●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: หุ้น TR  (อ่าน 10910 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
หุ้น TR
« เมื่อ: มกราคม 19, 2014, 04:01:19 PM »
หุ้น TR
บริษัท ไทยเรยอนจำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ ณ. จังหวัด อ่างทอง ในเครือ กลุ่มอุตสหกรรม เบอร์ล่า ประเทศอินเดีย(อยู่ใน Fortunes 500) ซึ่งมีกิจการในประเทศไทย กว่า 10 บริษัท และ บริษัทต่างๆ ในทวีปเอเซีย ยุโรป อเมริกา และเป็นผู้ผลิตเส้นใยประดิษฐ์ เรยอนชั้นนำของโลก

* บริษัท "FORTUNE 500" หมายถึง บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทในอเมริกา

------------------

เรยอน (Rayon) หมายถึง เส้นใยกึ่งสังเคราะห์ (semi-synthetic fiber) หรือ วิสโคส Viscose ซึ่งได้มาจาก เซลลูโลสจากพืช (cellulose pulp) + ผ่านกระบวนการและสารเคมี เพื่อสกัดและปั่นออกมาเป็นเส้นใย ได้แก่ โมดอล เทนเซล ใยไผ่...ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ซีกวาง” ส่วนใหญ่ใช้ทอผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ เส้นใยนุ่มนวล มีน้ำหนัก ทิ้งตัวได้ดี..

------------------

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า - เว็บบอร์ดพูดคุยหุ้นไทยเรยอน
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=4&t=3519&sid=063ff8257aa5eb2f1acbcad8c51be7ce

ใครอยากดูราคา cotton
สามารถดูได้จาก App CNBC หรือ Bloomberg ในโทรศัพท์ Android หรือ IPhone หรือ Ipad ก็ได้นะครับ

หากดูในคอมหรือเข้าหน้าเวบ ก็ search ใน google คำว่า cotton #2 price quotes แล้วก็เลือกดูอันที่ชอบได้เลยนะครับ

 :wanwan017:

สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน
TR บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)

http://www.set.or.th/set/factsheet.do?language=th&country=TH&symbol=TR
 :wanwan017:

- ราคา เมื่อเทียบอันดับในอุตสาหกรรมเดียวกัน -
http://www.settrade.com/C04_08_stock_sectorcomparison_p1.jsp?txtSymbol=TR
 :wanwan017:

บริษัท ไทยเรยอน ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นที่ 1 ในโลก
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ ให้ก้าวสู่การเป็น ผู้ผลิตเส้นใยเรยอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

(อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวผมนะครับ กับธุรกิจสิ่งทอนะครับ
สินค้าแฟชั่นการแต่งกายสำหรับสตรีและบุรุษ เป็นธุรกิจทีมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัยอยู่เสมอ มีการแข่งขันด้านสินค้าและราคาอย่างรุนแรง สินค้าที่จัดวางเพื่อจำหน่ายมีความหลากหลาย และมากเกินกว่าความต้องการของตลาด ส่งผลให้เกิดการแย่งครองส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มมากขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ส่งผลให้สินค้ากลุ่มแฟชั่นลดต่ำลง  อีกทั้งมีอิทธิพลต่อ สินค้าล้าสมัย ส่งผลต่อการเก็บสต็อกเพิ่มขึ้นครับ ดังนั้นตัวธุรกิจสิ่งทอ ก็จะมีความเสี่ยงที่ต้องระวังอยู่ครับ)

- TR ไม่ได้ผลิตฝ้ายผลิตสิ่งที่ใช้แทนฝ้ายได้ ราคาจะวิ่งไปทางเดียวกันกับฝ้ายครับ -

ราคา cotton และ volume การซื้อขาย

http://futures.tradingcharts.com/chart/CT

- ราคา cotton futures chart ครับ -
Monthly Commodity Futures Price Chart

http://futures.tradingcharts.com/chart/CT/M?anticache=1432649623


- ดูราคาเยื่อกระดาษ - บริษัท Aditya Group AB  บริษัทร่วม -
Wood Pulp Monthly Price - US Dollars per Metric Ton]Wood Pulp Monthly Price - US Dollars per Metric Ton

http://www.barchart.com/commodityfutures/Cotton_%232_Futures/CT?search=CT*

cotton -- ข่าว cotton

http://www.ryt9.com/tag/cotto

การวิเคราะห์คาดการณ์ สถานการณ์ราคา Cotton

http://www.yarnsandfibers.com/Prices/Price-Forecast-Cotton


--------------------

ราคา cotton รายวันมาจาก bloomberg นะครับ ตาม link ด้านล่างนี้  อยู่ใน Agriculture section

http://www.bloomberg.com/markets/commodities/futures/

ส่วนอีกตัวที่น่าดูก็ราคากระดาษครับ NBSK Pix pulp index

http://www.foex.fi/

และราคาหุ้นตัวแม่ grasim ครับ

http://www.google.com/finance?q=BOM%3A500300

รวมถึงคู่แข่ง lenzing ครับ

http://finance.yahoo.com/echarts?s=LEN.F+Interactive#{%22range%22%3A%221y%22%2C%22scale%22%3A%22linear%22}

Cr. Buoyant    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

-----------------------------

*** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ ***

 :wanwan017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2015, 12:31:55 AM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 02, 2014, 08:49:37 PM »
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2517 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอน (VSF) โดยเริ่มทำการผลิตเชิงพาณิชย์ในวันที่ 14 กันยายน 2519

เริ่มจากกำลังผลิต 9,000 ตันต่อปี ปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอนถึง 151,000 ตันต่อปี และมีผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นเกลือโซเดียมซัลเฟต 126,000 ตันต่อปี

บริษัทฯ ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2527 โดยมีมูลค่าเงินลงทุนตามราคาตลาด 7.26 พันล้านบาท หรือประมาณ 215.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2552

โรงงานของบริษัทฯ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดอ่างทอง บนเนื้อที่กว่า 156 ไร่ กระบวนการผลิตได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9002 และ ISO 14001 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้รับรางวัล TPM Excellence Award จาก JIPM ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ภายใต้ตราสินค้า ‘Birla Cellulose’ ประกอบด้วยเส้นใยมากมายหลายชนิดซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆ เช่น สัมผัสนุ่มสบาย ดูดซับความชื้นสูง ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และมีรูปแบบที่ทันสมัย เส้นใยเหล่านี้สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ของแต่งบ้าน เครื่องประดับ ไหมพรม ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาด ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในโรงพยาบาล

บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เส้นใยพิเศษแบบใหม่ “เบอร์ล่าโมดาล” ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างดีสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายตามแฟชั่น

บริษัทฯ ยังได้ผลิตเกลือโซเดียมซัลเฟต เป็นผลผลิตพลอยได้ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมผงซักฟอก ผลิตเยื่อกระดาษ ผลิตกระจก ผลิตเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เริ่มจำหน่ายก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์จากโรงงานที่จังหวัดสระบุรีไปยังต่างประเทศ

ผลิตภัณฑ์เส้นใยเรยอนของบริษัทฯ มากกว่าร้อยละ 50 ส่งออกโดยตรงไปยังกว่า 25 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านคุณภาพที่เข้มงวดของลูกค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล ยุโรป ตุรกี เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ปากีสถาน เวียดนาม และศรีลังกา เป็นต้น

บริษัทฯ ตอบสนองต่อความต้องการทั้งในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่สิ่งทอ โดยทำการผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอนที่มีความหลากหลายตั้งแต่ 0.9 ถึง 5.5 Denier เส้นใยที่มีความยาวตั้งแต่ 32 ม.ม. ถึง 120 ม.ม. ระดับความแวววาวของการฟอกย้อม และกึ่งทึบ

หลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการขยายการลงทุนในรูปแบบการขยายตัวไปข้างหลังและการขยายตัวไปข้างหน้า ในประเทศไทย บริษัทฯ ได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตในสายการผลิตที่ 5 และการติดตั้งเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเก่าในสายการผลิตที่ 1 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต สำหรับโรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติสามารถดำเนินการผลิต ณ ที่ตั้งใหม่ในจังหวัดสระบุรี

เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายในการดำเนินงาน โดยการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ ให้ก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตเส้นใยเรยอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการผลิตเส้นใยโมดาลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษสำหรับลูกค้าสิ่งทอระดับบน ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ดำเนินการหาช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกในตลาดต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 02, 2014, 09:36:17 PM »
ติดตามข่าวหุ้น tr ได้ที่นี่ครับ

http://www.beta.ryt9.com/tag/(TR)

 :wanwan017:

--------------------

อ่างทอง - อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมบุก “ไทยเรยอน” เมืองอ่างทอง หลังชาวบ้านร่วมกันถ่ายคลิปแฉปล่อยควันส่งกลิ่นเหม็น จนชาวบ้านเดือดร้อน ล้มป่วย พร้อมสั่งโรงงานหยุดเดินเครื่องจักรปรับปรุงชั่วคราวให้เรียบร้อยภายใน 30 มี.ค.นี้ หากไม่เรียบร้อยก็จะให้หยุดประกอบการ และจะถูกปิดเป็นการถาวร

  เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (3 มี.ค.) นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายปัญญา งานเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้เดินทางไปตรวจสอบโรงงานของบริษัท ไทเรยอน จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ริมถนนสายอ่างทอง-อยุธยา (สายใน) เลขที่ 36 หมู่ 2 ถนนอยุธยา-อ่างทอง ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง ผู้ผลิตและจำหน่ายเส้นใยสังเคราะห์รายใหญ่ของประเทศ หลังจากชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานร่วมกันถ่ายคลิปออกมาแฉขณะที่โรงงานปล่อยควันเหม็นออกมา
       
       โดยลักษณะควันที่ปล่อยออกมาเป็นลักษณะหมอกสีขาว มีกลิ่นฉุน ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ในพื้นที่ ต.จำปาหล่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง และชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงโรงงานดังกล่าวอย่างมาก จนชาวบ้านหลายคน รวมทั้งเด็กล้มป่วย
       
       จากการเข้าตรวจสอบเบื้องต้น ทางโรงงานได้ชี้แจงต่อ นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้ทราบว่า ควันที่ชาวบ้านพบเกิดที่บริเวณหน่วยผลิตกรดกำมะถัน สาเหตุที่เกิดควันลักษณะดังกล่าวขึ้น เนื่องจากทางโรงงานได้มีการฉีดสารกำมะถันเข้าสู่หอแปลงสภาพเพื่อให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศให้เกิดสารซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ขึ้น แล้วจะถูกส่งผ่านไปยังหอดักจับก๊าซ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะต้องควบคุมอุณหภูมิของกรดกำมะถันให้มีอุณหภูมิประมาณ 70-80 องศาเซลเซียล ซึ่งตัวควบคุมอุณหภูมิของกรดกำมะถันเป็นชนิดแผ่นแลกเปลี่ยนความร้อน (Plate Heat Exchanger) ซึ่งใช้น้ำเป็นตัวถ่ายเทควบคุมอุณหภูมิ
       
       แต่ปรากฏว่า วาล์วน้ำถูกเปิดไว้ ทั้งที่กระบวนการนี้วาล์วน้ำจะต้องปิด จึงทำให้ประสิทธิภาพในการดักจับก๊าซไม่ดี ทำให้ก๊าซเล็ดลอดออกสู่ภายนอก ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนดังกล่าว
       
       จากนั้น นายณัฐพล และคณะได้เดินทางไปตรวจสอบที่บริเวณที่เกิดเหตุ และได้ปิดประกาศให้ทางโรงงานหยุดเดินเครื่องจักรชั่วคราว โดยสั่งให้ทางโรงงานปรับปรุงเครื่องจักรให้เรียบร้อยภายในวันที่ 30 มี.ค.นี้ หากไม่เรียบร้อยก็จะให้หยุดประกอบการ และจะถูกปิดเป็นการถาวรต่อไป
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ใช้สารเคมีหลักประกอบด้วย คาร์บอนไดซัลไฟด์ เป็นของเหลวมีกลิ่นคล้ายกระเทียม กรดกำมะถันเหลือง มีกลิ่นฉุน โซเดียมไฮดอกไซด์หรือโซดาไฟ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า

ที่มา http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000024386
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2015, 11:58:25 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 03, 2014, 05:27:09 PM »
ชี้แจ้งรายงานข่าวของสื่อ จากบริษัทไทยเรยอน

อยู่ในไฟล์แนบนะครับ

 :wanwan017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 03, 2014, 05:28:42 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ หาเพื่อนคุย

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 244
  • ถูกใจ 6
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 29, 2014, 08:09:42 PM »
บทวิเคราะห์หุ้น TR
บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)
THAI RAYON PUBLIC COMPANY LIMITED

http://jo.klongjan.com/consensus/TR

 :wanwan017:

ออฟไลน์ หาเพื่อนคุย

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 244
  • ถูกใจ 6
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 29, 2014, 08:18:20 PM »
TR หุ้นสองบุคลิก

หุ้น TR หรือบริษัทไทยเรยอน เป็นหุ้นที่ผมชื่นชอบมากในแง่ของการ "หาเงิน" แต่ก็เป็นหุ้นที่ผมไม่ชอบมากอีกเหมือนกันในแง่ของการ "ใช้เงิน"

ในด้านการ "หาเงิน" model ของ TR จัดได้ว่าเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง เป็นเจ้าเดียวในประเทศที่ผลิตเส้นใยเรยอน เมื่อครั้งไปดูโรงงานก็พบว่ามีการบริหารจัดการที่ดี ผู้บริหารดูมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและพยายามลดต้นทุน

ในด้านการ "ใช้เงิน" สามารถแบ่งเป็นสองส่วนคือ
ส่วนการใช้เงินลงทุนเครื่องจักรเพื่อแทนเครื่องเก่าหรือสร้าง line การผลิตใหม่และ
ส่วนที่สองคือการลงทุนไปยังบริษัทในเครือ

ประเด็นแรกไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเป็นการทดแทนเครื่องจักรเก่า ซึ่งมีแต่จะทำให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากรายได้ของไลน์ใหม่และต้นทุนที่ประหยัดจากเครื่องจักรใหม่

แต่ประเด็นที่สองนับว่าเป็นจุดบอดที่ทำให้ผมคิดว่าการลงทุนใน TR อาจจะไม่คุ้มค่า (หรือต้องต่อราคามากหน่อย) ก็เพราะว่าการเอาเงินไปลงทุนในบริษัทในเครือที่สูญเปล่าโดยไม่มีอะไรตอบแทนกลับมาเป็นเงินสดนอกเสียจากสิ่งที่เรียกว่า "ส่วนแบ่งกำไร" ทางบัญชี

ยกเว้นการลงทุนใน TCB เพียงตัวเดียวที่ดูดีมี return on investment มากกว่า 10% จากเงินปันผล นอกนั้นการลงทุนในบริษัทอื่นๆดูเหมือนจะเป็น conflict of interest ระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่กับผู้ถือหุ้นรายย่อย

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถขยายกิจการในต่างประเทศอย่างง่ายดาย โดยการใช้กระแสเงินสดที่ TR สร้างขึ้นมาไปซื้อหุ้น ในขณะที่หนทางในการนำเงินจากธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยตรงจากตลาดหลักทรัพย์ สามารถจ่ายผ่านช่องทางอื่นๆได้ง่ายๆ เช่น ค่า Management fee หรือ Royalty fee
ตรงนี้เป็นสิ่งที่รายย่อยไม่สามารถเข้าถึงและเผลอๆ ชาตินี้ทั้งชาติอาจจะไม่ได้เห็นอะไรกลับมาจากการลงทุนในบริษัทย่อย นอกเสียจาก "ส่วนแบ่งกำไร" ทางบัญชี

ปล. สัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทย่อยของ TR ในงบดุลแทบจะมีสัดส่วนเกือบ 50% ของสินทรัพย์รวมเข้าไปแล้ว

ต่อไปนี้เป็น comment ที่ผมเคย post ในกระทู้ร้อยคนร้อยหุ้นของหุ้น TR เมื่อวันที่ 28 Nov 2009 ระหว่างรองบปีออกครับ

EPS คงจะผันผวนน้อยลงนะครับ มีสาเหตุหลักคือ

1) เดือนตุลาคม 2552 มีการเปลี่ยนนโยบายการคิดต้นทุนวัตถุดิบจาก FIFO เป็น Moving avg.

2) นโยบายการขายของและการสั่งวัตถุดิบที่ match กันจาก Annual report (แต่ข้อนี้มีอยู่ก่อนแล้ว)

3) Trend ในอดีตที่ราคาขายกับราคาวัตถุดิบหลักมักไปด้วยกัน (แต่ให้ผลที่ดีมากกว่าถ้าราคาขายขึ้น ถึงแม้ต้นทุนจะขึ้นด้วยก็ตาม)

4) ถ้าในอนาคต Modal ที่มีส่วนต่างกำไรสูงกว่า สามารถเพิ่มสัดส่วนได้อย่างต่อเนื่อง (จะช่วยไป offset ในกรณีที่เป็น trend ราคา rayon --> Price variance ไม่ดีแต่ Mixed variance ดี)

แต่แปลกดีจังครับ TR นี่

กำไรต่ำกว่าปีที่แล้วตั้งเยอะ

แต่ Free cash flow กลับสูงสุดในรอบ 4 ปี

และคิดว่าจะทำ New high ในปีหน้าและปีหน้าๆจากการที่ราคาขายสูงขึ้นหนึ่งเด้งและการลงทุนที่ลดลง 1 เด้ง (ปีนี้ลงทุนแค่ 60% ของค่าเสื่อมเอง)

Operating cash flow ก็ไม่สะทกสะท้าน

เห็นทีใครว่า TR เป็น cyclical stock นี่ คงใช้ไม่ได้ถ้ามองในมุมของกระแสเงินสด
(รึเปล่า)

แต่ก็มีข้อเสียหลายข้อนะครับเจ้า TR นี่

1) Working capital สูงประมาณ 20% ของยอดขายทำให้กระแสเงินสดที่ได้จากการเติบโตถูกสะกัดดาวรุ่งด้วยการเพิ่มขึ้นของ Working capital ซึ่งท้ายสุดก็เป็นสาเหตุ classic ที่จะตอบผู้ถือหุ้นว่าต้องสำรองเงินไว้ใช้ จึงไม่สามารถจ่ายเงินปันผลสูงๆได้ ซึงสาเหตุมาจากการสั่งซื้อวัตถุดิบเก็บ stock 2 เดือนแต่จ่ายเงินให้เจ้าหนี้ 2 สัปดาห์และให้ลูกหนี้ชำระเงินยาวนานถึงเดือนครึ่ง (ทั้งๆที่เป็นผู้ขาย Rayon เจ้าเดียวในประเทศและมีสัดส่วนยอดขายในประเทศกว่าครึ่งของยอดขายรวม)

2) ค่าใช้จ่ายในการสร้างสัมพันธ์และประกันอนาคตสูง ถึงสูงมาก เพราะท่านเล่นเอาทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกือบครึ่งนึงของ asset ไปประกันลูกพี่อินโด (อันนี้ยากจะยอมรับ dividend ต่อเงินลงทุนยังกะฝากแบงค์), ประกันเชื้อเพลิงจากเจ้าดำ (แต่อันนี้พอรับได้เพราะ dividend ดี) และตัวแสบสุดๆก็บริษัทที่มีชื่อคล้ายๆกับบริษัทแม่ที่แม้แต่ dividend ก็ยังไม่ได้รับซักบาท (แถมไม่รู้ด้วยว่าเจ้านี่ช่วยอะไรให้ TR บ้าง) และล่าสุดประกันอนาคตอย่างไกลที่จีนและลาว

เหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินปันผล TR ไม่ไปไหนซักที

ไม่ทราบว่าวิเคราะห์ถูกหรือผิดอย่างไร โปรดชี้แนะด้วยครับ

ปล. ยังสงสัยอยู่ว่าหากพี่ท่านจะขายหุ้นอินโดที่เป็นลูกค้าออกไป เค้าจะไม่ซื้อกับ TR รึเปล่า หรือหากพี่ท่านขายหุ้นบริษัทที่ชื่อคล้ายๆแม่ออกไป จะส่งผลอะไรกับ TR บ้าง เพราะข้อตกลงการซื้อขายก็เป็นไปตามราคาตลาดอยู่ดี

ผมชอบมากกว่าหากผู้บริหารไม่ลงทุนแบบซื้อหุ้นบริษัทร่วม แต่ควบรวมเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ต่างสาขาน่ะครับ (อันนี้ผมคิดเองเล่นๆ ไม่ทราบว่าเป็นไปได้รึเปล่า)

เพราะการถือหุ้นบริษัทร่วม สิ่งที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ก็คือกำไรทางบัญชีที่ไม่รู้ว่าจะกลับมาเป็นเงินสดถึงมือเราเมื่อไหร่ นอกจากจะมีปันผลที่เหมาะสมเช่น TCB โดยกระแสของเงินจะเป็นแนวนี้

TR --> สร้างเงินสด --> เอาไปลงทุนในบริษัทร่วมโดยการถือหุ้นเพิ่ม --> ผู้ถือหุ้นในบริษัทร่วมก่อนหน้าซึ่งก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เงินเข้าเป๋า หรือนำไปขยายกิจการต่อไปเรื่อยๆ --> บริษัทร่วมเติบโตมีกำไร --> แสดงในส่วนแบ่งกำไรในงบ TR --> พอโตจนได้ที่ แทนที่จะจ่ายปันผล บริษัทแม่กลับสร้างกิจการใหม่ขึ้นมา --> บริษัทร่วมของเรานี้ก็เอาไปลงทุนต่อในบริษัทร่วมใหม่นั้น --> ไม่รู้จบ

จนกว่าจะมีกรณีแบบ TCB คือได้เป็นงินปันผลคืนกลับมา ไม่เช่นนั้น ก็เหมือนกับการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้บริษัทแม่เท่านั้นล่ะครับ ในขณะที่ผู้ถือหุ้น TR ได้เพียงกำไรทางบัญชีที่ไม่มีวันจะกลับมาเป็นเงินสด หากบริษัทแม่ยังสร้างบริษัทใหม่และใช้เงินทุนจากบริษัทร่วมด้วยกัน แทนที่จะระดมทุนจากแหล่งอื่นๆ

ผลก็คือ wealth ของผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ถูกโอนอย่างละม่อม ทีละน้อย ทีละน้อย ไปที่บริษัทแม่ โดยบริษัทแม่ไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่เลย (มองในแง่ร้ายไปรึเปล่า)

จนกว่าซักวันหนึ่ง (ไม่รู้ว่ากี่สิบปีหรือกี่ร้อยปี) ที่บริษัทแม่จะหยุดการเติบโตหรือหยุดกิจการแล้วจ่ายเงินปันผลกลับมา

ในขณะที่การ take over มาเป็นบริษัทเดียวกันแบบ vertical integration จะทำให้สร้างมูลค่าได้โดยตรง เพราะช่วยลดต้นทุน (ปัจจุบันบริษัทยังต้องซื้อจากบริษัทร่วมในราคาตลาด) หรือเพิ่มรายได้ทางตรง ซึ่งผลออกมาก็จะเป็นเงินสดที่ได้ใน TR เองดัง flow นี้

TR --> สร้างเงินสด --> ลงทุนสร้างโรงงานผลิตเยื่อหรืออื่นๆโดยเป็นชื่อตัวเอง --> ต้นทุนลดลง --> กำไรเงินสดสูงขึ้น --> เงินสดสูงจนล้น --> ปันผลออกมา --> เงินที่เหลือไปหาที่ลงทุนต่อ --> ต้นทุนต่ำลงอีกหรือรายได้เพิ่มขึ้นอีก --> เงินสดสูงขึ้น --> เพิ่มปันผลอีก

จะเกิดอะไรขึ้นครับ หากบริษัทร่วมที่ลาวที่เพิ่งปลูกต้นไม้มีกำไรแต่ขยายตัวต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีการจ่ายปันผลกลับมาเป็นเวลาหลายๆปี ซึ่งเค้าเองสามารถโตได้ด้วยการเพิ่มทุนจากเงิน TR ที่คอยซื้อหุ้นเพิ่มเรื่อยๆ ทุกปีๆ

คำตอบก็คือ เงินสดหรือกำไรใน Retain earning ของ TR จะเป็นแหล่งเงินทุนชั้นดีให้บริษัทร่วม และจะแสดงให้เห็นในงบดุลเงินลงทุนของบริษัทร่วมที่โตเอาๆ แต่กลับไม่มีเงินปันผลตอบแทนกลับมาเลย โดยกำไรทางบัญชีส่วนหนึ่งจะได้มาจากส่วนแบ่งเหล่านี้ (ในขณะที่ปันผลยังต่ำเตี้ยเหมือนเดิม เพราะต้องคอยเอาเงินไปป้อนให้บริษัทร่วม) สังเกตได้จากกำไรทางบัญชีสูงขึ้นเรื่อยๆจากส่วนแบ่งบริษัทร่วม แต่เงินสดอิสระยังเท่าเดิม

ในขณะที่การที่บริษัท TR ไปเป็นคนปลูกป่าที่ลาวเอง จะให้ผลที่แตกต่างกัน นั่นคือกำไร TR จะสูงขึ้นเนื่องจากได้ต้นทุนที่ถูก ผลตอบแทนจะได้กลับมาเป็นเงินสดที่สูงขึ้นในงบดุล ไม่ใช่ เงินลงทุนในบริษัทร่วม และแน่นอนว่า เงินสดเหล่านี้จะกลับมาตอบแทนกลับให้ผู้ถือหุ้น TR โดยตรงในรูปแบบเงินปันผล

นี่อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่การประเมินมูลค่ากิจการ ควรประเมินจากกระแสเงินสดอิสระ ไม่ใช่กำไรทางบัญชีที่สามารถโยกย้ายถ่ายเทให้สวยหรูโดยที่นักลงทุนรายย่อยไม่รู้ตัว

ผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยครับ

อ้อ อีกวิธีหนึ่งที่ผมคิดว่าบริษัทจะสามารถถ่ายเทเงินสดแบบเนียนๆไปให้บริษัทร่วมก็คือการซื้อขายโดยกำหนด term การชำระเงินครับ

เช่น ถ้า TR ต้องซื้อเยื่อกระดาษจากบริษัทที่แคนาดา แต่เนื่องจากน้องแคนาดากำลังเติบโตและต้องการเงินสดไปลงทุนต่อเนื่อง จึงขอให้ TR จ่ายเงินให้เร็วๆหน่อย จากเดิมที่ถ้าซื้อที่อื่น TR จะจ่ายเงินภายใน 60 วัน พอเป็นน้องแคปุ๊บ บริษัทใจดี 7 วันก็โอนเงินให้เลย งานนี้น้องแคสบายเพราะไม่ต้องกู้เงินเพิ่มซักนิด

คนที่ทำธุรกิจจะรู้ซึ้งดีถึงเจ้าตัว working capital ว่าสำคัญต่อการเติบโตขนาดไหน การที่ TR ยอมจ่ายเงินให้น้องแคเร็ว จะทำให้บริษัทต้องอั้นเงินไว้ก้อนหนึ่งเพื่อมาหมุน ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้มากเท่าที่ควร

หรือถ้าน้องอินโดที่เป็นลูกค้า TR บอกว่า เค้าต้องการเงินหมุนเวียนเพิ่มขอให้ยืดระยะเวลาชำระหนี้จากปกติ 30 วันเป็น 60 วัน ก็จะส่งผลให้ TR ต้องอั้นเงินไว้อีกก้อน เพราะเงินไหลเข้ามาช้าลง

การที่บริษัทมี % working capital สุงๆจะทำให้เป็นอุปสรรคอย่างมากในการเติบโต เพราะยิ่งโต จะยิ่งต้องการเงินหมุนมากขึ้น

ผิดถูกอย่างไร รบกวนชี้แนะด้วยครับ

ปล. ผมมีหุ้นนิดนึงนะครับ ไม่อยากให้รีบซื้อกันจนราคาสูงเกินไป

ที่มา http://doodeemak.blogspot.com/2010/06/tr.html

 :wanwan017:

ออฟไลน์ หาเพื่อนคุย

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 244
  • ถูกใจ 6
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 29, 2014, 08:21:39 PM »
กราฟ หุ้น  :: TR [บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)]

http://siamchart.com/stock-chart/TR/

 :wanwan017:

ออฟไลน์ หาเพื่อนคุย

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 244
  • ถูกใจ 6
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 29, 2014, 08:32:23 PM »
หุ้นหมัดน๊อค (ภาคขยายความ)
มีคนอยากให้ผมยกตัวอย่างหุ้นหมัดน๊อคที่เห็นได้ชัดๆในช่วงนี้ ... จริงๆแล้วผมเองก็ไม่ค่อยกล้าที่จะมาทำนายล่วงหน้าเท่าไหร่ว่าหุ้นไหนจะเป็นยังไง... เพราะหลายๆครั้งก็มีพลาดอยู่เหมือนกัน.. บอกๆไปเดี๋ยวจะมีคนมาติดหุ้นตามจะซวยกันหมด ...

จริงๆแล้วระหว่างที่ผมเขียนบทความเจ้าหุ้นหมัดน๊อคอันที่แล้ว มีหุ้นอยู่ตัวนึงที่ผมนึกถึงอยู่คือบริษัทไทยเรยอน หรือมีตัวย่อว่า TR คุณสมบัติของ TR นี่เรียกได้ว่าเข้าแก๊ปจากบทความที่แล้วเป๊ะเลย .. คือมีแนวโน้มธุรกิจและผลกำไรที่ดี และมี PE ต่ำ

TR ที่ทำเส้นใยเรยอนครับ .. เป็นบริษัทระดับโลก อยู่ในกลุ่ม Grasim ซึ่งเป็นบริษัทอินเดีย มีคู่แข่งอยู่ในตลาดโลกอยู่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น .. เรียกได้ว่าผูกขาดกลายๆเหมือนกัน เลยทำให้เป็นธุรกิจผลิตเส้นใยที่ดูไม่น่าจะมีกำไรดีเท่าไหร่ แต่ดันกำไรดีมากๆ เมื่อปีก่อนมี Gross Profit Margin ประมาณ 22-23 กว่า % ซึ่งสูงมากๆ สำหรับธุรกิจที่ดูน่าเบื่อแบบนี้

ผมมาเจอมันเมื่อประมาณกลางๆปี 50 เห็นว่าบริษัทมีการขยายกำลังการผลิตอย่างมาก จากที่ไม่ได้ขยายมากนาน.. ก็เลยดูว่าน่าจะมีอะไรดีให้ติดตาม เลยค้นไปต่อ .. พยายามหาราคาเส้นใยเรยอนจาก Google แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ แต่พอดีไปเจอราคาของ Cotton ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนกัน .. ผมก็เลยเอาราคาของ Cotton เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ .. ก็เห็นว่าราคา Cotton นั้นก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เลยคิดเอาเองว่าเรยอนก็น่าจะขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะถ้า Cotton แพง คนก็จะเปลี่ยนไปใช้เส้นในอื่น .. พอมาใช้เรยอนเยอะขึ้น ตามหลัก Demand Supply ก็น่าจะทำให้เรยอนเพิ่มตาม ... แต่หลักฐานที่ชัดเจนว่าจะดีก็ยังไม่มีครับ เพราะเป็นข้อมูลที่เดาๆเอาเอง

แต่พอดูจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว จากเดิมมีกำลังประมาณ 3 สายการผลิต .. บริษัทเพิ่มในช่วงต้นปี 50 ไป 1 สาย .. และมีกำลังลงเครื่องจักเพิ่มปี 51 อีก 1 สาย แถมสายการผลิตใหม่ก็เป็นสายที่ทันสมัยกว่า สามารถผลิตเส้นใยเรยอนก็ได้ .. หรือเส้นในโมดาลก็ได้ (ซึ่งเป็นเส้นใยที่กำไรดีกว่าเรยอนอีก) นอกจากนี้บริษัทยังขยายโรงงานไปทำวัตถุดิบเอง ทั้งคาร์บอนไดซัลไฟ รวมถึงย้อนไปปลูกต้นไม้ที่เป็นวัตถุดิบหลักอีกตัวหนึ่ง .... เห็นแบบนี้แล้วผมก็ดูว่าแม้ราคาเรยอนไม่ได้เพิ่มขึ้น (ซึ่งผมดูจากราคา Cotton แล้วก็น่าจะขึ้นนะ) ลำพังแค่กำลังการผลิตที่เพิ่มใหม่ก็น่าจะทำให้บริษัทมี Growth ในระดับที่ดีได้แถว 25-30% ถ้าราคาเส้นใยยังเพิ่มขึ้นได้อีก .. Growth ของกำไรอาจจะได้เห็นเกิน 30-35% ได้

ตอนที่ผมซื้องบออกมาแล้ว 2 ไตรมาสได้กำไรประมาณ 4.4 บาทต่อหุ้น ผมคิดแบบง่ายๆคือเอา 2 คูณไปเป็น 8.8 บาทต่อหุ้น เป็นกำไรทั้งปีแบบหยาบๆ ตอนนั้นหุ้นราคาประมาณ 40 บาทคิดเป็น PE ประมาณ 4.5 เท่าซึ่งน่าสนใจมากๆกับหุ้นที่มี Growth แบบนี้ และถึงแม้ว่ากำไรอาจจะไม่เป็นไปตามที่ผมคาด แต่ด้วยราคาที่ซื้อมาไม่แพงเทียบกับ PE แล้ว ผมว่าความปลอดภัยก็น่าจะมีระดับหนึ่ง เลยซื้อหุ้นเข้าไปเรื่อยๆ

ผมซื้อหุ้นไปไม่นานได้ราคาเฉลี่ยแถวๆ 44 บาท งบก็ประกาศออกมาว่าบริษัทได้กำไรในไตรมาส 3 ประมาณ 3.2 บาทต่อหุ้น .. ซึ่งเกินที่ผมตั้งใจว่าจะเป็น 2.2 บาทไว้สูงมาก ราคาหุ้นก็ไปยืนอยู่แถวๆ 50 บาทอยู่ได้พักใหญ่ ... ณ ตอนนี้ผมมีผลตอบแทนแล้วประมาณ 13-14% ซึ่งก็ไม่น้อยเลยด้วยระยะเวลาสั้นๆ .....

สาเหตุที่งบออกมากำไรดีนั้น เนื่องจากกำลังการผลิตใหม่ (สายที่ 4) ทำให้บริษัทผลิตสินค้าออกมาขายได้มากขึ้น บวกกับราคาเส้นในเรยอนนั้นสูงขึ้นจนทำให้ Gross Margin ที่เคยทำได้ประมาณ 23 ต้นๆนั้นพุ่งไปถึง 30% .... ทำให้ผมยิ่งมั่นใจว่าผมเริ่มมาถูกทางแล้ว กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นก็เห็นผลชัดเจนดี ราคาเรยอนก็เพิ่มขึ้นตามที่คิดไว้ (จริงๆเพิ่มสูงกว่าที่คิดไว้เยอะเลย แฮะๆ) ผมก็เลยถือหุ้นต่อไป แม้หุ้นจะไม่ค่อยขยับไปมากเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับกำไรที่เกินคาดขนาดนี้ ....

แต่เมื่อไม่นานมานี้อาจจะด้วยว่ามีคนมาสนใจหุ้น TR เพิ่มมากขึ้น และเห็นว่าน่าจะมีแนวโน้มที่ดี จากหุ้นที่ไม่ค่อยมีใครสนใน Trade กันที่ PE ประมาณ 5-6 เท่ามาตลอด .. ราคาเริ่มไต่ขึ้นมาเรื่อยๆจนมาสูงถึง 70 บาทในเวลาไม่นานมาก ... (ณ เวลานี้ผมได้ผลตอบแทนไปแล้ว 59%) ซึ่งกำไรที่ทำไว้ 3 ไตรมาสแรกประมาณ 8 บาทนั้น เมื่อรวมกับกำไรในไตรมาส 4 ที่ผมคาดไว้น่าจะประมาณ 3 บาท (ให้น้อยกว่าไตมาส 3 ที่ทำได้ 3.2 บาทนิดหน่อย เพื่อความปลอดภัยในการประมาณ) จะทำให้ TR มีกำไรทั้งปีประมาณ 11 บาท เทียบกับราคา 70 ก็ Trade กันที่ PE 6.4 เท่าซึ่งสูงกว่าที่เคยเป็นมาพอสมควร ... (ผมแอบหวังว่าตลาดให้ความสนใจมากขึ้นจะปรับ PE ของ TR ให้เพิ่มขึ้นได้กว่าที่เคยเป็นที่ 5-6 มาอยู่ในระดับ 6-7 เท่า)

จากการที่ผลกำไรของบริษัทนั้นดีขึ้นเรื่อยๆจากการขยายกำลังการผลิตสายที่ 4 และราคาเส้นในที่สูงขึ้น ทำให้ไตรมาส 3 ทำกำไรได้ประมาณ 3.2 บาท ผมก็คิดต่อเอาเองเล่นๆว่า ในช่วงเดือนมีนาปี 51 สายการผลิตสายที่ 5 จะสามารถเริ่มผลิตได้ตามแผน บวกกับการที่บริษัทย้อนกลับไปทำวัตถุดิบเอง ก็จะทำให้บริษัทมีกำไรที่น่าจะสูงขึ้นกว่า 3.2 บาท ..

ผมแอบฝันไปว่าบริษัทจะทำกำไรได้ถึง 4 บาทต่อไตรมาส ... (เพื่อนๆก็เตือนๆกันบ้างอยู่เหมือนกัน ว่าฝันเกินไปรึเปล่า) แต่คิดในใจแล้วทั้งปีก็น่าจะได้ 16 บาท ... เอ้า เป็น 15 ก็ได้.. ลดให้นิดนึง ที่ราคาแถวๆ 68-70 บาทก็คิดเป็น PE เพียง 4.67 เท่าเท่านั้นเอง ...

แม้ราคามันจะขึ้นมาเยอะ แต่กำไรมันก็วิ่งเร็วไม่แพ้กัน ทำให้ PE มันยังไม่สูงมาก เห็นยังนี้แล้วผมก็เลยซื้อหุ้นเพิ่มเข้าไปอีกนิดหน่อยแถวๆ 68-69 บาท โดยคาดหวังว่าไตรมาส 4 จะทำกำไรได้ซัก 3 บาท แล้วค่อยเพิ่มเป็น 4 บาทต่อไตรมาสในไตรมาสต่อๆไป ....

ณ เวลานี้มีพี่ๆบางคนผมว่า บริษัทอาจจะทำได้ถึงไตรมาสละ 5 บาทก็ได้เป็น .. แต่ผมก็ยังว่ามันดูเยอะไปหน่อย ... แค่ 4 บาทผมก็ดีใจจะแย่อยู่แล้ว ... ถ้าทำได้ 15 บาทต่อหุ้นแล้ว PE 8 เท่า ราคาอาจะได้เห็น 120 บาท ... นี่คิดจากที่ผมซื้อครั้งแรกแถวๆ 44 เป็นผลตอบแทนถึง 172% เลยนะเนี่ย

ระหว่างนี้ก็ยังมี Update ราคาเส้นใยอยู่บ้าง ... หาราคา Cotton ดู ก็ยังมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ .... แม้จะคิดไว้แต่แรกว่าไตรมาส 4 นี่ทำได้ 3 บาทก็ดีแล้ว....

เมื่อเย็นวันนี้นี่เอง งบ TR ไตรมาส 4 เพิ่งออกมาให้เห็น .... ผมเห็นกำไรแล้วก็ตกใจตะลึง .. O_O บริษัทสามารถทำกำไรได้ประมาณ 4.4 บาทเลย ... เกินที่ผมคิดไว้เยอะไปไกลมาก ไปดูในงบให้ละเอียดขึ้น ก็เห็นว่ารายได้เพิ่มขึ้นมาก (ผมนับเฉพาะรายได้จากการขายนะครับ คนที่ไปดูงบแล้วดูรายได้รวมอาจจะต่างจากที่ผมเขียนไว้)

... จากปีที่แล้วทำได้เฉลี่ย Q ละ 1300 มา Q1-1418, Q2-1596, Q3-1915 และ Q4 ทำได้สูงถึง 2336 ล้านบาท และ Margin ก็เพิ่มจาก Q3 ที่สูงมากอยู่แล้วที่ 30% มาเป็น 37% .... แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าเส้นใยเรยอนต้องมีราคาเพิ่มขึ้นมากแน่ๆ บริษัทถึงทำกำไรขั้นต้นเป็น % ได้สูงมากขนาดนี้

วันนี้งบออก ไม่รู้พรุ่งนี้ราคาหุ้นจะเป็นยังไงบ้าง .. เสียดายที่ผมซื้อหุ้นตัวนี้ไว้ไม่เยอะมาก (เพราะปัญหาเรื่องสภาพคล่อง + กับตังค์หมดพอดี) ถ้าซื้อไว้เยอะๆคงจะกำไรเยอะกว่านี้อีกเพียบ .. (สุธาษิตจากพี่พอใจใน ThaiVI ที่บอกว่า "รู้อะไรไม่สู้รู้งี้" ยังคงใช้ได้ดีเสมอในทุกสถานการณ์)

วันนี้พี่ที่บอกไว้ว่ากำไรต่อหุ้นปีหน้าได้ซัก 5 บาท ก็อาจจะไม่ใช่ฝันเกินจริงๆแล้วก็ได้ครับ ... ถ้าทำได้จริงบริษัทมีกำไรทั้งปีที่ 20 บาทต่อหุ้น .. บวกกับการที่คนมาสนใจหุ้นตัวนี้มากขึ้น เห็นความแข็งแกร่งและแนวโน้มธุรกิจที่ดีมากขึ้น อาจจะทำให้ PE ไปถึง 8 เท่า ... ราคาหุ้นคงมีลุ้นที่ 160 บาทได้ ... คิดจากราคาที่ 44 บาทซึ่งเป็นทุนของผม ... คิดได้เป็นผลตอบแทนถึง 264% ในระยะเวลาปีมาณ 1 ปีกว่าๆเท่านั้นเอง

นี้แหละครับ .. หุ้นหมัดน๊อค ที่ผมพูดถึง พอจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นรึยัง ....

ปล.1 ราคาหุ้นในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เกินคาดเดาครับ .. ที่ผมเขียนไปเป็นการคาดการณ์ของผมเองล้วนๆ โอกาสผิดพลาดก็อาจจะมีสูง เพราะเวลาที่ถือหุ้นตัวไหนอยู่เยอะๆ ผมชอบจะมีอาการ Bias คิดเข้าข้างหุ้นตัวเองอยู่พอสมควร .. ต้องระวังจุดนี้ด้วย (เพราะผมเชื่อว่าได้อาการเข้าข้างหุ้นตัวเองที่ไม่ใช่ผมคนเดียวหรอกครับที่เป็น .... คนเล่นหุ้นส่วนใหญ่ก็เป็นกันทั้งนั้น)

ปล.2 มีหลายครั้งที่ผมคิดผิดในหุ้นบางตัว ... เช่นกำไรไม่เป็นไปตามที่คาดบ้าง ไม่ค่อยมีคนมาสนใจบ้าง..ทำให้ PE ที่น่าจะสูงขึ้นกลับนิ่งอยู่เหมือนเดิม ... ก็ทำให้ผลตอบแทนไม่ได้สูงอย่างที่ตั้งใจ .. แต่อย่างไรก็ตาม .. การที่ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำ แม้กำไรจะไม่ดีอย่างที่คิด .. หุ้นก็มักจะไม่ลงแรง หรือการซือ้หุ้นที่มีกำไรเติบโตที่พอใช้ แม้ PE ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น เราก็ยังได้ผลตอบแทนเท่าๆกับกำไรที่เติบโตซึ่งก็ยังดี นอกจากจะเป็นเหตุการณ์ที่แย่ที่สุด คือนอกจากกำไรจะไม่โตแล้ว ยังกำไรลดลงด้วย .. และยิ่งกำไรลดลงคนก็อาจจะมองหุ้นแต่ลง PE ก็อาจจะโดนปรับลดลงได้ ... ทำให้ขาดทุนได้เหมือนกัน ... เพราะฉะนั้น จะซื้อหุ้นอะไรต้องศึกษาให้ดีนะครับ ไม่ใช่เห็นใครบอกว่าดีก็ซื้อๆตามโดยไม่ได้ดูพื้นฐานด้วยตัวเอง โอกาสขาดทุนมันสูง ...

ที่มา http://thai-value-investor.blogspot.com/2007/11/blog-post_29.html

 :wanwan017:

ออฟไลน์ หาเพื่อนคุย

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 244
  • ถูกใจ 6
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 29, 2014, 08:38:32 PM »
tr เป็นหุ้นตัวนึงที่ผมติดตาม และเคยเขียนกระทู้เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วครับ

หุ้น2ตัวนี้ไม่มีคำว่าสายหากคิดจะซื้อ

ก่อนที่ราคาจะขึ้นไปปลายปีที่แล้ว ผมถืออยู่นิดหน่อยที่ 35 บ.เพราะเก็งว่าการขยายกำลังการผลิตเสร็จแล้ว กำไรน่าจะเพิ่มขึ้น แต่พอได้กำไร 10% ผมก็ขายไปซะแล้วจำได้เลาๆว่าเจอตัวไหม่ที่น่าสนใจกว่า

หลังจากนั้นราคาก็ขยับตัวขึ้นตลอด จนต้นปีนี้ไปถึง 90 บ. สาเหตุที่ราคาหุ้นขึ้นไปมาก ผมก็เดาๆว่ามีนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาเก็งกำไรผลประกอบการเช่นกัน เงินเข้ามามากแต่หุ้นไม่มีสภาพคล่อง ราคาก็เลยขึ้นไปเยอะอย่างที่เห็น

เผอิญอีกเหมือนกันที่ผลประกอบการช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมาดีมากๆ เลยทำให้ทุกอย่างดูดีไปหมด จำได้ว่าประกาศผลประกอบการ ผมยังอยากจะซื้อที่ราคาเปิดเลยครับ คิดง่ายๆว่าเอา q ล่าสุดคูณ 4 เลย ที่ราคา 80บ. P/E ยังต่ำมากเลย แต่ด้วยความระแวดระวังผมอ่านรายงานผลการดำเนินงานของ MD อ่านรายงานประจำปี 56-1 56-2 และฟังจากเพื่อนๆที่ไปประชุม เริ่มมีสัญญานเตือนจากผู้บริหารทำนองว่าที่กำไรเพราะมีสต็อควัตถุดิบราคาต่ำ

ผมกลับไปดูผลการดำเนินงานในอดีตปรากฎว่า 5 ปีที่ผ่านมามีปี 2004 ไตรมาสเดียวที่มีกำไรขั้นต้นสูงสุดที่ 34% แต่ปี50 ที่ผ่านมา 2 ไตรมาสล่าสุด tr มีกำไรขั้นต้นถึง 37 และ 40% ตามลำดับ ผมชักลังเลว่าเป็นกำไรที่ too good to be true หรือเปล่าไม่คอ่ยแน่ใจเหมือนกันเพราะนอกจากมีสต็อคราคาต่ำแล้ว อาจเป็นเพราะบริษัทเริ่มผลิตสินค้าที่มีมาร์จินสูงก็เป็นได้ (modal)

ส่วนที่ราคาลงมามากในตอนนี้ ผมก็เดาอีกละว่านักลงทุนที่เคยซื้อ พอเริ่มมีข่าวด้านลบหรืออาจเป็นเพราะต้องการทำกำไร ก็ขายหุ้นออกมา ทั้งแบบมีจริยธรรมและไม่มีจริยธรรม (ไม่รู้เหมือนกันว่าต่างกันอย่างไร ) ส่วนที่ว่าน่าจะเข้าไปรับหรือเปล่าเพราะราคาลงไปมาก

ถ้าสมมุติเป็นผมคงไม่เข้าซื้อหุ้นเพียงเพราะราคาลงมามากเพียงอย่างเดียว แต่ถ้ามั่นใจว่าบริษัทจะยังทำกำไรได้ดี กำไรไม่ตกหรือตกไม่มาก เราสามารถเข้าถึงราคาเรยอน ราคาวัถตุดิบ ผมก็อาจจะเข้าไปรับครับ แต่ถ้าไม่มีข้อมูล ผมก็คงไม่กล้าเพราะนั่นคือความไม่แน่นอน เป็นความเสี่ยง

ที่มา http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=30

 :wanwan017:

ออฟไลน์ หาเพื่อนคุย

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 244
  • ถูกใจ 6
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เมษายน 29, 2014, 08:41:23 PM »
หุ้น tr ดีจริงหรือ

http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?p=31357

 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 24, 2014, 02:15:19 AM »
การสยายปีกของอาณาจักรธุรกิจ BIRLA ในไทย

นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2530)
เป็นข่าวที่เก่ามากๆแล้วนะครับ

ครั้งหนึ่ง เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน สุริยน ไรวา นักธุรกิจรุ่นบุกเบิกที่ได้รับสมญานามว่า "THE KING'S MAKER" ในวงการนักธุรกิจไทย ด้วยความที่ "เขา" เป็นคนมีบุคลิกภาพตื่นตัวอยู่เสมอและมี CONNECTION กับกลุ่มธุรกิจระดับ "เจ้าพ่อ" ทั้งหลายในเอเชีย มีความต้องการลงทุนทำธุรกิจสิ่งทอในประเทศไทย เขาได้ชวนกลุ่ม BIRLA แห่งอินเดียซึ่งเป็น "เจ้าพ่อ" สิ่งทอในอินเดีย ให้มาลงทุนทำสิ่งทอร่วมกับเขา แล้วในที่สุดในปี 2512 โรงงานผลิตเส้นด้ายที่ทำจากวัตถุดิบ เรยอน เตตโตรอนและลินนินในนามบริษัทอินโดไทยซินเทอติคซ์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น และบริษัทนี้เอที่เป็นฐานทางธุรกิจสิ่งทอบริษัทแรกของอาณาจักร BIRLA ในประเทศไทยด้วยทุนจดทะเบียน 14 ล้านบาท ภายใต้การสนับสนุนทาบงการเงินแก่โครงการจาก BRARAT OVERSEA BANK แห่งอินเดียสาขาประเทศไทย

บริษัท INDO-THAI SYNTHETIC ดำเนินกิจการไปได้ด้วยภายใต้การบริหารของกลุ่ม BIRLA ในปี 2519 บริษัทได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทแก่สาธารณชนได้ ซึ่งในปีดังกล่าว บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 21 ล้านบาท แต่เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ดี ได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ. จึงมีแต่นักลงทุนสนใจซื้อหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ แต่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่มีใครยอมขายการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาด จึงไม่มีการซื้อขายมาตั้งแต่กลางปี 2528

ความสำเร็จของบริษัท INDO-THAI SYNTHETIC ในทางธุรกิจ ทำให้กลุ่ม BIRLA ตื่นตัวสยายปีกอาราจักรธุรกิจสิ่งทอของตนในไทยมากขึ้น ในปี 2517 บริษัทไทยเรยอน และบริษัท CENTURY TEXTILES ได้รับการจัดตั้งพร้อมกันในปีเดียว บริษัทไทยเรยอน มีหน้าที่ผลิตวัตถุดิบเส้นใยประดิษฐ์ เรยอน (RAYON FIBRE) ภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมจาก บี.โอ.ไอ. (B.O.I.) แต่เพียงผู้เดียว เพื่อทดแทนการนำเข้า บริษัทจดทะเบียนครั้งแรกด้วยทุน 3 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 98 ล้านบาททันทีในปี 2518 พร้อมกับปรับเปลี่ยนฐานะของบริษัทเป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ด้วยผลผลิต 2 ชนิด อันได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์เรยอน ที่ป้อนโรงงานผลิตเส้นด้ายเรยอนในประเทศไทย ปีละ 3,650 ตัน และโซเดียมซัลเฟต ปีละ 4,380 ตัน เพื่อป้อนโรงงานผลิตสบู่และผงซักฟอก ในประเทศ ที่มีตลาดภายในประเทศรองรับเต็มเกือบ 100% การประกอบการของบริษัทไทยเรยอนจึงเป็นไปได้ด้วยดี โดยมีธนาคารกรุงเทพไทยพาณิชย์ และธนาคารนครธน เป็นกลไกที่พร้อมจะอัดฉีดพลังทางการเงินแก่บริษัทอย่างเต็มที่

"หุ้นของบริษัทไทยเรยอน ในตลาดหลักทรัพย์มี LIQUIDITY ต่ำ เพราะผู้ถือหุ้นเดิมไม่ยอมปล่อยหุ้นออกมาขาย แต่ความต้องการซื้อหุ้นนี้มีสูง ลักษณะสภาพคล่องของหุ้นกลุ่ม BIRLA จะเป็นเช่นนี้เสมอ" แหล่งข่าวในวงกาตลาดหลักทรัพย์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงลักษณะหุ้นกลุ่ม BIRLA ว่าเป็นหุ้นที่น่าลงทุนระยะยาวแต่หาซื้อไม่ได้

เมื่อปี 2518 บริษัทไทยเรยอน ได้บุกเบิกการออก "หุ้นกู้" ในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทแรก จำนวน 50 ล้านบาท โดยธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้อาวัลและรับรองขณะที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย ได้รับมอหบมายให้เป็นผู้จัดการจัดจำหน่ายและค้ำประกันการจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ในรายงานประชุมคณะกรรมการบริษัทที่แจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ได้ได้ระบุว่า หุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายนั้น บริษัทจะนำเงินทุนมาผลิตสินค้า "VICOSE RAYON STAPLE FIBRE"

"การออกหุ้นกู้ในสมัยก่อน ต้องมีธนาคารอาวัลและรับรอง เพราะฐานะบริษัทผู้ออกยังไม่เป็นที่รู้จักแก่นักลงทุนไทย" แหล่งข่าวส่วนจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซียกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงลักษณะการออกหุ้นกู้ของบริษัทไทยเรยอนในสมัยก่อน

12 ปีต่อมาช่วงเดือนเมษายน ปี 2530 บริษัทไยเรยอน ก็ออกหุ้นกู้อีกเป็นครั้งที่สอง จำนวน 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 9.25% อายุไถ่ถอน 5 ปี โดยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย เป็นผู้จัดการ การจัดจำหน่ายและค้ำประกันฯเช่นเคย การออกหุ้นกู้ในครั้งหลังสุดนี้ ไม่ต้องมีธนาคารอาวัลและรับรองเพราะฐานะบริษัทไทยเรยอนเป็นที่รู้จักแก่นักลงทุนไทยมากขึ้น

ส่วนบริษัท CENTURY TEXTILES ซึ่งก่อตั้งในปีเดียวกับบริษัท THAI RAYON มีหน้าที่ผลิตเส้นใสสังเคราะห์ยี่ห้อ "CENTEX" ด้วยทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาทเพื่อป้อนโรงงานผลิตสิ่งทอประเภทผ้าผืนทุกชนิด

4 ปีต่อมา ในปี 2521 บริษัท THAI CARBON LACK ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นอีกบริษัทหนึ่ง ในเครือกลุ่ม BIRLA เพื่อผลิตวัตถุดิบชิ้นสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยสิ่งทอคือ CARBON BLACK

ต่อมาอีก 4 ปี ในปี 2525 บริษัทกลุ่ม BIRLA ได้ชวนบริษัท ALBRIGHT & WILSON ของอังกฤษ ร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัท THAI POLYPHOSPHATE & CHEMICAL ผลิตโซเดียมไทรโพลีฟอสเฟต เพื่อป้อนให้แก่อุตสาหกรรมผลิตผงซักฟอกในประเทศ

และในเครือข่ายล่าสุด THAI ACRYLIC FIBRE CO., LTD. กลุ่ม BIRLA ก็ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2530 เพื่อผลิต ACRYLIC FIBRE เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศ และส่งออกให้แก่โรงงานผลิตเส้นด้าย ACRYLIC แต่ผู้เดียวในประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทย

บริษัท THAI ACRYLIC FIBRE เป็นบริษัทที่เพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์ปี 2530 นี้เอง โดยมีผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมดอยู่ในกลุ่มผู้ถือหุ้น บริษัทไทยเรยอนซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่ม BIRLA ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย ทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท THAI ACRYLIC FIBRE ในปัจจุบันที่รายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่รายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (B.O.I.) ในช่วงขออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนโครงการ มีจำนวน 161 ล้านบาท

บริษัท THAI ACRYLIC FIBRE ผลิตวัตถุดิบ ACRYLIC FIBRE ปีละ 14,000 ตัน เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศปีละเกือบ 7,000 ตัน ส่วนที่เหลืออีก 7,000 ตัน บริษัทผลิตเพื่อส่งออก ตลาด ACRYLIC FIBRE ในประเทศไทย ก็คืออุตสาหกรรมผลิตเส้นด้ายอะคริริก ที่แต่เดิมมา สั่งวัตถุดิบ ACRYLIC FIBRE จากญี่ปุ่นและเกาหลี

โรงงาน ACRYLIC FIBRE ของบริษัทนี้เป็นโรงงานเดียวในประเทศไทยที่ผลิต ACRYLIC FIBRE และได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2529 และได้รับบัตรส่งเสริมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2530 นี้เองโรงงานจะตั้งที่ อ.บางปะอิน จ.อยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับจังหวัดอ่างทอง ที่กลุ่ม BIRLA ในประเทศไทยใช้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผTEXTILE RELATED INDUSTRY) ของกลุ่ม

"พื้นที่ในจังหวัดอ่างทอง กลุ่ม BIRLA เข้าไปจัดตั้งโรงงานหลายแห่งในกลุ่มนานแล้วคุณไปถามคนงานในจังหวัดอ่างทองได้เลยว่ารู้จักแขก BIRLA ไหม เขายิ่งใหญ่มากที่นั้น" พ่อค้าทอรายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

โรงงาน ACRYLIC FIBRE ใช้เงินลงทุนสูงถึง 1,232 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต 223.7 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจัดซื้อวัตถุดิบปีละ 168.48 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 840 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างตัวโรงงาน สำนักงาน และระบบสาธารณูปโภคภายในโรงงาน และค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน

ด้วยเหตุที่โครงการลงทุนนี้ใช้เงินลงทุนสูงนับพันล้านบาท การระดมทุนจึงเป็นงานครั้งใหญ่ของคณะกรรมการบริษัท จะใช้วิธีการระดมทุนด้วยวิธีการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งนิยมปฏิบัติกันมา แต่เพียงวิธีการเดียว คงไม่ง่าย แม้ว่าตัวโครงการจะดีมีความเป็นไปได้สูงต่อความสำเร็จด้วยระยะเวลาอันสั้นภายในไม่เกิน 4 ปี เพราะปัจจัยเกื้อหนุนจากระบบภาษีและสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยให้การส่งเสริม และการผูกขาดผลิตและจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ก็ตาม ก็คงไม่มีสถาบันการเงินแห่งใด หรือกลุ่มใด กล้าเสี่ยงปล่อยเงินกู้จำนวนนับ 1,000 ล้านบาท

"เป็นไปไม่ได้หรอกครับ ที่แบงก์จะปล่อยเงินกู้จำนวนสูงขนาดนี้แก่โครงการเดียวมันเสี่ยงเกินไป อีกประการหนึ่ง ขนาดเงินกองทุนของธนาคาร ก็ไม่ใหญ่โต ต้องระมัดระวังเพดานสินทรัพย์เสี่ยงต่อเงินกองทุน ต้องไม่เกินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เพราะการปล่อยสินเชื่อทุกชนิดต้องนับเข้าเป็นสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมด" แหล่งข่าวในธนาคารนครธน กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในฐานะที่รู้เรื่องโครงการนี้ดี

ดังนั้น ทางอกในการระดมทุนสู่โครงการจึงถูกจัดสรรออกมา 3 วิธีการคือ

- วิธีการแรก กำหนดมูลค่าเงินทุนจดทะเบียนไว้ 161 ล้านบาท โดยระดมจากคณะ
กรรมการผู้ถือหุ้นของบริษัท

- วิธีการที่สอง ให้ธนาคารซิตี้แบงก์และธนาคารนครธนเป็นผู้จัดการและอาวัลพร้อม
ทั้ง ACCEPTANCE ตราสาร FLOATING RATE NOTES ระยะไถ่ถอนคืน 4.5 ปี ที่บริษัทเป็นผู้ออก มูลค่า 300 ล้านบาท และให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 5 บริษัท และ ไอ.เอฟ.ซี.ที. เป็นผู้จัดจำหน่ายแก่สถาบันลงทุนและประชาชนทั่วไปอีกต่อหนึ่ง

- วิธีที่สาม ติดต่อธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มี CONNECTION กับธุรกิจของกลุ่ม
BIRLA ทำ SYNDICATED LOAN จำนวน 770 ล้านบาทให้กับบริษัท

การระดมทุนสู่โครงการ ได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วใน 2 วิธีการแรก เหลือแต่วิธีที่ 3 เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน คณะกรรมการบริษัทฯ กำลัง DEAL กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกรุงเทพอยู่ รูปการคงจะออกมาในลักษณะ ธนาคารกรุงเทพเป็น LEAD MANAGER เงินกู้ร่วมโครงการนี้ค่อนข้างแน่ เพราะทางธนาคารกรุงเทพมี CONNECTION กับกลุ่ม BIRLA ในไทยมาตั้งแต่ปี 1974 แล้ว โรงงานบริษัท CENTURY TEXTILE บริษัท ไทยเรยอน ซึ่งเป็นของกลุ่ม BIRLA ในไทยก็ใช้ FINANCIAL FACILITIES จากธนาคารกรุงเทพ อีกประการหนึ่ง ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารขนาดใหญ่ เงินกองทุนสูง มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจระดับยักษ์ใหญ่ทั่วเอเชีย "การทำ SYNDICATED LOANS ให้กับโครงการขนาดยักษ์ใหญ่ ๆ ระดับพันล้านบาท เป็นเรื่องไม่ยากสำหรับธนาคารกรุงเทพ" แหล่งข่าวในธนาคารไทยพาณิชย์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่ม BIRLA จะ RECRUITED FUNDS ก้อนขึ้นจากธนาคารกรุงเทพ

เมื่อ "ผู้จัดการ" ได้ตรวจสอบกลับไปยังธนาคารกรุงเทพ ก็พบว่า ความเป็นไปได้ที่กลุ่ม BIRLA จะให้ธ.กรุงเทพทำ SYNDICATED LOAN จำนวน 700 กว่าล้านบาทเพื่อนำมาใช้ในโครงการผลิต ACRYLIC FIBRE เป็นความจริง โดยกำลังอยู่ในขั้นการเตรียมเอกสารสัญญากัน

"ก็คงเร็ว ๆ นี้ คงเสร็จเรียบร้อย แต่มีหลายธนาคารนะไม่ใช่ธนาคารกรุงเทพเพียงธนาคารเดียว" แหล่งข่าวในธนาคารกรุงเทพกล่าว

กลุ่ม BIRLA ได้สยามปีกเข้ามาทำธุรกิจในไทยแล้ว 18 ปี อาณาจักรธุรกิจจำกัดวงอยู่ในสาขาอุตสาหรรมสิ่งทอและเกี่ยวเนื่อง (TEXTILE RELATED INDUSTRIES) และจะเน้นเฉพาะโครงการที่มีผู้ผลิตอยู่น้อยราย หรือยังไม่มีใครผลิตอยู่ก่อนเลย เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการสร้างความได้เปรียบในเชิงการผลิตและการตลาด ที่กลุ่ม BRIRLA ยึดถือมาตลอด

ลักษณะการแผ่ขยายอาณาจักรธุรกิจเช่นนี้ สอดคล้องกับความเห็นของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทย ที่ให้ข้อสังเกตว่า "กลุ่ม BIRLA จะผลิตสินค้าพวกวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่โรงงงานในบ้านเราไม่ได้ผลิตกันหรือผลิตได้น้อยราย เพื่อสร้างอำนาจการผูกขาด" แหล่งข่าวให้ข้อสังเกต

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 02:24:13 AM »
TR » การลงทุนแบบเน้นคุณค่า » ร้อยคนร้อยหุ้น
บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)                           

เส้นใยประดิษฐ์เรยอนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมปั่นด้ายและทอผ้า และเกลือโซเดียมซัลเฟต ซึ่งใช้ในผงซักฟอกและสิ่งทอ ในแคนาดา ผลิตเยื่อกระดาษชนิดละลายน้ำได้ และเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอน

กลุ่มธุรกิจสิ่งทอ,กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ,TCB ผงเขม่าดำ  ซึ่งเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมยางรถยนต์

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทาง TR ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นครับ
นอกจากทางผู้บริหารระดับสูงสองท่าน คุณมยุรีแล้ว
ผมว่าอย่างน้อยก็ผู้บริหารระดับคนไทยอีก 5-6 ที่ให้การต้อนรับ
และก็อยู่กับชาว TVI ตลอดระยะเวลาการเยี่ยมชม

และต้องขอบคุณชาว TVI ทุกท่านครับที่ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง
ทุกท่านมาก่อนและตรงเวลามากครับ ขอชมเชยและชื่นชมครับ
ผมเข้าใจว่ามีคนไปทั้งหมดรวม 34 ท่านครับ แถมนักข่าวอีก 2 ท่านครับ

ดีใจครับว่ามีผู้ถือหุ้นร่วมสิบท่าน และก็ผู้สนใจเยี่ยมชมกิจการก่อนตัดสินใจลงทุน
บางท่านพาแฟน (รวมตั้งแต่แฟนถึงภรรยา) บางท่านพาคุณแม่ไปด้วย
เป็นความคิดที่ดีครับ ที่สร้างความมั่นใจ เพื่อที่จะได้อนุมัติการลงทุนใน TR เพิ่มอย่างมั่นใจ
ส่วนตัวผมแล้วคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีครับที่นักลงทุนจะได้เข้าใจกิจการที่ลงทุนอย่างถ่องแท้
เยี่ยมชมโรงงาน สายการผลิต ขั้นตอนต่างๆ
การมีโอกาสพบผู้บริหารอย่างใกล้ชิด ทำให้เรามีโอกาสทราบข้อมูล ข้อคิดอย่างละเอียด
ผมคิดว่ามีบริษัท ในตลาดหลักไม่มากนักที่จะให้โอกาสนักลงทุนขนาดนี้
ถ้าเราคิดว่าจะลงทุนกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นระยะเวลายาวนาน
Company Visit น่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่เราควรจะทำ เพื่อให้แน่ใจครับ
ต้องขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง ผู้บริหารและคุณมยุรีอีกครั้งทั้งๆ ที่ผมก็เพิ่งทำความรู้จักตอนประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมาครับ

ผมขอสรุปเท่าที่จำได้ก็แล้วกันนะครับ

โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง ไม่ไกลอย่างที่คิดครับ ใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่าๆ แค่นั้นเอง
โรงงานอยู่ฝั่งตรงข้างเยื้องกับ TCB ซึ่งเป็นผู้ขาย stream ให้กับ TR
และยังเป็นผู้ขายไฟฟ้า 80 % ให้กับ TR อีกด้วยอีก 20% โดยการไฟฟ้า

เข้าประตูโรงงานจะพบส่วนสวยขนาดค่อนข้างใหญ่ หลายคนบอกว่าคิดว่า resort
หลังการทานของว่างที่ TR เตรียมไว้ ก็รับฟังวิดีโอทัศน์ของ birla group และ TR
ทำให้ทราบถึงความยิ่งใหญ่ของ birla ซึ่งเป็น No. 1 เกือบทั้งธุรกิจที่อยู่ รวมทั้ง company profile และความสำเร็จของ TR
หลังจากนั้นก็เยียมชมโรงงานประมาณ 45 นาที ตั้งแต่ขึ้นตอนแรกในการนำวัตถุดิบที่นำเข้า ขบวนการผลิตต่างๆ QC จนถึง finish goods
หลังจากนั้นก็มารับประทานอาหาร หลายคนโดยเฉพาะคุณยีน บอกว่าอาหารอร่อยมากๆๆๆๆ ทั้งอาหารไทยและอาหารอินเดีย
รับฟังผู้รับผิดชอบทางด้าน TPM (เข้าใจว่า total prodution(tive) management ซึ่งทาง TR เริ่มมาแล้วประมาณ 3 ปี อยู่ใน stage ที่ 5
โดยมีผู้มาขอเยี่ยมชมหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งบริษัทในเครือซิเมนต์อีกประมาณ 6 ครั้ง
ก่อนที่จะมารับฟัง presentation จาก Mr. Sanjay Mahajan VP- Commercial พร้อมทั้งตอบข้อซักถามอย่างละเอียด จาก
Mr. V.K. Kapoor - SVP, Mr. N.K. Jain - VP Production, Mr. Sanjay, คุณมยุรีและผู้บริหารคนไทย
ทาง TR ให้เวลาและความเป็นกันเองในการตอบคำถามมากเรียกว่า จะไม่ให้เรามีคำถามพกกลับบ้านเลย
หลังจากนั้นก็เดินทางกลับกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ

ขอขอบคุณลุงขวด (ขอยืนยันอีกครั้งว่าหนุ่มมาก) สมาชิกอาวุโสของชาว TVI ที่ให้เกียรติร่วมเดิ่นทางกับพวกเรา งานนี้ยังทราบด้วยว่าเป็นเจ้า TR เยอะทีสุดในคณะ
คุณลูกอิสานที่เดินทางมาไกล หวังจะคงจะได้ข้อมูล พร้อมคำตอบที่มีอยากจะทราบ
และหลายท่านในห้องนี้ครับ หวังว่าจะมีโอกาสได้ร่วมกิจการของ TVI ในโอกาสหน้าอีกครับ

เสียดายทั้งคุณมน และคุณ ayethebing ไม่ได้ไปด้วย เลยทำให้คำถามเรืองงบน้อยลงไปนิดครับ

ผมก็รายงานเท่านี้ก่อนครับ เพื่อนๆ ที่ไปร่วมงานต้องการเสริมก็ยินดีครับ
หรือเพื่อนๆ ในห้องนี้ต้องการทราบอะไรที่ผมสอบถามผู้บริหารมาแล้วก็ยินดีแชร์ข้อมูลให้ครับ

ขอให้ประสบผลสำเร็จในการลงทุนทุกท่านครับ

อ่านข้อมูลต่อ ได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างครับ

http://203.150.20.122/~thaivi/board/viewtopic.php?f=4&t=3519&sid=ade3f39373abc0f3c6639d340c7bccd8

 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 04:10:12 PM »
-มุมมองของบริษัท (ประหนึ่งvision)
"บริษัทฯ  ได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานโดยการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ ให้ก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตเส้นใยเรยอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก"

-มุมมองของนักลงทุน(แบบเราๆ)
ต้องการผลตอบแทนสูงๆ ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี ชอบแบบปีหนึ่งเกิน 100% อะครับ :lol:


- แล้วบริษัทจะทำอย่างไงละ (Mission)
"โดยการขยายการลงทุนทั้งในรูปแบบการขยายตัวไปข้างหลัง เช่น การลงทุนในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และโซดาไฟ และในรูปแบบขยายตัวไปข้างหน้า เช่น การลงทุนในอุตสาหกรรมปั่นด้าย ตลอดจนเพื่อขยายกำลังการผลิตเส้นใยเรยอน เพื่อให้เกิดต้นทุนการผลิตที่ประหยัด (Economy of scale)"

-แล้วนักลงทุนจะทำอยางไงดีละ
เนื่องจากเราต้องการผลตอบแทนสูงมาก จึงต้องหาหุ้นที่พร้อมจะเร่งราคาเพื่อที่จะได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันสั้น

-วิธีการของบริษัท คือ การที่บริษัทจะสามารถยืนอยู่ในตำแหน่ง ที่หนึ่งในโลกได้ ย่อมต้องมีโครงสร้างทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่มีได้ สร้างความสามารถในการแข็งขันให้สูงกว่าคู่แข่งทุกคน

-วิธีการของนักลงทุน
จะเอา 100% อัพเนี้ย มันเล่นบริษัทเดียวไม่ได้หรอกครับ มันต้องเล่นรอบ หาบริษัทที่มันกำลังจะเร่งมูลค่า(ออก w,แต่พาร์,ปันผลเยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้) ได้ก็จะดี ยิ่งถ้าให้ราคาสะท้อนอนาคตไป 3-4 ปียิ่งดี หุ้นขึ้นมากๆ เราก็ชิ่ง ไม่มี Brand loyalty อยู่แล้ว  :lol:

-ความกังวลของบริษัท
ต้นทุนของบริษัทผันผวน และไม่สามารถปรับราคาขายได้ตามต้นทุน
สภาพคล่องไม่มี
สู้คู่แข่งไม่ได้

-ความกังวลของนักลงทุน
ผลตอบแทนไม่ดี
หุ้นไม่ขึ้น

ถ้าเรามองอย่างใจเป็นกลางในประเด็นเรื่องเงินปันผล (แต่ผมเอียงมาทางนักลงทุน :lol: ) โดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา

เจ้าของบริษัทต้องการเป็นเบอร์ 1ในโลก การที่จะเป็นได้นั้น ย่อมต้องขยายกิจการอย่างมาก การลงทุนย่อมต้องมีต่อเนื่องจริงๆ ในขณะที่เจ้าของย่อมต้องการความเสี่ยงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เวลาเค้าวางแผน ธุรกิจระดับนี้ย่อมต้องวางไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี เงินทุนที่ต้องใช้ในแต่ละปีเพื่อความปลอดภัยย่อมต้องเตรียมตั้งแต่ปีนี้

ถ้าเราจะบอกให้เขาปันผลเยอะๆ แล้วถ้าอีกปีสองปีบริษัทขาดสภาพคล่องตอนนั้นค่อยมาเพิ่มทุน ถึงตอนนั้นเราเห็นท่าทางไม่ดี เราจะอยู่กันไหม??

เจ้าของเขาออกไปอยู่ตัวนู้นตัวนี้แบบเราไม่ได้น้าาาา  :lol:

ปล. แต่ถ้าบริษัทจะแตกพาร์ เพิ่มปันผลเป็น 10 บาท รับรองหุ้นวิ่งกระฉูด แต่ก็ไม่รู้นะว่ามันจะแป้กเมื่อไร เพราะมันก็เหมือนเราเร่งเวลา (แต่ผมก็ชอบนะ อิ่มแล้วก็ออก :lol: )

ที่มา คุณ Luty97    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 04:13:20 PM »
มาแชร์ข้อมูลเพิ่มครับ ผมโทรไปคุณกับคุณสุวรรณา IR ของ TR มา แต่เค้าก็ตอบอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ ผมสรุปที่น่าจะมีประโยชน์ๆ หน่อยได้ดังนี้...

1. ธุรกิจ Rayon มี Barrier to Entry สูงขนาดไหน?
- สูงอยู่ เพราะ ต้องใช้ Know-how และ Technology ทั้งในการสร้างโรงงาน และในการผลิตเส้นใยเรยอนให้ได้คุณภาพ และมีประสิทธิภาพ ทำให้คู่แข่งใหม่ๆ มาสู่ตลาดได้ยาก

2. คุณสุวรรณาบอกว่าตลาดดูซบๆ ผมถามว่าเพราะอะไร?
- คุณสุวรรณาบอกว่าเพราะราคาขึ้นมาเยอะ  :? เทียบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาราคาขึ้นมา 20% ถ้าเทียบทั้งปีราคาขึ้นมา 30% (ควรที่จะดีใจหรือเสียใจดีเนี่ย?)

3. ผมสงสัยว่าก่อนหน้านี้ที่มีการไป visit ในช่วงต้นปี 2007 ผู้ที่ไปร่วมการ visit บอกว่าจะผลิต modal ได้ 40 ตันต่อวัน แต่ทำไมตอนนี้ถึงกลายเป็น 85 ต้น?
- เค้าบอกว่าตอนแรกคงเป็นการ test run เลยผลิตได้ 40 ตัน แต่ตอนนี้โอเคแล้วผลิต modal ได้ทั้งหมดเลย 85 ต้นต่อวัน

4. การปรับปรุงสายการผลิตที่ 1 นี่ทำให้การผลิตลดลงขนาดไหนกันแน่?
- เค้าตอบไม่ค่อยได้ ผมเลยถามไปว่าลดจาก 70 ตันต่อวัน เหลือสักประมาณ 50-60 ตันต่อวันได้เปล่า เค้าก็ว่าคงประมาณนั้น (ผมว่าเชื่อไม่ค่อยได้เท่าไหร่ ดูเค้าก็ไม่รู้เหมือนกัน จะให้ดีคงต้องไปถามทาง operation จะดีกว่า) อ้อ... เค้าบอกว่าการปรับปรุงสายการผลิตที่ 1 เป็นการปรับปรุงกำลังการผลิต และคุณภาพ ดังนั้นถ้าปรับปรุงเสร็จจะผลิต modal ได้ด้วย

5. หลังจากปรับปรุงสายที่ 1 เสร็จแล้ว จะมีการปรับปรุงสายที่ 2 กับ 3 ไหม?
- คงจะมีการปรับปรุงสายที่ 2 กับ 3 ตามมา แต่ต้องให้สายที่สร้างใหม่ กับสายที่ปรับปรุงก่อนหน้าวิ่งได้โอเคก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะผลิตได้ไม่เพียงพอ

คำถามอีกหลายๆ ข้อคงต้องไปถามตอนประชุมผู้ถือหุ้น กับตอนไป Company Visit แฮะ เพราะบางเรื่องก็ลงลึกเกินไปหน่อย

หวังว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ นะครับ  :)

ที่มา คุณ picatos    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017:

ออฟไลน์ postbkk

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 253
  • ถูกใจ 12
Re: หุ้น TR
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 04:15:29 PM »
เห็นหุ้นตกแล้วสยอง... เมินราคา แล้วมาคุยกันเรื่องพื้นฐานกันดีกว่า

ผมได้ไปอ่านรายงานประจำปีของ Lenzing กับ Birla มา ถึงได้เห็นความเหนือชั้นของ Lenzing ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้สินค้าที่ Lenzing ขายมีความหลายหลายกว่า Birla มากๆ (นอกจาก VSF และ Modal แล้วยังมี TECEL และ Lenzing FR) โดยที่ site แต่ละแห่งของ Lenzing จะมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเป็นของตัวเองเลย เพื่อที่จะปรับปรุงสินค้าของตัวเองให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย

นอกจากนี้ในรายงานประจำปี 2006 ของ Lenzing ได้รายงานสัดส่วนยอดขายของ Special Fibre (พวก modal, lyocell หรือพวก micromodal) ในปี 2006 ออกมาพอๆ กับ Standard Fibre เลยทีเดียว ซึ่งการเติบโตในช่วงที่ผ่านมาเป็นการเติบโตในส่วน Special Fibre เสียมากกว่า โดยแนวโน้มในอนาคตก็ยังคงเน้นไปที่ Special Fibre เหล่านี้

ทางด้าน Birla ก็พยายามที่จะดิ้นรนตัวเองให้หลุดออกจากการผลิต Rayon ธรรมดาซึ่งค่อนข้างเป็น commodity ไปสู่สินค้าที่มีมูลค่ามากขึ้น แต่ว่าผมรู้สึกว่าการให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Birla ยังเทียบชั้นกับ Lenzing ไม่ได้เท่าไหร่ แต่ก็คงต้องดูต่อไปว่า Birla จะ upgrade ตัวเองขึ้นมาได้มากขนาดไหน

ดูไปดูมา Lenzing นี่ถือเป็นผู้นำตลาดอย่างแท้จริงในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเทคโนโลยีการผลิตในจีนเป็นยังไงบ้าง ซึ่งผมก็ยังหาข้อมูลของผู้ผลิต rayon ในจีนไม่ได้เลย... ไม่ทราบว่าใครพอจะมีข้อมูลตรงส่วนนี้มาแชร์บ้างไหมครับ?

ที่มา คุณ picatos    
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
 :wanwan017: