก็อาจจะเข้าไปรับครับ แต่ถ้าไม่มีข้อมูล ผมก็คงไม่กล้าเพราะนั่นคือความไม่แน่นอน เป็นความเสี่ยง

ที่มา http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=30

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: หาเพื่อนคุย ที่ เมษายน 29, 2014, 08:41:23 PM
หุ้น tr ดีจริงหรือ

http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?p=31357 (http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?p=31357)

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ กันยายน 24, 2014, 02:15:19 AM
การสยายปีกของอาณาจักรธุรกิจ BIRLA ในไทย

นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2530)
เป็นข่าวที่เก่ามากๆแล้วนะครับ

ครั้งหนึ่ง เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน สุริยน ไรวา นักธุรกิจรุ่นบุกเบิกที่ได้รับสมญานามว่า "THE KING'S MAKER" ในวงการนักธุรกิจไทย ด้วยความที่ "เขา" เป็นคนมีบุคลิกภาพตื่นตัวอยู่เสมอและมี CONNECTION กับกลุ่มธุรกิจระดับ "เจ้าพ่อ" ทั้งหลายในเอเชีย มีความต้องการลงทุนทำธุรกิจสิ่งทอในประเทศไทย เขาได้ชวนกลุ่ม BIRLA แห่งอินเดียซึ่งเป็น "เจ้าพ่อ" สิ่งทอในอินเดีย ให้มาลงทุนทำสิ่งทอร่วมกับเขา แล้วในที่สุดในปี 2512 โรงงานผลิตเส้นด้ายที่ทำจากวัตถุดิบ เรยอน เตตโตรอนและลินนินในนามบริษัทอินโดไทยซินเทอติคซ์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น และบริษัทนี้เอที่เป็นฐานทางธุรกิจสิ่งทอบริษัทแรกของอาณาจักร BIRLA ในประเทศไทยด้วยทุนจดทะเบียน 14 ล้านบาท ภายใต้การสนับสนุนทาบงการเงินแก่โครงการจาก BRARAT OVERSEA BANK แห่งอินเดียสาขาประเทศไทย

บริษัท INDO-THAI SYNTHETIC ดำเนินกิจการไปได้ด้วยภายใต้การบริหารของกลุ่ม BIRLA ในปี 2519 บริษัทได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทแก่สาธารณชนได้ ซึ่งในปีดังกล่าว บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 21 ล้านบาท แต่เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ดี ได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ. จึงมีแต่นักลงทุนสนใจซื้อหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ แต่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่มีใครยอมขายการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาด จึงไม่มีการซื้อขายมาตั้งแต่กลางปี 2528

ความสำเร็จของบริษัท INDO-THAI SYNTHETIC ในทางธุรกิจ ทำให้กลุ่ม BIRLA ตื่นตัวสยายปีกอาราจักรธุรกิจสิ่งทอของตนในไทยมากขึ้น ในปี 2517 บริษัทไทยเรยอน และบริษัท CENTURY TEXTILES ได้รับการจัดตั้งพร้อมกันในปีเดียว บริษัทไทยเรยอน มีหน้าที่ผลิตวัตถุดิบเส้นใยประดิษฐ์ เรยอน (RAYON FIBRE) ภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมจาก บี.โอ.ไอ. (B.O.I.) แต่เพียงผู้เดียว เพื่อทดแทนการนำเข้า บริษัทจดทะเบียนครั้งแรกด้วยทุน 3 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 98 ล้านบาททันทีในปี 2518 พร้อมกับปรับเปลี่ยนฐานะของบริษัทเป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ด้วยผลผลิต 2 ชนิด อันได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์เรยอน ที่ป้อนโรงงานผลิตเส้นด้ายเรยอนในประเทศไทย ปีละ 3,650 ตัน และโซเดียมซัลเฟต ปีละ 4,380 ตัน เพื่อป้อนโรงงานผลิตสบู่และผงซักฟอก ในประเทศ ที่มีตลาดภายในประเทศรองรับเต็มเกือบ 100% การประกอบการของบริษัทไทยเรยอนจึงเป็นไปได้ด้วยดี โดยมีธนาคารกรุงเทพไทยพาณิชย์ และธนาคารนครธน เป็นกลไกที่พร้อมจะอัดฉีดพลังทางการเงินแก่บริษัทอย่างเต็มที่

"หุ้นของบริษัทไทยเรยอน ในตลาดหลักทรัพย์มี LIQUIDITY ต่ำ เพราะผู้ถือหุ้นเดิมไม่ยอมปล่อยหุ้นออกมาขาย แต่ความต้องการซื้อหุ้นนี้มีสูง ลักษณะสภาพคล่องของหุ้นกลุ่ม BIRLA จะเป็นเช่นนี้เสมอ" แหล่งข่าวในวงกาตลาดหลักทรัพย์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงลักษณะหุ้นกลุ่ม BIRLA ว่าเป็นหุ้นที่น่าลงทุนระยะยาวแต่หาซื้อไม่ได้

เมื่อปี 2518 บริษัทไทยเรยอน ได้บุกเบิกการออก "หุ้นกู้" ในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทแรก จำนวน 50 ล้านบาท โดยธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้อาวัลและรับรองขณะที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย ได้รับมอหบมายให้เป็นผู้จัดการจัดจำหน่ายและค้ำประกันการจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ในรายงานประชุมคณะกรรมการบริษัทที่แจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ได้ได้ระบุว่า หุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายนั้น บริษัทจะนำเงินทุนมาผลิตสินค้า "VICOSE RAYON STAPLE FIBRE"

"การออกหุ้นกู้ในสมัยก่อน ต้องมีธนาคารอาวัลและรับรอง เพราะฐานะบริษัทผู้ออกยังไม่เป็นที่รู้จักแก่นักลงทุนไทย" แหล่งข่าวส่วนจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซียกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงลักษณะการออกหุ้นกู้ของบริษัทไทยเรยอนในสมัยก่อน

12 ปีต่อมาช่วงเดือนเมษายน ปี 2530 บริษัทไยเรยอน ก็ออกหุ้นกู้อีกเป็นครั้งที่สอง จำนวน 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 9.25% อายุไถ่ถอน 5 ปี โดยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย เป็นผู้จัดการ การจัดจำหน่ายและค้ำประกันฯเช่นเคย การออกหุ้นกู้ในครั้งหลังสุดนี้ ไม่ต้องมีธนาคารอาวัลและรับรองเพราะฐานะบริษัทไทยเรยอนเป็นที่รู้จักแก่นักลงทุนไทยมากขึ้น

ส่วนบริษัท CENTURY TEXTILES ซึ่งก่อตั้งในปีเดียวกับบริษัท THAI RAYON มีหน้าที่ผลิตเส้นใสสังเคราะห์ยี่ห้อ "CENTEX" ด้วยทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาทเพื่อป้อนโรงงานผลิตสิ่งทอประเภทผ้าผืนทุกชนิด

4 ปีต่อมา ในปี 2521 บริษัท THAI CARBON LACK ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นอีกบริษัทหนึ่ง ในเครือกลุ่ม BIRLA เพื่อผลิตวัตถุดิบชิ้นสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยสิ่งทอคือ CARBON BLACK

ต่อมาอีก 4 ปี ในปี 2525 บริษัทกลุ่ม BIRLA ได้ชวนบริษัท ALBRIGHT & WILSON ของอังกฤษ ร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัท THAI POLYPHOSPHATE & CHEMICAL ผลิตโซเดียมไทรโพลีฟอสเฟต เพื่อป้อนให้แก่อุตสาหกรรมผลิตผงซักฟอกในประเทศ

และในเครือข่ายล่าสุด THAI ACRYLIC FIBRE CO., LTD. กลุ่ม BIRLA ก็ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2530 เพื่อผลิต ACRYLIC FIBRE เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศ และส่งออกให้แก่โรงงานผลิตเส้นด้าย ACRYLIC แต่ผู้เดียวในประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทย

บริษัท THAI ACRYLIC FIBRE เป็นบริษัทที่เพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์ปี 2530 นี้เอง โดยมีผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมดอยู่ในกลุ่มผู้ถือหุ้น บริษัทไทยเรยอนซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่ม BIRLA ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย ทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท THAI ACRYLIC FIBRE ในปัจจุบันที่รายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่รายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (B.O.I.) ในช่วงขออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนโครงการ มีจำนวน 161 ล้านบาท

บริษัท THAI ACRYLIC FIBRE ผลิตวัตถุดิบ ACRYLIC FIBRE ปีละ 14,000 ตัน เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศปีละเกือบ 7,000 ตัน ส่วนที่เหลืออีก 7,000 ตัน บริษัทผลิตเพื่อส่งออก ตลาด ACRYLIC FIBRE ในประเทศไทย ก็คืออุตสาหกรรมผลิตเส้นด้ายอะคริริก ที่แต่เดิมมา สั่งวัตถุดิบ ACRYLIC FIBRE จากญี่ปุ่นและเกาหลี

โรงงาน ACRYLIC FIBRE ของบริษัทนี้เป็นโรงงานเดียวในประเทศไทยที่ผลิต ACRYLIC FIBRE และได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2529 และได้รับบัตรส่งเสริมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2530 นี้เองโรงงานจะตั้งที่ อ.บางปะอิน จ.อยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับจังหวัดอ่างทอง ที่กลุ่ม BIRLA ในประเทศไทยใช้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผTEXTILE RELATED INDUSTRY) ของกลุ่ม

"พื้นที่ในจังหวัดอ่างทอง กลุ่ม BIRLA เข้าไปจัดตั้งโรงงานหลายแห่งในกลุ่มนานแล้วคุณไปถามคนงานในจังหวัดอ่างทองได้เลยว่ารู้จักแขก BIRLA ไหม เขายิ่งใหญ่มากที่นั้น" พ่อค้าทอรายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

โรงงาน ACRYLIC FIBRE ใช้เงินลงทุนสูงถึง 1,232 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต 223.7 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจัดซื้อวัตถุดิบปีละ 168.48 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 840 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างตัวโรงงาน สำนักงาน และระบบสาธารณูปโภคภายในโรงงาน และค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน

ด้วยเหตุที่โครงการลงทุนนี้ใช้เงินลงทุนสูงนับพันล้านบาท การระดมทุนจึงเป็นงานครั้งใหญ่ของคณะกรรมการบริษัท จะใช้วิธีการระดมทุนด้วยวิธีการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งนิยมปฏิบัติกันมา แต่เพียงวิธีการเดียว คงไม่ง่าย แม้ว่าตัวโครงการจะดีมีความเป็นไปได้สูงต่อความสำเร็จด้วยระยะเวลาอันสั้นภายในไม่เกิน 4 ปี เพราะปัจจัยเกื้อหนุนจากระบบภาษีและสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยให้การส่งเสริม และการผูกขาดผลิตและจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ก็ตาม ก็คงไม่มีสถาบันการเงินแห่งใด หรือกลุ่มใด กล้าเสี่ยงปล่อยเงินกู้จำนวนนับ 1,000 ล้านบาท

"เป็นไปไม่ได้หรอกครับ ที่แบงก์จะปล่อยเงินกู้จำนวนสูงขนาดนี้แก่โครงการเดียวมันเสี่ยงเกินไป อีกประการหนึ่ง ขนาดเงินกองทุนของธนาคาร ก็ไม่ใหญ่โต ต้องระมัดระวังเพดานสินทรัพย์เสี่ยงต่อเงินกองทุน ต้องไม่เกินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เพราะการปล่อยสินเชื่อทุกชนิดต้องนับเข้าเป็นสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมด" แหล่งข่าวในธนาคารนครธน กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในฐานะที่รู้เรื่องโครงการนี้ดี

ดังนั้น ทางอกในการระดมทุนสู่โครงการจึงถูกจัดสรรออกมา 3 วิธีการคือ

- วิธีการแรก กำหนดมูลค่าเงินทุนจดทะเบียนไว้ 161 ล้านบาท โดยระดมจากคณะ
กรรมการผู้ถือหุ้นของบริษัท

- วิธีการที่สอง ให้ธนาคารซิตี้แบงก์และธนาคารนครธนเป็นผู้จัดการและอาวัลพร้อม
ทั้ง ACCEPTANCE ตราสาร FLOATING RATE NOTES ระยะไถ่ถอนคืน 4.5 ปี ที่บริษัทเป็นผู้ออก มูลค่า 300 ล้านบาท และให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 5 บริษัท และ ไอ.เอฟ.ซี.ที. เป็นผู้จัดจำหน่ายแก่สถาบันลงทุนและประชาชนทั่วไปอีกต่อหนึ่ง

- วิธีที่สาม ติดต่อธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มี CONNECTION กับธุรกิจของกลุ่ม
BIRLA ทำ SYNDICATED LOAN จำนวน 770 ล้านบาทให้กับบริษัท

การระดมทุนสู่โครงการ ได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วใน 2 วิธีการแรก เหลือแต่วิธีที่ 3 เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน คณะกรรมการบริษัทฯ กำลัง DEAL กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกรุงเทพอยู่ รูปการคงจะออกมาในลักษณะ ธนาคารกรุงเทพเป็น LEAD MANAGER เงินกู้ร่วมโครงการนี้ค่อนข้างแน่ เพราะทางธนาคารกรุงเทพมี CONNECTION กับกลุ่ม BIRLA ในไทยมาตั้งแต่ปี 1974 แล้ว โรงงานบริษัท CENTURY TEXTILE บริษัท ไทยเรยอน ซึ่งเป็นของกลุ่ม BIRLA ในไทยก็ใช้ FINANCIAL FACILITIES จากธนาคารกรุงเทพ อีกประการหนึ่ง ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารขนาดใหญ่ เงินกองทุนสูง มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจระดับยักษ์ใหญ่ทั่วเอเชีย "การทำ SYNDICATED LOANS ให้กับโครงการขนาดยักษ์ใหญ่ ๆ ระดับพันล้านบาท เป็นเรื่องไม่ยากสำหรับธนาคารกรุงเทพ" แหล่งข่าวในธนาคารไทยพาณิชย์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่ม BIRLA จะ RECRUITED FUNDS ก้อนขึ้นจากธนาคารกรุงเทพ

เมื่อ "ผู้จัดการ" ได้ตรวจสอบกลับไปยังธนาคารกรุงเทพ ก็พบว่า ความเป็นไปได้ที่กลุ่ม BIRLA จะให้ธ.กรุงเทพทำ SYNDICATED LOAN จำนวน 700 กว่าล้านบาทเพื่อนำมาใช้ในโครงการผลิต ACRYLIC FIBRE เป็นความจริง โดยกำลังอยู่ในขั้นการเตรียมเอกสารสัญญากัน

"ก็คงเร็ว ๆ นี้ คงเสร็จเรียบร้อย แต่มีหลายธนาคารนะไม่ใช่ธนาคารกรุงเทพเพียงธนาคารเดียว" แหล่งข่าวในธนาคารกรุงเทพกล่าว

กลุ่ม BIRLA ได้สยามปีกเข้ามาทำธุรกิจในไทยแล้ว 18 ปี อาณาจักรธุรกิจจำกัดวงอยู่ในสาขาอุตสาหรรมสิ่งทอและเกี่ยวเนื่อง (TEXTILE RELATED INDUSTRIES) และจะเน้นเฉพาะโครงการที่มีผู้ผลิตอยู่น้อยราย หรือยังไม่มีใครผลิตอยู่ก่อนเลย เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการสร้างความได้เปรียบในเชิงการผลิตและการตลาด ที่กลุ่ม BRIRLA ยึดถือมาตลอด

ลักษณะการแผ่ขยายอาณาจักรธุรกิจเช่นนี้ สอดคล้องกับความเห็นของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทย ที่ให้ข้อสังเกตว่า "กลุ่ม BIRLA จะผลิตสินค้าพวกวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่โรงงงานในบ้านเราไม่ได้ผลิตกันหรือผลิตได้น้อยราย เพื่อสร้างอำนาจการผูกขาด" แหล่งข่าวให้ข้อสังเกต
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 02, 2014, 02:24:13 AM
TR » การลงทุนแบบเน้นคุณค่า » ร้อยคนร้อยหุ้น
บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)                           

เส้นใยประดิษฐ์เรยอนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมปั่นด้ายและทอผ้า และเกลือโซเดียมซัลเฟต ซึ่งใช้ในผงซักฟอกและสิ่งทอ ในแคนาดา ผลิตเยื่อกระดาษชนิดละลายน้ำได้ และเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอน

กลุ่มธุรกิจสิ่งทอ,กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ,TCB ผงเขม่าดำ  ซึ่งเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมยางรถยนต์

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทาง TR ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นครับ
นอกจากทางผู้บริหารระดับสูงสองท่าน คุณมยุรีแล้ว
ผมว่าอย่างน้อยก็ผู้บริหารระดับคนไทยอีก 5-6 ที่ให้การต้อนรับ
และก็อยู่กับชาว TVI ตลอดระยะเวลาการเยี่ยมชม

และต้องขอบคุณชาว TVI ทุกท่านครับที่ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง
ทุกท่านมาก่อนและตรงเวลามากครับ ขอชมเชยและชื่นชมครับ
ผมเข้าใจว่ามีคนไปทั้งหมดรวม 34 ท่านครับ แถมนักข่าวอีก 2 ท่านครับ

ดีใจครับว่ามีผู้ถือหุ้นร่วมสิบท่าน และก็ผู้สนใจเยี่ยมชมกิจการก่อนตัดสินใจลงทุน
บางท่านพาแฟน (รวมตั้งแต่แฟนถึงภรรยา) บางท่านพาคุณแม่ไปด้วย
เป็นความคิดที่ดีครับ ที่สร้างความมั่นใจ เพื่อที่จะได้อนุมัติการลงทุนใน TR เพิ่มอย่างมั่นใจ
ส่วนตัวผมแล้วคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีครับที่นักลงทุนจะได้เข้าใจกิจการที่ลงทุนอย่างถ่องแท้
เยี่ยมชมโรงงาน สายการผลิต ขั้นตอนต่างๆ
การมีโอกาสพบผู้บริหารอย่างใกล้ชิด ทำให้เรามีโอกาสทราบข้อมูล ข้อคิดอย่างละเอียด
ผมคิดว่ามีบริษัท ในตลาดหลักไม่มากนักที่จะให้โอกาสนักลงทุนขนาดนี้
ถ้าเราคิดว่าจะลงทุนกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นระยะเวลายาวนาน
Company Visit น่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่เราควรจะทำ เพื่อให้แน่ใจครับ
ต้องขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง ผู้บริหารและคุณมยุรีอีกครั้งทั้งๆ ที่ผมก็เพิ่งทำความรู้จักตอนประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมาครับ

ผมขอสรุปเท่าที่จำได้ก็แล้วกันนะครับ

โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง ไม่ไกลอย่างที่คิดครับ ใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่าๆ แค่นั้นเอง
โรงงานอยู่ฝั่งตรงข้างเยื้องกับ TCB ซึ่งเป็นผู้ขาย stream ให้กับ TR
และยังเป็นผู้ขายไฟฟ้า 80 % ให้กับ TR อีกด้วยอีก 20% โดยการไฟฟ้า

เข้าประตูโรงงานจะพบส่วนสวยขนาดค่อนข้างใหญ่ หลายคนบอกว่าคิดว่า resort
หลังการทานของว่างที่ TR เตรียมไว้ ก็รับฟังวิดีโอทัศน์ของ birla group และ TR
ทำให้ทราบถึงความยิ่งใหญ่ของ birla ซึ่งเป็น No. 1 เกือบทั้งธุรกิจที่อยู่ รวมทั้ง company profile และความสำเร็จของ TR
หลังจากนั้นก็เยียมชมโรงงานประมาณ 45 นาที ตั้งแต่ขึ้นตอนแรกในการนำวัตถุดิบที่นำเข้า ขบวนการผลิตต่างๆ QC จนถึง finish goods
หลังจากนั้นก็มารับประทานอาหาร หลายคนโดยเฉพาะคุณยีน บอกว่าอาหารอร่อยมากๆๆๆๆ ทั้งอาหารไทยและอาหารอินเดีย
รับฟังผู้รับผิดชอบทางด้าน TPM (เข้าใจว่า total prodution(tive) management ซึ่งทาง TR เริ่มมาแล้วประมาณ 3 ปี อยู่ใน stage ที่ 5
โดยมีผู้มาขอเยี่ยมชมหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งบริษัทในเครือซิเมนต์อีกประมาณ 6 ครั้ง
ก่อนที่จะมารับฟัง presentation จาก Mr. Sanjay Mahajan VP- Commercial พร้อมทั้งตอบข้อซักถามอย่างละเอียด จาก
Mr. V.K. Kapoor - SVP, Mr. N.K. Jain - VP Production, Mr. Sanjay, คุณมยุรีและผู้บริหารคนไทย
ทาง TR ให้เวลาและความเป็นกันเองในการตอบคำถามมากเรียกว่า จะไม่ให้เรามีคำถามพกกลับบ้านเลย
หลังจากนั้นก็เดินทางกลับกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ

ขอขอบคุณลุงขวด (ขอยืนยันอีกครั้งว่าหนุ่มมาก) สมาชิกอาวุโสของชาว TVI ที่ให้เกียรติร่วมเดิ่นทางกับพวกเรา งานนี้ยังทราบด้วยว่าเป็นเจ้า TR เยอะทีสุดในคณะ
คุณลูกอิสานที่เดินทางมาไกล หวังจะคงจะได้ข้อมูล พร้อมคำตอบที่มีอยากจะทราบ
และหลายท่านในห้องนี้ครับ หวังว่าจะมีโอกาสได้ร่วมกิจการของ TVI ในโอกาสหน้าอีกครับ

เสียดายทั้งคุณมน และคุณ ayethebing ไม่ได้ไปด้วย เลยทำให้คำถามเรืองงบน้อยลงไปนิดครับ

ผมก็รายงานเท่านี้ก่อนครับ เพื่อนๆ ที่ไปร่วมงานต้องการเสริมก็ยินดีครับ
หรือเพื่อนๆ ในห้องนี้ต้องการทราบอะไรที่ผมสอบถามผู้บริหารมาแล้วก็ยินดีแชร์ข้อมูลให้ครับ

ขอให้ประสบผลสำเร็จในการลงทุนทุกท่านครับ

อ่านข้อมูลต่อ ได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างครับ

http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=4&t=3519&sid=ade3f39373abc0f3c6639d340c7bccd8 (http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=4&t=3519&sid=ade3f39373abc0f3c6639d340c7bccd8)

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 02, 2014, 04:10:12 PM
-มุมมองของบริษัท (ประหนึ่งvision)
"บริษัทฯ  ได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานโดยการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ ให้ก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตเส้นใยเรยอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก"

-มุมมองของนักลงทุน(แบบเราๆ)
ต้องการผลตอบแทนสูงๆ ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี ชอบแบบปีหนึ่งเกิน 100% อะครับ :lol:


- แล้วบริษัทจะทำอย่างไงละ (Mission)
"โดยการขยายการลงทุนทั้งในรูปแบบการขยายตัวไปข้างหลัง เช่น การลงทุนในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และโซดาไฟ และในรูปแบบขยายตัวไปข้างหน้า เช่น การลงทุนในอุตสาหกรรมปั่นด้าย ตลอดจนเพื่อขยายกำลังการผลิตเส้นใยเรยอน เพื่อให้เกิดต้นทุนการผลิตที่ประหยัด (Economy of scale)"

-แล้วนักลงทุนจะทำอยางไงดีละ
เนื่องจากเราต้องการผลตอบแทนสูงมาก จึงต้องหาหุ้นที่พร้อมจะเร่งราคาเพื่อที่จะได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันสั้น

-วิธีการของบริษัท คือ การที่บริษัทจะสามารถยืนอยู่ในตำแหน่ง ที่หนึ่งในโลกได้ ย่อมต้องมีโครงสร้างทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่มีได้ สร้างความสามารถในการแข็งขันให้สูงกว่าคู่แข่งทุกคน

-วิธีการของนักลงทุน
จะเอา 100% อัพเนี้ย มันเล่นบริษัทเดียวไม่ได้หรอกครับ มันต้องเล่นรอบ หาบริษัทที่มันกำลังจะเร่งมูลค่า(ออก w,แต่พาร์,ปันผลเยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้) ได้ก็จะดี ยิ่งถ้าให้ราคาสะท้อนอนาคตไป 3-4 ปียิ่งดี หุ้นขึ้นมากๆ เราก็ชิ่ง ไม่มี Brand loyalty อยู่แล้ว  :lol:

-ความกังวลของบริษัท
ต้นทุนของบริษัทผันผวน และไม่สามารถปรับราคาขายได้ตามต้นทุน
สภาพคล่องไม่มี
สู้คู่แข่งไม่ได้

-ความกังวลของนักลงทุน
ผลตอบแทนไม่ดี
หุ้นไม่ขึ้น

ถ้าเรามองอย่างใจเป็นกลางในประเด็นเรื่องเงินปันผล (แต่ผมเอียงมาทางนักลงทุน :lol: ) โดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา

เจ้าของบริษัทต้องการเป็นเบอร์ 1ในโลก การที่จะเป็นได้นั้น ย่อมต้องขยายกิจการอย่างมาก การลงทุนย่อมต้องมีต่อเนื่องจริงๆ ในขณะที่เจ้าของย่อมต้องการความเสี่ยงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เวลาเค้าวางแผน ธุรกิจระดับนี้ย่อมต้องวางไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี เงินทุนที่ต้องใช้ในแต่ละปีเพื่อความปลอดภัยย่อมต้องเตรียมตั้งแต่ปีนี้

ถ้าเราจะบอกให้เขาปันผลเยอะๆ แล้วถ้าอีกปีสองปีบริษัทขาดสภาพคล่องตอนนั้นค่อยมาเพิ่มทุน ถึงตอนนั้นเราเห็นท่าทางไม่ดี เราจะอยู่กันไหม??

เจ้าของเขาออกไปอยู่ตัวนู้นตัวนี้แบบเราไม่ได้น้าาาา  :lol:

ปล. แต่ถ้าบริษัทจะแตกพาร์ เพิ่มปันผลเป็น 10 บาท รับรองหุ้นวิ่งกระฉูด แต่ก็ไม่รู้นะว่ามันจะแป้กเมื่อไร เพราะมันก็เหมือนเราเร่งเวลา (แต่ผมก็ชอบนะ อิ่มแล้วก็ออก :lol: )

ที่มา คุณ Luty97    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 02, 2014, 04:13:20 PM
มาแชร์ข้อมูลเพิ่มครับ ผมโทรไปคุณกับคุณสุวรรณา IR ของ TR มา แต่เค้าก็ตอบอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ ผมสรุปที่น่าจะมีประโยชน์ๆ หน่อยได้ดังนี้...

1. ธุรกิจ Rayon มี Barrier to Entry สูงขนาดไหน?
- สูงอยู่ เพราะ ต้องใช้ Know-how และ Technology ทั้งในการสร้างโรงงาน และในการผลิตเส้นใยเรยอนให้ได้คุณภาพ และมีประสิทธิภาพ ทำให้คู่แข่งใหม่ๆ มาสู่ตลาดได้ยาก

2. คุณสุวรรณาบอกว่าตลาดดูซบๆ ผมถามว่าเพราะอะไร?
- คุณสุวรรณาบอกว่าเพราะราคาขึ้นมาเยอะ  :? เทียบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาราคาขึ้นมา 20% ถ้าเทียบทั้งปีราคาขึ้นมา 30% (ควรที่จะดีใจหรือเสียใจดีเนี่ย?)

3. ผมสงสัยว่าก่อนหน้านี้ที่มีการไป visit ในช่วงต้นปี 2007 ผู้ที่ไปร่วมการ visit บอกว่าจะผลิต modal ได้ 40 ตันต่อวัน แต่ทำไมตอนนี้ถึงกลายเป็น 85 ต้น?
- เค้าบอกว่าตอนแรกคงเป็นการ test run เลยผลิตได้ 40 ตัน แต่ตอนนี้โอเคแล้วผลิต modal ได้ทั้งหมดเลย 85 ต้นต่อวัน

4. การปรับปรุงสายการผลิตที่ 1 นี่ทำให้การผลิตลดลงขนาดไหนกันแน่?
- เค้าตอบไม่ค่อยได้ ผมเลยถามไปว่าลดจาก 70 ตันต่อวัน เหลือสักประมาณ 50-60 ตันต่อวันได้เปล่า เค้าก็ว่าคงประมาณนั้น (ผมว่าเชื่อไม่ค่อยได้เท่าไหร่ ดูเค้าก็ไม่รู้เหมือนกัน จะให้ดีคงต้องไปถามทาง operation จะดีกว่า) อ้อ... เค้าบอกว่าการปรับปรุงสายการผลิตที่ 1 เป็นการปรับปรุงกำลังการผลิต และคุณภาพ ดังนั้นถ้าปรับปรุงเสร็จจะผลิต modal ได้ด้วย

5. หลังจากปรับปรุงสายที่ 1 เสร็จแล้ว จะมีการปรับปรุงสายที่ 2 กับ 3 ไหม?
- คงจะมีการปรับปรุงสายที่ 2 กับ 3 ตามมา แต่ต้องให้สายที่สร้างใหม่ กับสายที่ปรับปรุงก่อนหน้าวิ่งได้โอเคก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะผลิตได้ไม่เพียงพอ

คำถามอีกหลายๆ ข้อคงต้องไปถามตอนประชุมผู้ถือหุ้น กับตอนไป Company Visit แฮะ เพราะบางเรื่องก็ลงลึกเกินไปหน่อย

หวังว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ นะครับ  :)

ที่มา คุณ picatos    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 02, 2014, 04:15:29 PM
เห็นหุ้นตกแล้วสยอง... เมินราคา แล้วมาคุยกันเรื่องพื้นฐานกันดีกว่า

ผมได้ไปอ่านรายงานประจำปีของ Lenzing กับ Birla มา ถึงได้เห็นความเหนือชั้นของ Lenzing ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้สินค้าที่ Lenzing ขายมีความหลายหลายกว่า Birla มากๆ (นอกจาก VSF และ Modal แล้วยังมี TECEL และ Lenzing FR) โดยที่ site แต่ละแห่งของ Lenzing จะมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเป็นของตัวเองเลย เพื่อที่จะปรับปรุงสินค้าของตัวเองให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย

นอกจากนี้ในรายงานประจำปี 2006 ของ Lenzing ได้รายงานสัดส่วนยอดขายของ Special Fibre (พวก modal, lyocell หรือพวก micromodal) ในปี 2006 ออกมาพอๆ กับ Standard Fibre เลยทีเดียว ซึ่งการเติบโตในช่วงที่ผ่านมาเป็นการเติบโตในส่วน Special Fibre เสียมากกว่า โดยแนวโน้มในอนาคตก็ยังคงเน้นไปที่ Special Fibre เหล่านี้

ทางด้าน Birla ก็พยายามที่จะดิ้นรนตัวเองให้หลุดออกจากการผลิต Rayon ธรรมดาซึ่งค่อนข้างเป็น commodity ไปสู่สินค้าที่มีมูลค่ามากขึ้น แต่ว่าผมรู้สึกว่าการให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Birla ยังเทียบชั้นกับ Lenzing ไม่ได้เท่าไหร่ แต่ก็คงต้องดูต่อไปว่า Birla จะ upgrade ตัวเองขึ้นมาได้มากขนาดไหน

ดูไปดูมา Lenzing นี่ถือเป็นผู้นำตลาดอย่างแท้จริงในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเทคโนโลยีการผลิตในจีนเป็นยังไงบ้าง ซึ่งผมก็ยังหาข้อมูลของผู้ผลิต rayon ในจีนไม่ได้เลย... ไม่ทราบว่าใครพอจะมีข้อมูลตรงส่วนนี้มาแชร์บ้างไหมครับ?

ที่มา คุณ picatos    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 02, 2014, 04:20:02 PM
ไม่แปลกหรอกครับที่ Lenzing ต้องมีการพัฒนาเพราะ Birla เขามีข้อได้เปรียบที่ cost ดังนั้น Lenzing จะสู้ได้ต้องมี innovation ใหม่ ๆ

Modal ที่ TR กำลังจะผลิตเนี่ย Lenzing เป็นคนคิดค้นครับ เผลอแผลบเดียว Birla ทำได้แล้ว

แต่ความได้เปรียบทั้งด้าน cost และ innovation นี่ไม่มีอะไรยั่งยืนหรอกครับ ไม่ช้าคู่แข่งต้องปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นมาเท่าเทียมได้ครับ

.. ดูดิ๊ พิมพ์ อยู่ดันมี breaking news FED ลด rate อีก 0.75% สงสัยพรุ่งนี้มี rebound นะเนี่ย..

ที่มา คุณ mprandy    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 02, 2014, 04:21:34 PM
เหมือนเคยอ่านเจอแว๊ปๆว่า lenzing นั้นฐานที่มั่นจะอยู่ในยุโรป แต่ birla จะอยู่ที่เอเชีย และการเติบโตในอนาคตของตลาดนี้จะมาจากเอเชียเป็นหลักทำให้ birla ได้เปรียบด้วยครับ

ที่มา คุณ Blueblood    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 02, 2014, 04:29:41 PM
งบ grasim

Grasim Industries Limited, a flagship company of the Aditya Birla Group, ranks amongst India's largest private sector companies, with a consolidated net revenue of Rs.293 billion and consolidated net profit of Rs.21 billion (FY 2014).

แปลไทยโดย google นะครับ
Grasim อุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็น บริษัท ในเครือของ บริษัท อดิตยาเบอร์ล่า กลุ่มอันดับในหมู่ประเทศอินเดียที่ใหญ่ที่สุดของ บริษัท ภาคเอกชนที่มีรายได้สุทธิรวมของ Rs.293 พันล้านดอลลาร์และกำไรสุทธิของ Rs.21 พันล้าน (ปีงบประมาณ 2014)

http://www.grasim.com/investors/financials/fin_summary.htm

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 02, 2014, 04:33:10 PM
กับข้อความที่คุณ IH เคย post ไว้ที่ greenbull

"และอีกเรื่องที่ติดใจคือการที่ TR สละสิทธิการแปลงหุ้นบุริมสิทธิ์เป็นหุ้นสามัญของบ. ในต่างประเทศแห่งหนึ่งที่ช่วงแรกๆ เคยขาดทุนมาตลอดและพอเริ่มมีกำไร TR ก็ไม่แปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญและเลือกที่จะรับเงินทุนที่ลงไปคืนมาจึงทำให้ไม่ได้เก็บเกี่ยวในช่วงที่ธุรกิจเริ่มมีกำไร จึงทำให้เข้าใจได้ว่ากลุ่มเบอร์ล่านั้นเท่าที่ดูงบแล้วไม่น่าจะมีรายการไม่โปร่งใสประเภทไซฟ่อนเงินออก แต่จะคำนึงถึง group benefit มากกว่าที่จะเป็น benefit ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะครับ"

ถ้าบริษัทสร้างเงินสดได้มาก แต่ไม่ปันผลออกมา

เก็บไว้ๆๆๆๆ  แต่... ถึงวันดีคืนร้าย

กลับทำอย่างข้างบนบ่อยๆ

(ข้างบนดีในแง่ที่บริษัทที่ไปลงทุนไม่ขาดทุน...แต่ถ้าขาดทุนล่ะ...)

เท่ากับเราก็จะไม่ได้อะไรจากบริษัทเลยนะครับ

พี่ๆคิดอย่างไรครับ  :P

ที่มา คุณ tanapol    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 03, 2014, 05:18:39 PM
คุณรู้จักไทยเรยอนมากแค่ไหน ?
               ในฐานะที่ท่านเป็นพนักงานของบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) กันมานานหรือบางคนอาจเพิ่งได้รับการบรรจุเป็นพนักงานในปีนี้  แต่ถ้าถามว่าแล้วท่านรู้จัก “ไทยเรยอน” แค่ไหน เชื่อว่าคำตอบที่ได้คงไม่พ้นคำว่า “เป็นบริษัทผลิตเส้นใยสังเคราะห์เรยองรายเดียวในประเทศไทย” หรือ คำตอบอื่น ๆ อีกหลายคำตอบ แต่ถ้าถามว่าบริษัทก่อตั้งเมื่อไร มีหุ้นเท่าใด ใครเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ฯลฯ เชื่อว่าหลายคนคงตอบคำถามนี้ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นเรามาลองมารู้จักไทยเรยอนกันดีไหม

                 บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้นที่ 16 เลขที่ 888/160-161 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2253-6745-54 โทรสาร 0-2254-3181 , 0-2254-5472

                 บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2517 โดยทุนจดทะเบียน 201,600,000 หุ้น มูลค่าหุ้น ๆ ละ 1 บาท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยหุ้นของบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2528   มีวันสิ้นรอบบัญชีวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี

                 บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเส้นใยประดิษฐ์เรยอน (Viscose Rayon Stale Fibre) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ  เป็นบริษัทแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย  ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 59,897 เมตริกตันต่อปี ในขบวนการผลิตบริษัทจะได้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง (By Product ) คือ เกลือโซเดียมซัลเฟต ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทเกลือที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่และผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ของบริษัทแยกประเภทการจัดจำหน่ายได้ ดังนี้ คือ

                 1. ขายในประเทศ เส้นใยประดิษฐ์เรยอน49.26% ของยอดขายทั้งหมด และ โซเดียมซัลเฟต 98%
                 2. ขายต่างประเทศ เส้นใยประดิษฐ์ 50.74% ของยอดขายทั้งหมด และโซเดียมซัลเฟต 2%

ผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 ลำดับแรกได้แก่
                 1. บริษัทแอสซัล จำกัด (Asseau company limited ) 33,582,848 หุ้น 16.66%
                 2. บริษัทโวลตัน จำกัด (Wholton company limited ) 22,165,700 หุ้น 10.99%
                 3. บริษัทฮาร์ทโกลบอล จำกัด (Hart Global limited ) 21,600,000 หุ้น 10.71%
                 4.  บริษัทกราซิม  อินดัสเตรียล จำกัด    ( Grasim industries limited ) 13,988,570 หุ้น 6.94%
                 5. บริษัทไทยอินดัสเตรียล แมนเนจเม้นท์ แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด  9,738,500 4.83%

                 คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย นายกุมาร์ มังกาลัม เบอร์ล่า ประธานกรรมการ  นายพี.เอ็ม.บาจาจ  กรรมการผู้จัดการ  นางราชาสรี  เบอร์ล่า  นางนีรจา  เบอร์ล่า  นายอโมลัด  ทักราล  นางรัชนี  คาจิจิ  นายไซเลนดรา กุมาร เจน  นายปูรันมาล  บาจาจ  เป็นกรรมการ และ นายวินัย สัจเดว  กรรมการอิสระ
                 นายไซยัม ซุนเดอร์ มาฮันซาเรีย  ประธานกรรมการตรวจสอบ  นายวินัย สัจเดว และนายรามาคานท์ ราทิ  กรรมการตรวจสอบ

                 บริษัทตั้งเป้าหมายเพื่อครองส่วนแบ่งตลาดโลก สำหรับเส้นใยประดิษฐ์เรยอนให้ได้ร้อยละ 6 ภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยบริษัทฯ จะทำการผลิตเส้นใยโมดาลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษสำหรับลูกค้าสิ่งทอระดับบน

                  สายการผลิตที่ 4 เริ่มการผลิตแล้วที่ 60% ของกำลังการผลิตในเดือนมกราคม 2550 และสามารถดำเนินการผลิตเต็มอัตราในเดือนกุมภาพันธ์ สายการผลิตที่ 4 นี้สามารถผลิตเส้นใยเรยอนทั่วไปได้ในอัตรา 80 ตันต่อวัน และสามารถเปลี่ยนมาผลิตเส้นใยโมดาล (คุณภาพสูงกว่าเส้นใยเรยอนทั่วไปตรงที่ไม่เปลี่ยนรูปเมื่อโดนความชื้น) ได้ในอัตรา 40 ตันต่อวัน  บริษัท Grasim ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออดิตยาเบอร์ล่าเช่นกัน ผลิตได้ 10 ตันต่อวัน บริษัทคาดว่า ฐานการผลิตโมดาลจะย้ายมาอยู่ที่เมืองไทย ซึ่งจะผลิตโดยไทยเรยอน  ราคาเส้นใยโมดาลจะสูงกว่าเส้นใยเรยอนทั่วไป บริษัทคาดว่ารายได้จากการขายเส้นใยสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกหนึ่งพันล้านบาท จากอัตราการผลิตเพิ่มขึ้น

                 ส่วนโรงงานที่เมืองจีนซึ่งเป็นการร่วมทุนกับบริษัทในประเทศจีนก็จะเพิ่มผลการผลิตให้เป็น 60,000 ตันต่อปีภายในสิ้นปีนี้ โดยปัจจุบันบริษัทร่วมที่เมืองจีนก็ทำกำไรแล้ว การเข้าร่วมทุนในโรงงานที่จีนนี้คุ้มมากมากเกือบจะเรียกว่าได้โรงงานมาแบบได้เปล่า เพราะโรงงานเพิ่งสร้างใหม่ และราคาที่ซื้อถูกกว่าราคาที่สร้างใหม่

                ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2549 ถึงปลายปี 2550 บริษัทคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 3.6 พันล้านบาท และ ต้องการเงินทุนหมุนเวียนอีก 1 พันล้านบาท ดังนั้นเงินสดที่มีอยู่ในมือไม่เพียงพอ จึงต้องทำการกู้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นสำหรับในปีนี้

                ปัจจัยหลัก ๆ ที่มีผลต่อผลประกอบการ คือ ราคา น้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และ การแข็งค่าของเงินบาท

                 ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเล็นซิ่งจำกัด( Lenzing)เท่านั้นที่ผลิตเส้นใยโมดาลได้ โดยมีตลาดหลักอยู่ในยุโรป การผลิตเส้นใยโมดาลของไทยเรยอนจะทำให้ไทยเรยอนเจาะตลาดเอเชียได้โดยไทยเรยอนเริ่มทำการตลาดเส้นใยโมดาลมาประมาณ 1 ปีแล้ว อย่างไรก็ดี น่าจะเริ่มการขายเส้นใยโมดาลในเชิงพาณิชย์ได้ในราว ปลายปีนี้

บริษัทเล็นซิ่งจำกัดนั้นน่าจะเหนือกว่ากราซิมของอินเดีย เส้นใยประเภทพิเศษนี้จะนำไปใช้สำหรับ non-woven sector เช่น ทางด้านสุขภาพ หรือ ทางด้านการแพทย์ Grasim มีแบรนด์ที่ชื่อ Modal และกำลังวิจัยเพื่อพัฒนาเส้นใยพิเศษที่มีคุณสมบัติดีกว่า Modal ส่วน Lenzing นั้นมีแบรนด์ Lenzing Viscose และ Tencel  ทั้งคู่
มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน คือ ฉีกหนีจากธุรกิจ commodity (เส้นใยเรยอนธรรมดา) มาเน้นหนักที่เส้นใยพิเศษซึ่งเจาะตลาด non-woven sector

                 ในปี 2005 สัดส่วนของเรยอนที่นำไปใช้ใน Textile Sector ต่อ Non-Woven คือ 91:9 ในปี 2007 สัดส่วน Textile:Non-Woven:Modal จะเป็น 82:7:11

ปีนี้กำลังการผลิตเส้นใยธรรมดาโดยรวมจะเท่ากับ 305 ตันต่อวัน (70+75+75+85) หรือ ประมาณ 110,000 ตันต่อปี ในปีที่แล้วไทยเรยอนสามารถรักษาอัตราการผลิตได้ที่ 220 ตันต่อวัน หรือ ประมาณ 80,000 ตันต่อปี  การผลิตของไทยเรยอนนั้นเป็นการ Make-To-Order ลูกค้าส่วนมากเป็นลูกค้าเก่าแก่ของบริษัท ทำให้ไม่มีการตั้งหนี้สูญสำหรับลูกหนี้การค้า

                 บริษัทจะเพิ่มสายการผลิตที่ 5 โดยเริ่มต้นก่อสร้างอาคารแล้ว และคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จราวเดือนกุมภาพันธ์ 2551

                 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549  ที่ประชุมคณะกรรม การบริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 63 ได้มีมติดังต่อไปนี้
                 1. อนุมัติเงินลงทุนจำนวน 3.2 ล้านเหรียญแคนนาดาดอลล่าร์ (ประมาณ 108 ล้านบาท) สำหรับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 19,200 หุ้นของบริษัทเอวี เซล อิงค์ – ประเทศแคนนาดา ซึ่งมีผลทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.67 เป็นร้อยละ 19 และสัดส่วนการถือหุ้นรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมเบอร์ล่าในประอินเดีย/อินโดนีเซีย/และไทยรวมเป็นร้อยละ 75 จากเดิมร้อยละ 50 บริษัทร่วมลงทุนนี้ดำเนินธุรกิจผลิตเยื่อกระดาษชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับผลิตเส้นใยเรยอน
               2. อนุมัติเงินลงทุนจำนวน 1.8 ล้านเหรียญแคนนาดาดอลล่าร์ (ประมาณ 61 ล้านบาท) สำหรับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 9,000 หุ้นของบริษัทเอวีแนคคาวิค – ประ เทศแคนาดา ซึ่งมีผลทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 19 และสัดส่วนการถือหุ้นรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมเบอร์ล่าในประเทศอินเดีย/อินโดนีเซีย/และไทย รวมเป็นร้อยละ 75 จากเดิมร้อยละ 50 บริษัทนี้ได้มาเมื่อปี 2548 ปัจจุบันผลิตเยื่อกระ ดาษสำหรับผลิตกระดาษและกำลังจะแปรสภาพการผลิต เพื่อดำเนินการผลิตเยื่อกระดาษชนิดละลายน้ำได้ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับผลิตเส้นใยเรยอน

                เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ทำการประชุมและมีมติอนุมัติเงินลงทุนจำนวน 137.50 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงสายการผลิตให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นและจำนวนเงิน 450 ล้านบาทเพื่อการติดตั้งสายการผลิตใหม่แทนสายการผลิตเดิมที่มีอายุการใช้งานมานานกว่า 30 ปี

สำหรับสายการผลิตเดิมที่จะทำการแทนที่ด้วยสายการผลิตใหม่นั้น คือสายการผลิตที่ 1 (ตั้งแต่ปี 1974) ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 70 ตันต่อวัน ในการติดตั้งสายใหม่แทนที่นั้นจะต้องทำการรื้อสายการผลิตเดิมออก แล้วติดตั้งสายการผลิตใหม่ซึ่งจะมีความสามารถในการผลิตเส้นใยเรยอนแบบธรรมดาประมาณ 100 ตันต่อวัน สายการผลิตใหม่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตและการบำรุงรักษาลดลง นอกจากนี้สายการผลิตนี้ยังสามารถผลิตเส้นใยโมดาลได้ 40 ตันต่อวัน

                 รวม ๆ แล้ว  ภายในกลางปีหน้า  (ไตรมาสที่สาม
ปี 2008) บริษัทจะมีกำลังผลิตเส้นใยเรยอนประมาณ 153,000 ตันต่อปี (รวมสายการผลิต 5 สาย และ สายการ ผลิตที่ 1 ปรับปรุงแล้วเสร็จ) เทียบกับในปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตเต็มที่ประมาณ 110,000 ตันต่อปี (รวมสายการ ผลิต 4 สาย)

                 การลงทุนปลูกป่าในลาวเป็นโครงการระยะยาวคิดว่าอีก 6 ปีข้างหน้าจึงจะรู้ผล โดยในขณะนี้พื้นที่ที่ซื้อมาจะเอาไว้ปลูกป่ายูคาลิปตัส หลังจากปีที่ 6 จะมาวาง แผนอีกที ถ้าผลการปลูกประสบความสำเร็จ ก็จะสร้างโรงงานผลิตกระดาษเกรดที่จะเอาไว้ใช้ผลิตเส้นใยเรยอน ในปัจจุบัน กระดาษประเภทนี้นำเข้าจาก แคนาดา และ แอฟริกาใต้  อัตราการใช้เยื่อกระดาษต่อการผลิตไฟเบอร์จะประมาณ 1 ต่อ 1

                 บริษัทได้ก่อตั้งโรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์จากก๊าซธรรมชาติ (แทนที่ถ่านไม้) โดยมีกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี จัดงบลงทุนไว้ 656 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มีนาคม 2008

                หลังจากข้อมูลที่นำมาเผยแพร่ในครั้งนี้ซึ่งได้มาจากเวปไซด์ www.siamfn.com จะทำให้เพื่อนภาคภูมิใจในไทยเรยอนมากยิ่งขึ้น สมาชิกรู้จักไทยเรยอนมากขึ้นและรู้สึกด้วยเพราะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและหวังว่าความเจริญเติบโตของไทยเรยอนจะนำมาซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคนด้วยเช่นกัน

ที่มา http://www.trclabourunion.com/c831.html
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 03, 2014, 05:28:50 PM
ไทยเรยอน แจ้งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่
วันที่ 12 เมษายน 2554 14:10
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

บจ.ฮาร์ท โกลบอล ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ขายหุ้นบริษัทในสัดส่วนร้อยละ 10.71 ให้กับ Oneida Services Limited

     บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ขอแจ้ง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ว่า บริษัท ฮาร์ท โกลบอล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้มีการขายหุ้นจำนวน 21,600,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 10.71 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว ให้แก่ Oneida Services Limited เป็นจำนวน 21,600,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 10.71 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว ในวันที่ 22 มีนาคม 2554

     บริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบว่ารายการดังกล่าวนี้ไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น การบริหาร และ การดำเนินงานของบริษัทฯ แต่อย่างใด
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:04:37 AM
ทริปนี้เริ่มต้นการเดินทางด้วยเปิด "เดี่ยว 6" ในรถ ทำให้หนังสือที่เตรียมไป ไม่ได้อ่าน

พอถึงโรงงานก็เป็นการต้อนรับด้วยขนมนมเนยกาแฟครับ

จากนั้นก็เป็นสไลด์โชว์บริษัทอดิตยา เบอร์ลา ซึ่งพึ่งได้รับรางวัล Best Employer of the year 2007 ของอินเดีย

ในสไลด์สรุปใจความว่าบริษัทกำลังไล่ล่าความสำเร็จและเปลี่ยนจากการแข่งขันเป็น partnership

ในวันนี้บริษัทรู้สึกจะเน้นไปในเรื่องของ CSR ที่มีกิจกรรมต่อเนื่องให้กับชุมชน รวมถึงให้ความมั่นใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม

จากนั้นก็เข้าไปชม line การผลิตครับ ซึ่งส่วนนี้ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ แต่ดูสภาพโรงงานแล้วก็ดีพอสมควรครับเมื่อเทียบกับอายุโรงงาน 30 กว่าปี

Capacity ตอนนี้ประมาณ 303 TPD Line 1 ปิดแบบสมบูรณ์ คาดว่าจะเปิดใช้ในอีก 2 เดือนข้างหน้า

Modal เดือนที่แล้วผลิตไป 350 Ton แต่เนื่องด้วย speed ที่ด้อยกว่าจึงคาดว่ากำไรที่เป็นเม็ดเงินน่าจะน้อยกว่าผลิตแบบธรรมดา

เครื่องจักรยังเดินตลอด 24 ชม. นะครับ ช่วยลดความกังวลเรื่อง demand ไปได้ในระดับหนึ่ง

Capacity ปีนี้คาดว่าประมาณ 153,000 TPA เทียบกับ 110,000 TPA ในปี 2007

การผลิตส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ ดูแล้วไม่ซับซ้อน (แต่เข้าใจยาก) flow การผลิตต่อเนื่องไปเรื่อยๆจน Pack เป็น FG

บริษัทค่อนข้างมีการควบคุมคุณภาพที่เข้มข้น (วัดจากปริมาณเอกสารที่แปะที่บอร์ดฝ่ายผลิตและ Lab)  :lol:

ทานข้าวกลางวันด้วยบรรยากาศเป็นกันเอง สถานที่และอาหารไม่ถึงกับดีมากแต่ก็ดีกำลังพอดี แสดงให้เห็นถึงการใช้เงินอย่างไม่สุรุ่ยสุร่าย

การแต่งตัวของผู้บริหารก็เป็นชุด uniform เพมือน supervisor ทั่วๆไป

ปิดท้ายด้วยการเสนอแนะและข้อสงสัยของผู้ถือหุ้นที่มา (ส่วนใหญ่จะ comment เรื่องเงินปันผลเหมือนเคย)

และมีของฝากให้ทั้งผู้ถือหุ้นและผู้ติดตามเป็นที่ระลึก

รายละเอียดที่เหลือรอท่านอื่นๆมาเสริมต่อนะครับ

ที่มา คุณ doodeemak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:07:19 AM
ผมทำตัวเลขจากงบการเงินของ TR จากปี 45-50 ( 6 ปีย้อนหลัง) งบออกมาสวยมาก ผมมีข้อสงสัยอยู่อย่างเดียวว่า ผลตอบแทนของ CEO กับผู้ถือหุ้นนั้นตรงกันหรือเปล่าครับ เพราะผมดู กำไรต่อหุ้น เทียบกับ เงินจ่ายปันผลต่อหุ้น แล้ว TR จ่ายเฉลี่ย ไม่เกิน 15% เอง ไม่ทราบว่า TR จะเข้าข่าย CEO ประเภทที่ อ.นิเวศ เขียนไว้ ดังนี้หรือเปล่าครับ

" บริษัทบางแห่งมีกำไรดี มีเงินสดสูง และไม่ต้องลงทุนมาก แต่ก็จ่ายปันผลคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของกำไรต่ำมาก ตรวจสอบดูก็พบว่าเป็นกิจการแบบ "กงสี" กล่าวคือ มีการถือหุ้นใหญ่โดยบริษัทโฮลดิ้งของตระกูล CEO เป็นตัวแทนจากคนในตระกูล พี่น้องรวมถึงลูกหลานต่างก็เป็นกรรมการและเป็นผู้บริหารในบริษัท พูดง่าย ๆ บริษัทเป็นอู่ข่าวอู่น้ำ เป็นที่ทำมาหากิน เป็นแหล่งสร้างสถานะทางสังคมและอะไร ๆ อีกมากมาย เป็นชีวิตของพวกเขา ดังนั้น เขาจึงไม่มีแรงจูงใจที่จ่ายเงินให้กับผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะรายย่อย นอกจากนั้น เขาไม่เห็นความจำเป็นที่จะจ่ายให้กับบริษัทโฮลดิ้งมาก ๆ เพราะจ่ายไปแล้วก็ไม่รู้ว่าจะกลับมาถึงตัวเองมากน้อยแค่ไหน เพราะอาจจะมีพี่น้องอื่น ๆ อีกหลายคนที่จะต้องมารับส่วนแบ่งด้วย "

Cr คุณyuth-sri
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:10:35 AM
ผมว่าเรื่องดังกล่าวต้องมองเจตนาของผู้บริหารครับว่า เขาต้องการเก็บเงินสดไว้และจ่ายเป็นปันผลน้อย ๆ เพราะเหตุใด

เก็บไว้เพราะเป็น "กงสี" จริง ๆ หรือเก็บไว้ทำประโยชน์และกำไรแก่บริษัท ผู้บริหารจะอธิบายเหตุผลเลิศหรูอย่างไรก็ได้ แต่ข้อมูลทางบัญชีมันจะฟ้องเอง จุดสังเกตง่าย ๆ ที่หนึ่งก็คือ ROE ครับ

ถ้ากำไรสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ปันผลออกมา และผู้บริหารก็กอดเอาไว้เฉย ๆ (E สูงขึ้น) แต่ไม่ยอมเอาเงินไปเพิ่มผลกำไรแก่กิจการ (R ไม่เพิ่ม) บริษัทจะมี ROE ลดลงเรื่อย ๆ และถ้า ROE มันลดจนถึงจุดที่ต่ำกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนทั่ว ๆ ไป (เช่นน้อยกว่าดอกเบี้ยที่ได้จากพันธบัตร หรือการฝากธนาคาร) กรณีนี้ถือว่าผู้บริหาร บ่มิไก๊

หุ้นที่ไม่จ่ายปันผล หรือจ่ายน้อยไม่ได้หมายความว่าเป็นหุ้นแย่ ผู้บริหารเห็นแก่ตัวเสมอไป ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ Berkshire Hathaway ไงครับ คุณปู่แกบริหารมากี่สิบปี ไม่เคยจ่ายซักสลึง แถมผู้ถือหุ้นก็ happy สุด ๆ เชื่อเหอะว่าถ้าให้โหวตใน AGM ว่าจะให้ปันผล หรือให้เอาเงินไปลงทุนต่อ เสียงส่วนใหญ่ก็คงอนุญาตให้แกเอากำไรไปลงทุนต่ออยู่ดี

ทีนี้ ลองมาดู ROE ของ TR ย้อนหลังหลาย ๆ ปีดูครับ อาจจะได้คำตอบ  :wink:

Cr คุณ mprandy    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:16:35 AM
ขอบคุณมากเลยครับสำหรับการCompany visit

โรงงานสะอาดเรียบร้อยดี processการทำงานดูสลับซับซ้อนเหมือนกัน
โรงงานเคมีนี่ ถ้าไม่ออกแบบดีๆตั้งแต่ต้นผมว่า คงทำงานลำบากน่าดู
ก็จะมีเรื่องกลิ่นนิดหน่อยที่โรงงานเคมีคงหนีไม่พ้น
ตอนเปิดรถก็ได้กลิ่น นึกว่าเข้าไปโรงงานกลิ่นจะแรงกว่า
แต่ผมว่าภายในโรงงานก็ไม่ถึงกับแย่

จากที่ลองสอบถามพนักงานเรื่องความเป็นอยู่
ก็ดูเหมือนว่าส่วนมากจะพอใจกับเรื่องสวัสดิการ
ดูเหมือนบริษัทจะใส่ใจกับชุมชนพอควร ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับผู้อยู่อาศัย

ที่เคยมีปัญหาเรื่องบ้านพัก ก็ได้ถามเหมือนกัน ก็เห็นว่าไม่มีปัญหาอะไรแล้ว

Cr คุณ nanchan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:18:56 AM
เป็นลักษณะของการถือหุ้นไขว้กันในเครือเบอร์ล่าทั้งกลุ่ม ทุกบริษัทเป็นแบบนี้หมดครับทั้ง TR, TCB รวมไปถึง บ.ต่างประเทศด้วย ไม่เว้นแม้แต่บริษัทผลิต wood pulp ทั้งเบอร์ล่า ลาว, AV cell, AV Nackawick

ธุรกิจเครือเบอร์ล่า มีทั้งหมด 3 สายใหญ่ คือ ซีเมนต์, Viscose และ Carbon black และอีกหลายสายย่อย ได้แก่เหมืองทองแดง, มือถือ, เส้นใยอื่น ๆ เช่นอคริลิก

Cr คุณ mprandy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:21:38 AM
หลังจากกลับมาจาก visit พึ่งจะมีเวลา...

ยังไงก็ขอบคุณทีมงานของ TR ทุกท่านมากๆ ครับ... ไปเยี่ยมชมคราวนี้ทำให้เข้าใจกระบวนการผลิตเส้นใยเรยอนมากขึ้นเยอะเลย

ขอสรุปกระบวนการผลิตของเส้นใยเรยอนเอาไว้ที่นี้ เผื่อเพื่อนๆ จะสนใจ...
- กระบวนการผลิตของเส้นใยเรยอนถ้าจะว่ากันง่ายๆ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเตรียม กับส่วน spinning ซึ่งตัวโรงงานก็แบ่งตึกออกเป็น 2 ตึกอย่างชัดเจน

- วิธีการผลิตเค้าจะเอาเยื่อกระดาษละลายน้ำ ซึ่งแบ่งประเภทเป็น hard-wood กับ soft-wood ใช้สัดส่วน 60:40 (มั้ง ถ้าจำไม่ผิด) เอามาบดๆๆ แล้วก็เอามาผสมโซดาไฟ แล้วก็มาหมักใน drum แล้วก็เอาไปผสมกับ CS2 สุดท้ายจะได้ออกมาเป็นน้ำสีเหลืองๆ ที่จะเอาไปใช้ในการทำ Spinning ต่อ ซึ่งตรงนี้ก็จะจบกระบวนการเตรียม

- น้ำสีเหลืองๆ ที่ได้จะถูกส่งข้ามตึกมาเข้าสู่ขบวนการ spinning ทำการฉีดผ่านท่อรังผึ้งออกมาเป็นเส้นใย แล้วก็ทำดึงและตัด ให้ได้ออกมาตามความยาวและขนาดที่ลูกค้าต้องการ จากนั้นก็ทำการซักล้าง กำจัดซัลเฟอร์ออก ฟอกขาว อบแห้ง แล้วก็เอามาอัดเป็นก้อนๆ เพื่อเตรียมส่งให้กับลูกค้า ก็จบกระบวนการทำเส้นใยเรยอน

- เส้นใยโมดาลกับเรยอนธรรมดาต่างกันที่การสัดส่วนของวัตถุดิบในการเตรียม และในความตึงระหว่างการทำ spinning ซึ่งทำเส้นใยโมดาลมีความแข็งแกร่งกว่าเส้นใยเรยอน และใช้เวลาในการทำ spinning มากกว่า

- เนื่องจากมีการขยายสายการผลิต (spinning) ตอนนี้ทางไทยเรยอนก็เลยกำลังก่อสร้างโรงงานเพื่อขยับขยายส่วนเตรียมวัตถุดิบ เพื่อให้มีความพร้อมกับสายการผลิตใหม่ๆ

- Modal ถือเป็น generation ที่ 2 ของ Rayon ส่วน Excel นี่เป็น generation ที่ 3 ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาที่อินเดีย ก็หวังว่าเบอร์ล่าจะสามารถเข็น Excel ออกมาสู้กับ Tencel ของ Lenzing ได้ในอนาคต

- Stock ของวัตถุดิบ (กระดาษละลายน้ำ) เมื่อก่อนจะเตรียมกันที่เป็นปี แต่เก็บๆ เอาไว้แล้วมันเหลือง หลังๆ เลยเก็บแค่ครึ่งปี (ผมเลยเดาว่าผลกระทบของราคาวัตถุดิบที่ขึ้นมาเยอะๆ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา จะยังไม่ออกฤทธิ์เต็มที่ในไตรมาสนี้ น่าจะไปส่งผลในไตรมาสหน้ามากกว่า แต่ก็มีตัวช่วยตรงที่สายที่ 5 กับโรงงาน CS2 สร้างเสร็จพอดี)

คร่าวๆ เท่านี้ก่อนละกัน

Cr คุณ picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:24:42 AM
zephyr wrote:
ไม่ทราบมีใคร update ราคาเส้นใยเรยอน และ cotton บ้างครับ

ผมไม่รู้จะหาที่ไหน search googlle ไม่ค่อยเจอเลย เจอแต่ข้อมูลเก่าๆครับ :?


VSF fiber was steady in India, rising by a cent. 1.5D/38mm in China was at US$2.81/kg last week while in India it was US$2.81/kg.

จัดให้ครับ ส่วนหน้าเวปถ้าอยากดูเองก็  :P

http://www.yarnsandfibers.com/textile_intelligence/textile-pricewatch/viscosestaplefibre-vsf-price-trends-reports

เครดิต คุณ Luty97    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:27:41 AM

ผมจำใจขาย TR ออกไปบางส่วนช่วงนี้เพราะต้องการใช้เงินสด

เมื่อประมาณปี 2000 ตอนนั้น ราคา พาร์ของ TR ยังอยู่ที่ 10 บาท ผมเคยเสนอซื้อ TR ที่ 72 บาท แต่ซื้อไม่ได้ เพราะราคาอยู่ที่ 74 บาท เมื่อซื้อไม่ได้ก็เลยไม่สนใจติดตามเพราะคิดว่าราคาแพงและปันผลต่ำ

ผมมาสนใจหุ้นตัวนี้อีกครั้งเมื่อ ปลายปี 2006 ตอนนั้นหุ้นแตกพาร์เหลือ 1 บาทแล้ว ราคาหุ้นตอนนั้นประมาณ 35 บาท และหลังเกิดมาตรการ 19 ธ.ค. ราคาตกลงมาอยู่ที่ประมาณ 32 บาท แต่ผมยังรีรอไม่กล้าซื้อแต่ติดตามหุ้นตัวนี้มาตลอดจนกระทั่งรู้จักกับ website thaivi.com เมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 หลังจากอ่านข้อมูลที่มีผู้วิเคราะห์  ผมมั่นใจในอนาคตของบริษัทโดยเฉพาะการขยายกำลังการผลิตที่จะเห็นผลในเวลาอันใกล้นี้

เครดิต คุณ chairt01    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 04, 2014, 02:31:35 AM
Grasim ไม่ใช่คู่แข่งครับ แต่เป็นบริษัทแม่ของ TR

เครดิต คุณ mprandy
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 05, 2014, 12:04:43 PM
รองผกก.อ่างทองสุดทน โร่แจ้งจับ 2 รง.ปล่อยมลพิษ
โรงงานทั้ง 2 แห่งใน จ.อ่างทอง ประกอบไปด้วย บ.ไทยคาร์บอนแบล็ค (ผู้ผลิตและจำหน่ายผงคาร์บอนที่ใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์) และบ.ไทยเรยอน (ผลิตเส้นใย ) นี้เคยเกิดข้อร้องเรียนเรื่องมลพิษของผงฝุ่นคาร์บอน และกลิ่น เหม็นสร้างความเดือดร้อน แก่ประชาชนในพื้นที่ล่าสุด

เมื่อ 17 ก.ค. 56 พ.ต.ท.เสวก เอี่ยมมงคล รองผกก.สภ.ป่าโมก เผยกับทีมข่าว Siamsafety ถึงสาเหตุการเข้าแจ้งความกับ2 โรงงานดังกล่าว เนื่องจากก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นจากสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต สร้างความเดือดร้อนรำคาญ ทำให้มีอาการแสบจมูก แสบตา ระคายเคืองผิวหนัง เกิดผื่นคัน และนอนไม่หลับจนร่างกายเกิดเป็นโรคภูมิแพ้

ทรัพย์สิน รวมทั้งบ้านเรือนเปื้อนผงฝุ่นดำได้รับความเสียหาย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเหตุเกิดตั้งแต่วันที่ 14-15 ส.ค. 56 ช่วงเวลา 13.00-15.00 น.และในเวลากลางคืนในวันดังกล่าว จึงขอให้ดำเนินคดีกับโรงงานทั้ง 2 ในข้อหาก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ว่าเหตุของผงฝุ่นสีดำจากโรงงาน ก่อความเดือดร้อนมานานแล้วนับตั้งแต่โรงงานมาก่อตั้งจนถึงปัจจุบันกว่า 30 ปีมานี้ จนตนสุดจะทนจึงต้องเข้าแจ้งความกับ สภ.เมืองอ่างทอง จุดประสงค์ก็เพื่อให้โรงงานมีการปรับปรุงขบวนการผลิตให้ดีขึ้น ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งกลิ่นเหม็น ทั้งผงฝุ่นดำที่ลอยออกมาจากปล่องควันของโรงงานก็ปลิวตกลงมาภายในบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงเป็นประจำ เป็นอย่างนี้มานาน ชาวบ้านต้องทุกข์ทนอยู่กับสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ตลอดมา

“ก่อนหน้านี้ชาวบ้านเขาก็มีการรวมตัวกันร้องเรียน แต่ผมไม่ได้เข้าไปร่วม กระทั่งเกิดเหตุขึ้น ซึ่งผงฝุ่นสีดำนี้ จะปลิวมาตามทิศทางลม แล้วแต่ว่าลมจะพัดไปทางไหน บ้านผมอยู่ห่างจากโรงงานราว 1 .5 ก.ม. ถามว่ามันเคยเกิดมาก่อนหน้านี้ไหม มันเกิดมาต่อเนื่องนับตั้งแต่โรงงานเข้ามาตั้งจนถึงตอนนี้ก็ยังมีปัญหามลพิษ ทั้งกลิ่นของกำมะถัน SO2 ที่จะผลิตเป็น SO3 กับกลิ่นของแก๊สไข่เน่าของโรงงานไทยเรยอนที่ผลิตเส้นใยเรยอน และผงฝุ่นสีดำจากโรงงานไทยคาร์บอนแบล็คที่ผลิตผงคาร์บอน  ก่อความเดือดร้อนมาตลอด ต้องทำความสะอาดบ้านกันยกใหญ่แต่ก็ ไม่หาย เพราะถ้าวันไหนลมพัดมาทิศทางนี้ ก็จะมีผงฝุ่นสีดำลอยมาตกในบ้านประจำ”

โดยวันและเวลาเดียวกันนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ของอำเภอเข้ามาเก็บตัวอย่างของผงฝุ่นสีดำที่บ้านไปตรวจ และมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทไทยคาร์บอนแบล็คพร้อมทีมงานจากห้องแล็บเข้าตรวจสอบพร้อมเก็บตัวอย่างด้วย

โดยนางสาวอติกานต์ ปิ่นสุข ผู้จัดการบริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค ได้นำทีมงานจากห้องแล็บเข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณบ้านของ พ.ต.ท.เสวก เอี่ยมมงคล รอง ผกก.สภ.ป่าโมก เลขที่ 10 หมู่ 2 ต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.อ่างทอง เพื่อเก็บตัวอย่างผงฝุ่นไปตรวจสอบหาที่มา เผยกับทีมข่าว Siamsafety ว่า ทางบริษัทได้รับทราบความเดือดร้อนดังกล่าวและได้เข้ามาเก็บตัวอย่างของผงฝุ่นคาร์บอน เพื่อนำไปตรวจหาสาเหตุที่มาว่ามาจากบริษัทหรือไม่ ทั้งนี้ภายในบริเวณเดียวกันยังมีโรงงานอยู่อีกหลายแห่ง

“ท่านเพิ่งแจ้งไปเราจึงขอเข้ามาตรวจมาตรการของโรงงานตอนนี้ คือ 1. มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทุกวัน 2. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง”

ตนทราบดีถึงการร้องเรียนเรื่องมลพิษของประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียง ทางบริษัทเองมีการลงพื้นที่ทุกวัน เพื่อทำความเข้าใจต่อประชาชนถึงขบวนการผลิตและแนวทางการแก้ไขปัญหา (ที่ผ่านมาชาวบ้านจำนวน 188 ครัวเรือน รวมตัวกันเรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าชดใช้เกี่ยวกับปัญหามลพิษ บริษัทตกลงจ่ายให้หลังคาละ 1,000 บาท)

“เรายินดีปรับปรุงและได้มีการปรับปรุงมาตลอด ก่อนหน้าเคยเกิดอุบัติเหตุในโรงงานทำให้เกิดผงฝุ่นคาร์บอน โรงงานก็ได้แก้ไข ล่าสุดมีการติดตั้งม่านน้ำแบบสเปรย์ เปิดตลอด 24 ชม. เมื่อต้นเดือนส.ค. และเพิ่งเชิญประชาชนเข้าไปตรวจ เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 56 ที่ผ่านมานี้เอง จากการลงพื้นที่ก็พบว่าดีขึ้น

เรียนชี้แจงว่า เครื่องจักรโรงงานมีการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน ต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ถ้าไม่มีอุบัติเหตุ ผงฝุ่นก็จะไม่ออกมา และตลอดเวลา 33 ปี เราไม่มีพนักงานที่ปรากฏว่าเกิดโรคในการทำงานเลย แม้ว่าผงคาร์บอนจะดำสกปรก ยอมรับว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขตลอด ไม่จบร้อยเปอร์เซ็นต์  ส่วนผลตรวจสอบที่เก็บในวันนี้คงต้องรอการตรวจสอบก่อน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าจะอย่างไร”

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 56 ที่ผ่านมา พ.ต.ท.เสวก เอี่ยมมงคล รองผกก.สภ.ป่าโมก อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 10 หมู่ 2 ต.หัวไผ่ อ.เมือง จ.อ่างทอง เข้าแจ้งความกับ ร.ต.ท.ณัฐพงศ์ นุตเจริญ ร้อยเวร สภ.เมืองอ่างทอง ว่าขอให้ดำเนินคดีกับโรงงาน 2 แห่ง คือ บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายผงคาร์บอนที่ใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ตั้งอยู่เลขที่ 44 ม. 1 ถ.อยุธยา-อ่างทอง ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง และบริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) (ผลิตเส้นใยผ้า) เลขที่ 326 ม.2 ถ.อยุธยา-อ่างทอง ต.โพสะ อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง ในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมเบอร์ล่า ประเทศอินเดีย ซึ่งมีกิจการในประเทศไทย กว่า 10 บริษัท และบริษัทต่าง ๆ ในทวีปเอเซีย ยุโรป อเมริกา

หลังรับแจ้ง ร.ต.ท.ณัฐพงศ์  ได้ประสานพ.ต.ท.สิทธิศักดิ์ ปราโมทธนา สว.พฐ.อ่างทอง นำกำลังไปตรวจสอบที่บ้านของพ.ต.ท.เสวก พบว่ามีกลิ่นเหม็นโชยมาอย่างรุนแรง รวมทั้งมีผงฝุ่นสีดำเกาะตัวบ้าน รวมทั้งทรัพย์สินต่างๆในบ้านเต็มไปหมด ทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหายหลายรายการ จึงตรวจแยกหาสารเคมีเอาไว้เป็นหลักฐาน โดยยอมรับว่ากลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นได้ทำให้รู้สึกระคายเคืองทางเดินหายใจและผิวหนัง อย่างไรก็ตามต้องรอผลพิสูจน์อย่างเป็นทางการเพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป

ด้าน พ.ต.ท.เสวก เปิดเผยว่า "ที่ผ่านมาโรงงานทั้ง 2 แห่ง สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนในบริเวณรอบโรงงานในพื้นที่ 2 อำเภอ ทั้งเรื่องกลิ่นและผงฝุ่นดำที่ปล่อยออกมา โดยไม่สนใจว่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกายและสร้างความเสียหายกับทรัพย์สินของชาวบ้านนับพันครอบครัว ซึ่งชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนไม่กล้าแจ้งความดำเนินคดี เพราะเกรงกลัวอิทธิพลของทางโรงงาน ทำให้ทางโรงงาน 2 แห่ง กล้ากระทำผิดซ้ำซากติดต่อกันมานานนับสิบปี โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ยอมบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จนทำให้ตนทนไม่ไหวที่จะต้องมาตายผ่อนส่ง เพราะเวลานี้คนในครอบครัวตนทั้งพ่อ แม่ พี่น้อง ภรรยา และลูก ที่ต้องทนสูดดมมลพิษเข้าไปทุกวัน จนเป็นโรคภูมิแพ้กันหมดทั้งครอบครัว"

ขณะที่นางเตี๋ยน เอี่ยมมงคล อายุ 85 ปี แม่ของพ.ต.ท.เสวก กล่าวว่า พวกตนต้องทนสูดดมกลิ่นเหม็นและผงฝุ่นดำของโรงงานทั้ง 2 แห่งมานานหลายสิบปี ตั้งแต่มาสร้างโรงงานในพื้นที่ ล่าสุดมีเด็กนักเรียนฝึกงานที่สูดสารพิษเข้าไปมากจนเสียชีวิตถึง 2 คน แต่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องยังปล่อยปละละเลย ให้โรงงานปล่อยมลพิษสร้างความเดือดร้อนต่อไปอีก

ที่มา ฝ่ายบริการวิชาการ siamsafety.com
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 05, 2014, 12:15:29 PM
แห่ร้องโรงงานสร้างความเดือดร้อน
วันอังคาร 4 มีนาคม 2557 เวลา 19:00 น
แค่ 2 เดือนชาวบ้านแห่ร้องโรงงานส่งกลิ่น – เสียง- ฝุ่น สร้างความเดือดร้อนหนัก 66 เรื่อง อุตฯ ผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องแต่งกาย อาหาร นำโด่ง คนร้องสูงสุด กรอ.ส่งคนแก้ปัญหาด่วน

นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 28 ก.พ. 57มีประชาชนร้องเรียนปัญหามลพิษจากโรงงานส่งมายังกรมโรงงาน ฯ จำนวน 66เรื่องส่วนใหญ่มาจากปัญหามลพิษทางกลิ่น 36 เรื่อง รองลงมาเป็นมลพิษทางเสียง 27เรื่องปัญหามลพิษทางฝุ่น 21 เรื่อง ปัญหาโรงงานเถื่อน 19เรื่องมลพิษไอสารเคมี 18 เรื่อง ควัน 17 เรื่อง น้ำเสีย13เรื่องโดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด คือ อุตฯผลิตภัณฑ์จากพืช อุตฯเครื่องแต่งกาย อุตฯผลิตภัณฑ์เคมี อุตฯอาหาร อุตฯผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะ

ทั้งนี้กรมฯ ได้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาโดยส่งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และเขตเข้าไปดำเนินการสั่งแก้ไขและปรับปรุงตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 37จำนวน3เรื่องดำเนินคดี 1เรื่องยุติเรื่อง 19เรื่องไม่เข้าข่าย 1เรื่องและอื่นๆ 20เรื่อง

อย่างไรก็ตามล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มี.ค. กรมฯ ได้รับเรียกร้องเรียนจากประชาชนในหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ในตำบลจำปาหล่ออำเภอเมือง จังหวัดอ่างทองว่า บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) อำเภอเมืองจังหวัดอ่างทอง ได้ปล่อยควันมีลักษณะเปน หมอกสีขาว มีกลิ่นฉุนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยรอบ ซึ่งการตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุพบว่ากระบวนการผลิตกรดกำมะถันสายการผลิต ที่ 1 มีการปล่อยควันมีลักษณะคล้ายหมอกสี ขาวแพร่กระจายออกนอกโรงงานก่อให้ เกิดอาการแสบตา ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง เนื่องจากการทำงานของระบบวาล์วท่อหล่อน้ำเย็นไม่ทำงานตามสภาพปกติ ลักษณะดังกล่าวมีสภาพอาจก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายหรือความ เดือดร้อนแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน

ทั้งนี้กรม ฯ ได้อาศัยอำนาจพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535มีคำสั่งให้โรงงานหยุดประกอบกิจการโรงงานในส่วนของกระบวนการผลิตกรดกำมะถันสาย การผลิตที่ 1เพื่อแก้ไขโรงงานเช่น ปรับปรุงระบบวาล์วควบคุมน้ำหล่อเย็นให้ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งจัดให้มีมาตรการปองกันและแก้ไข ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เปนต้นโดยการปรับปรุงแก้ไขทั้งหมดต้องมีเอกสารรองรับ จากวิศวกรที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมเคมีระดับสามัญวิศวกร ขึ้นไปให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มี.ค. นี้

ที่มา dailynews.co.th
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 05, 2014, 12:21:12 PM
คลิปข่าว ไทยเรยอน
นักข่าวพลเมือง ตอน ครบรอบ 35 ปี สหภาพแรงงานไทยเรยอน
http://www.youtube.com/watch?v=H2cbZtYr8Jo (http://www.youtube.com/watch?v=H2cbZtYr8Jo)

ครบรอบ 30 ปี สร. ไทยเรยอน
http://www.youtube.com/watch?v=xZSuTfK63Bk (http://www.youtube.com/watch?v=xZSuTfK63Bk)

ปีใหม่โรงงานไทนเรยอน 1
วงรุ่งนภา BY CH DIGITAL วีดีโอ&ภาพนิ่ง 0814417693
http://www.youtube.com/watch?v=3qxayhaegsE (http://www.youtube.com/watch?v=3qxayhaegsE)

ปีใหม่โรงงานไทนเรยอน 2
วงรุ่งนภา  BY CH DIGITAL วีดีโอ&ภาพนิ่ง 0814417693
http://www.youtube.com/watch?v=1zVUDuBxK_o (http://www.youtube.com/watch?v=1zVUDuBxK_o)
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 12:05:18 AM
ลูกค้าของบริษัทฯ   นอกจากจะเป็นกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว     ผลิตภัณฑ์เส้นใยเรยอนยังใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอื่นด้วย โดยสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

ของใช้ส่วนตัว
ผ้าห่มใช้แล้วทิ้ง, ผ้าเช็ดตัว, ผ้าเช็ดปากและเช็ดมือ, พรมปูพื้น, ผ้าปูโต๊ะ, ผ้าม่าน, แปรงปัดฝุ่น,
กระดาษบุฝาผนัง, ผ้าเช็ดถูในครัว

ของใช้ในโรงพยาบาล
ผ้าปูที่นอน, ปลอกหมอน, เสื้อคลุมของแพทย์, หมวกคลุมผมและหน้ากาก, พลาสเตอร์ปิดแผล,
ผ้าเช็ดตัวอนามัย, ผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้ง, แผ่นซับน้ำนม, ผ้าซับของเหลว

ของใช้ในอุตสาหกรรม
กรองอากาศ, ไส้กรองน้ำมัน, พรม, แผ่นดิสก์คอมพิวเตอร์, แผ่นกั้นแบตเตอรี่,
ไส้กรองของปากกา, ฉนวนกันความร้อน

เบ็ดเตล็ด
ซองจดหมาย, เต้นท์, ถุงนอน, แผ่นป้าย, เสื้อชุดหมี, ผ้าคลุมเบาะ, ผ้าซับใน, ผ้ารองซับใน

คัดมาจาก 56-1 ครับ
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 12:12:25 AM
ปี - กำไรต่อหุ้น
Year          EPS
2007 12.35
2006 5.76
2005 7.60
2004 6.23
2003 4.86
2002 4.09
2001 3.01
2000 3.07
1999 3.00
1998 -1.30
1997 1.10
1996 3.20

เครดิต คุณหมีบึงกุ่ม    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 12:14:53 AM
อ้อ... อีกอย่างครับ ถึงแม้ว่าบริษัทฯ นี้จะไม่ค่อยสนใจราคาหุ้นเท่าไหร่

แต่ความโปร่งใสของบริษัทฯ นี่ใช้ได้เลยนะครับ... โทรไปถาม หรือตอนไปเจอผู้บริหารในการประชุมผู้ถือหุ้น ถามอะไรเค้าก็ตอบตรงๆ แถมยังบอกเอาไว้อย่างชัดเจนว่าแนวโน้มธุรกิจดูไม่ค่อยดี ตลาดซบๆ demand เริ่มลดลง ซึ่งบอกเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้นปี

แต่ไอ้เราก็ดันไม่เชื่อ เค้าก็บอกมาตรงๆ แล้วเชียว เลยทำให้เจ็บไปตามๆ กัน

เครดิต คุณpicatos    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 12:16:56 AM
มาบตาพุดคลอรีนรั่วชาวบ้าน-นร.เผ่นหนี
bangkokbiznews.com - 2008/11/06 - ข่าวเก่า

:โรงงานในอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทำแก๊สคลอรีนรั่ว ชาวบ้านหนีวุ่น นักเรียนกว่า200ชีวิตหนีเข้าห้องปิด การจราจรติดขัดยาวเหยียด ผอ.ศูนย์ฉุกเฉินสารเคมี ระบุเป็นก๊าซพิษอันตรายต่อระบบการหายใจ สูดมากสลบทันที หรือแน่นหน้าอก เวียนศรีษะ

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 6 พฤศจิกายน การนิคมอุตสาหกรรมตะวันออก ได้รับแจ้งจากชาวบ้านหนองแฟบ เทศบาลเมืองมาบตาพุด อ.เมือง ระยอง ว่ามีกลุ่มควันสีขาวปกคลุมหมู่บ้านหนาแน่น กลิ่นเหม็น ทำให้แสบตา แสบจมูก สร้างความแตกตื่นตกใจและชาวบ้านต้องย้ายออกไปทางหาดพลา อ.บ้านฉาง จำนวนมาก ครูอาจารย์พานักเรียนกว่า 200 ชีวิตเข้าไปหลบในห้องเรียน ผู้ปกครองทราบข่าวรีบขับรถยนต์มารับลูกหลาน ทำให้การจราจรสายบ้านหนองแฟบ ติดขัดยาวเหยียดเป็นกิโลเมตร

หลังเกิดเหตุ นายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธ์ ผอ.นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมเหมราช เดินทางมาห้องประชุมในโรงงาน ADITYA  BIRLA CHEMICALS (THAILAND) LTD. นิคมอุตสาหกรรมเหมราช พร้อมผู้บริหารโรงงานดังกล่าว โดยได้ชี้แจงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุแก๊สคลอรีนเหลวรั่วไหลว่า เหตุเกิดเมื่อเวลา 05.45 น.วันเดียวกันนี้ โดยแก๊สได้รั่วไหลออกไปภายนอกโรงงาน

สาเหตุเกิดจากการถ่ายคลอรีนเหลวจากหน่วยการผลิต Liguifer เข้าในถังเก็บ และเกิดการอุดตันภายในท่อส่ง ทำให้เกิดความดันสูงระดับ 2.6 ทำให้ซีนกันรั่วเกิดรั่ว แก๊สคลอรีนฟุ้งกระจายทางระบบป้องกันท่อระบายออกสู่บรรยากาศ หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตได้ควบคุมการรั่วไหลของคลอรีน ได่ฉีดน้ำควบคุมกลิ่นเหม็นได้ในเวลา 05.55 น. วันเดียวกัน จนถึงเวลาสถานการณ์จึงได้เข้าสู่ภาวะปกติ

นายวีระศักดิ์  กล่าวว่า โรงงานดังกล่าวผลิตคลอรีนแห่งนี้ ชาวอินเดียเป็นเจ้าของ ซึ่งการรั่วของคลอรีนครั้งนี้ ไม่มีผลกระทบต่อชุมชน รวมทั้งที่วัดหนองแฟบก็ไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนประชาชน และคนงานโรงงานได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็น หลังเกิดเหตุการณ์ได้สั่งให้โรงงานหยุดกระบวนการผลิตแล้ว โดยไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายหรือเสียชีวิต

นายเฉลียว ราชบุรี รองผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 ซึ่งได้เดินทางมาดูเหตุการณ์ที่โรงเรียนวัดหนองแฟบ หลังได้รับรายงานจาก นายพจน์ นิลวงศ์ ผอ.โรงเรียนวัดหนองแฟบ นักเรียนกว่า 200 คนว่าได้รับกลิ่นเหม็นจนมีอาการแสบตา แสบจมูก 

เมื่อเวลา 07.30 น. วันเดียวกันเกรงว่า เด็กนักเรียนจะได้รับอันตราย จึงได้นำนักเรียนทั้งหมด เข้าห้องเรียนรวมทั้ง 8 ห้อง แล้วปิดประตูหน้าต่างป้องกันไม่ให้กลิ่นเหม็นเข้าไปได้ ตามที่เคยอบรมจากผู้ประกอบการโรงงานมาหลายครั้ง และได้แจ้งให้ผู้ปกครองนักเรียนมารับกลับบ้านและปิดการเรียนการสอน 1 วัน ทำให้ผู้ปกครองเด็กที่ทราบข่าวรีบขับรถยนต์มารับลูกหลาน จนเกิดเหตุการณ์โกลาหลวุ่นวาย การจราจรถนนสายหนองแฟบติดขัด

นายบุญเชิด จันทร์ผล อายุ 39 ปี บ้านเช่าไม่มีเลขที่บ้านหนองแฟบ กล่าวว่า หลังไปส่ง ด.ญ.ชนิตา แจ่มแจ้ง  อายุ 6 ปี ลูกสาว นักเรียนชั้น ป.1 โรงเรียนวัดหนองแฟบ จากนั้นจึงได้กลับมานั่งอยู่ข้างวัดหนองแฟบ ครู่เดียวได้เห็นกลุ่มควันสีขาวคล้ายหมอกจำนวนมาก ลอยปกคลุมบริเวณหน้าวัดและใกล้เคียง ส่งกลิ่นเหม็นมาก จนเกิดอาการแสบตา  แสบจมูก ตาลาย มีเหงื่อซึมตามแขน จึงกลับเข้าไปรับลูกสาวในโรงเรียนออกมา ซึ่งขณะนั้นมีผู้ปกครองจำนวนมาก รีบมารับลูกหลาน ทำให้รถติดจำนวนมาก ชาวบ้านบริเวณนั้น ได้รีบหนีไปทางถนนสายหนองแฟบ-หาดพลา เพื่อหลบหลุ่มหมอกควัน

ด.ญ.ชนิตา เล่าให้ฟังว่า นักเรียนทั้งหมดที่อยู่ในโรงเรียน ได้กลิ่นเหม็นจนแสบตา แสบจมูก โดยครูได้ประกาศให้เด็กนักเรียนหลบเข้าไปอยู่ในห้องเรียน พร้อมกับปิดประตู หน้าต่างให้หมด  แต่ที่ห้องของตนหน้าต่างมีรอยแตก ทำให้กลิ่นเหม็นเข้าไปในห้อง จนพ่อต้องมารับกลับบ้านในที่สุด

ผอ.ศูนย์ฉุกเฉินสารเคมี ระบุสูดมากถึงสลบทันที

นายสุเมธา วิเชียรเพชร ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบิการฉุกเฉินสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 0 5.45 วันนี้ ได้รับแจ้งว่ามีก๊าซคลอรีนรั่วไหลบริเวณท่อส่งสารเคมี ของบริษัทอดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อ.เมือง จ.ระยอง ทำให้มีคนงานที่สูดดมก๊าซคลอรีน เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก และวิงเวียนศรีษะจนต้องส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล 3 ราย และเบื้องต้นทราบว่าแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว ส่วนสาเหตุการรั่วไหลของก๊าซคลอรีนครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่คพ.และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง อยู่ระหว่างการตรวจสอบหาสาเหตุ รวมทั้งตรวจดูว่ายังมีก๊าซคลอรีนตกค้างอยู่ในบรรยากาศหรือไม่

นายสุเมธา กล่าวอีกว่า แต่ เบื้องต้นค่อนข้างโชคดี เนื่องจากอยู่ในช่วงที่มีลมพัดพาเอากลิ่นก๊าซออกสู่ทะเล แต่ทางโรงเรียนบ้านหนองแฟบ ซึ่งตั้งห่างจากโรงงานแห่งนี้ และอยู่ทางท้ายลม ก็ได้ประกาศปิดโรงเรียนเพื่อความปลอดภัยของครูและนักเรียนแล้ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากที่คพ.ได้อบรมครูเพื่อเป็นอาสาสมัครเฝ้าระวังสารเคมีในเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จ.ระยอง พร้อมกับมีการจัดทำแผนที่โรงงาน และที่ตั้งของโรงเรียน หากมีเหตุฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล ครูจึงมีความตื่นตัวและประเมินสถานการณ์ได้ดี 

อย่างไรก็ตาม สำหรับ ก๊าซคลอรีน ถือเป็นก๊าซพิษที่มีอันตรายต่อระบบการหายใจ หากสูดดมในปริมาณที่มาก จะทำให้สลบทันที และเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เวียนศรีษะ และมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่จะไม่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 05:36:27 PM
ใช่ๆ เมื่อวานรถติดมาก... ผมไปถึงก็กำลังเปิดการประชุมอยู่พอดีเลย... เฮ้อ...

ก่อนอื่นที่จะลงรายละเอียดการประชุม ก็ขอออกตัวก่อนนะครับ ว่าที่กำลังจะเขียนต่อไปนี้ มาจากความทรงจำล้วนๆ ไม่มีการจดรายละเอียดเลย ดังนั้นข้อมูลอาจจะผิดพลาดไปบ้าง ก็ต้องขออภัยมานะที่นี้ด้วย

การเล่าเรื่อง ผมขอเล่าสรุปตามลำดับความสำคัญ (ที่ผมคิดนะครับ) ไม่ได้ลำดับตามเวลา

- สถานการณ์บริษัทตอนนี้อยู่ในช่วงที่ลำบากมาก Demand หายหมด Capacity Utilization ลดลงเหลือแค่ระดับ 35%

- Demand หายหมด จาก Sub-prime Crisis เพราะ เวลาคนลดค่าใช้จ่ายจะลดค่าใช้จ่่ายกับพวกกลุ่ม Textile ก่อน เพราะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เสื้อที่มีอยู่ก็ใส่ไปได้อีก 2 ปี อยู่แล้่ว ดังนั้นธุรกิจสิ่งทอเลยกระทบหนักเป็นพิเศษ

- ผลกระทบจาก Sub-prime Crisis ทำให้เกิดกระแส Protectionism ขึ้นมาอีกรอบ เพื่อปกป้องประเทศตัวเองจากวิกฤต โดยล่าสุด Brazil (ไม่แน่ใจว่าผมฟังถูกรึเปล่านะครับ) ได้มีการนำมาตรการ Anti-Dumping มาใช้กับ จีน ออสเตรีย และ อินโด (รึเปล่านะ?) และในช่วง 5 วันที่ผ่านมา ได้ส่งทางการมานั่งเกาะติดกับบริษัทฯ เพื่อตรวจสอบว่าบริษัทฯ มีการไปทุ่มตลาดประเทศเค้ารึเปล่า

- เรื่อง Protectionism เป็นเรื่องที่บริษัทกลัวมาก ซึ่งตอนนี้ยอดส่งออกของบริษัทลดฮวบเหลือเพียงสามสิบกว่าเปอร์เซนต์จากยอดขาย

- บริษัทฯ จำเป็นต้องรัดเข็มขัดทุกอย่าง ต้องลดการทำงานลงจาก 6 วัน เหลือ 5 วัน และลดเงินเดือนพนักงานลง แม้ว่าในปีที่ผ่านมาจำเป็นต้องจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นจากการขยายสายการผลิต และการสร้างโรงงาน CS2

- สินค้าคงคลังตอนปิดงบ ช่วงเดือนกันยายนมีมากจนเกินไป และมีการ Write Off ผลขาดทุนจากราคาในตลาดโลกที่ลดลงแล้ว ซึ่งในช่วงเดือน ก.ย. - ธ.ค. บริษัทฯ พยายาม Liquidate Inventory ที่มีมากจนเกินไปเหล่านี้ (ซึ่งผมมเชื่อว่าน่าจะมีการ write off ผลขาดทุนจากราคาตลาดโลกที่ลดลงอีกระลอก)

- มีคนถามถึงว่านี่เป็นการบริหาร Inventory ที่ผิดพลาดหรือเปล่า ที่ปล่อยให้ Inventory บวมขึ้นเกือบเท่าตัว แถมเกิดผลขาดทุนจาก stock ตั้ง 2-3 ร้อยล้าน

MD ตอบว่า เค้าก็พยายามทำดีที่สุดแล้ว ที่เจ็งก็เพราะเจ็งซัลเฟอร์ คือ ตอนที่ซื้อนั้นมันไม่มีซัลเฟอร์ในตลาดเลย ซัลเฟอร์มันไปอยู่ที่จีนหมด แล้วโรงงาน CS2 ก็ต้องใช้ ซัลเฟอร์ ต้องหาแทบตายกว่าจะได้ซัลเฟอร์มาจากอียิปต์
 ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ราคาแต่อยู่ที่จำนวน สุดท้ายเลยซื้อไปที่ 750 ซึ่งถ้ามองในมุมขนาดนั้นก็ถือว่าตัดสินใจถูก เพราะราคาวิ่งต่อไปถึง 8 ร้อยกว่าๆ แต่ใครมันจะไปรู้ล่ะว่าหลังจากนั้นราคามันจะตกฮวบได้ขนาดนี้ ซึ่งไอ้ราคาที่มันตกลงมาหนักขนาดนี้มันไม่เคยเกิดมาก่อนในรอบ 80 ปี (ถ้าฟังไม่ผิดนะ)
 MD เพิ่มเติมว่า นี่ยังโชคดีนะบริษัทบริหารโซดาไฟได้ดี ไม่อย่างงั้นจะมีขาดทุนให้ดูิถึง 1.5 พันล้านบาท

- ถึงแม้ว่าจะพยายามลด Inventory ลด แต่ผู้ถือหุ้นก็ต้องทำใจนิดนึงนะว่า AV Nakawic พึ่งเริ่ม Operate ดังนั้นยังไงบริษัทก็ต้องรับกระดาษจาก AV มา Stock เอาไว้ก่อน ไม่อย่างงั้น ขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการปิดโรงงาน AV Nakawic จะยิ่งไม่คุ้ม

- MD บอกว่าในอีกไม่กี่วันที่จะประกาศงบออกมา ถ้านักลงทุนได้เห็นงบ คงจะได้ตกใจไปตามๆ กัน (ฟังตรงนี้ผมก็ได้แต่  :shock: และเสียวสันหลังวูบ)

- มีคนถามเรื่องซื้อหุ้นคืน MD ตอบว่า ไม่ไหวมั้ง Liquidity ในตลาดมันน้อยเหลือเกิน ถึงแม้ราคาจะถูกแต่ Liquidity มันน้อยเกินไป

- มีคนถามว่าแล้วบริษัทมีแผนจะลงทุนอะไรเพิ่มไหม? MD บอกว่าแม้ว่าตอนนี้จะมีของถูกเต็มตลาดไปหมด แต่บริษัทฯ ก็ไม่ได้มีตังค์อะไรมากมาย อยากเก็บตังค์เอาไว้เป็น Cushion ในช่วงวิกฤตมากกว่า คงต้องรอดูไปสัก 6 เดือนก่อน

- มีคนถามว่าอยากจะไป visit โรงงานผลิต CS2 แต่เท่าที่เข้าใจเจ้าหน้าที่บอกว่ามันยังไม่พร้อมให้ไป visit ไปอ่างทองเหมือนเดิมแหละดีแล้ว

รอเพื่อนๆ คนอื่นๆ มาเสริมครับ...

เครดิต คุณpicatos    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
PostPosted: Sat Jan 31, 2009 9:37 am
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 05:42:51 PM
สรุปจากการประชุม

- Modal จะเป็นตัวขับเคลื่อนรายได้ในอนาคต ผลิตได้ทุก Line แต่ต้องมีการปรับปรุงเครื่องจักรบางส่วน ปัจจุบันได้ปรับปรุง Line 2 (เสร็จ มีนาคม 2552) เพื่อผลิต Modal อย่างเดียว

- กำลังการผลิตอยู่ที่ 128,000 ตัน ปัจจุบันเดือนเครื่องที่ 35% Utilization (บอกว่าเฉลี่ย 50%)

-โรงงานกระดาษที่แคนาดาปรับเปลี่ยนเป็นผลิตกระดาษละลายน้ำเรียบร้อย

-ราคาวัตถุดิบผันผวน โดยเฉพาะ Sulphur ซึ่งบริษัทพบความยากลำบากในปีที่ผ่านมาราคาขึ้นจาก 70 USD เป็น 800 กว่า USD (บริษัทซื้อที่ 750 USD)ขณะปิดงบราคาอยู่ที่ 150 USD ทำให้เกิดรายการตามในงบ ปัจจุบันอยู่ที่ 51 USD

-ต้นทุนวัตถุดิบราคาแพงที่เห็น "ใช้หมดแล้ว"

- ปัญหาตอนนี้คือ "ขายม้ายยยย.....ด้ายยยยย"

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้

1. เปลื่ียนสายการผลิตที่ 1 ที่ใช้มาตั้งแต่ 1976
2. ปรับปรุงสายการผลิตที่ 2 ใช้เพื่อผลิต Modal
3. ลดต้นทุนโดยการต่อรองกับ Supplier ลด Fix cost/ Logistics cost 
   /Energy cost รวมถึงลด CAPEX ด้วย
4. ควบคุมสินค้าคงคลัง/ วัตถุดิบ
5. อบรมพนักงาน
6. เน้นเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และสิ่งแวดล้อม
7. พัฒนาคุณภาพสินค้า และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CSR)

จดไว้คร่าวๆ เท่านี้ครับ :D

เครดิตคุณ pingzzz    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
Post : Mon Feb 02, 2009 11:40 am
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 05:44:14 PM
ราคาวัตถุดิบนี่ ผันผวนโคตรเลยนะคับ

จาก 70 --> 800 --> 51

เครดิตคุณ jung_oh
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 05:46:44 PM
ไทยเรย่อน เพิ่มสายผลิตจ้างงานเพิ่มอีก 250-300 คน
18 พค. 2552 14:38 น.

ที่บริษัทไทยเรย่อน จำกัด(มหาชน) ต.โพสะ อ.เมือง จ. อ่างทอง นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดสายงานการผลิตเส้นใยสงเคราะห์ ของ บริษัทไทยเรย่อนจำกัด(มหาชน)สายที่ 5 และที่ 6 เพิ่มอีก 2 สาย โดยมี นายศุทธนะ ธีวีระปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ให้การต้อนรับ และนาย บี เอ็ม บาจาจ ประธานบริษัท บรรยาสรุปกิจการของบริษัทฯ และการเพิ่มสายงานการผลิตอีก 2 สายงานนี้ ทำให้ บริษัท สามารถรับแรงงานเพิ่มได้อีก 250 -300 คน โดยโรงงานแห่งนี้เสียภาษีให้กับรัฐบาลปีละ 177 ล้านบาท

รมต.อุตสาหกรรม กล่าวอีกว่า การเปิดสายงานการผลิตเพิ่มของโรงงานครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการลงทุนตามแนวกระตุ้นเศรษฐกิจ และจากการรับฟังบรรยายสรุปและชมกิจการภายในโรงงาน

โดยมวลรวม ได้ตามมาตรฐาน ส่วนมลภาวะจาก กลิ่น น้ำมีบ้างนิดหน่อย แต่ไม่เกินมาตรฐานโรงงาน จากการตรีวขเยี่ยมภายในโรงงานเป็นที่พอใจผลการดำเนินงานด้านระบบการผลิต และการควบคุมผลกระทบจากมลภาวะของโรงงานกับชุมชนและประชาชน แต่จะอย่างไรก็ตามขอ เน้นให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องเป็นมิตรกับท้องถิ่นและประชาชน โดยยึดประชาชนเป็นตัวตั้งถ้าประชาชนได้รับผลกระทบด้านมลภาวะหรืออาชีพหรือการดำรงชีวิตประจำวันแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทราบเพื่อร่วมแก้ปัญหาต่อไป

ที่มา http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=380966
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 05:48:35 PM
พนง.ไทยเรย่อนัดหยุดงานหลังบริษัทไม่ปรับค่าจ้างตามเงื่อนไข
17 กค. 2552 20:00 น.
   ช่วงเย็นที่ผ่านมาบริเวณสนามหน้าบริษัท ไทยเรยอน จำกัด พนักงานและสมาชิกสหภาพกว่า 400 คนได้นัดประชุมใหญ่เพื่อลงคะแนนหามติหยุดงาน หลังบริษัทไม่ทำตามข้อตกลงในการปรับค่าจ้างประจำปี โดยนายศรีโพธิ์ วายุพักตร์ ประธานสหภาพแรงงานไทยเรย่อน กล่าวว่า ตามที่สหภาพแรงงานฯ และบริษัทได้ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาปรับค่าจ้างประจำปี 2552 เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากบริษัทยังยืนยันปรับค่าจ้างให้แก่พนักงาน 50 เปอร์เซนต์ ของจำนวนเงินที่พนักงานได้รับจากการประเมินผลการทำงานประจำปี 2551 ขณะที่สหภาพแรงงานฯยืนยันให้บริษัทปรับค่าจ้างประจำปี 2552 ให้แก่พนักงานทุกคน 100 เปอร์เซนต์ ของจำนวนเงินที่พนักงานได้รับจากการประเมินผลการทำงานประจำปี 2551 ทั้งนี้ฝ่ายบริหารให้เหตุผลว่าผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปีบัญชีบริษัทขาดทุน 913 ล้านบาท แต่เนื่องจากเห็นว่าพนักงานได้ให้ความร่วมมือกับบริษัทด้วยดีในช่วงที่ประสบ วิกฤตเศรษฐกิจ จึงได้ปรับค่าจ้างให้แก่พนักงาน 50 เปอร์เซนต์ เพื่อช่วยเหลือพนักงานที่ขาดรายได้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

   ขณะที่คณะกรรมการสหภาพฯ ได้ชี้แจงว่า แม้บริษัทยังมีผลประกอบการขาดทุน แต่หลายปีที่ผ่านมาบริษัทก็มีกำไรจำนวนมาก โดยเฉพาะปี 2550-2551 มีกำไรปีละ 2,500 กว่าล้านบาท เมื่อถึงคราวที่ขาดทุนบ้าง บริษัทก็ควรรับผิดชอบ ไม่ใช่ให้พนักงานรับผิดชอบการขาดทุนเช่นนี้ พนักงานเสียสละมา 6 เดือนแล้ว โดยไม่ได้รับการปรับค่าจ้างประจำปี 2552 และไม่ได้รับเงินค่าล่วงเวลา ดังนั้น 6 เดือนหลังบริษัทก็ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบบ้าง โดยขึ้นค่าจ้างประจำปี 2552 ให้พนักงาน 100 เปอร์เซนต์ ซึ่งบริษัทจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพียงเดือนละ 800,000 บาทเท่านั้น เงินจำนวน 2.4 ล้านบาท จ่ายให้แก่พนักงานทั้งโรงงานไม่ได้หรือ

   โดยวันนี้ทางสหภาพฯและฝ่ายบริหารของบริษัทได้มาตกลงเจรจาไกล่เกลี่ยที่สำนัก งานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอ่างทอง ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากทางบริษัทให้ 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผิดข้อตกลงทางสหภาพฯจึงนัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อลงมติหยุดงาน

เนชั่นทันข่าว
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 05:49:41 PM
พนง.ไทยเรยอนซวยถูกเครื่องจักรหนีบเสียชีวิต
28 กค. 2552 13:56 น.
   พ.ต.อ.ระวีโรจน์ กองกันภัย ผกก.สภ.เมืองอ่างทองเข้าตรวจชันสูตรพลิกศพนายสำเริง เจิมสุริวงษ์ อายุ 49 ปี พนักงานแผนกสปินนิ่ง ฝ่ายผลิต บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) หลังถูกเครื่องจักรเบลลิ่งเพลสหนีบจนเสียชีวิต เมื่อคืนที่ผ่านมา จากการตรวจสภาพศพพบว่าบริเวณหน้าอกและท้อง มีร่องรอยถูกของแข็งกระแทกอย่างแรงจนไส้ทะลัก
   จากการสอบสวน ทราบว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา นายสมพร แย้มฤดี พนักงานประจำเครื่องจักรเบลลิ่งเพลส หมายเลข 5 และนำสำเริง เจิมสุริวงษ์ พนักงานผู้ช่วยประจำเครื่องจักรเครื่องเดียวกัน ได้เข้าปฏิบัติงานตามปกติ (กะบ่าย) ตั้งแต่เวลา 15.00-23.00 น. ต่อมาเมื่อเวลา 19.00 น. ในขณะที่นายสำเริง เจิมสุริวงษ์ ได้ปฏิบัติงานตามปกติที่เครื่องจักรดังกล่าว ซึ่งเครื่องจักรนี้ใช้ในการปฏิบัติเพื่อบรรจุเส้นใยเรยอนเป็น***บห่อ เพื่อส่งให้กับลูกค้า ขณะที่กำลังปฏิบัติงาน นายสำเริง เจิมสุริวงษ์ เห็นแผ่นผ้าพลาสติกรองเส้นใยเรยอนชิ้นล่าง ไม่อยู่ในตำแหน่งปกติที่จะรองเส้นใยเรยอน จึงเข้าไปจัดแผ่นผ้าพลาสติกให้ได้ตำแหน่งตามปกติโดยลำพัง จึงเป็นเหตุให้ฝาเปิดที่จะดันเส้นใยเรยอนออกมา ที่เป็นแผ่นเหล็ก และทำงานโดยอัตโนมัติ ดันและหนีบร่างของนายสำเริง บริเวณสะโพกติดกับโครงเสาเหล็กเบลลิ่งเพลส หมายเลข 5 ซึ่งขณะนั้น นายจักรพงษ์ คงประเสริฐ พนักงานประจำเครื่องเบลลิ่งเพลส หมายเลข 4 ได้เห็นเหตุการณ์ และอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ จึงรีบเข้าไปช่วยเหลือ โดยการไปปรับเครื่องจักร เพื่อเปิดฝาที่จะดันเส้นใยเรยอน ที่เป็นแผ่นเหล็ก และทำงานโดยอัตโนมัติ ออกจากร่างของนายสำเริง ที่ถูกหนีบอยู่ หลังจากนั้นวิศวกรประจำกะ นายสุทธิศักดิ์ พรหมอารักษ์ ได้รีบแจ้งพยาบาลประจำโรงงาน และนำส่ง รพ.อ่างทอง โดยรถพยาบาลของโรงงานทันที

ที่มา breakingnews.nationchannel.com
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 05:52:19 PM
ได้อ่านข้อความที่ดร.ได้เขียนไว้เมื่อ 14/6/51

หุ้นตัวนี้ผมเคยซื้อไว้7-8ปีก่อนเมื่อยังไม่แตกพาร์ที่ราคา 190 กว่าบาท อะไรๆก็ดูดีไปหมดเข้าข่ายเป็นหุ้นคุณค่า
ถือไปนานมาก ราคาขยับช้ากว่าหุ้นตัวอื่นๆ ปันผลก็น้อยเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้น เคยไปประชุมผู้ถือหุ้น นักลงทุนหลายๆท่านก็อยากให้บริษัทปันผลเพิ่ม ผู้บริหารก็ต้องการเก็บเงินไว้ลงทุน
โชคดีที่กลางปี 51 ราคาวัตถุดิบพุ่งขึ้นสูงมาก ราคาหุ้นขึ้นสูงและแกว่งตัวมาก ผมถึงได้ขายไป เพราะปกติราคาวัตถุดิบไม่เคยแกว่งมากเลยตั้งแต่ซื้อหุ้นมา

เมื่อขายไปได้แล้วผมได้อ่านบทความเรื่องที่ดร.ได้เขียนไว้ ซึ่งผมคิดว่าตัวนี้เป็นตัวที่เข้าข่าย "หุ้นถูกเรื้อรัง"

เครดิต SV2
- thaivi -
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 06, 2014, 05:53:59 PM
ก่อนแตกพาร์ 190 หลังแตกพาร์ก็มีทุนที่ 19 บาทใช่มั้ยครับ  ตอนปี 50 TR ราคาวิ่งไป 70 กว่าบาทมั้งครับถ้าจำไม่ผิด  ถือมา 7 ปี ได้ประมาณสี่เด้ง ก้อพอได้นะ ผมคิดว่างั้นน่ะ  :D

เครดิต คุณ nathapon_m
- thaivi -

หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 07, 2014, 01:11:00 AM
ผมชอบมากกว่าหากผู้บริหารไม่ลงทุนแบบซื้อหุ้นบริษัทร่วม แต่ควบรวมเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ต่างสาขาน่ะครับ (อันนี้ผมคิดเองเล่นๆ ไม่ทราบว่าเป็นไปได้รึเปล่า)

เพราะการถือหุ้นบริษัทร่วม สิ่งที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ก็คือกำไรทางบัญชีที่ไม่รู้ว่าจะกลับมาเป็นเงินสดถึงมือเราเมื่อไหร่ นอกจากจะมีปันผลที่เหมาะสมเช่น TCB โดยกระแสของเงินจะเป็นแนวนี้

TR --> สร้างเงินสด --> เอาไปลงทุนในบริษัทร่วมโดยการถือหุ้นเพิ่ม --> ผู้ถือหุ้นในบริษัทร่วมก่อนหน้าซึ่งก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เงินเข้าเป๋า หรือนำไปขยายกิจการต่อไปเรื่อยๆ --> บริษัทร่วมเติบโตมีกำไร --> แสดงในส่วนแบ่งกำไรในงบ TR --> พอโตจนได้ที่ แทนที่จะจ่ายปันผล บริษัทแม่กลับสร้างกิจการใหม่ขึ้นมา --> บริษัทร่วมของเรานี้ก็เอาไปลงทุนต่อในบริษัทร่วมใหม่นั้น --> ไม่รู้จบ


จนกว่าจะมีกรณีแบบ TCB คือได้เป็นงินปันผลคืนกลับมา ไม่เช่นนั้น ก็เหมือนกับการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้บริษัทแม่เท่านั้นล่ะครับ ในขณะที่ผู้ถือหุ้น TR ได้เพียงกำไรทางบัญชีที่ไม่มีวันจะกลับมาเป็นเงินสด หากบริษัทแม่ยังสร้างบริษัทใหม่และใช้เงินทุนจากบริษัทร่วมด้วยกัน แทนที่จะระดมทุนจากแหล่งอื่นๆ

ผลก็คือ wealth ของผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ถูกโอนอย่างละม่อม ทีละน้อย ทีละน้อย ไปที่บริษัทแม่ โดยบริษัทแม่ไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่เลย (มองในแง่ร้ายไปรึเปล่า)

จนกว่าซักวันหนึ่ง (ไม่รู้ว่ากี่สิบปีหรือกี่ร้อยปี) ที่บริษัทแม่จะหยุดการเติบโตหรือหยุดกิจการแล้วจ่ายเงินปันผลกลับมา

ในขณะที่การ take over มาเป็นบริษัทเดียวกันแบบ vertical integration จะทำให้สร้างมูลค่าได้โดยตรง เพราะช่วยลดต้นทุน (ปัจจุบันบริษัทยังต้องซื้อจากบริษัทร่วมในราคาตลาด) หรือเพิ่มรายได้ทางตรง ซึ่งผลออกมาก็จะเป็นเงินสดที่ได้ใน TR เองดัง flow นี้

TR --> สร้างเงินสด --> ลงทุนสร้างโรงงานผลิตเยื่อหรืออื่นๆโดยเป็นชื่อตัวเอง --> ต้นทุนลดลง --> กำไรเงินสดสูงขึ้น --> เงินสดสูงจนล้น --> ปันผลออกมา --> เงินที่เหลือไปหาที่ลงทุนต่อ --> ต้นทุนต่ำลงอีกหรือรายได้เพิ่มขึ้นอีก --> เงินสดสูงขึ้น --> เพิ่มปันผลอีก

จะเกิดอะไรขึ้นครับ หากบริษัทร่วมที่ลาวที่เพิ่งปลูกต้นไม้มีกำไรแต่ขยายตัวต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีการจ่ายปันผลกลับมาเป็นเวลาหลายๆปี ซึ่งเค้าเองสามารถโตได้ด้วยการเพิ่มทุนจากเงิน TR ที่คอยซื้อหุ้นเพิ่มเรื่อยๆ ทุกปีๆ

คำตอบก็คือ เงินสดหรือกำไรใน Retain earning ของ TR จะเป็นแหล่งเงินทุนชั้นดีให้บริษัทร่วม และจะแสดงให้เห็นในงบดุลเงินลงทุนของบริษัทร่วมที่โตเอาๆ แต่กลับไม่มีเงินปันผลตอบแทนกลับมาเลย โดยกำไรทางบัญชีส่วนหนึ่งจะได้มาจากส่วนแบ่งเหล่านี้ (ในขณะที่ปันผลยังต่ำเตี้ยเหมือนเดิม เพราะต้องคอยเอาเงินไปป้อนให้บริษัทร่วม) สังเกตได้จากกำไรทางบัญชีสูงขึ้นเรื่อยๆจากส่วนแบ่งบริษัทร่วม แต่เงินสดอิสระยังเท่าเดิม

ในขณะที่การที่บริษัท TR ไปเป็นคนปลูกป่าที่ลาวเอง จะให้ผลที่แตกต่างกัน นั่นคือกำไร TR จะสูงขึ้นเนื่องจากได้ต้นทุนที่ถูก ผลตอบแทนจะได้กลับมาเป็นเงินสดที่สูงขึ้นในงบดุล ไม่ใช่ เงินลงทุนในบริษัทร่วม และแน่นอนว่า เงินสดเหล่านี้จะกลับมาตอบแทนกลับให้ผู้ถือหุ้น TR โดยตรงในรูปแบบเงินปันผล

นี่อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่การประเมินมูลค่ากิจการ ควรประเมินจากกระแสเงินสดอิสระ ไม่ใช่กำไรทางบัญชีที่สามารถโยกย้ายถ่ายเทให้สวยหรูโดยที่นักลงทุนรายย่อยไม่รู้ตัว

ผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยครับ

เครดิต คุณdoodeemak
- thaivi.org -
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 07, 2014, 01:12:18 AM
อ้อ อีกวิธีหนึ่งที่ผมคิดว่าบริษัทจะสามารถถ่ายเทเงินสดแบบเนียนๆไปให้บริษัทร่วมก็คือการซื้อขายโดยกำหนด term การชำระเงินครับ

เช่น ถ้า TR ต้องซื้อเยื่อกระดาษจากบริษัทที่แคนาดา แต่เนื่องจากน้องแคนาดากำลังเติบโตและต้องการเงินสดไปลงทุนต่อเนื่อง จึงขอให้ TR จ่ายเงินให้เร็วๆหน่อย จากเดิมที่ถ้าซื้อที่อื่น TR จะจ่ายเงินภายใน 60 วัน พอเป็นน้องแคปุ๊บ บริษัทใจดี 7 วันก็โอนเงินให้เลย งานนี้น้องแคสบายเพราะไม่ต้องกู้เงินเพิ่มซักนิด  :roll:

คนที่ทำธุรกิจจะรู้ซึ้งดีถึงเจ้าตัว working capital ว่าสำคัญต่อการเติบโตขนาดไหน การที่ TR ยอมจ่ายเงินให้น้องแคเร็ว จะทำให้บริษัทต้องอั้นเงินไว้ก้อนหนึ่งเพื่อมาหมุน ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้มากเท่าที่ควร

หรือถ้าน้องอินโดที่เป็นลูกค้า TR บอกว่า เค้าต้องการเงินหมุนเวียนเพิ่มขอให้ยืดระยะเวลาชำระหนี้จากปกติ 30 วันเป็น 60 วัน ก็จะส่งผลให้ TR ต้องอั้นเงินไว้อีกก้อน เพราะเงินไหลเข้ามาช้าลง

การที่บริษัทมี % working capital สุงๆจะทำให้เป็นอุปสรรคอย่างมากในการเติบโต เพราะยิ่งโต จะยิ่งต้องการเงินหมุนมากขึ้น

ผิดถูกอย่างไร รบกวนชี้แนะด้วยครับ

ปล. ผมมีหุ้นนิดนึงนะครับ ไม่อยากให้รีบซื้อกันจนราคาสูงเกินไป  :lol:

เครดิต คุณdoodeemak
- thaivi.org -
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 07, 2014, 01:14:31 AM
ขอแสดงความเ็ห็นแบบงูๆปลาๆนะครับ

ส่วนตัวเห็นด้วยกับพี่ doodeemak หลายประการเหมือนกันครับ และจะดีใจมากถ้าหาก TR จะจ่ายปันผลมากกว่านี้

แต่จากอดีตที่ผ่านมา การลงทุนของ TR ส่วนใหญ่ก็ให้ผลกำไรค่อนข้างดีนะครับ ยกเว้นในช่วงปีที่ผ่านมา การลงทุนของบริษัทเป็นตัวช่วยรักษาระดับ ROE ได้ดี ทั้งๆที่ Equity โตค่อนข้างมากในแต่ละปี (เนื่องจากการจ่ายปันผลในอัตราโปรโมชั่นต่ำพิเศษ)

การลงทุนต่อเนื่องแบบนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ TR เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งในวงการอย่างในปัจจุบันนะครับ ถ้ามัวแต่ลงทุนในธุรกิจเรยอนอย่างเดียวก็คงมีัลักษณะเป็น cyclical มากกว่านี้เยอะมาก

Cr Interne
- thaivi.org -
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 07, 2014, 01:19:08 AM
เรื่อง คำชี้แจงกรณีอุบัติเหตุที่โรงงานในจังหวัดสระบุรี

เรียน ฝ่ายบริษัทจดทะเบียน
    ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) (?บริษัทฯ?) ขอชี้แจงให้ทราบเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่โรงงานผลิตก๊าซคาร์บอน
ไดซัลไฟด์ ในอุตสาหกรรมนิคมเอสไอแอล อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552 ได้มีก๊าซ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ในพื้นที่บริเวณถังเก็บสต็อกผลิตภัณฑ์ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์สูงเกินปกติ จนเป็นเหตุให้พนักงานของ
โรงงาน 5 คนที่เข้าไปแก้ไขอุปกรณ์เครื่องจักรกรณีฉุกเฉินดังกล่าว ประสบอุบัติเหตุสูดดมก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์เข้าไปเกิน
ขนาดเป็นเหตุให้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลสระบุรี 4 คน  ซึ่งสำนักงานอุตสาหกรรม
จังหวัดสระบุรีได้มีคำสั่งให้โรงงานหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบและปรับปรุง
   
    โรงงานดังกล่าวของบริษัทฯ เป็นโรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ โดยใช้วัตถุดิบจากก๊าซธรรมชาติและสาร
กำมะถัน ในขั้นตอนการผลิตได้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งโดยปกติในขบวนการผลิตจะต้องนำกลับไปใช้ใหม่ให้หมด
โดยก่อนเกิดเหตุดังกล่าว โรงงานได้หยุดการผลิตเพื่อซ่อมเครื่องจักรประจำปี หลังจากได้เดินเครื่องทำการผลิตมาตลอด
เป็นเวลา 1 ปีแล้ว โดยไม่เคยเกิดอุบัติเหตุรุนแรงใดๆ วัตถุประสงค์ในการซ่อมแซมประจำปีดังกล่าวเพื่อให้อุปกรณ์
เครื่องจักรทุกส่วนสมบูรณ์ตามเดิมมากที่สุด  ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของพนักงานเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามเมื่อได้เริ่ม
เดินเครื่องจักรใหม่ ปรากฏว่ามีความผิดพลาดในการปฏิบัติงานตามคู่มือปฏิบัติการเดินเครื่องจักร ทำให้เกิดก๊าซ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกมาอยู่ในถังเก็บผลผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์  และหลุดออกมาอยู่ในพื้นที่ทำงาน พนักงานผู้ซึ่ง
รับผิดชอบในส่วนงานดังกล่าวจึงรีบเข้าแก้ไขปัญหาเพื่อควบคุมสถานการณ์ แต่ด้วยความรีบร้อน พนักงานบางคนได้ลืม
สวมใส่อุปกรณ์หน้ากากป้องกันก๊าซอันตรายตามกฎระเบียบของบริษัทฯ แม้จะได้มีหน้ากากดังกล่าวติดประจำตัวอยู่
ทำให้ประสบเหตุต่อสุขภาพอย่างรุนแรง สำหรับผู้ที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายถูกต้องได้ประสบปัญหาเพียงเล็กน้อยและ
ปลอดภัยดี
   
    บริษัทฯ ได้ดูแลอย่างใกล้ชิดและรับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลและค่าชดเชยทุกอย่างแก่พนักงานผู้ซึ่งได้รับ
ผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้  โดยแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 2 คน และอีก 2 คนยังคงอยู่ในการดูแลอย่าง
ใกล้ชิดจากแพทย์ และอาการได้ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกจากโรงพยาบาลภายใน 1 สัปดาห์
   
    บริษัทฯ รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการสูญเสียพนักงานในอุบัติเหตุครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้าน
การเงินอย่างเต็มที่ต่อครอบครัวผู้สูญเสีย
   
    อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อวัตถุดิบที่ใช้ในการดำเนินงานผลิตของบริษัทฯ แต่อย่างใด การดำเนินการผลิต
เส้นใยเรยอนที่โรงงานในจังหวัดอ่างทองยังคงเป็นไปตามปกติ ในระหว่างนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไป
ตามข้อกำหนดของทางราชการ เพื่อให้ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการที่โรงงานสระบุรีตามปกติ 

     จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ


                                                          ขอแสดงความนับถือ



                                                    นายแฮรี่ กฤษณะ อาการ์วาล
                                                           ประธานบริษัท

หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 07, 2014, 01:23:46 AM
ประชุมปีนี้ ไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจครับ
แถมนานอีกต่างหาก(3 ชม.) เนื่องจากมีนักลงทุนรายย่อยบางท่าน ทำตัวเป็นตัวป่วนในที่ประชุม คอยตั้งคำถามที่นอกประเด็น และพยายามพูดแดกดันผู้บริหารในทุกวาระการประชุม

โดยสรุป เท่าที่จำได้บางส่วนนะครับ ท่านใดที่อยากอ่านรายงานสรุปแบบเต็ม โปรดติดตามทาง website ของบริษัทครับ

- อย่างแรกที่ผู้ถือหุ้นบ่น คือ รายงานประจำปีอ่านยาก เพราะพิมพ์ด้วยสีส้มค่อนเล่ม อันนี้บริษัทรับว่าจะไปแก้ไขในปีถัดๆไป

- ผู้บริหารให้เหตุผลของการที่กำไรลดลง ว่ามาจากวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งทุกบริษัทในอุตสาหกรรมต่างได้รับผลกระทบกันทั้งหมด

- เรื่องบริษัทย่อย บริษัทร่วม ที่ขาดทุนกันบานเบอะในปีที่แล้ว ผู้บริหารให้เหตุผลถึงความยากลำบากที่เป็นกันทั้งอุตสาหกรรม

- เรื่องการจ้างอดีตผู้บริหาร คุณ P.M. Bajaj เป็น full time advisor นั้น เป็นที่อภิปรายกันพอสมควร โดยเหตุผลของกรรมการบริษัท คือ คุณ Bajaj เป็นผู้บริหารที่อุทิศตน ทำงานกับไทยเรยอนมา 25 ปี สร้างความผลประโยชน์แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ เพื่อผลประโยชน์ของบริษัท และตัวท่านมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนี้ มีทักษะและความรอบรู้ที่เป็นประโยชน์กับบริษัท แต่เนื่องด้วยถึงเวลาเกษียณอายุตามกฎของบริษัท บริษัทจึงอยากจะให้สิ่งตอบแทน เพื่อเป็นตัวอย่างแก่บุคลากรรุ่นหลังต่อไป รวมทั้งอยากจะให้การบริหารงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มี gap ระหว่างการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร โดยค่าตอบแทนที่บริษัทเสนอให้นั้น ใกล้เคียงกับสมัยที่คุณ Bajaj เป็นผู้บริหารอยู่

- เรื่องการซื้อวัตถุดิบราคาแพงในปีที่ผ่านมา ผู้บริหารให้เหตุผลว่า ตอนนั้นราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว และหาซื้อวัตถุดิบยาก อีกทั้ง supplier ต้องการให้ทำสัญญาซื้อขายปริมาณมาก จึงจะยอมขายให้ และที่ผ่านมาราคาวัตถุดิบมักปรับตัวอย่างช้าๆ หลังจากปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในแวดวงนี้ บริษัทจึงต้องทำสัญญาซื้อขายล๊อตใหญ่ ซึ่งต่อมาราคาวัตถุดิบลดลงเร็วมาก จนทำให้บริษัทขาดทุน ซึ่งแนวทางแก้ไข คือต่อไปบริษัทจะทำสัญญาซื้อวัตถุดิบกระจายไปหลายช่วงระยะเวลา

- เส้นใย birla modal ขณะนี้ยังถือเป็นรายได้ส่วนไม่มากของบริษัท ประมาณ 7%-8% แต่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

- ตอนท้าย มีผู้ถือหุ้นเสนอว่าบริษัทน่าจะแจกของชำร่วยบ้าง ผู้บริหารตอบว่า ถ้าบริษัทแจก ก็จะมีผู้ถือหุ้นรายอื่นบ่นอีก ว่าบริษัทกำไรลดลงเยอะ ไม่น่าจะแจกของ  :lol: อย่างไรก้ตาม ถ้าไปเยี่ยมชมโรงงาน คาดว่าน่าจะมีของชำร่วยแจกนะครับ

- เรื่องการลงทุนในอนาคต ไม่มีใครถามถึงเลยครับ

Cr คุณchut    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
Post: Sat Jan 30, 2010 2:34 pm
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 07, 2014, 01:26:19 AM
การประชุม ที่ น่าหงุด หงิด

  ...จากที่ คุณ chut กล่าว ก้อจริง คือมีผู้ ถือหุ้นคน นึงป่วน ตลอด การประชุม และไม่มีคำถามที่สร้างสรรค์ เช่น ถาม ว่าทำไมกำไรลด ถึงได้จ้าง ประธานคนเดิม ต่อ งี้ ....ถามว่ากำไรลด ลงทำไมผู้ตรวจสอบบัญชี ได้ค่าจ้างเท่าเดิม หรือมากว่าเดิม งี้ ผมฟังไม่ทันไม่ได้สนใจ ...ซึ่ง เมื่อเทียบขนาด ของรายการกับ ขาด ของบริษัทเล็กน้อย มาก....ที่สำคัญ ผม ได้ยินเค้า คุยกับ คนที่นั่ง อยู่ กะเค้า ว่า ถือ หุ้นอยู่ แสน นึง จะขายได้งัย ถ้าขายก้อfloor เฮ้อ นักลงทุน  แบบนี้ ผมคิดว่า เหมือน กบในกะลา มากกว่า ...

   จากการสังเกตุจะเห็น ว่า นักลงทุนส่วน ใหญ่จะเป็น คนสูงวัย ที่ถือหุ้น บริษัทนี้ และถือมานาน สิบปีก้อ มีเยอะ ....ส่วนใหญ่ก้อจะบ่น เกี่ยวกับเรื่องปันผล ว่าน้อย เหลือเกิน ...

ตามความคิดเห็น ส่วนตัว นะครับ ผมคิดเป็น ประเด็น ดังนี้ ที่ผมสนใจลงทุนในบริษัท นี้ คือ
- สำหรับนักลงทุน รุ่น ใหม่ถือว่าเป็น โอกาสอัน ดี ที่จะลงทุนบริษัทนี้ เนื่องจาก ที่ผ่านมา เค้า แทบไม่ปัน ผลเลย  เก็บกำไรสะสมเอาไว้ และมาลงทุน หนักๆ ปีสองปีที่ผ่านมา โดย มูลค่าหุ้น ยัง ขึ้น ไม่ทัน กับ book value ที่เพิ่มขึ้น อย่างมากเมื่อสองสาม ปีที่ผ่านมา เมื่อก่อน bv มันอยู่แถว สี่สิบห้าสิบ ราคาหุ้นก้ออยู่แถวสามสิบสี่สิบ แต่เดี๋ยวนี้ bvมันเจ็ดสิบกว่า หุ้น อยู่แถวสี่สิบกว่า เอง ก้อถือว่า น่าสนใจ เท่ากับคนที่ซื้อหุ้น ตอนนี้ เอากำไรที่เค้า เก็บมานาน แล้วมาลงทุนหนักๆให้เรา ปีสองปี นี้ เราก้อจะเป็นผู้ เก็บเกี่ยวผลปรโยชน์ เท่าๆกับ คนที่ถือหุ้น มา สิบ ปียี่สิบปีเลยทีเดียว ผมคิดว่ามันน่า จะเห็นผลได้เร็ว ไม่เกิน วันที่ 15 กพ. กับ ผลกำไร ที่เกิ ขึ้ น ถ้า คาดเดา จาก งบ grasim บรษัทแม่

- -ข้อมูลที่น่าสนใจตัว นึง คือ ปีที่ผ่านมา กรรมการ คน นึง เค้า มีหุ้น เพิ่มขึ้น ล้าน นึง จากปีที่แล้ว ถือ สามแสน กว่า ซึ่งเป็น ใบที่เจ้าหน้าที่ให้มาแก้ไขในหนังสือ ประชุมผู้ ถือ หุ้น มี นัย หรือป่าว ไม่แน่ใจ อาจเป็นหุ้น โอนมาจาก คนอื่น ก้อได้ บริษัทนี้ ไม่รู้ว่าเวลาผู้บริหารซื้อขาย หุ้น หายังงัย  ไม่เห็น มี เหมือนบริษัทอื่ในwweb กลต เหมือนกัน

ความเห็น ส่วน ตัวนะ ครับ ...

Cr. BERSERK
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 10, 2014, 12:56:50 AM
กราฟราคาหุ้นไทยเรยอน
ใครดู Technical เข้าไปดูได้ครับ

http://investing.businessweek.com/research/stocks/charts/charts.asp?ticker=TR:TB (http://investing.businessweek.com/research/stocks/charts/charts.asp?ticker=TR:TB)
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 11, 2014, 02:21:37 AM
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า การถือหุ้นที่P/Eตำๆและราคาตำกว่าBVมากๆก็ปลอดภัยดี เพียงแต่รอคนมองเห็นค่าของมัน เดี๋ยว P/Eก็สูงขึ้น และการปันผลน้อยๆก็ไม่เสียหายเพราะเงินก็จะไปรวมใน BV อยู่ดี  ถ้าผู้บริหารเก่งและนำเงินไปลงทุนได้ก็ทำให้กำไรในปีถัดไปดีขึ้น สุดท้ายกำไรก็ดีขึ้นไปอีก และราคาหุ้นก็จะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงตามกลไกราคา เพียงแต่ไม่เร็วทันใจผู้ลงทุน

ยิ่งดูลึกๆยิ่งชอบTRมากๆ  ถือยาวๆ 5 ปีก็จะเห็นความแตกต่างครับ  หุ้นบางตัวเล่นเป็นรอบๆ แต่บางตัวต้องเก็บในพอร์ทนานๆครับและค่อยๆเก็บตอนราคาลงมาถูกๆครับ  ใครเห็นต่างก็แชร์ข้อมูลนะครับ

Cr. little_kop
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 11, 2014, 02:24:21 AM
2.  ปัจจัยความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง
บริษัทฯ มีความเสี่ยงทั้งที่เกิดจากปัจจัยความเสี่ยงของอุตสาหกรรมและปัจจัยความเสี่ยงเฉพาะของบริษัทฯ  โดยบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารปัจจัยความเสี่ยงทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารเกี่ยวกับความเหมาะสมและประสิทธิภาพของนโยบายการบริหารความเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยง
1.    ความเสี่ยงจากการจัดการทางการเงิน
ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้ยืม
บริษัทฯ ไม่มีภาระกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นบริษัทฯ จึงไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือความเสี่ยงจากดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ
ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินจากเงินลงทุนระยะสั้น
อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนตลอดเวลาตามแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก บริษัทฯ มีกระแสเงินสดส่วนเกินซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินฝากระยะสั้นและส่วนใหญ่เป็นเงินบาท เงินที่ครบกำหนดในสัญญาส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินฝากต่างประเทศ ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบต่อดอกเบี้ยรับของบริษัทฯ 
บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการคัดเลือกสถาบันการเงินที่มีความมั่นคง และมีการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้สำหรับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และมีระยะเวลาการฝากเงินที่แตกต่างกัน โดยมีระยะเวลาการฝากเงินสูงสุดไม่เกิน 1 ปี
ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
บริษัทฯ ส่งออกประมาณร้อยละ 55 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยขายเป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เป็นหลัก ในขณะเดียวกัน วัตถุดิบหลักก็มีการนำเข้า โดยจ่ายเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เช่นเดียวกัน ยอดการส่งออกและการนำเข้ามีปริมาณใกล้เคียงกัน ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงในระดับสมดุล โดยการใช้เงินรายได้จากการส่งออกในรูปเงินดอลล่าร์มาชำระการจ่ายค่าสินค้านำเข้า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาวัตถุดิบนำเข้าและสินค้าสำเร็จรูปที่มีการเปลี่ยนแปลง  บริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนเงินดอลล่าร์ในระยะสั้น ในกรณีที่เกิดการขาดแคลนเงินดอลล่าร์ในระยะสั้นหรือระยะยาว บริษัทฯ จะปฏิบัติตามนโยบายโดยการซื้อหรือการขายเงินดอลล่าร์เป็นครั้งคราว ยกเว้นการซื้อขายล่วงหน้าในส่วนของสินค้าทุนที่ต้องมีการนำเข้า

2.    ความเสี่ยงจากรายได้และกำไร
ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
ราคาของวัตถุดิบหลัก 3 รายการ อันได้แก่ เยื่อกระดาษ โซดาไฟ และกำมะถัน เป็นปัจจัยหลักในการกำหนดต้นทุนการผลิตของบริษัทฯ และผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็มีราคาผันผวนเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงส่งผลต่ออัตรากำไรของบริษัทฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น แต่การเพิ่มราคาขายเส้นใยเรยอนก็อาจทำได้ยากเนื่องจากตลาดสิ่งทอที่ซบเซารวมทั้งการแข่งขันจากบริษัทคู่แข่งและเส้นใยทดแทน (เส้นใยที่ใช้แทนกันได้) บริษัทฯ ดำเนินนโยบายการซื้อวัตถุดิบเป็นรายไตรมาส และกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์ในตลาดในประเทศเป็นรายไตรมาสเช่นเดียวกัน  ถึงแม้ว่ายอดการขายผลิตภัณฑ์ส่งออกไปต่างประเทศได้ถูกกำหนดไว้เป็นรายเดือน แต่การซื้อวัตถุดิบซึ่งเกี่ยวโยงกับดัชนีการตลาดรายเดือนก็ช่วยรักษาความสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างต้นทุนสินค้าและรายได้ส่งออก
ความเสี่ยงจากราคาขายของเส้นใยทดแทน
เส้นใยประดิษฐ์เรยอนสามารถนำมาใช้ผสมกับเส้นใยโพลีเอสเตอร์หรือใยฝ้ายได้ และบางครั้งอาจนำมาใช้ทดแทนเส้นใยเหล่านี้ได้ ราคาเส้นใยจากฝ้ายจะขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตและพื้นที่ปลูกฝ้ายเป็นหลัก เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้บริโภคฝ้ายรายใหญ่ ดังนั้นผลกระทบจึงมองเห็นได้อย่างชัดเจน อุตสาหกรรมเส้นใยโพลีเอสเตอร์มีปริมาณการผลิตสูงและมีน้ำมันเป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้มีราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ทำให้ผู้ผลิตต้องใช้เส้นใยหลายชนิดรวมกันในอัตราต่างๆ กันไป ในขณะที่เส้นใยประดิษฐ์เรยอนจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนั้นความผันผวนของราคาเส้นใยทดแทนจึงแทบไม่มีผลต่อราคาเส้นใยประดิษฐ์เรยอน เว้นแต่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่กับปริมาณความต้องการเท่านั้น ประเด็นนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นความเสี่ยง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างโอกาสให้กับเส้นใยประดิษฐ์เรยอนด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัทฯ จะได้รับผลประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท เนื่องจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับเส้นใยประเภทอื่น   และขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับลูกค้าในประเทศที่นำเส้นใยเรยอนไปผลิตเพื่อการส่งออกด้วย เนื่องจากรายได้จากการขายได้รับอิทธิพลโดยตรงจากอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่ต้นทุนได้รับอิทธิพลจากอัตราแลกเปลี่ยนเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นรายได้รวมและกำไรจะได้รับผลกระทบอย่างมาก หากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงปกติของธุรกิจทั่วไป

3.    ความเสี่ยงจากการตลาด
ความเสี่ยงจากประเทศคู่ค้า
ตุรกี ปากีสถาน บราซิล และอิหร่าน กำลังกลายเป็นประเทศผู้ค้าสิ่งทอที่สำคัญหลังจากที่ได้มีการยกเลิกระบบโควต้าของ MFA ในปี 2548 ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีปริมาณการขายแก่ลูกค้าในประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้น  นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีนโยบายที่จะส่งผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าออกไปอีก อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้จะก่อให้เกิดความเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมืองและการเงินซึ่งเกิดขึ้นเป็นบางครั้งในประเทศเหล่านี้
ความเสี่ยงจากลูกค้า
บริษัทฯ มีลูกค้าหลักในประเทศ 5 ราย และหนึ่งในลูกค้าดังกล่าวเป็นบริษัทในเครือ และซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ กว่าร้อยละ 20 ด้วยวงเงินเครดิต อย่างไรก็ตามลูกค้ารายนี้มีฐานลูกค้าต่างประเทศที่กว้างขวาง  ดังนั้นบริษัทฯ จึงเชื่อว่าจะไม่มีความเสี่ยงจากการให้เครดิตดังกล่าว บริษัทฯ ยังได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์บางส่วนให้กับผู้นำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ผ่านบริษัทตัวแทนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการคุ้มครองจากการประกันภัยวงเงินเครดิต อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้เฝ้าติดตามการขายเครดิตในวงเงินที่กำหนดอย่างใกล้ชิด
ความเสี่ยงจากนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์
หลายปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มุ่งเน้นไปยังตลาดบน ตลาดนอนนูเว่น และผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งได้เริ่มดำเนินการเดินเครื่องจักรในสายการผลิตใหม่ ทำให้บริษัทฯ สามารถทำการผลิตเส้นใย High Wet Modulus (Modal) ซึ่งเป็นเส้นใยที่ใช้สำหรับลูกค้าระดับบน โดยนำไปผสมกับใยฝ้าย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ถักทอพิเศษ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการผลิต ทำให้บริษัทฯ สามารถรองรับความต้องการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นจากลูกค้ากลุ่มต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทฯ เน้นการทำตลาดระดับบน ก็จะเกิดความเสี่ยงด้านการร้องเรียนคุณภาพของสินค้าในระยะแรกของการพัฒนาตลาด ซึ่งถือเป็นสิ่งปกติสำหรับอุตสาหกรรมนี้ บริษัทฯ ได้เพิ่มความรู้ความเชี่ยวชาญโดยการจัดจ้างที่ปรึกษาที่เปี่ยมประสบการณ์เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพ  และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำสุด
ความเสี่ยงจากการล้าสมัยของผลิตภัณฑ์
บริษัทฯ ค้นคว้าพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวกับเส้นใยเซลลูโลสอย่างใกล้ชิด โดยให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทในเครือในประเทศอินเดียเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้บริษัทฯ ได้พัฒนาเส้นใย “เบอร์ลาโมดาล” เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต บริษัทฯ คาดว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงจากการล้าสมัยของผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของบริษัทฯ 

4.    ความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจ
ความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม
ในกระบวนการผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอน อาจก่อให้เกิดมลภาวะทั้งทางน้ำและทางอากาศ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ลงทุนไปเป็นจำนวนมากเพื่อปรับปรุงระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมและการกำจัดมลพิษ ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ผ่านมาตรฐานทั้งหมดของกระทรวงอุตสาหกรรม ของเสียทุกชนิดจากบริษัทฯ ได้ถูกคัดแยกและส่งไปกำจัดโดยตัวแทนที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจริงจะได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจากบริษัทฯ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจัดการของเสียอย่างผิดวิธีจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ถือเป็นความสำคัญที่จะต้องรักษาระดับมลพิษให้ต่ำสุดตามที่กฎหมายกำหนด ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้จัดงบประมาณเพื่อให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยบริษัทเอกชนอิสระ และจากรายงานที่ได้รับมา บริษัทฯ ได้จัดทำมาตรการต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมไอเอสโอ 14001 ทำให้บริษัทฯ มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมีความเสี่ยง ต่ออุบัติเหตุการรั่วไหลในระดับกลางถึงระดับสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
ความเสี่ยงจากการจัดเก็บและการใช้งาน
บริษัทฯ จ้างผู้รับเหมาขนส่งสารเคมีอันตราย เช่น โซดาไฟ กำมะถัน ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ และกรดซัลฟุริค และจัดเก็บไว้ในสถานที่ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ติดตามการดำเนินงานของบริษัทขนส่งและมาตรการการจัดเก็บตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะไม่เคยมีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นจากวัตถุเหล่านี้ บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากสารเคมีเหล่านี้
ความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบ
บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อเยื่อกระดาษระยะยาวระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2552 สัญญาฉบับนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามบริษัทฯ อาจยังต้องพึ่งพาการซื้อเยื่อกระดาษจากแหล่งอื่นเป็นครั้งคราวซึ่งคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ ถ่านไม้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ ที่เป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตเส้นใยเรยอน ปริมาณถ่านไม้ลดลงไปตามทรัพยากรไม้ที่ลดลงรวมทั้งกฎระเบียบของรัฐที่เข้มงวดมากขึ้น โรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์แห่งใหม่ในสระบุรีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นฐานช่วยให้บริษัทฯ มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ใช้อย่างพอเพียง ซึ่งช่วยลดการใช้ถ่านไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ 
ความเสี่ยงจากการทำงานในโรงงาน
บริษัทฯ มีการติดตั้งระบบบำรุงรักษาเครื่องจักร ทั้งแบบตามอายุการใช้งาน และแบบป้องกัน เพื่อให้อุปกรณ์ทุกชิ้นในโรงงานอยู่ในสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีระบบการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอตามประโยชน์การใช้งาน บริษัทฯ คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานเป็นสำคัญ นอกจากการอบรมพนักงานให้คำนึงถึงความปลอดภัยอยู่เสมอแล้ว บริษัทฯ ยังได้ลงทุนในด้านการจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย มีการฝึกซ้อมหนีไฟ การฝึกซ้อมอพยพในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีความตื่นตัวด้านการรักษาความปลอดภัยสูงสุด
ความเสี่ยงของโครงการ
ความเสี่ยงของโครงการอาจเกิดขึ้นในรูปของความบกพร่องในการออกแบบทางวิศวกรรมและการก่อสร้าง การด้อยคุณภาพของผลิตภัณฑ์และฝีมือแรงงาน บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการขยายโรงงานและปรับปรุงการผลิตให้ทันสมัย บริษัทฯ จึงได้จัดให้มีกรมธรรม์ประกันภัยการก่อสร้าง เพื่อครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภท (Construction All Risk: CAR) มาใช้กับโครงการก่อสร้างที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อป้องกันความเสียหายจากโครงการระหว่างก่อสร้าง

5.    ความเสี่ยงจากภายนอก
ความเสี่ยงจากภัยการเมือง
เหตุการณ์ทางการเมือง เช่น การก่อการร้าย ได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดไปทั่วโลก ทำให้ต้นทุนและความเสี่ยงในธุรกิจเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อวัฎจักรของอุปสงค์และอุปทาน
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุน
บริษัทฯ ได้ลงทุนตามแผนกลยุทธ์ (ทั้งแบบขยายตัวไปข้างหน้าและข้างหลัง) โดยการเข้าไปซื้อหุ้นในบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ ร่วมกับบริษัทอื่นในกลุ่มเบอร์ล่า แม้ว่าบริษัทฯ จะไม่เห็นความเสี่ยงจากการลงทุนเหล่านี้ แต่การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบในประเทศเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯ ที่ไปลงทุนได้
เศรษฐกิจโลก
วิกฤติการเงินที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญในช่วงปีที่ผ่านมาก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเห็นได้จากราคาหุ้นที่ตกต่ำไปทั่วโลก ปัญหาสินเชื่อซึ่งรวมถึงการกู้ยืมระหว่างธนาคาร สถาบันการเงินใหญ่ๆ ในต่างประเทศต้องปิดกิจการ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง บริษัทฯ ประสบภาวะขาดทุนในช่วงหกเดือนแรกของปี เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลง อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปีได้ปรากฏสัญญาณของการฟื้นตัว คาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์สิ่งทอจะเป็นไปอย่างช้าๆ  ซึ่งจะส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทฯ

http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/56/20090075T04.DOC

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 11, 2014, 02:44:16 AM
หุ้นถูกเรื้อรัง โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

Monday, 16 June 2008
หุ้นถูกเรื้อรัง

มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มหนึ่งที่ผมเองเคยซื้อ เคยขายไปแล้ว หรือบางทีก็ยังถืออยู่หรือกำลังคิดที่จะซื้อ และส่วนใหญ่ก็ยังจับตาดูอยู่ แต่กลับเป็นหุ้นที่ผมยังไม่เข้าใจดีพอและไม่รู้ว่าอนาคตมันจะวิ่งขึ้นไปไหม สิ่งเดียวที่ผมพอจะบอกได้ก็คือ ราคามันไม่ค่อยตกหรือตกก็ไม่มาก สิ่งที่ยังไม่รู้ก็คือ ทำไมราคามันจึงไม่ไปไหนสักทีทั้ง ๆ ที่มันเป็นหุ้นที่แสนจะถูกและเข้าข่ายเป็นหุ้นคุณค่าไม่ว่าจะวัดโดยตัวเลขอะไร หุ้นกลุ่มที่ว่านี้คือหุ้นที่ผมอยากจะเรียกว่า “หุ้นถูกเรื้อรัง”

หุ้นถูกเรื้อรังนั้นมีคุณสมบัติร่วมกันบางอย่างดังต่อไปนี้คือ ข้อแรก เป็นหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ หลายบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรม “ตะวันตกดิน” อีกหลายบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่โตช้าหรืออิ่มตัว เกือบทั้งหมดนั้นเป็นบริษัทที่เป็นโรงงานผู้ผลิตหรือขายสินค้าให้กับโรงงานอื่นหรือขายสินค้าที่คนซื้อไม่สนใจในตัวยี่ห้อสินค้า ไม่มีบริษัทไหนที่เป็นบริษัทที่ขายบริการ

ข้อสอง หุ้นถูกเรื้อรังนั้นมีผลการดำเนินงานที่ดีเข้าข่ายเป็นหุ้นคุณค่าทุกด้าน เริ่มตั้งแต่ตัวเลขยอดขายและกำไรที่ค่อนข้างจะสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายปี ยอดขายและกำไรของหลายบริษัทอาจจะไม่ค่อยเติบโตมากนัก แต่บางบริษัทก็เติบโตอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอใช้ เรียกว่าผลการดำเนินงานนั้นอยู่ในข่ายที่สามารถ “คาดการณ์ได้” เช่นเดียวกัน บริษัทเหล่านี้มักจะมีปันผลสม่ำเสมอและผลตอบแทนจากปันผลเมื่อเทียบกับราคาหุ้นก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือประมาณ 5- 6 % ต่อปี และถ้าใครที่ลงทุนแล้วหวังปันผลเป็นหลักแล้วละก็ หุ้นเหล่านี้ก็เป็นหุ้นที่น่าสนใจ จะเรียกว่าเป็นหุ้นห่านทองคำก็น่าจะได้

ข้อสาม ฐานะทางการเงินของบริษัทในกลุ่มนี้ค่อนข้างมั่นคง หนี้สินที่เป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินมักจะมีน้อยหรือไม่มีเลย ยิ่งไปกว่านั้น หลายบริษัทมีเงินสดมหาศาลจนเกินความจำเป็น นอกจากเงินแล้ว บริษัทเหล่านี้มักจะมีทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีค่าเพิ่มขึ้นจากมูลค่าทางบัญชีด้วย ดังนั้น ความ “ถูก” ของหุ้นจึงแทบไม่มีข้อสงสัยเลยถ้ามองจากทรัพย์สิน

ข้อสี่ ถ้าวัดความ “ถูก” ของหุ้นจากค่า PE หรือดูจากราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้นก็จะพบอีกว่า หุ้นเหล่านี้มีค่า PE ที่ค่อนข้างต่ำ นั่นคือ เกือบทั้งหมดมีค่า PE ต่ำกว่า 10 เท่า หลายบริษัทมีค่า PE เพียง 7-8 เท่าหรือต่ำกว่าก็มี ดังนั้น สำหรับ Value Investor ที่เพิ่งเข้ามาศึกษาหุ้นเหล่านี้ เขาก็มักจะสรุปทันทีว่านี่คือหุ้นคุณค่าที่น่าสนใจมาก

ข้อห้า ในด้านของการบริหารงานของกิจการ สิ่งที่มักจะพบก็คือ บริษัทน่าจะมีการบริหารที่ดี หลายบริษัทอาจได้รับรางวัลดีเด่นด้านการผลิต หลายบริษัทก็มีความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจที่ใช้ได้ มองในด้านของการคุมโรงงานหรือบริหารการขาย หรือการจัดการโดยทั่วไปแล้ว บริษัทเหล่านี้มักอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ดังนั้น มองโดยผิวเผินแล้ว Value Investor หลายคนก็มักจะสบายใจ และสรุปว่านี่คือหุ้นคุณค่าที่น่าลงทุน

แต่ถ้ามองลึกลงไปอีกสักเล็กน้อย หุ้นถูกเรื้อรังนั้นมักจะมีจุดอ่อนที่เหมือนกันเกือบทุกบริษัทซึ่งผมอยากจะชี้ให้เห็นก็คือ บริษัทเหล่านี้มักมีนโยบายในการจัดสรรเงินที่บริษัททำมาหาได้อย่างที่ผมคิดว่าไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือนักลงทุนทั่วไป แต่อาจจะเป็นประโยชน์กับผู้บริหารและ/หรือหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็น “เจ้าของบริษัท” โดยที่การจัดสรรเงินสดและผลกำไรของบริษัทมักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

ข้อแรกที่เหมือนกันเกือบทุกบริษัทก็คือ เมื่อมีกำไรบริษัทมักจะจ่ายปันผลในอัตราที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่มีสถานะใกล้เคียงกัน หลายบริษัทจ่ายปันผลเพียง 25-30 % ของกำไรทั้ง ๆ ที่บริษัทไม่ได้มีหนี้สินที่เป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินเลย นี่เป็นข้อแรก

ข้อสอง บริษัทเหล่านี้ เนื่องจากมีกำไรต่อเนื่องและจ่ายปันผลน้อย หลายบริษัทจึงมีเงินสดเหลือมาก แต่แทนที่จะจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้น กลับนำไปฝากแบงค์หรือซื้อตราสารการเงินที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ โดยเหตุผลอาจจะเป็นว่าเพื่อสำรองไว้ใช้ขยายงานหรือรองรับกับภาวะ “วิกฤติ” ในอนาคต บางบริษัทก็นำเงินสดที่มีไปขยายงานโดยเฉพาะในกิจการที่อยู่ในต่างประเทศหรือบริษัท “ในเครือ” มากมายไม่มีที่สิ้นสุด ในขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยนั้น หวังที่จะเห็นปันผลเพิ่มยากเย็นมากและถ้าเพิ่มก็เพียงเล็กน้อย ในประเด็นนี้ก็อาจจะมีข้อถกเถียงว่าบริษัทต้องการลงทุนเพิ่มเพื่อที่จะได้ทำกำไรมากขึ้นซึ่งก็จะทำให้ผู้ถือหุ้นได้ปันผลมากขึ้นในอนาคต แต่สำหรับผมและ Value Investor อีกหลายคนนั้น อนาคตอาจจะไม่แน่นอน และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าการลงทุนเกิดความเสียหายและอนาคตเราอาจจะไม่ได้อะไรเลย เหมือนกับคำพูดที่ว่า “นกหนึ่งตัวในมือนั้น ดีกว่านกสองตัวในพุ่มไม้”

ข้อสาม บริษัทเหล่านี้มักมีผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของที่ไม่ค่อยได้แสดงตัวต่อสาธารณชน คนที่ออกมาให้ข่าวและแถลงรายงานตอบคำถามต่าง ๆ มักเป็นผู้จัดการที่เป็นลูกจ้างที่ไม่ได้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ มองอีกด้านหนึ่งก็อาจจะเป็นว่า เจ้าของตัวจริงนั้นมีกิจการอื่น ๆ ที่มีค่าและต้องการเวลามากกว่ากิจการของบริษัทที่พูดถึง และนี่อาจจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้เจ้าของตัวจริงไม่สนใจที่จะจัดสรรเงินของบริษัทให้กับผู้ถือหุ้นผ่านการจ่ายปันผล แต่อาจจะอยากเก็บเงินไว้ในบริษัทแล้วใช้ประโยชน์จากบริษัทแทนเช่น เอาบริษัทไว้ใช้ในการลงทุนกิจการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับกิจการของเครือ เอาบริษัทไว้ใช้เป็นที่ตั้งให้ผู้มีอุปการคุณเป็นกรรมการหรือเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นลูกจ้าง และอื่น ๆ อีกร้อยแปด

ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงข้อสงสัยหรือข้อสังเกตของผม แต่ถ้าถามว่าตกลงเราควรซื้อหุ้นถูกเรื้อรังเพื่อลงทุนหรือไม่? คำตอบของผมก็คือ หุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นที่ “ถูกเรื้อรัง” นั่นแปลว่า โอกาสที่เราจะซื้อตอนหุ้นถูกและขายตอนหุ้นแพงมีน้อยมาก สิ่งที่พอจะหวังได้บ้างก็คือ กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นและราคาหุ้นก็ปรับตัวตามกันไป ซึ่งลักษณะนี้การปรับตัวแบบหวือหวาเร็วและสูงมากก็จะมีน้อย แต่ถ้าซื้อเพื่อกินปันผลก็คงจะพอได้ สิ่งที่สำคัญก็คือ อย่าซื้อหุ้นเหล่านี้เมื่อราคาหุ้นเพิ่งมีการปรับตัวขึ้นไปแรง เพราะหลายครั้งการปรับตัวขึ้นไปนั้นเกิดจากแรงซื้อของใครก็ตามที่เข้ามา และเนื่องจากหุ้นมีสภาพคล่องต่ำราคาจึงขึ้นไปแรง แต่เมื่อแรงซื้อหมด ราคาก็มักจะค่อย ๆ ปรับตัวกลับลงมา ดังนั้น ถ้าจะซื้อหุ้นถูกเรื้อรัง เราควรจะซื้อตอนที่หุ้นอยู่นิ่ง ๆ ในราคาถูกมาก อย่างไรก็ตาม ในการถือหุ้นถูกเรื้อรังนั้น เราอาจจะต้องรับความจริงว่าหุ้นอาจจะไม่ไปไหนนานมาก ซึ่งทำให้มัน “ไม่คุ้ม” กับเวลาที่เสียไปที่เราอาจจะไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ามาก และนี่ก็คือสิ่งที่บัฟเฟตต์บอกว่า เวลาเป็นเพื่อนที่ดีของกิจการที่ดีเยี่ยมแต่เป็นศัตรูของกิจการพื้น ๆ แม้ว่ามันจะมีราคาถูก

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 11, 2014, 11:43:14 PM
บริษัทกึ่งๆข้ามชาตินี่น่ากลัวอย่างคือ เอากำไรไปตั้งบริษัทลูก แล้วให้บริษัทลูกนั้นซื้อวัตถุดิบ หรือ จ่ายค่าบริหารราคาแพง ใ้ห้กับบริษัทแม่ในต่างประเทศอีกที ซึ่งเป็นการยักย้ายถ่ายกำไร ไปให้กับผู้ถือหุ้นบริษัทแม่หรือบริษัทนอมินีในต่างประเทศ(ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในประเทศ) แล้วปล่อยให้บริษัทลูกเจ้งไป
Cr. คุณGreedyVI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 11, 2014, 11:49:26 PM
เอาเฉพาะประเด็นหลักๆนะครับ

ปีนี้ผู้ถือหุ้นไม่ค่อยบ่นเรื่องผลประกอบการ เพราะผลประกอบการออกมาดี แต่ที่บ่นกันมากก็เรื่องปันผลเหมือนกับทุกปี
ผู้บริหารชี้แจงว่า ที่กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นมาจากหลายปีก่อนได้มากขนาดนี้ เพราะมีการนำเงินไปลงทุนสม่ำเสมอ แทนที่จะจ่ายเป็นปันผลออกมา

ปีนี้ เรื่องปันผลออกจะดุเดือดมากกว่าปีก่อนๆอยู่บ้าง เพราะปีก่อนๆมีการชี้แจงที่ชัดเจนว่าจะเอาเงินไปทำอะไร เช่น เพิ่มสายการผลิต ซื้อบริษัทผลิตเยื่อกระดาษละลายน้ำได้
แต่ปีนี้ ยังไม่มีแผนลงทุนอะไรที่ชัดเจน ขณะที่มีเงินสดอยู่ 2,600 ล้านบาท จ่ายปันผลเพียง 350ล้านบาท

ผู้บริหาร แจ้งแผนงานคร่าวๆว่า อีกสัก 2 ปี บริษัท Birla Laos Pulp and Plantation ที่ปลูกต้นไม้อยู่ จะเริ่มสร้างโรงงานเพื่อผลิต pulp ซึ่งต้องใช้เงินราว $400-500ล้าน (ผมคิดเอาเองว่า TR มีหุ้นอยู่ 30% ถ้าเข้าเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นเท่าเดิม ก็ต้องลงเงิน 3,600-4,500 ล้านบาท ซึ่งแปลว่าต้องนำกำไรของบริษัทประมาณปีกว่าๆมาลงทุน)
และบริษัทอาจขยายกำลังการผลิตที่จีน กับอาจเข้าซื้อบริษัท pulp ใน US,Canada เพิ่มเติม เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม

มีผู้ถือหุ้นท่านนึงที่เสนอได้ตรงใจผมมาก คือบอกว่า เมื่อบริษัทต้องการใช้เงินลงทุนเพิ่ม ใช้วิธีกู้เอาก็ได้ เนื่องจากขณะนี้ D/E ratio 0.02 ไม่น่าจะมีปัญหาในการขอกู้จากธนาคาร แต่เมื่อมีเงินเหลือเฟือโดยตอนนี้ยังไม่ได้เอาไปทำอะไร ก็ขอให้จ่ายปันผลออกมาก่อน

ข้อเสนออื่นๆจากผู้ถือหุ้น
1. หากบริษัทต้องการจ่ายปันผลน้อยไปทุกปี ขอให้ระบุในนโยบายการจ่ายปันผลเลย เช่น จ่ายไม่ต่ำกว่า 10%-15% ของกำไรสุทธิ
2. ขอให้บริษัททำการโปรโมทตัวเองให้เป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วไปบ้าง เช่น การไป Opportunity day เพื่อให้นักลงทุนรู้จักมากขึ้น จะได้มีคนสนใจซื้อ ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้น เพื่อนักลงทุนจะได้กำไรแม้ปันผลจะน้อย อันนี้ผู้บริหารท่าทางไม่สนใจ
3. ผู้ถือหุ้นอาวุโสท่านหนึ่ง ถึงกับเปรยว่า ผมอายุ 81 ปีแล้ว ถือหุ้นมานาน หวังจะได้ปันผลบ้าง ถ้ารอบริษัทโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จะต้องรอถึงเมื่อไร
4. ผู้ถือหุ้นเชื้อสายอินเดีย ท่านหนึ่ง มาเชียร์บริษัทว่า ไม่ควรมองแต่ราคาหุ้นในช่วงสั้นๆ ให้มองภาพรวมของบริษัทในระยะยาว ที่บริษัททำกำไรเพิ่มขึ้นได้ขนาดนี้ในช่วง 30 ปี เพราะเป็นบริษัทที่ดีมาก ทีมบริหารสุดยอด การเติบโตของบริษัทสุดยอด อัตราส่วนทางการเงินก็สุดยอดไปทุกตัว หาหุ้นดีแบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว ต้องเก็บเอาไว้เป็นสมบัติให้ลูกให้หลาน จนคณะกรรมการต้องยกมือ ขอให้หยุดพูด เพราะเริ่มจะมีการถกเถียงกัน
5. มีบางท่าน ถามว่า ในเมื่อเราคิดว่าบริษัทที่ไปลงทุนนั้นดี ทำไมไม่ถือหุ้น 100% ไปเลย และเอางบการเงินมารวมกัน ได้คำตอบว่า การลงทุนในที่ใหม่ๆนั้นมีความเสี่ยงอยู่ ซึ่ง TR ไม่กล้าลงเงินเสี่ยงคนเดียว ต้องร่วมลงทุนกับบริษัทอื่นๆในเครือ เพื่อแบ่งปันความเี่สี่ยงออกไป

โดยสรุป สิ่งที่ผู้บริหารเน้นถึงเป็นพิเศษ คือ คู่แข่งของ TR ในจีน ที่มีอยู่ประมาณ 25 โรงงาน กำลังขยายกำลังการผลิตอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่ TR จะทำเพิ่อเป็น barrier หรือ key success factor คือการทำ backward integration เพื่อรักษาและเพิ่ม supply ของ dissolve grade pulp ไว้ให้ได้ ซึ่งการลงทุนในบริษัทร่วมบางแห่ง ผลประโยชน์ที่ได้ อาจไม่ได้ตอบแทนกลับมาในรูปของเงินปันผล อย่างเช่น โรงงาน pulp ที่แคนาดา สิ่งที่ได้กลับมา คือการซื้อวัตถุดิบในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาดอย่างมาก ซึ่งมีส่วนทำให้ gross fit margin ของ TR สูงนั่นเอง

อีกอย่างที่หลายท่านอาจจะอยากรู้ คือ ผลประกอบการของไตรมาสที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ผู้บริหารบอกว่า ok :) ซึ่งก็รอดูกันว่า คำว่า ok หมายถึง EPS สักเท่าไร

Cr. คุณ chut    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: postbkk ที่ ตุลาคม 12, 2014, 12:16:50 AM
:: ศูนย์นิเวศวิทยาฯแนะนำการบำบัดกลิ่นให้กับโรงงานไทยเรยอน
ศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ นำโดย รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี และ รศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี ได้ไปแนะนำการติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศให้กับบริษัทไทยเรยอน จำกัด จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา เนื่องจากทางบริษัทไทยเรยอน จำกัด เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสภาพอากาศและการติดตามการเปลี่ยนแปลงของความเร็วลมและทิศทางลมที่พัดในบริเวณจังหวัดอ่างทอง    
วันที่ประกาศ : 26 ก.ค. 2557
http://masterorg.wu.ac.th/source/detail.php?newss_id=2889&paths=ird
 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: friend ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2015, 12:00:29 PM
บางคนก็ว่า บริษัท เปลี่ยนไป จากผู้ใหญ่ใจดี...
ลองเทียบกันกันระหว่างปี 48 กับปัจจุบัน
ก็น่าจะเห็นความแตกต่างนะครับ....

---------------------------------------------

ตามไปดูบริษัทWorld Class Organization
 บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)กับการจัดการความรู้
เมื่อวานนี้ (22 ต.ค.48)  ผู้เขียนได้มีโอกาสนำนักศึกษา MBA. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 29 คน ไปเยี่ยมชม ศึกษา-ดูงาน โรงงานไทยเรยอน (บริษัทไทเรยอน จำกัด (มหาชน))

สิ่งที่น่าสนใจในบริษัทแห่งนี้  นอกจากจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่มีกำลังการผลิตเส้นด้ายส่งออกมาที่สุดเป็นอันดับสามของโลกแล้ว  สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ "เขามีวิธีการบริหารจัดการ" อย่างไร

จากการบรรยายสรุปของรองประธานบริษัทและผู้จัดการแผนก พบว่า "บริษัทมีวิธีการบริหารจัดการความรู้ KM:Knowledge Management ที่กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นการทำ 5 ส. , QC. KAIZEN, TPM ฯลฯ

ผู้เขียนได้มีโอกาสสอบถาม, สัมภาษณ์ผู้จัดการฝ่าย HRM. ได้แง่คิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานของบุคลากรในบริษัท  ทุกคนจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของงาน/เป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งได้รับการผลักดันและการสนับสนุนส่งเสริมอย่างเต็มที่จากท่านรองประธานบริษัท (ผู้บริหาระดับสูงชาวอินเดีย) ซึ่งเดินทางมาตั้งหลักปักฐาน สร้างกิจการโรงงานไทยเรยอนที่ ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เมื่อ 28 ปีที่ผ่านมาจวบจปัจจุบัน ด้วยเงินลงทุนไม่กีสิบล้านบาท กลายเป็นบริษัทมหาชนที่มีทุนดำเนินการและผลประกอบการปีละไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท  มีพนักงานเริ่มต้นเพียงไม่กีสิบคนมาเป็นพนักงานเกือบพันคนและมีกิจการในบริษัทเคือข่ายในประเทศจีน อินโดนีเวียและฟิลิปปินส์

ผลจากการได้เข้าเยี่ยมชมศึกษา-ดูงานบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการสิ่งทอระดับโลกในครั้งนี้ ผมได้แง่คิดที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง  ได้เรียนรู้วิธีคิด วิธีทำงานซึ่งผู้บริหารระดับสูงเปิดโอกาสให้พนักงานระดับปฏิบัติการได้ "มีส่วนร่วม" และมีการสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนได้ "พัฒนาอย่างต่อเนื่อง" ผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนเป็น "บุคคลแห่งการเรียนรู้"

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/5766
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ พฤษภาคม 26, 2015, 09:23:45 PM
Stock In focus‎ > ‎TR


วิเคราะห์งบการเงิน Q4/56 fiscal (as of 31 March 2013)

ผลประกอบการในไตรมาส4 ของบริษัทขาดทุน -190 ล้านบาทหรือ -0.95 บาทต่อหุ้น เป็นผลมาจาก
1) การขาดทุนในบริษัท AV Terrace Bay Inc. สูงถึง -487 ล้านบาท(งวด3เดือน) คิดเป็นสัดส่วน 60% ซึ่งเป็นของ TR ลงทุน ก็จะขาดทุน -293 ล้านบาท เป็นการขาดทุนต่อเนื่องและมากกว่าในไตรมาสก่อน แต่เนื่องจากโรงงานเพิ่มเริ่มดำเนินงานและเริ่มการปรับปรุงจึงยังคงมีผลขาดทุนต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทคาดว่า AV Terrace Bay Inc. จะมีผลประกอบการเป็นบวกได้ในปีหน้า

2) การขาดทุนในบริษัทร่วมจำนวน -52 ล้านบาท ตามตารางที่ 2
เมื่อรวมทั้งสองรายการมีผลต่อ TR เป็นจำนวน -345 ล้านบาท โดยในส่วนของบริษัท(งบเดี่ยว)ยังคงมีกำไรที่ระดับน่าพอใจ (674 ล้านบาท สำหรับงวดรายปี)

มองไปข้างหน้า บริษัทร่วมยังคงมีผลประกอบการที่อ่อนแอตามภาวะของอุตสาหรรม fiber ต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 4 ไตรมาส รวมถึงบริษัท AV Terrace Bay Inc.ที่ยังขาดทุนจำนวนมาก(มากกกว่า 1 พันล้านต่อปี) แต่ธุรกิจคู่แข่ง fiber ก็ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักเช่นกัน สภาวะจะคงอยู่ต่อไปได้ไม่นานเพราะไม่มีใครแข่งขันกันขาดทุน อย่างเช่นอุตสหกรรมเหล็กที่ยังคงถูกกดดันจาก demand น้อยกว่า supply เนื่องมาจากการขยายตัวของการผลิตในช่วงภาวะขาขึ้น โรงงานหลายแห่งเริ่มตัดสินใจหยุดการผลิตเนื่องจากขาดทุนและมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก
การฟื้นตัวของอุตสาหกรรม fiber และกลับมามีอัตรากำไรเหมือนก่อนคงเป็นไปได้ยากในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า สำหรับ TR ได้เตรียมลดความผันผวนด้วยการซื้อธุรกิจต้นน้ำคือ AV Terrace Bay Inc.ในแคนนาดาและ Aditya Group AB ในสวีเดน เพื่อลดความผันผวนของอัตราการทำกำไร แต่ทั้งสองก็ยังขาดทุนเป็นจำนวนมากในขณะนี้ สำหรับการขาดทุนของ Aditya Group AB เป็นเพราะเพราะราคาสินค้าของบริษัทอยู่ในภาวะขาลงแต่ก็ไม่ถึงกับราคาต่ำเกินไป เพียงแต่บริษัทอาจจะขาดทุนจาก inventory (ดูราคาเยื่อกระดาษได้ที่ wood pulp ) คงต้องลุ้นกันว่าในไตรมาสหน้าบริษัท Aditya Group AB จะกลับมามีกำไรได้หรือไม่ รวมถึงบริษัท บริษัท เบอร์ล่า จิงเว่ย์ ไฟเบอร์ จำกัด ที่ขาดทุนต่อเนื่องมายาวนาน

------------------

ข้อสังเกตในการเข้าซื้อกิจการ AV Terrace Bay Inc (Canada)

1.ธุรกิจยังไม่มีการดำเนินการเต็มที่เนื่องจากการปิดกิจการของบริษัท AV Terrace Bay Inc (Canada)
2.บริษัทเข้าซื้อธุรกิจที่เป็นวัตถุดิบของบริษัทคือ เยื่อกระดาษ เพื่อนำไปผลิต VSF
3.ใช้เงินในการเข้าซื้อและลงทุนถึงปี 2559 เป็นจำนวนเงิน 2,068 ล้านบาท โดยใช้เงินของบริษัท(ไม่มีการกู้ยืม)
4.บริษัทจะปรับปรุงการผลิตของโรงงานนี้เพือผลิตให้ได้ 280,000 ton โดยจะใช้เงินลงทุนทั้งสิน้ $250 million โดยใช้เวลาถึงปี 2016

ผลที่จะได้รับ
1.เมื่อทำการปรับปรุงโรงงานแห่งนี้เสร็จ คาดว่าจะทำให้บริษัทมีวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าอย่างมั่นคง
2.TR จะได้นำเงินที่มีอยู่ราวๆ 3 พันล้านเพื่อใช้ประโยนช์ โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัท และจะหนุนกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นในอนาคต
3.การลงทุนครั้งนี้ทำให้บริษัทลดการผันผวนของกำไร/ขาดทุนลง เนื่องจากเยื่อกระดาษ(pulp) เป็นต้นทุนสินค้าที่สำคัญของ TR
4.การฟื้นตัวของกำไรบริษัทในระยะสั้น (3-6 เดือน)คงยากขึ้น (แต่เป็นผลดีในเรื่องการจัดพอร์ตโพลิโอเพื่อมีโอกาสหาเงินมาลงทุนหากทิศทางของธุรกิจดีขึ้นอย่างชัดเจน)


คำแนะนำ ยังไม่ต้องเพิ่มการลงทุน

ที่มา https://sites.google.com/site/100instock/stock-in-portfolio/tr
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ พฤษภาคม 26, 2015, 09:41:42 PM
บริษัท ไทยอคริลิคไฟเบอร์ - บริษัทร่วม คว้ารางวัล  TQA

“รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ” TQC : Thailand Quality Class ซึ่งคงรู้กันดีว่าใครคว้ารางวัลนี้ไปครองกันบ้างทั้งในปี 2554 และของปีที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 10 ปี
       
       แต่องค์กรไทยไม่ใช่ไม่เคยคว้ารางวัล TQA เพราะในปี 2545 ปี 2546 ปี 2549และปี 2553 มีองค์กรที่คว้ารางวัลนี้ไปกอดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ บริษัท ไทยอคริลิคไฟเบอร์ จำกัด, บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด, โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ
       
       “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” มีโอกาสสัมภาษณ์ มร.ริตูราจ ชาห์ Joint President Head Manufacturing บริษัท ไทยอคริลิคไฟเบอร์ จำกัด หนึ่งในองค์กรที่ได้รับรางวัล TQA เพื่อเป็นแนวทางให้หลายองค์กรนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานให้มากขึ้น
       
       การดำเนินงานของบริษัทเริ่มจากความชัดเจนเป็นรูปธรรมของระบบการนำที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการสร้างผู้นำมากกว่าผู้ตาม ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามแนวทางการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีภาระความรับผิดชอบ 2 ส่วนคือ งานตามหน้าที่ในสายงานและงานพัฒนาปรับปรุง โดยทุกคนต้องเข้าร่วมในทีมข้ามสายงาน ในงานส่วนพัฒนาปรับปรุง ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ระดับบริษัท ระดับโซน ระดับส่วน และระดับกลุ่มงานปฏิบัติการ
       
       ทั้งนี้ บทบาทของพนักงานในทีมข้ามสายงานอาจเป็นหัวหน้าที่สามารถตัดสินใจในการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานได้อย่างอิสระภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งบทบาทนี้ในทีมไม่จำเป็นต้องเป็นของผู้บริหารเสมอไป นอกจากนี้ ด้วยระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การวางแผนการประชุมและจัดตารางการประชุมอย่างชัดเจนตลอดปี รวมทั้งการประชุมระดับองค์กร และอื่นๆ ทำให้พนักงานทุกคนของบริษัทเกิดความเข้าใจร่วมกันในวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร แผนกลยุทธ์ และเป้าหมายองค์กร
       
       “ กุญแจความสำเร็จของบริษัทมีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.Strong Leadership Approach หมายถึงคำมั่นสัญญาของผู้นำองค์กร เป็นการนำเสนอโดยตรงไปยังลูกค้า และพนักงาน เพราะภาวะผู้นำจะเป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ และเชื่อมโยงไปยังลูกค้า 2.Strong Teamwork องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ไม่ได้มาจากคนๆเดียว หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือลูกจ้างคนใดคนหนึ่ง ถ้ารวมกันได้จะสร้างสมรรถนะที่ดีที่จะพัฒนาองค์กรให้ธุรกิจดีขึ้น 3.Stong Attitude เป็นแนวคิดของพนักงานของบริษัทในการต่อสู้ว่า “เราทำได้”
       
       นอกจากนี้บริษัทยังสร้างระบบทบทวนผลการดำเนินงาน ซึ่งเกิดจากการกำหนดกลไกการตรวจสอบและทบทวนทั้งระดับปฏิบัติการและระดับนโยบาย ช่วยให้ผู้บริหารสามารถติดตามความคืบหน้าของผลการดำเนินงานและปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับกลไกการตรวจสอบเหล่านี้ได้แก่ การทบทวนเป็นรายวันระดับกลุ่มงานปฏิบัติการและระดับแผนก การตรวจสอบและทบทวนเป็นรายเดือนระดับฝ่ายและระดับคณะกรรมการองค์ประกอบทางธุรกิจ การตรวจสอบและทบทวนรายไตรมาสตามกระบวนการตรวจสอบ-ทบทวน-ปรับปรุง รวมถึงการตรวจสอบและทบทวนแผนกลยุทธ์ทุกครึ่งปี
       
       หากมองเรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์กันบ้าง บริษัทได้จัดทำกลยุทธ์ที่มีการจัดการกระบวนการอย่างเป็นระบบ เช่น การตั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้า, ขั้นตอน, กรอบเวลา, และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนในทุกขั้นตอน การจัดทำกลยุทธ์ที่นำข้อกำหนดเหล่านี้มาออกแบบเป็นกระบวนการ ทำให้การจัดทำกลยุทธ์ของบริษัทเป็นกระบวนการที่เป็นมาตรฐานสามารถปฏิบัติซ้ำได้อีก และในแง่การควบคุมกระบวนการ บริษัทได้สร้างกลไกควบคุมด้วยการกำหนดระบบดัชนีชี้วัด ระบบตรวจสอบและทบทวนผลการดำเนินงาน ระบบดัชนีชี้วัดครอบคลุมปัจจัยการดำเนินงานต่างๆ 7 ด้านคือ ด้านคุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ นวัตกรรม การเพิ่มผลผลิต ความปลอดภัย และขวัญกำลังใจ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้มีการกำหนดและกระจายเป้าหมายตามกรอบตัวชี้วัดดังกล่าวจากระดับองค์กรไปสู่ระดับล่างในแนวดิ่งตามโครงสร้างองค์กร และกระจายเป็นเป้าหมายในแนวราบตามองค์ประกอบทางธุรกิจ ซึ่งการควบคุมกระบวนการตามกลไกทั้งสอง ทำให้การจัดทำกลยุทธ์ของบริษัทเป็นกระบวนการที่วัดผลได้ และเป็นกระบวนการที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
       
       ในหนังสือกรณีศึกษา Best Practices ของบริษัทไทยอคริลิคไฟเบอร์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทได้กำหนดโดยคำนึงถึงความสมดุลในความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกลุ่มต่างๆ ความท้าทายและโอกาสใหม่ ทั้งระยะและระยะยาว กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ลูกค้าภายนอก (ผู้ซื้อสินค้า ผู้ส่งมอบ และผู้ถือหุ้น) ลูกค้าภายใน (พนักงานและหน่วยงานภายใน) ตลอดจนสังคมและชุมชน ส่วนความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ ความท้าทายภายในองค์กร อาทิ การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่วนความท้าทายภายนอก ได้แก่ ความพึงพอใจของลูกค้า การรักษาลูกค้า และการขยายตลาด
       
       มร.ริตูราจ กล่าวว่า ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดมีมากขึ้น ไม่สามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นใน 6 เดือนข้างหน้า ดังนั้น บริษัทจึงต้องมองแบบ outside-in มากกว่าการมองแบบ inside-out หมายความว่าบริษัทต้องโฟกัสที่ลูกค้าให้มากขึ้น ทำให้บริษัทรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร บริษัทต้องขายอะไร และต้องฟังอย่างต่อเนื่องด้วยว่าลูกค้าต้องการอะไร
       
       “ธุรกิจนี้ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตเพียงแค่ 1% เท่านั้น หรือบางทีไม่มีการเติบโต ขณะเดียวกันมีการแข่งขันที่รุนแรง การเติบโตอย่างต่อเนื่องของเรามาจากการเข้าไปหาตลาดใหม่ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม การออกสินค้าใหม่ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการผลิตในต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ แต่ให้ได้คุณภาพการผลิตที่ดีที่สุด ซึ่งการเข้าสู่ตลาดใหม่นั้น เราต้องนำเสนอและตอบสนองโดยตรงไปผู้บริโภค ส่งมอบสิ่งที่เขาต้องการด้วยผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด การบริการที่ดีที่สุด และการสนับสนุนทางเทคนิค นั่นจึงกลายเป็นความแตกต่างระหว่างเรากับบรรดาคู่แข่ง รวมถึงราคาที่แตกต่างคู่แข่งด้วย”
       
       ไทยอคริลิคฯ มีวิธีเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าด้วยการตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ มีการปรับเส้นใยให้มีขนาดที่สอดคล้องกับการทำงานกับเครื่องจักรของลูกค้า ด้านเทคนิคมีการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเพิ่มคุณลักษณะบางอย่างในผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค้าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ตลอดจนการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องเฉพาะรายของลูกค้า นอกจากนี้ยังรวมถึงการเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนในองค์กรของลูกค้าด้วย
       
       *************
       
       บริษัท ไทยอคริลิคไฟเบอร์ จำกัด หรือ TAF เป็นบริษัทในเครือ Aditya Bria Group ประเทศอินเดีย ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตเส้นใยอคริลิคในประเทศไทยเมื่อปี 2530 โดยตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดสระบุรี เริ่มทำการผลิตเมื่อปี 2532 ด้วยกำลังการผลิต 14,000 ตันต่อปี
       
       TAF เป็นผู้ผลิตเส้นใยอคริลิครายแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับตั้งแต่เริ่มการผลิตบริษัทขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องและนับเป็นโรงงานที่มีการขยายกำลังการผลิตโดยใช้เวลาสั้นที่สุดในโลกคือ 13 เดือน และ 12 เดือน ในปี 2538 และ 2540 ตามลำดับ ช่วงระยะเวลาเกือบ 10 ปีนับตั้งแต่เริ่มการผลิตจนถึงปี 2541 กำลังการผลิตของบริษัทเพิ่มขึ้นถึง 400%

ที่มา http://www.manager.co.th/mgrweekly/viewnews.aspx?NewsID=9550000041553&TabID=3&
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ พฤษภาคม 26, 2015, 09:54:52 PM
วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตลาดเส้นใยสังเคราะห์โตต่อเนื่อง
การพัฒนาสินค้าของเส้นใยสังเคราะห์ไม่ใช่แค่ออกชื่อสินค้าใหม่ๆ ด้วยประเภทสินค้าที่มีอยู่หลากหลายแล้วในตลาด แต่รวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของการผลิตทั้งวงจรการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของทั้งกระบวนการ

ในปี2554 ปริมาณการผลิตเส้นใยทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 4.1 เป็นปริมาณ79.1ล้านตันซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน ผลผลิตฝ้ายเพิ่มขึ้นร้อยละ6.7 เป็น 26.8ล้านตันซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณการผลิตในปี 2549 – 2555 บรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอุปทานฝ้ายคงจะไม่สูงไปกว่านี้อีกแล้วเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด จีนแผ่นดินใหญ่ได้ประกาศว่าพื้นที่เพาะปลูกฝ้ายจะลดลงร้อยละ10ในปีนี้ ส่วนเกษตรกรในประเทศอื่นๆก็หันไปปลูกถั่วเหลืองและพืชผลอื่นๆเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารและพลังงานทดแทนซึ่งนับวันจะขยายตัวตามจำนวนประชากรของโลก

ในปี 2554ปริมาณการผลิตเส้นใยเคมี ซึ่งครอบคลุมถึงเส้นใยสังเคราะห์และเซลลูโลซิคในหมวดหมู่man-made cellulosics(MMCs)อาทิ viscose, acetate, modal, lyocellเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.9%เป็น 51.2 ล้านตันซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกันสามในสี่ของปริมาณการผลิตเส้นใยเคมีในปี 2554 ได้แก่โพลีเอสเตอร์ซึ่งครองอันดับหนึ่งทั้งในแง่ปริมาณการผลิตและอัตราการเจริญเติบโตในยุโรป โรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์รายใหญ่ๆ กำลังทบทวนประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต

กลุ่มอดิตยา เบอร์ล่า
ผู้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์ที่เล็งเห็นแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้นและช่องทางการตลาดนี้อีกรายหนึ่งคือกลุ่มอดิตยา เบอร์ล่า ของอินเดียซึ่งมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตเส้นใยวิสโคสสั้นที่เมือง Adana ประเทศตุรกี

กลุ่มนี้เป็นผู้ผลิตวิสโคสชั้นนำของโลกอยู่แล้วจะลงทุนอีก 500ล้านเหรียญสหรัฐในห้าปีข้างหน้าและเพิ่มกำลังการผลิตอีก 180,000 ล้านตันต่อปี

เส้นใยเซลลูโลซิคของเบอร์ล่าเป็นเส้นใยจากวัสดุที่มาจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ (biodegradable) และมีคุณสมบิตซึมซับน้ำได้ดีมากสินค้าใหม่ภายใต้ชื่อ Purocelเป็นเส้นใยกลวงซึ่งไร้สารคลอรีนและตะกั่ว (hollow, chlorine and zinc-free)พร้อมกันนี้ยังมีคุณสมบัติกันเชื้อโรคanti-bacteria เหมาะมากสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์ non-woven สำหรับผ้าเช็ดพื้นผิว (wipes) หรือสินค้าทางสุขภัณฑ์ (personal hygiene), ผลิตภัณฑ์เด็ก (baby care), sanitary items, ที่ใช้ในสถานพยาบาลและทั้งที่ใช้ในบ้าน (medical and household end-uses)

กลุ่มเบอร์ล่าขณะนี้มีส่วนแบ่งตลาดโลกอยู่แล้วกว่า 21%ในตลาดเส้นใยวิสโคสสั้นในกำลังผลิตที่750,000 ตันต่อปีซึ่งจะขยายไปถึง 1.1 ล้านตันในปี2558

“เราคาดว่าจะเริ่มโรงงานที่ตุรกีตอนต้นปี 2558 ผลิตป้อนอุตสาหกรรมสิ่งทอในตุรกี คุณ K.K.Maheshwari อธิบาย “ขณะนี้เส้นใยวิสโคสสั้นในตุรกีใช้ในภาคสิ่งทอและ nonwoven ทั้งหมดต้องนำเข้า และเข้าใจว่าตลาดนี้มีผู้บริโภคใหญ่เป็นที่ 4 ของโลกและกำลังจะเป็นที่ 2 ในห้าปีข้างหน้า ฉะนั้นการมาถึงโรงงานผลิตใหม่ที่นี่มีความสมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง และเราก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาลตุรกีทั้งด้านนโยบายอุตสาหกรรมและความช่วยเหลือด้านแรงงาน”

* ข้อมูลจาก www.adsaleATA.com

ที่มา http://patternit.blogspot.com/2013/03/blog-post_20.html
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ พฤษภาคม 27, 2015, 11:53:33 PM
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 20 มกราคม 2557

นายปราโมท คานเดลวาล ผู้ช่วยรองประธาน (ฝ่ายการเงินและพาณิชย์) บมจ.ไทยเรยอน (TR) แจ้งว่า ตามที่สหภาพแรงงานของบริษัทได้ส่งหนังสือนัดหยุดงานในวันที่ 17 ก.ย.56 และบริษัทได้ประกาศปิดโรงงานในวันที่ 18 ก.ย.56 นั้น บริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบว่าบริษัทและสหภาพแรงงานได้มีการบรรลุข้อตกลงตามข้อเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ทั้งนี้ บริษัทและสหภาพแรงงานได้ทำข้อตกลงยกเลิกการนัดหยุดงานและการปิดโรงงานโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค.57

บริษัทมีสายการผลิตจำนวน 5 สาย ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะเริ่มดำเนินการผลิตตามปกติทีละสายการผลิต ภายหลังจากการบำรุงรักษาและความพร้อมในการติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตได้ทุกสายการผลิตภายในเดือน ก.พ.57 ส่วนกำลังการผลิตเต็มที่นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์ทางตลาด บริษัทจะรายงานข้อมูลความคืบหน้าต่อไป

อ่านต่อได้ที่ : http://www.beta.ryt9.com/s/iq05/1819537

 :wanwan017:
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ พฤษภาคม 27, 2015, 11:56:47 PM
TR ลงทุนเพิ่ม 605 ลบ.ในธุรกิจปลูกยูคาลิปตัสในประเทศลาว

บมจ.ไทยเรยอน(TR)เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของทุนในบริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์ แพลนเทชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทั้งนี้ บริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์ แพลนเทชั่น จำกัด ได้พิจารณาปรับต้นทุนโครงการระยะที่ 1 (ปลูกต้นยูคาลิปตัส) เป็นจำนวนเงิน 90 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากต้นทุนเดิมจำนวน 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต้นทุนโครงการทั้งหมดของระยะที่ 1 จะเป็นเงินทุนที่มาจากส่วนของทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการมีส่วนร่วมโดยผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ดังนั้น บริษัทฯจะลงทุนเพิ่มเติมจำนวน 19.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 605 ล้านบาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ = 31 บาท) เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นที่ร้อยละ 30 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70 จะเป็นการลงทุนโดยผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่น

ที่มา http://www.beta.ryt9.com/s/iq10/1095751
หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ พฤษภาคม 28, 2015, 12:13:18 AM
หัวข้อข่าว เปลี่ยนแปลงกรรมการ และลงทุนเพิ่มเติมในบจ.เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์ แพลนเทชั่น

24 กุมภาพันธ์ 2554

4. อนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของทุนในบริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์ แพลนเทชั่น จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยบริษัท เบอร์ล่า ลาว พัลพ์ แอนด์
แพลนเทชั่น จำกัดได้พิจารณาปรับต้นทุนโครงการระยะที่ 1 (ปลูกต้นยูคาลิปตัส) เป็นจำนวนเงิน 90
ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากต้นทุนเดิมจำนวน 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต้นทุนโครงการทั้งหมดของระยะที่ 1
จะเป็นเงินทุนที่มาจากส่วนของทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการมีส่วนร่วมโดยผู้ถือหุ้นทั้งหมด ดังนั้นบริษัทฯ
จะลงทุนเพิ่มเติมจำนวน 19.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 605 ล้านบาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1
ดอลล่าร์สหรัฐฯ = 31 บาท) เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นที่ร้อยละ 30 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70
จะเป็นการลงทุนโดยผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่น

------------------------------

เรื่องการลงทุนเพิ่มที่ลาวผมลองโทรไปถามมาดูครับ ได้ความว่าที่ลาวมีการขยายเพิ่มครับทำให้ต้องลงทุนเพิ่มทุกคน โดยที่มีการขยายเพิ่มเลยจะได้ใช้เครื่องที่ใช้ในการขยายปัจจุบันอยู่ต่อไปเลยจะได้ไม่ต้องลงทุนใหม่ในอนาคตครับ ส่วนการลงทุนพวกนี้ต้องใช้เวลาครับ พวกปลูกต้นยูคาลิปตัส น่าจะใช้เวลาประมาณ 3-6 ปี ครับ แต่ยังไม่ทราบว่าที่ลงไปส่วนแรก 7.5 ล้านเหรียญ นั้นมีปลูกไปเท่าไหร่ ครับ

ที่มา http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=4&t=3519&start=2190&view=print

 :wanwan017:

หัวข้อ: Re: หุ้น TR
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ กรกฎาคม 28, 2015, 12:45:25 AM
บาทแข็งค่าฉุด “ไทยเรยอน” งวดสิ้นปี 57 ขาดทุนเพิ่ม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
   
16 กุมภาพันธ์ 2558 13:43 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2558 14:03 น.)

        ไทยเรยอน งวดสิ้นปี 57 ขาดทุนสุทธิ 453 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 69 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 18% แม้งวดนี้ยอดขายจะเพิ่มขึ้น ขณะที่มีส่วนต่างในอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง 262% จากการแข็งค่าของเงินบาท
       
       นายปราโมท คานเดลวาล รองประธาน (ฝ่ายการเงินและพาณิชย์) บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) หรือ TR แจ้งผลงานงวดสิ้นปี 57 ว่า บริษัทขาดทุนสุทธิ 453 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนขาดทุนสุทธิ 384 ล้านบาท 69 ล้านบาท หรือขาดทุนเพิ่มขึ้น 18%
       
       โดยผลงานงวดนี้บริษัทมีรายได้จากการขายรวมเพิ่มขึ้น 1,715 ล้านบาท หรือคิดเป็น 90% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายของบริษัทฯ 1,603 ล้านบาท หรือคิดเป็น 472% เทียบกับยอดขายที่ลดลงของบริษัทฯ ในช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการนัดหยุดงาน ขณะเดียวกัน มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 14 ล้านบาท หรือคิดเป็น 112% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในบริษัทย่อย 7 ล้านบาท และลดลงจากผลขาดทุนในบริษัทฯ จำนวน 6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้เงินปันผลเพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท หรือคิดเป็น 100% เนื่องจากการรับเงินปันผลจากการลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งไม่มีการบันทึกรับเงินปันผล
       
       ขณะที่มีต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 1,587 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายของบริษัทฯ 1,603 ล้านบาท หรือคิดเป็น 472% เทียบกับยอดขายที่ลดลงของบริษัทฯ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการนัดหยุดงานและมีค่าใช้จ่ายการผลิตในช่วงปิดโรงงานซึ่งไม่ได้ถูกปันส่วนลดลง ขณะค่าใช้จ่ายในการขายเพิ่มขึ้นตามยอดขายที่สูงขึ้น
       
       นอกจากนี้ ยังมีผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงินที่เป็นเงินต่างประเทศลดลง 344 ล้านบาท หรือคิดเป็น 262% เนื่องมาจากการแข็งค่าของเงินบาท อีกทั้งผลกระทบของภาษีเงินได้ลดลง จากผลขาดทุนจากการแปลงค่างบการเงินจากการแข็งค่าของเงินบาท