●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกค้าจ๋า หายไปไหนกันหมด รู้สึกไหม เศรษฐกิจแย่ ขายของยาก  (อ่าน 4188 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
เศรษฐกิจช่วงนี้ แต่ละวงการโดนผลกระทบอะไรบ้างครับ ???
เช่น ใครทำงานโรงงาน ช่วงนี้โดนงด OT บ้างรึเปล่าครับ
ถ้าทำงานOffice โดนหักเงิน ลดเงินเดือน บ้างมั้ย
ใครค้าขาย ขายยากรึเปล่า หรือปกติดีอยู่

ใครทำธุรกิจส่วนตัว ช่วงนี้เป็นยังไงบ้างครับ
ชาวสวน ชาวไร่ ขายได้ราคามั้ยครับ

อยากให้เพื่อนๆมาแชร์ หรือมาบ่น ระบาย ก็ได้ครับ

สำหรับผม โดนเต็มๆละ ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป ที่โรงงานโดนงด OT เรียบร้อยแล้วครับ เงิบเลย

ลูกน้องผมบางคนถ้าไม่มีโอทีนี่งานเข้าละครับ เพราะหนี้สินที่ต้องจ่ายมันเกินเงินเดือนกันทั้งน้านนน

ส่วนผมก็เหลือเก็บนิดหน่อย โดนบ้างแต่ไม่มาก แค่ไม่สามารถซื้อกีตาร์ตามที่ตั้งใจไว้เท่านั้น ฮือๆ

เพื่อนๆละครับ เป็นยังไงกันบ้าง ช่วงนี้ครับ

อ่านต่อ...
http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=378985

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
เศรษฐกิจปี 2557 แย่มากเลยหรือ?

เกริ่นนำ
    หลังจากออกบทความประจำคอลัมน์ไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคมศกที่แล้ว ก็มีเพื่อนฝูงและแฟนคลับโทรศัพท์มาถามมากพอสมควร ส่วนใหญ่แล้วคล้ายๆ กัน นั่นคือ เศรษฐกิจปีม้าจะแย่กว่าปีห้าหกที่ผ่านมาจริงหรือ และถ้าจริงจะแย่กว่าสักแค่ไหน?

    สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของปี หากผมจะนำเรื่องไม่ดีมาเสนอท่านผู้อ่าน ก็ดูจะเป็นการโหดร้ายจนเกินไป ผิดประเพณีไทยๆ

    ฉะนั้น จะขออนุญาตเดินสายกลาง เสนอทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่อาจจะเป็น “ข้อพึงระวัง” เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้ใช้ชีวิตในปีห้าเจ็ดได้อย่างมีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ
ปีม้าห้าเจ็ดจะเป็นปีแห่งการใช้ชีวิตกับความไม่แน่นอน

    ถ้าเป็นฝรั่งก็คงต้องพูดว่า The Year of Living Dangerously!

    จนถึงวันนี้ ภาพต่างๆ ก็เริ่มชัดขึ้นแล้วว่า “ความไม่แน่นอน” จะเป็นสภาวะแห่งความเป็นไปตลอดปี 2557 อย่างค่อนข้างแน่นอน ความไม่แน่นอนที่ว่ามีอะไรบ้าง ผมจะค่อยๆ นำเสนอทีละเรื่อง พร้อมข้อแนะนำว่าท่านผู้อ่านควรจะทำตัวอย่างไรในสภาพการณ์เช่นนี้

    ความไม่แน่นอนประการแรก ที่จะกลายเป็นสภาพปกติประจำของทุกท่านในปีนี้ก็คือ “ความผันผวน” (ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะกลายเป็น “ความปั่นป่วน”) ทางการเมือง  ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมือง และในทางผลประโยชน์ที่ยากจะประสานเยียวยาให้สมานกันได้  ฉะนั้น การปะทะกัน การประนีประนอมกัน (ชั่วคราว) และรูปแบบต่างๆ ระหว่างกลางก็จะต้องเกิดขึ้นตามสถานการณ์ในแต่ละช่วง ตลอดปีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    วิธีการรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ ที่ดีที่สุดก็คือ ตั้งใจทำงาน ระมัดระวังการใช้จ่าย และรักษาสุขภาพจิตให้แข็งแรง  ภาษาหุ้นก็คือต้อง “discount” ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ให้ครบ แล้วเดินหน้าต่อ ความผันผวนก็จะค่อยๆ บรรเทาเบาบางลง

    ประการที่สอง สิ่งที่ทุกท่านจะต้องประสบก็คือ ความผันผวนทางการเงิน ยกตัวอย่างง่ายๆ สักสองตัวอย่าง

    ตัวอย่างแรก “อัตราแลกเปลี่ยน” เฉพาะเงินบาทต่อเงินดอลลาร์ หากท่านสั่งของจากต่างประเทศมาตอนต้นปี โชคดี supplier ให้ท่านชำระได้ตอนปลายปี ปรากฏว่าถึงเวลาโชคดีกลับกลายเป็นโชคร้ายครับ เพราะเงินบาทอ่อนตัวไปประมาณ 5 บาท แปลว่าหากของที่ซื้อราคา 10 ล้านดอลลาร์ ท่านก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านบาท ทำไปทำมากลายเป็นซื้อของแพง! ส่วนท่านที่เป็นหนี้ก็เท่ากับเป็นหนี้มากขึ้นอีกกว่า 20% โหดไหมครับ

    อีกตัวอย่าง “ตลาดหุ้น” รายการนี้ไม่ต้องดูกันยาวเป็นปี เพราะหุ้นนั้นเล่นได้เสียกันเป็นวัน หรือสำหรับหุ้นบางตัวบางชนิด เล่นกันเป็นชั่วโมง โดยเฉพาะหลังจากที่ตลาด “บูม” อย่างยิ่งในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทั้งขาเล็กขาใหญ่ต่างพากันได้ใจ นึกว่าชิงช้าสวรรค์มีแต่สวิงขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ไม่เคยคิดว่าจะมีวันที่จะตกลงดิน (หรือดิ่งลงนรก) ตอนนี้ทุกคนล้วนแต่พยายามหาที่กำบัง ส่วนที่ยังไม่ได้คิดก็ยังคงฝันว่าสักวันดัชนีก็จะแตะ 1,700 เหมือนยุคก่อนต้มยำกุ้ง

    คำแนะนำของผมในการรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ก็คือ  ก่อนอื่นต้องตั้งสติให้มั่น คิดให้มากๆ ว่าทำไมจึงเกิดความผันผวนทางการเงินที่มีลักษณะ Downtrends เช่นนี้ อย่าคิดแต่ว่าเป็นเพราะปัจจัยทางการเมือง ต้องเลิกคิด เลิกโทษการเมืองแต่เพียงอย่างเดียวได้แล้ว ถึงเวลาต้องมอง  Fundamentals และใคร่ครวญให้รอบคอบอย่างจริงจังเสียทีว่าเศรษฐกิจประเทศไทยไม่ได้เข้มแข็งเหมือนคำโฆษณา เศรษฐกิจไทยไม่ได้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้ใดในอาเซียนอย่างที่กล่าวอ้าง

    เศรษฐกิจไทยมีปัญหาหนักหนาสาหัสหลายด้าน บางปัญหาก็เกิดขึ้นใหม่ แต่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เรื้อรังมาเป็นเวลานาน กำลังรอวันปะทุ (อาจจะเริ่มปะทุบ้างแล้วก็ได้) หากไม่คิดอ่านทำอะไรกันอย่างรีบด่วน เหมือนอย่างที่ อาจารย์สมภพ มานะรังสรรค์ พูดไว้ในหลายที่หลายโอกาสในช่วงปลายๆ ปีที่แล้ว ซึ่งประทับใจผมมาก เพราะท่านพูดตรงไปตรงมา เข้าเป้าทุกประเด็นไม่อ้อมค้อม
เศรษฐกิจปี 2557 แย่มากเลยหรือ?

    หลังจากตั้งสติได้แล้ว ลองมาทบทวนดูว่า “เศรษฐกิจปีห้าเจ็ดแย่มากเลยหรือ”

    คำตอบของผมก็คืออาจจะแย่มากก็ได้ หรืออาจจะไม่ถึงกับแย่มากก็ได้ แต่ที่แน่ๆ คือ “แย่”

    ฉะนั้น ก่อนอื่นต้องช่วยตัวเอง และเตรียมตัวสำหรับรับมือกับเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแย่ ซึ่งก็จะแปลว่า

    หนึ่ง ค่าเงินผันผวน และมีแนวโน้มที่เงินบาทจะอ่อนค่าลงไปอีก ฉะนั้นใครที่ทำมาหากินเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกก็ต้องเริ่มหาช่องทาง “Hedge” กับค่าเงินบาทได้แล้ว จะทำอย่างไร ต้องคุยกันวันหลังครับ เพราะใช้เนื้อที่กระดาษมากพอสมควรในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกัน

    สอง ราคาหุ้นในตลาดปั่นป่วนเป็นระยะๆ และมีแนวโน้มที่จะดิ่งลงไปเรื่อยๆ ฉะนั้นใครที่ชอบลงทุนในตลาดหุ้นก็ต้องเริ่มหา “ยุทธศาสตร์ / ยุทธวิธี” ในสถานการณ์พิเศษได้แล้ว  แต่สำหรับท่านที่ไม่ได้ชอบและหลวมตัวเข้าไปเล่นแล้ว ก็ต้องเริ่มหา “ทางออก” ให้เหมาะๆ โดยดูทางหนีทีไล่ จังหวะเวลาให้ดี ซึ่งคงแนะนำในรายละเอียด ณ ที่นี้ไม่ได้ เพราะต้องดูหุ้นเป็นรายตัว และดูต้นทุนที่ซื้อมา และใช้เงินตัวเองหรือ Margin ฯลฯ 333

    สาม อัตราดอกเบี้ยจะเริ่มไม่นิ่ง ส่วนจะขยับเมื่อไหร่ขึ้นกับปัจจัยและสถานการณ์อีกหลายอย่าง แต่ที่แน่นอนก็คือ   “แนวโน้มขาขึ้น” ฉะนั้น ท่านทั้งหลายที่ต้องกู้ยืมเงินมาใช้ทำธุรกิจ ต้องเริ่มวางแผนทางการเงินเสียใหม่ได้แล้ว (ว่าจะทำอย่างไรจึงจะลดขนาดเงินกู้ในปัจจุบัน และความจำเป็นในอนาคต) ไม่งั้นธุรกิจท่านมีโอกาสสะดุดได้ง่ายๆ ส่วนท่านที่เป็นผู้บริโภคต้องผ่อนบ้านผ่อนรถ ต้องเริ่มวางแผน Personal Budget ในแต่ละเดือนให้กระชับรัดกุมขึ้นได้แล้ว เพราะเงินท่านที่จะต้องออกไปชำระค่าดอกเบี้ยกำลังจะเพิ่มขึ้น

    ทว่า ภายในวิกฤติย่อมมีโอกาสฉันใด ปีห้าเจ็ดก็อาจเป็นปีแห่งแสงทองเรืองรองเหนือขอบฟ้าได้ฉันนั้น โดยเฉพาะท่านที่มีโลกทรรศน์ที่เปิดกว้าง เพราะดูตามแนวโน้มทางการเงิน ปีนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของรอบแห่งการฟื้นตัวของตลาดเงินและตลาดทุนในยุโรปกับอเมริกา (พ่วงญี่ปุ่น)  ซึ่งหมายความว่าสำหรับท่านที่มีเครือข่ายระดับอินเตอร์ฯ โอกาสที่จะแสวงหาเงินต้นทุนต่ำ และช่องทางการลงทุนในต่างประเทศที่เสี่ยงน้อยกว่าบ้านเรา แถมผลตอบแทนอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำกำลังจะเป็นของท่าน ต้องเปิดหูเปิดตาให้กว้าง แล้วติดตามดู.

เครดิต วีระ  มานะคงตรีชีพ
ที่มา http://www.thaipost.net/news/060114/84219
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2015, 01:16:47 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
วิธีปรับตัวธุรกิจ เพื่ออยู่รอด

เศรษฐกิจแย่ แต่ธุรกิจแย่ไม่ได้ (ปรับตัวธุรกิจเพื่ออยู่รอด)

เมื่อวันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2551 หนังสือหลายฉบับได้ลงข่าวเรื่องธนาคารระดับโลกแห่งหนึ่งมีแผนปลดพนักงานออกกว่า ห้าหมื่นคนทั่วโลก ซึ่งถือว่าจำนวนดังกล่าวเป็นตัวเลขที่สูงมาก

ในวันเดียวกันบริษัทผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ก็มีแผนปรับลดจำนวนพนักงานในเมืองไทยประมาณ สองร้อยแปดสิบคน สองข่าวนี้เป็นสัญญาณเตือนผู้ประกอบการทุกท่าน ภาวะตลาดที่ทุกท่านเจอในปีนี้ที่ว่าซบเซาแล้วนั้น ยังไม่ถึงจุดต่ำสุดของวงจรเศรษฐกิจรอบนี้แน่นอนครับ ปีนี้ยังเผาหลอก แต่ปีหน้าเผาจริงครับ

แน่นอนครับสำหรับพวกเราในฐานะผู้ประกอบการ เศรษฐกิจจะแย่อย่างไร ธุรกิจที่เราดำเนินอยู่ก็คงต้องดำเนินต่อไป ล้มไม่ได้ หากธุรกิจล้มก็หมายความว่า มีอีกหลายชีวิตที่ต้องล้มตามธุรกิจไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง ครอบครัว ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ นี่มองในมุมเล็กๆของธุรกิจเดียวเท่านั้นนะครับ

ถ้าหากมองในระดับประเทศหละครับ คงเหมือนโดมิโนที่ล้มเพียงตัวเดียวก็จะล้มกันเป็นแถบๆเลย  คำถามคือว่า แล้วผู้ประกอบการทุกท่านจะวางแผนกลยุทธ์อย่างไรในสภาวะการณ์ปัจจุบัน และในกาลข้างหน้า ผมขอกล่าวแนวทางการดำเนินกลยุทธ์ของบริษัทผมเผื่อเป็นแนวทางในการที่ท่านอาจจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของท่านได้ครับ

แนวทางปฏิบัติที่หนึ่ง : ตรวจสอบสุขภาพของธุรกิจ ณ.สถานการณ์ ปัจจุบัน และคาดการณ์อนาคต

ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทางบริษัทผมได้มีการตรวจสอบ และวิเคราะห์ธุรกิจของผมเพื่อมองว่าเราจะอยู่รอดในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ได้อย่างไร

สิ่งที่ผมได้ทำการตรวจสอบมีหลายประการด้วยกันเช่น กำไรต่อเดือน ยอดขายที่ลดลง จำนวนลูกค้า สถาะการ์การเงินของบริษัท จุดคุ้มทุนในการดำเนินงาน นอกจากนี้ผมยังได้มีการทำประมาณการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าด้วยว่าจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย ผลกำไร จำนวนสินค้าคงคลัง ความต้องการตลาดเป็นต้น

หลังจากผมทำการตรวจสอบสถานปัจจุบัน และคาดการณ์สถาพตลาดในอนาคตแล้ว ผมก็เริ่มมานั่งวิเคราะห์ธุรกิจที่ตัวเองมีอยู่นั้น มีอะไรบ้าง ธุรกิจไหนมีแนวโน้มดี ธุรกิจไหนมีแน้วแย่  ธุรกิจไหนที่เรามีความเชี่ยวชาญ ธุรกิจไหนที่เราไม่ค่อยเชี่ยวชาญ แหล่งรายได้ของเรามาจากธุรกิจไหนเป็นหลัก เพื่อเป็นการตัดสินใจในแนวปฎิบัติในข้อต่อไป

แนวทางปฏิบัติที่สอง : เน้นธุรกิจหลัก ตัดธุรกิจรองที่ไม่คุ้มทุน
หลังจากที่ผมได้วิเคราะห์ธุรกิจที่ผมมีอยู่ โดยใช้หลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวไว้ในข้อที่หนึ่ง ผมได้ทำการตัดใจที่จะเน้นที่ธุรกิจหลักที่เป็นแหล่งรายได้หลักของผม ซึ่งมีแนวโน้มในระยะยาวที่ยังดีอยู่

และที่สำคัญที่สุดสำหรับผมคือ ผมต้องมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นๆอย่างดีด้วย ผมได้มีการจัดลำดับธุรกิจที่มีความสำคัญลำดับหนึ่ง สอง สาม ไว้ในสมุดโน๊ตของผมเพื่อเตือนตัวเองเสมอว่า อะไรคือธุรกิจหลักของเรา เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินกลยุทธ์

หากเหตุการณ์ในอนาคตไม่ดีผมสามรถตัดสินใจได้ชัดเจนและตรงประเด็นว่า ธุรกิจไหนที่ผมจะทำต่อ ธุรกิจไหนที่สามารถโอนถ่าย หรือขานกิจการไป ในบางสถานการณ์ เราก็ต้องตัดสินใจในการตัดแขนข้างใดข้างหนึ่งเพื่อรักษาชีวิตไว้ แต่แน่นอนครับมันเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะทำ

แนวทางปฏิบัติที่สาม : หารายได้จากธุรกิจเสริมที่สามารถต่อยอดจากธุรกิจหลัก
เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ธุรกิจหลักของผมมีปัญหาเกี่ยวกับยอดขาย ยอดขายของผมตกลงมาประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งตลาด

คำถามคือผมไปเปลี่ยนความต้องการตลาดให้มากขึ้นได้หรือไม่ แน่นอนว่ามันคงเป็นไปไม่ได้แน่นอน แล้วผมจะทำอย่างไรหละ จะให้ผม”ทำใจ” แล้วทำเป็นปูนไม่รู้ร้อนก็คงเป็นไปไม่ได้ ธุรกิจก็ธุรกิจของเรา ทำมากก็ได้มาก ผมเลยมานั่งตรึกตรองดูว่าจะมีวิธีการอย่างไรในการที่สร้างรายได้ให้สูงขึ้นจากที่เป็นอยู่

แน่นอนครับจะให้ผมเพิ่มยอดขายจากรายได้หลัก ก็คงเป็นไปไม่ได้ ผมเลยถามตัวเองว่าตอนนี้บริษัทของเรามีรายได้จากแหล่งไหนบ้าง ผมขอตัวอย่างอย่างเช่น บริษัทผมมีรายได้จาการขายรถจักรยานยนต์ การต่อภาษี พ.ร.บ การบริการแก่ลูกค้าด้านศูนย์บริการ โดยปกติผมจะมองแต่รายได้รถจักรยานยนต์ เป็นหลัก

ในสภาวะอย่างนี้ผมเลยตัดสินใจในการที่เพิ่มรายได้จากบริการอื่นๆที่ผมมี โดยใช้การตลาดนำ(ทำอย่างไรจะกล่าวในบทความอื่นๆต่อไป) หลังจากที่ผมดำเนินการด้านการตลาดประมาณ 2 เดือน รายได้ส่วน การต่อภาษี พ.ร.บ เพิ่มขึ้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ค่าใช้จ่ายการตลาดที่เพิ่มขึ้นน้อยมากถือว่าคุ้มมาก

ระหว่างการดำเนินกลยุทธ์สร้างรายได้จากธุรกิจเสริม ผมก็ถามตัวเองต่อว่าแล้วเราจะหารายได้จากธุรกิจหลักนี้ได้อย่างไรอีก ผมก็เริ่มคิด หาข้อมูล พูดคุยกับผู้คนในวงการ

ปรากฎว่าผมหารายได้เสริมจาดธุรกิจเสริมที่สร้างขึ้นใหม่ได้อีก สองอย่าง และเริ่มดำเนินการไปแล้วประมาณสองเดือน ผลตอบรับกลับมาค่อนข้างดี ข้อคิดจากแนวทางปฎิบัติที่สามนี้คือ เงินอยู่รอบๆตัวเรา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะหยิบขึ้นมารึเปล่า และรู้วิธีการหยิบให้ง่ายๆ

แนวทางปฏิบัติที่สี่ : จัดการกับเงินสดให้ดี
เงินสดเป็นสิ่งที่สำคัญมาในทุกสภาวเศรษฐกิจครับ แต่จะสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจแย่ๆอย่างนี้ นักการเงินจะทราบเรื่องเงินสดดีมากว่า ถ้าให้ลำดับความสำคัญระหว่างกำไร กับ เงินสด นักการเงินเลือกเงินสดมากว่า กำไร

เพราะหากมีกำไรในงบกำไรขาดทุน แต่รายได้เหล่านั้นได้มาโดยให้เครดิตแก่ลูกค้าไป หากลูกค้าไม่มีความสามารถในการจ่ายคุณ รายได้หรือกำไรที่คุณเห็นก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย 

ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องพยายามบริหารเงินสดให้มีประสิทธิภาพที่สุด วิธีหลักๆเพื่อนำไปปฏิบัติก็คือ

วิธีที่ 1 บริหารลูกหนี้ของคุณให้ดี ตรวจสอบจากพนักงานเก็บเงินของคุณบ่อยๆ เพื่อรู้สถานะของลูกหนี้ 

วิธีที่ 2 เน้นการการเป็นเงินสดหากเป็นไปได้ นึกภาพเศรษฐฐีเงินสด(ตัวอ้วน)เปรียบเทียบกับเศรษฐีเงินเชื่อ(ตัวผอมหิวโซ)ไว้ว่าเราอยากเป็นเศรษฐีประเภทไหน

วิธีที่ 3 ขอเครดิตจากคู่ค้าของคุณให้ยาวขึ้น ยิ่งยาวยิ่งดี สามารถจะช่วยให้สถานะเงินสดของท่านดีขึ้น

วิธีที่ 4 จัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพที่สุด พยากรณ์ยอดขายให้ถูกต้อง

แนวทางปฎิบัติที่ห้า : ลดหนี้เก่า อย่าก่อหนี้ใหม่ ชลอการลงทุน
ในแนวทางปฎิบัตินี้มีประเด็นหลักคือ พยายามลดดอกเบี้ยที่ท่านจะต้องจ่ายในทุกเดือนให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำได้

ผมไม่ค่อยห่วงดอกเบี้ยที่เสียให้แบงค์ครับเพราะเทียบเป็นรายจ่ายน้อยกว่า ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากเงินกู้นอกระบบที่มีการเก็บดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง

ทางปฎิบัติที่ดีที่สุดหากเลือกได้คือ ลำดับแรกจ่ายหนี้ระบบให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ลำดับสองคือจ่ายหนี้ธนาคาร ประเด็นต่อมาคือ พยายามอย่าก่อหนี้ใหม่

ในความหมายนี้ไม่ได้หมายความว่าให้ท่านตัดโอกาสในการลงทุน แต่ให้ท่านให้แนวอนุรักษ์นิยมในการตัดสินใจลงทุน พยายามประเมินโครงการที่ท่านองค์ในกรณีที่แย่ที่สุดที่จะเป็นไปได้

แนวทางปฎิบัติที่หก : เก็บกวาดบ้านให้น่าอยู่: สร้างและพัฒนาระบบงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้เป็นช่วงที่พนักงานแต่ละคนจะมีเวลาว่างมากขึ้นในทุกๆแผนก ดังนั้นเราสามารถช่วงเวลานี้ในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน เช่นการดำเนินงาน 5ส. พัฒนาขั้นตอนการปฎิบัติงาน ปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง หรือทดลองระบบงานใหม่ๆที่พัฒนาขึ้นมาเป็นต้น

ทั้งหมดก็เป็นหกแนวทางปฎิบัติในยามที่ธุรกิจซบเซาอย่างนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของท่านได้ครับ

ในฐานะผู้ประกอบการเหมือนข้อฝากข้อคิดไว้ให้ทุกท่านนะครับว่า ถ้าเรารักที่จะเป็นผู้ประกอบการแน้วละก็ ทุกท่านสามารถจะท้อได้ ทุกคนก็เคยท้อเหมือนกันหมด

แต่สิ่งที่แยก ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ กับล้มเหลวคือ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จท้อได้ แต่ไม่ถอยครับ

ที่มา http://www.oknation.net/blog/innovation/2008/11/24/entry-2
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2015, 07:16:05 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
กลอนประหยัดอดออม 

มีสลึง พึงบรรจบ ให้ครบบาท
อย่าให้ขาด สิ่งของ ต้องประสงค์
มีน้อย ใช้น้อย ค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลง ให้มาก จะยากนาน...

กลอนการประหยัดเงิน โดย ท่านสุนทรภู่...
 :wanwan017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2015, 01:19:09 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
คนเอาเงินในอนาคตมาใช้กันเยอะ  ถ้าเจ้าหนี้เรียกเงินคืน
คงเจ๊งทั้งระบบ

ผมว่านั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งนะครับ

คนเอาเงินในอนาคตมาใช้
ถึงเวลาก็ต้องใช้คืน ทั้งต้นทั้งดอก

ไหนจะที่ต้องใช้จ่ายในชีวิตประจำวันตามปกติอีก

สุดท้ายคนก็ไม่มีเงิน คนก็ต้องประหยัดกัน
พอทุกคนประหยัดกัน สินค้า บริการต่าง ๆ ก็ขายไม่ดี

พ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าไม่ได้ ก็มีผลกระทบต่อๆไปอีกครับ

 :wanwan008:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2015, 11:03:48 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
คนเอา เงินในอนาคต ใช้กันเยอะ

หากเรา นำเอาเงินอนาคต มาใช้เยอะๆ
โดยเงินนั้น ไม่ได้สร้างผลตอบแทน ที่คุ้มค่ากลับมา
ความเสี่ยง ก็จะสูงขึ้น ตามไปด้วยครับ

เงินอนาคต ต้องคิดก่อนใช้ ให้ดีครับ

 :tongue:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2015, 11:14:58 PM โดย Admin »

ออฟไลน์ Adminis

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1206
  • ถูกใจ 116
    • เมทไทยดอทคอม | MateThai
สำหรับคน ที่คิดว่าตัวเอง ลำบาก และท้อแท้

*** บนโลกนี้ ยังมีคนลำบากกว่าเรา อีกมาก...
คนจน จน ไม่มีอะไรจะกิน ก็เยอะ ... ***

คนที่ลำบากกว่าเรา คนที่แย่กว่าเรา ยังมีอีกเยอะครับ
เพราะไม่ใช่เรา ที่แย่ที่สุดในโลก...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2015, 02:01:09 AM โดย Admin »