ชุมชนออนไลน์ หาเพื่อนคุย รวมเกมส์ ดูดวง ฟังเพลง ฟุตบอล ดารา และอีกมากมาย

ไลฟ์สไตล์ => ღღ ห้องรับแขก MateThai => ข้อความที่เริ่มโดย: Adminis ที่ มิถุนายน 27, 2014, 01:31:14 PM

หัวข้อ: ค่าไฟมันแพงขึ้นจริงๆนะครับ ลองถามทุกคนที่จ่ายค่าไฟดู ก็ได้ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Adminis ที่ มิถุนายน 27, 2014, 01:31:14 PM
ค่าไฟมันแพงขึ้นจริงๆนะครับ ถ้าไม่เชื่อ ลองถามทุกคนที่จ่ายค่าไฟดู ก็ได้นะครับ

ไม่เกี่ยวกับการเมืองนะครับ
แต่รู้สึกได้เลยจริงๆ ถามทุกคนที่จ่ายค่าไฟดู ก็ได้ครับ
ค่าไฟมันแพงขึ้น จริงๆนะครับ เพราะผมลองถามคนรอบตัว
ก็บอกเหมือนกันครับ ว่าต้องจ่ายค่าไฟกัน มากขึ้นครับ

แต่ส่วนหนึ่ง ก็เข้าใจว่า ช่วงเดือนเมษา-พฤษภาอากาศร้อนจัด
ทำให้คน ก็มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ด้วยครับ

 :wanwan008:

สหภาพฯ กฟผ.ยื่นหนังสือถึง “ประยุทธ์” จี้สอบเรกูเลเตอร์-IPP/SPP
       สหภาพแรงงาน “กฟผ.” ยื่นหนังสือถึง “ประยุทธ์” ให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าคืนความสุขให้คนไทยใหม่ จี้สอบที่มาของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือเรกูเลเตอร์เอื้อกลุ่มทุน ลดสัดส่วนการผลิตไฟของ กฟผ.ให้เอกชนทั้ง IPP และ SPP เสี่ยงมั่นคง จี้สอบกัลฟ์ เจพีส่อไม่โปร่งใสที่มาประมูล IPP 5 พันเมกะวัตต์
       
       นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) เปิดเผยว่า วันนี้ (27 มิ.ย.) ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้ช่วยตรวจสอบปรับปรุงเปลี่ยนระบบโครงสร้างพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ

       เนื่องจากที่ผ่านมาการบริหารและกำกับดูแลกลุ่มทุนของเครือข่ายทักษิณได้เข้ามาครอบงำและมีบทบาทกำกับดูแลจัดสรรผลประโยชน์เอื้อให้กลุ่มตนเองจนทำให้โครงสร้างบริหารจัดการด้านไฟฟ้าบิดเบี้ยวขาดหลักธรรมาภิบาล
       
       ดังนั้นจึงได้ยื่นขอให้ คสช.ตรวจสอบดังนี้
       1. การครอบงำจากกลุ่มทุนผ่านการแต่งตั้งกรรมการสรรหา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ ลงนามโดยนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี โดยกรรมการสรรหามีบทบาทสำคัญในการคัดสรรคณะกรรมการ กกพ. ซึ่งมีหน้าที่กำกับนโยบาย กำหนดสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้า เปิดประมูลโรงไฟฟ้าใหม่ ทำให้ประโยชน์ชาติกลายเป็นประโยชน์กลุ่มทุน
       
       2. นโยบายของเรกูเลเตอร์ในเรื่องของการแบ่งสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) ขนาดเล็ก (SPP) ไม่คำนึงถึงความมั่นคงระบบไฟฟ้าทำให้สัดส่วนการผลิตของ กฟผ.ลดสัดส่วนลงเหลือเพียง 39% ขณะที่เอกชนกลับเพิ่มสัดส่วนขึ้นตลอด โดย กฟผ.ควรมีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 51% เพื่อดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและราคาที่เป็นธรรมแก่ประชาชน
       
       3. การประมูลโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) รอบที่ผ่านมาจำนวน 5,000 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทกัลฟ์ เจพี จำกัด เป็นผู้ชนะประมูล มีข้อสงสัยหลายประการถึงความไม่โปร่งใสและมีการเร่งรีบการประมูล และกลายเป็นว่า กฟผ.ต้องรับผิดชอบแบกภาระต้นทุนในการก่อสร้างระบบสายส่งเพื่อรองรับไฟฟ้าจากเอกชน และการที่มีกำลังการผลิตสูงอยู่รายเดียวถือเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคง ซึ่งประเด็นนี้เรกูเลเตอร์บ่ายเบี่ยงที่จะตอบคำถามกับสังคม
       
       4. การอนุญาตให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ SPP ผิดนโยบายที่วางไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทน เช่น โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าชุมชน แต่ปัจจุบันโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และเมื่อดูรายละเอียดโรงไฟฟ้าเหล่านี้เป็นของกลุ่มทุนทั้งสิ้น

ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์   

 :wanwan017: