วิธีอัพเกรด wordpress ด้วยตนเอง
ตั้งแต่เริ่มใช้งาน wordpress มา พบว่ามีการอัพเดทเวอร์ชั่นของ wordpress อยู่บ่อยครั้งมากเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย และการแก้ไข bugs ที่พบในเวอร์ชั่นเก่า นอกจากนี้อัพเดทเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้เราจำเป็นต้อง อัพเกรด เวอร์ชั่น wordpress ตามไปด้วย
สำหรับการ อัพเกรด wordpress มีอยู่ 2 วิธี คือ อัพเกรด wordpress แบบ automatic และ การอัพเกรด wordpress แบบ manual ผมได้ทดลองมาทั้ง 2 วิธีแล้ว สำหรับผมวิธีที่ง่ายที่สุดกับกลายเป็นการอัพเกรดแบบ manual เพราะทำให้ผมแน่ใจได้ว่าทุกไฟล์ของเวอร์ชั่นเก่าได้รับการอัพเกรดที่สมบูรณ์แล้ว ลองมาดูกันว่า วิธีการ อัพเกรด wordpress แบบ manual ต้องทำอย่างไรกันบ้างครับ
อัพเกรด wordpress แบบ manual
Backup ฐานข้อมูล และข้อมูลบน wordpress
บนหน้า admin ของ wordpress บนเมนูด้านซ้ายเลือก “เครื่องมือ” และ Backup เพื่อ post, comments, categories ฯลฯ กำหนด backup options ตามภาพเลยครับ เลือกให้ดาวน์โหลดเก็บไว้บน server หรือ ดาวน์โหลดมาเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์ก็ได้
Backup ฐานข้อมูลใน control panel ของเวบไซต์ เลือก “Create/Restore Backups” สร้างไฟล์ backup ขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ระบบสร้างไฟล์ให้เสร็จ จะแจ้งเตือนทางอีเมลล์ครับ
เลิกใช้งาน plugins (Disable Plugins)
เหตุผลที่ต้องยกเลิกการใช้งาน plugins ทั้งหมดไปก่อนเป็นเพราะ อาจมี plugins บางตัว ที่ไม่สนับสนุนการทำงานบน wordpress เวอร์ชั่นใหม่ที่คุณต้องการติดตั้งลงไป วิธีการเลิกใช้งานพร้อมกันหมดแบบง่ายๆ ให้เข้าไปที่หน้า plugins คลิ๊กเลือกทั้งหมด > คำสั่งจำนวนมาก > เลิกใ้ช้งาน ครับ
เริ่มต้น อัพเกรด WordPress แบบ Manual
1. ดาวน์โหลด เวอร์ชั่นล่าสุด wordpress ในรูปแบบของไฟล์ zip
2. Unzip files ที่ดาวน์โหลดมา
3. ใช้ FTP client เช่น FileZilla เพื่อเชื่อมต่อไปยัง Server ที่คุณเช่าเวบไซต์อยู่
4. ใช้ FTP ลบ folder : wp-admin และ wp-includes ออกทั้งหมด
5. ใช้ FTP upload folder : wp-admin และ wp-includes ของเวอร์ชั่นใหม่ ลงไปบน server (เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดควรอัพโหลดทีละโฟลเดอร์)
6. Upload ไฟล์และโฟลเดอร์ จาก folder wp-content เวอร์ชั่นใหม่ เข้าไปแทนที่เวอร์ชั่นเก่า (ระวัง ห้ามลบโฟลเดอร์ wp-content ออกจาก server โดยเด็ดขาดให้ใช้วิธี copy > replace เอาครับ)
7. Upload ไฟล์ที่อยู่บน root ของ wordpress (ไฟล์ index.php, wp-config.php ฯลฯ) ลงไปแทนที่ของไฟล์เดิมที่อยู่บน server ทั้งหมด ไม่ต้องห่วงว่าไฟล์ wp-config ของคุณจะถูกแทนที่ เพราะไฟล์ใหม่ที่ copy ลงไป ชื่อ wp-config-sample.php
8. หากทุกอย่างผ่านไปด้วยดี คุณไม่ลืมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง การอัพเดทก็จะสำเร็จโดยบริบูรณ์ครับ เพื่อเป็นการยืนยันว่าการอัพเดทเสร็จสิ้นแล้วเข้าไปที่ http://ชื่อเวบไซต์/wp-admin ครับ หากเข้าใช้ได้ และไม่มีข้อความแจ้งเตือนอีก แสดงว่าการอัพเดทสมบูรณ์แล้วครับ
9. Activate plugins ที่เลิกใช้งานไปแล้ว
Final Step ขั้นตอนสุดท้าย
- หากพบปัญหาการ login เข้าใช้หน้า admin ไม่ได้ให้ลอง clear cache บนเวบเบราเซอร์ก่อนน่ะครับ
- สำหรับใครที่เคยตั้งค่าลิงค์ถาวร หรือ permalinks เอาไว้ อย่าลืมกลับไปแก้ไขไฟล์ formatting.php อีกครั้งด้วยน่ะครับ (ดูวิธีทำ permalinks ภาษาไทย)
เครดิต
http://forum.koonkroo.info/index.php?topic=3686.0 