●● ท่องเที่ยววันหยุด วาไรตี้แสนสนุก! เรื่องราวฮอตฮิต! สิ่งที่คุณเห็น...จะทำให้คุณต้องตะลึง คลิ๊ก! ●●

หาเพื่อน หาแฟน หาคู่

เล่นเกมส์

ดูดวง

สูตรวิเศษ สาระน่ารู้ เรื่องสุขภาพ

งาน - อาชีพเสริมทำเงินล้าน

ผู้เขียน หัวข้อ: เด็กไทยแบก "กระเป๋านักเรียน" หนักเกินตัว ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้  (อ่าน 392 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ avatar928

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
  • ถูกใจ 0
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ( รพ. เด็ก ) เตือนผู้ปกครองใส่ใจลูกหลานวัยประถมเนื่องจากเปิดเทอมต้องแบกกระเป๋านักเรียนหนักหวั่นบาดเจ็บจากการหกล้มกล้ามเนื้ออักเสบ และส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ dooball

นายแพทย์ปานเนตร  ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าขณะนี้เป็นช่วงเปิดภาคเรียนปัญหาที่พบสำหรับเด็กคือกระเป๋านักเรียนจากข้อมูลพบว่าเด็กไทยวัยประถมแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเด็ก เช่น หากมีเด็กน้ำหนัก 30 กก. น้ำหนักกระเป๋าที่เด็กสามารถถือได้ต้องไม่เกิน 3 กก. เท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ากระเป๋านักเรียน 1 ใบ มีน้ำหนักสูงถึง 4-6 กก. การที่ต้องแบกกระเป๋าใบใหญ่ทั้งหนัก และนานอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่าเด็กวัยอนุบาลหรือประถมต้นยังมีการทรงตัวที่ไม่ดีนัก เนื่องจากอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตและพัฒนาการการทรงตัว อีกทั้งกำลังแขนขายังไม่แข็งแรงการแบกกระเป๋าใบใหญ่ และน้ำหนักมาก อาจทำให้เด็กล้มง่ายเดินลำบากมากขึ้น เกิดการบาดเจ็บทั้งจากการล้ม และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการแบกกระเป๋า สมัครบอล

ทั้งนี้กระเป๋านักเรียนที่ใช้อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

แบกกระเป๋าโดยใช้มือถือ ไม่เหมาะกับการแบกเป็นเวลานานอาจเกิดการบาดเจ็บ และเสียสมดุลร่างกายได้

แบกกระเป๋าโดยแขวนหลัง (back pack) การแบกกระเป๋าที่หนักเป็นเวลานานจะเพิ่มโอกาสในการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายโดยเฉพาะแขนไหล่และสะบัก 928bet
 

แต่ทั้งนี้ ยังไม่มีหลักฐานว่าการแบกกระเป๋านักเรียนแบบแขวนหลังจะทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปหรือกระดูกไม่เจริญเติบโต เนื่องจากการเจริญเติบโตของเด็กยังมีปัจจัยประกอบหลายประการ อาทิการรับประทานอาหารการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและกรรมพันธุ์ของเด็ก ทั้งนี้หากกระเป๋ามีน้ำหนักมากแนะนำให้ใช้กระเป๋าลากแต่ถ้าน้ำหนักไม่มาก และต้องการแบกเป็นเวลานานควรใช้กระเป๋าโดยแขวนหลัง (back pack) ส่วนกระเป๋าถือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้แนะนำว่าไม่ควรหนักจนเกินไป และไม่ควรถือเป็นเวลานานๆ

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
ที่มา : sanook.com